วัชราจารย์ที่นั่งสมาธิดับขันธ์ภายในประเทศไทย (สรีระไม่เน่าเปื่อย)

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย ธัชกร, 29 กันยายน 2009.

  1. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    สรีระของพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตรฯ (เจ้าคุณโพธิ์แจ้ง)

    วัดโพธิ์แมนคุณาราม ตั้งอยู่ที่ 323 ถ.สาธุประดิษฐ์ ซอย 19 เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 หรือสามารถเข้ามาทางซอยนราธิวาสราชนครินทร์ 24 ได้ วัดเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00-18.00 น. สอบถามโทร.0-2211-7885, 0-2211-2363


    ประวัติพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์
    ทำนุกจีนประชาวิสิฐ
    (โพธิ์แจ้งมหาเถระ)
    [​IMG]
    คุรุโพธิ์แจ้งมหาเถระขณะประกอบพิธีอภิเษกศิษย์​

    พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร ฯโพธิ์แจ้งมหาเถระ อดีตเจ้าคณะใหญ่ สงฆ์จีนนิกาย รูปที่6 ประธานคณะกรรมการสงฆ์จีนนิกายรูปที่1 เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์ แมนคุณาราม เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิ์เย็น กาญจนบุรี เจ้าอาวาสผู้สถาปนาวัดโพธิทัตตา ราม ศรีราชา ชลบุรี ก่อนมรณภาพ เมื่อ วันที่ 25 เดือน กันยายน พ.ศ.2529 ท่านดำรงสมณะ ศักดิ์พระราชาคณะชั้นสัญญาบัตร(เทียบชั้นธรรมพิเศษ) ฝ่ายวิปัสสนา ในราชทินนามพระมหา คณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร พุทธบริษัทจีนพิเนตุ วิเทศธรรมประสาท นวกิจพิลาสประยุกต์ ทำนุกจีนประชาวิสิฐ
    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้ง สถานะเดิมชื่อธง สกุลอึ้ง ท่านกำเนิดเมื่อ วันที่ 16 เดือน 6 จีน ปืนขาล พ.ศ.2444 จังหวัดแต้จิ๋ว มณฑล กวางตุ้ง ประเทศจีน บิดาเป็น ขุนนางชั้นผู้ใหญ่มารดาจางไทฮูหยินเกิดในตระกูลเตียท่านสืบเชื้อสายขุนนางทั้งฝ่ายบิดาและ มารดาซึ่งเป็นอุบาสก อุบาสิกา เลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา
    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์ กำพร้าบิดามาแต่เยาว์วัย จางไทฮูหยินมารดา ได้ อบรมบุตรให้ประพฤติในธัมมานุธรรมปฏิบัติท่านได้รับการศึกษาตามแบบจีนเก่าจบชั้นมัธยม บริบูรณ์ในประเทศจีนสมัย นั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยหนุ่ม ได้เข้ารับราชการทหารอยู่ระยะหนึ่งในขณะ รับราชการทหารอยู่ ท่านได้สติเกิดเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาสวิสัย จึงตั้งปณิธาน น้อมจิตเข้าสู่ พุทธธรรม การตัดสินใจในครั้งนั้นเป็นผลดีต่อพุทธศาสนาและ คณะสงฆ์จีนนิกายในประเทศ ไทย อย่างมหาศาล สาธุชนทั้งในประเทศและต่างประเทศมากมายได้รับการชักนำจากท่านเข้า สู่พุทธธรรม พระพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานได้ตั้งมั่น สืบต่อ ยั่งยืนในภูมิภาคนี้
    - ในปี 2470 ขณะนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ อายุย่างเข้า 26 ปีได้เดินทาง เข้ามาในประเทศไทย เพื่อศึกษาหลักธรรมและสักการะปูชนียะสถานต่างๆ ตามที่ท่านได้รับฟัง มาก่อน พร้อมกับได้สืบเสาะหาพระอาจารย์ที่มีบารมี ความรู้ เมื่อพบจึงได้ถวายตัวเป็นศิษย์ ขอบรรพชาในสำนักพระอาจารย์ หล่งง้วน เป็นอุปัชฌาย์และบรรพชา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2471 ณ.สำนักสงฆ์ถ้ำประทุน(เช็งจุ้ยยี่) พระพุทธบาท สระบุรี ท่านอาจารย์หล่งง้วนได้ บรรพชาให้ และให้ฉายา ท่านว่า “โพธิ์แจ้ง”หลังจากบรรพชาแล้วท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งหน้าศึกษาบำเพ็ญเพียรปฏิบัติกรรมฐานอย่าง มุ่งมั่น บริเวณวัดถ้ำประทุนในขณะนั้นยังห่างไกลความเจริญ การสัญจรไม่สะดวก คนไปมาหา สู่น้อยเต็ม ไปด้วยสัตว์ร้าย และโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้มุ่งมั่นปฏิบัติพร้อม กับการสังคมสงเคราะห์ ด้วยท่านได้เคยเรียนรู้เรื่อง ตำรับยามาบ้าง เมื่อชาวบ้านเจ็บไข้ได้ ท่านก็เป็นธุระรักษาพยาบาลให้บาง รายอาการหนักถึงแก่กรรม ท่านก็ช่วย ประกอบกิจการศพ ให้ ท่านยังได้ทำการพัฒนาสภาพแวดล้อมต่างๆ ตามโอกาส เช่น ท่านได้สกัดหินภูเขาเพื่อ สร้างทางเดิน ให้ชาวบ้าน เป็นต้น ด้วยความยากลำบาก ความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อสังคม ความมุ่งมั่นใน การ บำเพ็ญเพียร จนครั้งหนึ่งท่านได้เกิดโรคไข้จับสั่น ทุกข์เวทนามาก แต่ ท่านก็ไม่ย่อท้อ เมื่อหนาวสั่นก็ออกไปทุบหิน จนร่างกายที่หนาว กลับกลายเป็นร้อน เมื่อร้อน เหงื่อโชกก็พักหายเหนื่อยก็ไปสรงน้ำ ทำเช่นนี้ตลอด ชั่วระยะเวลาไม่กี่วัน ท่านก็สามารถเอา ชนะโรคร้ายนั้นได้
    - ในสมัยนั้นพระสงฆ์จีนไม่เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวจีนมากนัก ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้พิจารณาเหตุแห่งสภาพนั้น พร้อมทั้งตั้งสัจจะ ปณิธานที่จะปรับปรุงคณะสงฆ์จีนใหม่ เพื่อนำความเลื่อมใสศรัทธา รุ่งโรจน์ ให้บังเกิดขึ้นใน ภายภาคหน้า ซึ่งเป็นการง่ายในการตั้งปณิธานแต่ยากในการปฏิบัติ ด้วยว่าตนเองจะต้อง ประกอบด้วย ขันติ วิริยะ ปัญญา บารมี และคุณธรรม ด้วยปณิธานในครั้งนั้น ทำให้ท่านต้องรับ ความยากลำบากอย่างมาก ถึงขั้นมีผู้หมายปองชีวิต ดังเหตุการณ์ร้ายแรงเหตุการณ์หนึ่ง หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย ปีที่ 16 ฉบับที่ 5025 วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 ได้ลงข่าว พาดหัวว่า วางระเบิดสังหารสงฆ์ใหญ่จีน มือมืด ซุกใต้เบาะรถยนต์-นั่งทับ ระเบิด รอด มรณภาพได้ปาฏิหาริย์ ถึงแม้จะมีความยากลำบากในการสร้างความมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีน เพียงใดท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ยังคงมุ่งมั่นในการปฏิบัติ
    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บำเพ็ญเพียร ศึกษาปฏิบัติ ที่ วัดถ้ำประทุน จนแตกฉานในพระไตรปิฏกรู้แจ้งเห็นจริงในอริยสัจสี่ เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของ พุทธศาสนิกชน เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อุบาสก อุบาสิกา ผู้เคารพเลื่อมใสในกรุงเทพฯได้นิมนต์ ท่านแสดงธรรมโปรดชาวเมืองอยู่เนืองๆ ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงได้ย้ายมา จำพรรษาอยู่ใน กรุงเทพ ณ.สำนักสงฆ์หมี่กัง สะพานอ่อน ขณะนั้นพุทธศาสนาฝ่ายจีนยังไม่แพร่หลาย วัดและ สำนักสงฆ์ ยังน้อย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ดำริว่า ต้องสร้างคนก่อนแล้วค่อยสร้างวัตถุ เมื่อคนมี ีคุณภาพทางจิตและผูกพัน การพัฒนา สังฆมณฑลจีนนิกายก็ราบรื่นและแพร่ไพศาล ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้เริ่มแผ่เมตตา รับสานุศิษย์(กุยอี)เข้าปฏิญาณตน เป็นพุทธมามะกะรับ คำสอนจากท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นรุ่นๆ รุ่นละร้อยกว่าคนบ้าง สองร้อยกว่าคนบ้างท่านเป็นที่ พึ่งแก่พุทธศาสนิกชน ่ทั้งชาวจีนและชาวไทยในกรุงเทพขณะนั้นและต่อๆมาวางรากฐานมั่นคง แก่คณะสงฆ์จีนนิกาย ในประเทศไทย
