ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    เบื้องหลังความล้มเหลวของเยอรมันและ EU ในการจัดหาวัคซีน COVID-19
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    Published 7/02/21
    ในขณะที่อังกฤษและอเมริกาสามารถระดมจัดหาวัคซีน COVID-19 ได้อย่างเพียงพอ อเมริกาได้จองและจัดหาวัคซีนได้เป็นจำนวน 5 เท่าของจำนวนประชากร 320 ล้านคน จากโครงการ operation wrapped speed ของ Trump ซึ่งได้ทุ่มเงินไปนับพันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ EU ใช้เงินจองวัคซีนแค่ 408 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ต้องใช้เงินทั้งหมดอีกนับพันล้านดอลลาร์
    แต่ยุโรปภายใต้การนำของ นายกหญิงเหล็กเยอรมัน นาง Angela Merkel ผู้ที่เคยได้รับการยกย่องในความสามารถแก้วิกฤติต่างๆตลอด 18 ปีที่อยู่ในตำแหน่ง
    แต่การจัดหาวัคซีนให้ยุโรปทำให้การลงจากตำแหน่งของนาง Merkel ไม่สดสวยนัก นายกรัฐมนตรีหญิง มีความเครียดและอารมณ์ฉุนเฉียวมากเมื่อถูกนักข่าวถามถึงความล่าช้าในการจัดหาวัคซีน COVID-19 ให้ EU
    ในช่วงตันของการระบาดของ COVID-19 เยอรมันได้รับคำชมเชยอย่างมากในการจัดการและควบคุมการระบาดของ COVID-19 เนื่องจากจำนวนคนติดเชื้อและอัตราการตายตำ่มากเมื่อเทียบกับยุโรปอื่นๆ เช่น อิตาลี ฝรั่งเศส อังกฤษ ยิ่งเสริมบารมีของนายกหญิง Merkel
    การเมืองก็คือการเมืองไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่เยอรมัน รัฐมนตรีสาธารณสุขเยอรมัน นาย Jens Spahn คนหนุ่มผู้ทะเยอทะยานต้องการสร้างผลงานแข่งรัศมีนาง Merkel ในเดือนมิถุนายน 2020 นาย Spahn ได้พยายามร่วมกับ อิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ ในการจัดหาวัคซีนล่วงหน้าไว้ให้มากที่สุด
    แต่นายก Merkel มีความไม่เห็นด้วยกับนาย Spahn เพราะเห็นว่าเยอรมันในฐานะของผู้นำใหญ่ของ EU ไม่ควรแยกกลุ่มออกมาจัดหาวัคซีนเอง นายก Merkel จึงปล่อยให้ประธาน EU นาง Von Der Leyen ซึ่งเป็นอดีตรัฐมนตรีของรัฐบาลเยอรมัน ทำการจัดหาวัคซีนให้ EU 27 ประเทศ
    แต่นายก Merkel มีความยากลำบากที่จะอธิบายต่อคนเยอรมันถึงความผิดพลาดในการจัดหาวัคซีน และที่สำคัญจะต้องอธิบายว่าเธอทำงานให้เยอรมันหรือ EU
    ประธาน EU นาง Von Der Leyen ทำงานด้วยความเชื่องช้าเพราะเคยเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเยอรมัน แต่ได้รับเลือกมาเพราะการเมืองภายในระหว่างประเทศใหญ่ใน EU
    ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อบริษัท ASTRAZENECA มีปัญหาที่โรงงานผลิตในเบลเยียม ทำให้ส่งมอบวัคซีนได้แค่ 60% ที่ตกลงไว้ ทั้งๆที่วางเงินไว้แล้วกว่า 408 ล้านดอลลาร์
    เมื่อมีปัญหากับบริษัท Astrazeneca นาง Von Der Leyen ก็จัดการแก้ไขปัญหาด้วยความวุ่นวาย ทะเลาะกับทั้ง Astrazeneca และ อังกฤษ ทำสิ่งที่ไม่ควรทำในการค้าระหว่างประเทศด้วยการห้ามการส่งออกวัคซีน COVID-19 ออกจากเขต EU นำมาซึ่งความเดือดร้อนต่อไทย เพราะวัคซีน 50,000 dose ที่ไทยสั่งจาก Astrazeneca ผลิตที่อิตาลี แม้แต่ WHO ก็ยังออกมาติงว่าการกระทำของ EU อาจทำให้การระบาดของ COVID-19 ยืดยาวต่อไปอีก