    [​IMG]
    ท่านสังฆราชาวัชระนะนา กับท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเมื่อครั้งเข้าศึกษาวัชรยานทิเบต
    -ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน ได้ ดั้นด้นธุดงค์ บำเพ็ญบารมีไป ได้เข้าศึกษามนตรยาน ณยิงมาคากิว ณ.สำนักสังฆราชา ริโวเช่ แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา “วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้”(นอร่ารินโปเช่) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต ท่านสังฆราชานะนา เลื่องลือมาก ในแถบจีน ตอนใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคาชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณยิงมาคากิว แล้ว พระสังฆราชาฯได้ประกอบมนตรภิเษก ตั้งให้ ท่านเจ้าคุณ อาจารย์เป็น “พระวัชรธราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชา นะนา ได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชา ให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่าง ครบถ้วน ทั้งได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายเพื่อให้ท่านเจ้าคุณ อาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วย ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด เป็นที่ยืนยันแล้วว่า พระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน เพื่อเข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ณ.วัดล่งเชียงยี่ บนภูเขาป๋อฮั้วซัว มณฑล กังโซว โดยมีพระคณาจารย์ฮ่งยิ้ม เป็นอุปัชฌาย์ ผู้เป็นสังฆนายกสำนักวินัย สำนักปฏิบัติ ธรรมวินัยแห่งนี้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่มีระเบียบวินัยเคร่งครัดที่สุดของจีน เมื่ออุปสมบทแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อยู่ศึกษาพระปริยัติธรรม กับพระคณาจารย์เพิ่มเติมอีก 2 ปี ด้วยสติ ปัญญา อันหลักแหลมฉลาดเฉลียว ท่านได้เรียนรู้อรรถธรรมลึกซึ้งต่างๆได้แตกฉานเป็นที่รัก ใคร่ของพระอาจารย์ และ พระสงฆ์ต่างๆ ในสำนัก ปี พ.ศ.2479 จึงได้จาริกกลับประเทศไทย เพื่อเผยแพร่พระธรรมและประสบการณ์ความรู้ ที่ได้รับมาแก่พุทธบริษัทในประเทศไทยต่อไป
    - ปี พ.ศ. 2490 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกกลับประเทศไทย พร้อมด้วย บารมีธรรม อันแรงกล้า แตกฉานในพระไตรปิฏกทุกยาน ทุกนิกาย ทั้งเถระวาทในประเทศไทย มหายานของจีน และวัชระยานของทิเบต ตลอดจน ความรอบรู้ปรัชญาของจีนและศาสตร์ทุก แขนงทั้งทางโลกและทางธรรม ด้วยว่าท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้ไม่ยอมว่าง ในการแสวงหา ความรู้นั่นเอง
    [​IMG]
    ท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งเข้ารับการแต่งตั้งเป็นประมุขนิกายวินัย
    - ปี พ.ศ.2491 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีนเป็นวาระที่สาม ครั้งนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้รับเกียรติอย่างสูงจากพระคณาจารย์จีนพระปรมัตตาจารย์ (เมี่ยวยิ้ว) ประมุขเจ้านิกายวินัยของประเทศจีน องค์ที่ 18 แต่งตั้งท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็น พระปรมัตตาจารย์ ประมุขนิกายวินัยองค์ที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกแสวงธรรม ในการ ครั้งนี้ด้วย รวมเวลาในวาระนี้ 2 ปีเศษ - ตั้งแต่ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้บรรพชา ณ วัดถ้ำประทุนเป็นต้นมาท่านได ้อุทิศกายใจ เพื่อการ พระศาสนา โดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง หลังจากเข้าพำนัก ณ. สำนักสงฆ์หมี่กัง ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได ้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ จำศีลภาวนา อบรมศิษยานุศิษย์ อย่างเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ผู้มาปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนสำนักสงฆ์หมี่กังคับแคบ ไม่พอแก่จำนวนผู้มา ท่านเจ้าคุณอาจารย์จึงสร้างสำนักสงฆ์หลับฟ้าขึ้นอีกแห่ง ในบริเวณใกล้ เคียงกัน กิติศัพท์ในสีลาจาวัตร ความรู้ ความสามารถ ความเมตตา ของท่านยิ่งกว้างขวางไป ไกล จำนวนศิษยานุศิษย์และผู้ปฏิบัติธรรมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น สำนักสงฆ์หลับฟ้าก็คับแคบอีกท่าน เจ้าคุณอาจารย์ จึงได้สร้างวัดโพธิ์เย็น ณ.ตลาดลูกแก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และ ได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา กับประกอบพิธี ผูกพัทธสีมาสำหรับ เป็นที่ประกอบการอุปสม บทตามพระวินัยบัญญัติ นับเป็นปฐมสังฆะรามฝ่ายจีนนิกาย แห่งแรกที่ให้ การอุปสมบทแก่กุล บุตร ซึ่งก่อนหน้านี้การอุปสมบทด้องเดินทางไปประเทศจีน ต่อมาสมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้ โปรด แต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌายะฝ่ายจีนนิกายรูปแรก ปี พ.ศ.2497 สมเด็จพระสังฆราชมี เถรบัญชาให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ จากวัดโพธิ์เย็นลงมาครองวัดมังกรกมลาวาส ซึ่งเป็นอาราม ใหญ่ที่สุดของฝ่ายจีนนิกาย ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ปกครอง ดูแลอย่างเรียบร้อย เป็นที่แซ่ซ้อง สาธุการของพุทธบริษัทชน ครั้นแล้ว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดให้เลื่อน สมณะศักดิ์ของ ท่านเจ้าคุณขึ้นเป็นที่พระอาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายสงฆ์จีนนิกาย ปกครอง คณะสงฆ์จีน ในประเทศไทย เมื่อคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทยมั่นคง สมบูรณ์แล้ว ท่าน เจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกยังประเทศในภูมิภาคนี้ เป็นครั้งเป็นคราว เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย เพื่อเผยแพร่พระศาสนาให้กว้างไกลยิ่งๆขึ้นไป ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อุทิศตนเพื่อ พระศาสนาอย่างแท้จริงเป็นเวลายาวนานกว่า 60 ปี ฉะนั้นชื่อเสียง เกียรติคุณ ของท่านจึงขจร ขจายไปทั่วทุกสารทิศ






    - ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยชาติวุฒิ คุณวุฒิ และวัยวุฒิ ปฏิบัติเคร่งครัดในสีลาจารวัตร เมตตาสั่งสอน อบรมพุทธบริษัททั่วไปอย่างหมั่นเพียรจนได้รับ การยกย่องในหมู่คณะพระมหาเถรานุเถระของ ไทยว่ามีปฏิปทาไม่แปลกจากสงฆ์ไทยเลย สังฆกรรมใดซึ่งมีพระพุทธบัญญัติ ก็พยายามพื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติ เช่น พิธี กฐิน เป็นต้นด้วยความ เป็นสังฆราชาแห่งสำนักวินัยอันดับที่ 19 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ให้ความสำคัญ ในการปฏิบัติเคร่ง ครัด ในพระวินัย พร้อมทั้งสั่งสอน ควบคุม พระภิกษุ สามเณรในวัดให้เป็นผู้เคร่งครัดในการ ปฏิบัติพระวินัยด้วย ท่านเจ้าคุณ อาจารย์จึงมีคำสั่งให้พระภิกษุเย็นเกียรติ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดโพธิ์เย็น จัดการแปลสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์แห่งนิกายวินัย ซึ่งเป็นพากษ์ภาษาจีนออกสู่ พากย์ไทย เพื่อเป็นการเปรียบเทียบพระปาฏิโมกข์ของฝ่ายบาลี และให้ผู้บวชเรียนชาวไทย ในกาลต่อมาได้เรียนรู้อย่างสะดวก พระภิกษุจีนนอกจากจะต้องปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัตินี้ แล้ว ยังต้องปฏิบัติ โพธิสัตว์ สิกขาตามคติในนิกายมหายานอีกด้วย - วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน 2529 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้อาพาธ และถึงแก่มรณะภาพลง สิริอายุ 85 ปีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ ในการสวดพระอภิธรรม 7 วัน นอกจากนี้ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ ได้ทรงพระมหากรุณา เสด็จพระราชดำเนินไปในการบำเพ็ญพระ ราชกุศลพระอภิธรรม แก่ศพท่านเจ้าคุณอาจารย์ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2529 สมเด็จพระบรม โอรสาธิราช เสด็จพระราชดำเนิน บำเพ็ญ พระราชกุศลพระราชทานบรรจุศพ ท่านเจ้าคุณอา จารย์ ณ วัชระเจดีย์ วัดโพธิ์แมนคุณาราม ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นพระเถระต่างชาติรูปแรกที่ได้ รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงเป็นเกียรติประวัติยามเมื่อท่าน ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อท่านได้ละ สังขารแล้ว ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรม ราชานุเคราะห์ต่างๆ เป็นเกียรติประวัติที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์สงฆ์จีนในประเทศไทย
    [​IMG]






    ก่อนท่านเจ้าคุณอาจารย์จะมรณะภาพท่านได้สั่งคณะศิษย์ไว้ว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควร ก็ให้เปิดวัชระเจดีย์และอัญเชิญสรีระของท่านออกมาเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2539 เจ้าคณะใหญ่สงฆ์จีนนิกายองค์ปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ได้ประกอบพิธีเปิดวัชระเจดีย์เมื่อผู้ร่วมในพิธีทุกท่านได้เห็นสรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นที่ อัศจรรย์อย่างยิ่ง สรีระของท่านยังคง สมบูรณ์ดี แม้เวลาจะผ่านไปนานถึงสิบปีแล้วก็ตาม แต่ก็ มีเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่งไปกว่านั้นอีก ร่างของท่านได้ แบ่งสีสรรเป็นสามสีอย่างชัดเจนคอและ ศีรษะเป็นสีทอง ตัวเป็นสิเงิน จากข้อศอกทั้งสองข้าง และขาทั้งสอง ข้างเป็นสีโกโก้หรือสีของ เมื่อสัมผัสยังนุ่มนิ่มเหมือนเนื้อคนธรรมดา ขณะนี้สรีระของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้ประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์แมนคุณารามเพื่อให้สานุศิษย์ทั้งหลายได้กราบไหว้บูชา





    สรีระพระอาจารย์ตั๊กฮี้



    [​IMG]


    วัดเทพพุทธาราม ชลบุรี

    พระอาจารย์ตั๊กฮี้ เกิดในตระกูลลี้ เป็นชาวมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน อาชีพเดิมเป็นชาวนา สกุลของท่านมีอัธยาศัยใฝ่ทางสร้างบุญกุศล ท่านถือมังสวิรัติไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์มาตั้งแต่วัยหนุ่ม ชอบสวดมนต์ต์ต์ต์ไหว้พระและเลี้ยงพระเป็นอาจิณ นิยมสร้างกุศลสิ่งสาธารณะประโยชน์ อาทิเช่น สร้างสะพาน การเก็บศพของคนยากไร้อนาถ
    ในตอนปลายสมัยแผ่นดินราชวงศ์เช็ง ท่านได้เดินทางมายังประเทศไทย ได้พักอยู่ ณ โรงเจตงฮั้วตึ๊ง ของลัทธิเต๋า และได้ปฏิบัติศึกษาธรรมตามลัทธินี้ จนได้รับตำแหน่งหัวหน้าคณะ ต่อมาท่านได้ศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ท่านได้เห็นหลักสัจธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอุดมคติคือสำเร็จพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ส่วนลัทธิเต๋านั้นมีอุดมคติเพื่อสำเร็จเป็นเซียน คือเทพเจ้าเท่านั้น ต่อมาท่านอาจารย์ตั๊กฮี้ จึงได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าคณะทางลัทธิเต๋า แล้วเดินทางไปขอบรรพชาในสำนักพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร(กวยหงอ) ซึ่งเป็นอดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ ๒ วัดมังกรกมลาวาส จ.กรุงเทพ
    ครั้นญาติพี่น้องในเมืองไทยของท่านทราบว่าได้ออกบวชที่ประเทศไทย จึงได้ส่งข่าวให้ภรรยาของท่านที่เมืองจีนทราบ ภรรยาของท่านจึงได้เดินทางมาเมืองไทยเพื่ออ้อนวอนร้องขอนิมนต์ท่านกลับมาตุภูมิ ท่านทนการอ้อนวอนไม่ได้จึงจำต้องกลับสู่มาตุภูมิ แต่ท่านก็ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมใดๆ แต่กลับเพิ่มทวีการบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคร่งครัด โดยบำเพ็ญภาวนาในคอกโค สมาทานธุดงควัตรต่างๆ เพื่อให้สำเร็จเป็นตบะธรรมเผากิเลส
    ฝ่ายภรรยาของท่านนั้นมักมากวนท่านอยู่เนืองๆ เช่น จัดอาหารถวายท่านแต่ได้แทรกชิ้นเนื้อสัตว์ในอาหารชนิดนั้นด้วย โดยหวังจะให้ท่านเลิกมังสวิรัติ แต่ท่านก็เลือกฉันเฉพาะที่พวกเป็นพืชผัก บางคราวก็ถึงกับยอมอดฉันแต่กากใบชาแทน ด้วยอานุภาพแห่งสมาธิภาวนาและสัจจะที่แรงกล้าของท่าน ทำให้ท่านมีวรรณะผุดผ่องใครที่เข้าใกล้ก็ได้รสธรรมจากท่านด้วย จนภรรยาของท่านได้สติจึงได้กราบขมาโทษจากท่านและขอบำเพ็ญพรตถือศีลกินเจตามท่านด้วย ครั้นเมื่อท่านได้เดินทางกลับสู่ประเทศไทย เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม พระอาจารย์กวยหงอ เห็นความเคร่งครัดของท่าน จึงได้มอบหมายให้ท่านเป็นผู้แสดงธรรมแก่สาธุชนทั้งชาวไทย-ชาวจีน ประจำ ณ สำนักเต๊กฮวยตึ๊ง จังหวัดเพชรบุรี
    ต่อมาพระอาจารย์ตั๊กฮี้ ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) และนับเป็นอดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ ณ ที่วัดแห่งนี้ท่านอาจารย์ได้รับศิษยานุศิษย์เพื่อบรรพชาจำนวนกว่า ๓๐ รูป และมีศิษย์ที่สำคัญรูปหนึ่งฉายา “เซี่ยงหงี” ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร เป็นอดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ ๕ พระอาจารย์ตั๊กฮี้ได้ครองวัดอยู่ระยะหนึ่ง จึงออกจาริกแสดงธรรมโปรดชาวพุทธตามจังหวัดต่างๆ เรื่อยมาจนถึงจึงหวัดชลบุรี​

    พุทธศาสนิกชนต่างพากันเลื่อมใสปฏิปทาวัตรปฏิบัติของท่าน ในครั้งนั้นมีทายกทายิกาผู้ใจบุญหลายคนได้ถวายที่ดิน เช่น นางถั่ง, นายเผือด, นางถมยา ä


    ป รั ช ญ า ป า ร มิ ต า ห ฤ ทั ย สู ต ร
    ดูเนื้อร้องประกอบเพลงได้ที่ http://www.oknation.net/blog/buddhamantra/2007/06/30/entry-1
    Post by buddhamantra : 21.21 น. | แสดงความคิดเห็น



    <CENTER><EMBED height=70 name=objMediaPlayer type=application/x-mplayer2 pluginspage=http://www.microsoft.com/Windows/MediaPlayer/ width=300 src=http://www.oknation.net/blog/home/video_data/824/8824/video/6155/6155.mp3 AutoStart="True" center="true" displaySize="0" showdisplay="false" autoSize="false"> </EMBED>
    </CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2009
  2. ธัชกร

    ธัชกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    267
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,040
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%"><TBODY><TR><TD colSpan=2>
    ประวัติพระอาจารย์เย็นกวง
    </TD></TR><TR><TD width="50%">

    [​IMG]
    </TD><TD width="50%">

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    พระอาจารย์เย็นกวง มีนามเดิมว่า ฮะชุ้น แซ่ตั้ง เป็นชาวตำบลฮ่งเก่ง อำเภอเท่งไฮ้ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๕ หรือตรงกับแรม ๖ ค่ำ เดือน ๖ ปีกุน
    เมื่อท่านมีอายุย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ได้เดินทางออกจากประเทศจีนมายังพระราชอาณาจักรไทย และได้เริ่มต้นเป็นนายพาณิชย์ทำการค้าขายระหว่างกรุงเทพฯ-สระบุรี การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ในขณะนั้นเป็นไปด้วยดีพอควร

    จนกระทั่ง ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ วันหนึ่ง ท่านได้เดินผ่านหน้าวัดเล่งเน่ยยี่ (วัดมังกรกมลาวาส) ทันใดนั้น ท่านก็รำลึกถึงองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเดินเข้าไปยังปูชนียสถานและกราบนมัสการพระรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมดั่งใจนึก ท่านมีความรู้สึกว่า “ จิตของท่านในขณะนั้นมีความเลื่อมใสศรัทธาและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงมีพระเมตตากรุณาต่อเหล่าสรรพสัตว์อย่างหาที่เปรียบมิได้ ดังนั้นท่านจึงเข้าไปนมัสการท่านเจ้าคุณซือกงโพธิ์แจ้ง เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ขอบรรพชาอุปสมบท ท่านเจ้าคุณซือกงโพธิ์แจ้งแลเห็นถึงความตั้งใจจริงและรู้สึกพอใจ และทราบว่าบุคคลนี้นับว่าเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต เป็นผู้ง่ายต่อการแนะนำสั่งสอน จึงยินดีรับไว้เป็นศิษย์ หลังจากนั้นอีก ๑ ปีต่อมา

    ปี พ.ศ.๒๔๙๙ ท่านเดินทางไปสู่วัดโพธิ์เย็นและเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า “ เย็นกวง ” โดยในขณะนั้นท่านมีอายุได้ ๔๕ ปี

    หลังจากท่านอุปสมบทแล้ว ท่านได้ปฏิบัติซึ่งข้อวัตรของภิกษุอย่างเคร่งครัด บำเพ็ญเจริญพุทธานุสสติกัมมัฏฐานเป็นอาจิณวัตรด้วยความวิริยะอุตสาหะ นอกจากการทำวัตรสวดมนต์อันเป็นกิจวัตรแล้ว พอถึงยามค่ำก็เริ่มเจริญภาวนาเพื่อยังจิตของท่านให้เป็นสมาธิอยู่เป็นนิตย์

    ปี พ.ศ.๒๕๐๗ ท่านบำเพ็ญภาวนาอย่างยิ่งยวดด้วยความเพียร ท่านเริ่มฉันน้อยลง พักผ่อนหลับนอนน้อยลง การพูดการกล่าวก็น้อยลง

    ปี พ.ศ.๒๕๐๙ วันเสาร์ที่ ๒๖ เดือนพฤศจิกายน ตรงกับขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะเมีย ท่านไม่ได้มาทำวัตรเหมือนอย่างเคย ท่านหลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นฮั้ว) รองเจ้าอาวาส เกิดความสงสัย จึงไปเยี่ยมท่านที่กุฎิแต่ปรากฏว่าท่านได้ดับขันธ์ไปแล้ว ในลักษณะนั่งสมาธิมือถือลูกประคำภาวนาอยู่ ใบหน้าดูผ่องใสสงบน่าเลื่อมใส ประดุจกำลังอยู่ในสมาธิ

    พระภิกษุสามเณรพร้อมด้วยคฤหัสถ์ภายในวัด พากันมากราบท่านด้วยความชื่นชม ต่างสรรเสริญว่าเป็นปรากฎการณ์ที่พบเห็นได้ยากในสมัยนี้ ในขณะนั้น ท่านมีอายุได้ ๕๕ ปี เมื่อนับปีแห่งการอุปสมบทของท่านได้ ๑๐ พรรษาบริบูรณ์...เมื่อนับย้อนหลังไปในอดีต สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านเคยกล่าวไว้ว่า “ หลังจากท่านถึงแก่มรณภาพ ๓ ปี ให้เปิดที่บรรจุศพของท่านออกมาดู หากปรากฏว่าร่างกายของท่านไม่เน่าเปื่อย ยังอยู่ในสภาพดี ก็ให้ลงรักปิดทองให้แก่ท่านด้วย ”

    ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ เพื่อนสหธรรมมิกร่วมสำนักอาจารย์เดียวกับท่านได้เปิดที่บรรจุศพออกดู ปรากฏว่าร่างกายท่านไม่เน่าเปื่อย คงสภาพดีอยู่
    ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อเปิดที่บรรจุศพออกดูอีกครั้ง สภาพร่างกายของท่านก็ยังคงสภาพเหมือนเดิม

    ด้วยเหตุนี้ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๔ ทางวัดโพธิ์เย็น โดยท่านหลวงจีนธรรมรัตจีนประจักษ์ (เย็นฮั้ว) จึงได้นำเรื่องนี้กราบเรียนท่านเจ้าคุณซือกงโพธิ์แจ้ง เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย ท่านจึงมีบัญชาให้พระอาจารย์เย็นฮั้วนำร่างออกมาทำการลงรักปิดทอง ตามความประสงค์ของท่าน และตั้งคณะกรรมการจัดงานเพื่อให้สาธุชนมีโอกาสสักการะและปิดทองร่างอันไม่เน่าเปื่อยของท่าน โดยเริ่มงานตั้งแต่วันที่ ๑๓-๒๐ เดือนพฤษภาคม รวม ๘ วัน ๘ คืน พร้อมกับให้ชื่องานครั้งนี้ว่า “งานปิดทองร่างของพระเย็นกวงเถระ” เพื่อเป็นการสรรเสริญคุณธรรมความเพียรที่ท่านได้ปฏิบัติ ศีล สมาธิ ด้วยดีมาโดยตลอด อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างที่ดีแก่พุทธมามกะทั้งหลายให้ได้เห็นถึงความเพียรและความมุ่งมั่นปฏิบัติจนได้รับผลสำเร็จจากความเพียรพยายามนั้น

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>

    ประวัติพระอาจารย์เย็นกวน
    </TD></TR><TR><TD>

    [​IMG]
    </TD><TD>

    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    พระอาจารย์เย็นกวน มีนามเดิมว่า โล่ยแก่ แซ่ฉั่ว เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๔๑ ปีจอ ภูมิลำเนาเดิมเป็นชาวจีนแคะ มณฑลกวางตุ้ง ได้รับการศึกษาพื้นฐานจนมีความรู้ภาษาจีนขั้นอ่านออกเขียนได้

    ในวัยหนุ่ม ท่านเดินทางมาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทย มุ่งมั่นประกอบสัมมาอาชีวะด้วยความขยันขันแข็งจนสามารถเลี้ยงตัวได้ ท่านได้พำนักอยู่ที่บ้านเลขที่ ๑๘๗ หมู่ ๓ ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยไม่ปรากฏชัดว่ามีครอบครัวหรือไม่

    ความที่ท่านเป็นผู้มีอัธยาศัยเยือกเย็น พูดน้อย เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต รักความสันโดษ ประกอบกับการเป็นผู้ใฝ่รู้ รักการศึกษาเล่าเรียน ท่านจึงหมั่นเพียรศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์และพระเถรานุเถระรูปต่าง ๆ อยู่เสมอ ในวัยชราท่านจึงได้บังเกิดปณิธานจิตที่จะมุ่งหาความสงบแห่งชีวิตเป็นที่ตั้ง

    ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๑ เมื่อท่านอายุได้ ๗๐ ปี ท่านได้พิจารณาถึงความเป็นอนิจจังของโลกและชีวิต ความเสื่อมไปของสังขารร่างกาย ท่านจึงได้เข้าไปกราบนมัสการถวายตัวเป็นศิษย์ท่านเจ้าคุณซือกงโพธิ์แจ้ง เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย และขอบรรพชาอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย

    ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๑ โดยมีท่านเจ้าคุณซือกงโพธิ์แจ้ง เป็นพระอุปัชฌาย์ , หลวงจีนคณาณัติจีนพรต(เย็นบุญ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ , หลวงจีนธรรมนาทจีนประพันธ์ (เย็นจู) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมา วัดโพธิ์เย็น จ.กาญจนบุรี
    เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์เย็นตลอดมา ในยามปกติท่านจะถือวัตรปฏิบัติสวดมนต์ทำวัตรเช้า-เย็นมิได้ขาด และยังเจริญพุทธานุสติภาวนา พระนามพระอมิตาภพุทธเจ้า หรือในภาษาจีนว่า “ นำ มอ ออ นี ถ่อ ฮุก ” อยู่เสมอ ๆ ซึ่งจะเห็นท่านบริกรรมและนับลูกประคำอยู่ตลอดเวลา

    ท่านเป็นผู้มีอุปนิสัยสงบเยือกเย็น เป็นผู้สมถะอยู่ง่ายกินง่าย เป็นผู้ว่าง่ายไม่ดื้อรั้นต่อการแนะนำสั่งสอนของพระอุปัชฌาย์อาจารย์....บุคลิกของท่านเป็น
    ผู้ที่มีความเมตตาโอบอ้อมอารีอยู่เสมอ ท่านจะใช้เวลาว่างสาธยายพระสูตรต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ ด้วยเหตุที่ท่านปฏิบัติเจริญภาวนาบริกรรมพุทธนามอยู่เป็นประจำทำให้ท่านมีผิวพรรณผ่องใสเป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้ใกล้ชิดที่ได้พบเห็น ท่านได้กล่าวกับผู้ใกล้ชิดว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วร่างของท่านจะไม่เน่าเปื่อย ซึ่งผลก็ปรากฏเป็นจริงตามนั้น

    เมื่อวันที่ ๒ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ท่านถึงแก่มรณภาพอย่างสงบในอิริยาบถนั่งสมาธิ รวมสิริอายุ ๘๑ ปี ๑๑ พรรษา

    ทางคณะสงฆ์จีนนิกายและวัดในสังกัดพร้อมด้วยคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศแก่ท่านตามประเพณี ณ วัดโพธิ์เย็น แล้วเก็บศพท่าน ณ สุสานโพธิ์เย็น เป็นเวลา ๓ ปี ตามคำสั่งเสียของท่าน เมื่อครบ ๓ ปี คณะสงฆ์ได้เปิดที่บรรจุศพออกมาดูปรากฏว่าร่างของท่านมีสภาพแห้งไม่เน่าเปื่อย เป็นที่อัศจรรย์ตามที่ท่านได้สั่งเสียไว้ทุกประการ

    ทางคณะสงฆ์จึงนำร่างของท่านมาทำการลงรักปิดทองและนำขึ้นมาประดิษฐานไว้ ณ หอสรีระบูรพาจารย์เพื่อให้สาธุชนได้สักการะต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...