    นาง Von Der Leyen ได้ดำเนินการผิดพลาดโดยการห้ามส่งวัคซีนไปที่ Ireland เหนือ โดยยกเลิกข้อตกลง Brexit เป็นการชั่วคราว ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเมื่ออังกฤษและ Ireland เหนือออกมาโจมตี
    เรื่อง Ireland เหนือซึ่งเคยเป็นปัญหาใหญ่ในการเจรจา Brexit เพราะเป็นปากประตูที่สินค้ายุโรปจะแอบเข้าสู่อังกฤษได้ EU กลัวว่าวัคซีนจาก Ireland เหนือจะถูกลักลอบนำเข้าอังกฤษ
    ความสับสนวุ่นวายเรื่องวัคซีนในการจัดหาวัคซีนของ EU อย่างน้อยก็แสดงว่าอังกฤษคิดถูก เพราะอังกฤษสามารถจัดหาวัคซีนเอง และฉีดวัคซีนไปแล้วเกิน 11 ล้าน dose สำหรับประชาชน 66 ล้าน ในขณะที่ EU ฉีดวัคซีนไปได้แค่ 3 .3% สำหรับประชาชน 450ล้านคน และยังมีปัญหาเรื่อง supply ของวัคซีนเนื่องจากนาง Von Der Leyen เซ็นสัญญากับบริษัท Astrazeneca ช้ากว่าอังกฤษถึง 3 เดือน
    EUสงสัยว่าบริษัท Astrazeneca ซึ่งเป็นบริษัทอังกฤษแอบเอาวัคซีน Oxfords ที่ผลิตในเยอรมันและเนเธอร์แลนด์ ส่งมอบให้อังกฤษครบตามจำนวนที่ทำสัญญากับอังกฤษ แต่บริษัทกลับไม่ทำตามที่สัญญาที่ทำไว้กับ EU
    การจัดหาวัคซีนของ EU ได้แสดงถึงความด้อยประสิทธิภาพในการจัดการและการเมืองภายใน EU ที่ประกอบด้วยประเทศ 27 ประเทศ
    นาง Von Der Leyen แก้ตัวว่าในความล่าช้าของ EU ว่า EUมีขนาดใหญ่เปรียบเทียบเหมือนเรือบรรทุก Tanker จึงล่าช้ากว่าอังกฤษซึ่งเป็นประเทศเปรียบเทียบอังกฤษเหมือนเรือเร็ว speed boat
    บรรดารัฐมนตรีในรัฐบาลเยอรมันรู้สึกไม่พอในนาง Von Der Leyen ซึ่งเป็นคนเยอรมัน เพราะทำให้เยอรมันเสียชื่อและคนเยอรมันก็ยังได้รับการฉีดวัคซีนด้วยความล่าช้า
    นายกสาธารณรัฐ เช็กโกสโลวะเกีย ซึ่งอยู่ใน EU ทนต่อความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของ EU ไม่ได้ ต้องจัดหาวัคซีนจากรัสเซียเอง
    เรื่องการจัดหาวัคซีนของ EU คงจะพอมองออกถึงอนาคตของ EU ภายหลังยุคหญิงเหล็ก Merkel และตรงเวลากับ Brexit และปัญหาที่ตามมาหลังการระบาดของ COVID-19
    โดย นายแพทย์ ยงค์ศักดิ์ เลียงอุดม
    เป็นความเห็นส่วนตัวไม่เกี่ยวกับองค์กร











    https://web.facebook.com/ตามข่าวกับ...01/photos/pcb.229144528880335/229144392213682

    https://web.facebook.com/ตามข่าวกับ...01/photos/pcb.229144528880335/229144312213690
     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    นี่คือ พอล อเล็กซานเดอร์ มนุษย์คนสุดท้ายที่ยังอยู่ในสิ่งที่เรียกกันว่า "ปอดเหล็ก" หรืออุปกรณ์ดำรงชีพสำหรับผู้ป่วยโปลิโอสมัยก่อนที่จะมีวัคซีนต้านโรคติดต่อนี้

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘ไบเดน-สีจิ้นผิง’ ต่อสายคุยหนแรก ชูปัญหาสิทธิมนุษยชน-ลดการเผชิญหน้า
    .
    ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ต่อสายคุยกับประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีนเป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง โดยเน้นย้ำเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชนและความเสรี-เปิดกว้างในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ขณะที่ผู้นำแดนมังกรเตือนสหรัฐฯ ว่าการเผชิญหน้าอาจจะนำมาซึ่ง “หายนะ” ต่อทั้ง 2 ฝ่าย
    .
    การพูดคุยระหว่างผู้นำ 2 ชาติมหาอำนาจมีขึ้นในช่วงเช้าตรู่วันนี้ (11 ก.พ.) ตามเวลาในจีน ซึ่งตรงกับช่วงหัวค่ำวันพุธ (10) ตามเวลาสหรัฐฯ โดยทำเนียบขาวแถลงว่า ไบเดน “ได้เอ่ยย้ำความกังวลขั้นพื้นฐานในหลายประเด็น ทั้งเรื่องที่ปักกิ่งใช้แนวทางปฏิบัติเชิงบังคับที่ไม่เป็นธรรม, การปราบปรามผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง, การละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาวมุสลิมอุยกูร์ในซินเจียง และการแสดงท่าทีก้าวร้าวในภูมิภาค รวมถึงต่อไต้หวัน”
    .
    ไบเดน ยังบอกกับ สี ด้วยว่า สิ่งที่รัฐบาลของตนให้ความสำคัญสูงสุดก็คือ “การปกป้องความมั่นคง, ความเจริญรุ่งเรือง, สุขภาพ และวิถีชีวิตของชาวอเมริกัน ตลอดจนธำรงไว้ซึ่งความเสรี-เปิดกว้างในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก”
    .
    ผู้นำทั้งสองยังได้หารือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโรคระบาดโควิด-19, การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการไม่แพร่กระจายอาวุธ
    .
    ด้านกระทรวงการต่างประเทศจีนออกมาระบุว่า ประธานาธิบดี สี ได้เตือน ไบเดน ว่าการเผชิญหน้าจะนำมาซึ่ง “หายนะ” ต่อทั้ง 2 ฝ่าย และเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูแนวทางที่จะช่วยหลีกเลี่ยงความเข้าใจผิดกัน
    .
    อย่างไรก็ตาม สี ยังคงแสดงท่าทีแข็งกร้าวในประเด็นฮ่องกง, ซินเจียง และไต้หวัน โดยย้ำเตือนผู้นำสหรัฐฯ ว่า กิจการในดินแดนเหล่านี้ “ถือเป็นอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนจีน” ซึ่งตนหวังว่าสหรัฐฯ จะใช้ความระมัดระวัง
    .
    การพูดคุยครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกระหว่าง สี กับผู้นำสหรัฐฯ หลังจากที่ได้คุยครั้งสุดท้ายกับอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อเดือน มี.ค. ปีที่แล้ว ก่อนที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองจะร่วงต่ำถึงขีดสุดในรอบหลายสิบปีจากการที่ ทรัมป์ ประณามหยามเหยียดจีนว่าเป็นต้นตอโควิด-19
    .
    ที่มา: รอยเตอร์

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ตะวันตกผวา! อิหร่านเริ่มผลิต ‘โลหะยูเรเนียม’ หวั่นใช้ทำแกนระเบิดนิวเคลียร์
    .
    ทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) แถลงยืนยันวานนี้ (10 ก.พ.) ว่าอิหร่านได้เริ่มกระบวนการผลิตโลหะยูเรเนียม (uranium metal) ซึ่งถือว่าเข้าข่ายละเมิดข้อตกลงนิวเคลียร์ที่ทำร่วมกับกลุ่มชาติมหาอำนาจเมื่อปี 2015 เนื่องจากวัสดุดังกล่าวสามารถนำไปทำเป็นแกน (core) ของระเบิดนิวเคลียร์ได้
    .
    รัฐบาลเตหะรานเริ่มทยอยฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อตกลงนิวเคลียร์ทีละน้อยตั้งแต่ปี 2019 หลังจากที่สหรัฐฯ ภายใต้การนำของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ถอนตัวออกจากข้อตกลงดังกล่าว และฟื้นมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่ออิหร่าน
    .
    อย่างไรก็ตาม กิจกรรมนิวเคลียร์ของอิหร่านถูกยกระดับเร็วขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะทำให้ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ตัดสินใจยากลำบากขึ้นหากจะนำวอชิงตันกลับเข้าร่วมข้อตกลงอีกครั้ง
    .
    รัฐสภาอิหร่านได้ผ่านร่างกฎหมายใหม่เมื่อเดือน ธ.ค. ปีที่แล้ว ซึ่งกำหนดให้มีการยกระดับกิจกรรมนิวเคลียร์เพื่อตอบโต้กรณีนักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์คนสำคัญของอิหร่านถูกมือปืนลอบสังหาร ซึ่งเตหะรานเชื่อว่าน่าจะเป็นฝีมือของ “อิสราเอล” โดยหนึ่งในมาตรการที่ถูกเรียกร้องก็คือการเปิดโรงงานผลิตโลหะยูเรเนียม
    .
    รัฐบาลอิหร่านได้แจ้งต่อ IAEA เมื่อเดือน ธ.ค. ว่ามีแผนที่จะผลิตโลหะยูเรเนียมสำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อการวิจัย
    .
    “เลขาธิการใหญ่ ราฟาเอล มาเรียโน กรอสซี ได้แจ้งให้รัฐสมาชิก IAEA รับทราบเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวล่าสุดของอิหร่านในการผลิตโลหะยูเรเนียม ซึ่งอิหร่านอ้างว่าจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์เพื่อการวิจัย” คำแถลงจาก IAEA ระบุ
    .
    รายงานที่ IAEA เผยแพร่เมื่อวันพุธ (10) ระบุว่า รัฐบาลอิหร่านเตรียมศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโลหะยูเรเนียมโดยใช้แร่ยูเรเนียมธรรมชาติ ก่อนที่จะเริ่มผลิตโลหะยูเรเนียมความบริสุทธิ์ 20% ซึ่งก็ยังถือว่าห่างไกลจากยูเรเนียมเกรดอาวุธที่จะต้องมีความบริสุทธิ์สูงถึง 90%
    .
    ฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมนีซึ่งร่วมเป็นภาคีในข้อตกลงนิวเคลียร์ ระบุเมื่อเดือน ม.ค. ว่า “รู้สึกกังวลอย่างยิ่ง” และมองว่าแผนการผลิตโลหะยูเรเนียมของอิหร่านนั้นไม่ได้มีเหตุอันควรใช้เพื่อประโยชน์ในด้านพลเรือน แต่ส่อเจตนานำไปใช้ในด้านการทหารมากกว่า
    .
    ข้อตกลงนิวเคลียร์ปี 2015 หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า “แผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม (JCPOA)” ถือเป็นหนึ่งในผลงานการทูตชิ้นโบแดงของอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา แห่งสหรัฐฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมกิจกรรมนิวเคลียร์ของอิหร่านให้อยู่ในระดับที่ตะวันตกวางใจได้ และยืดเวลาที่อิหร่านจะผลิตวัสดุฟิสไซล์ได้มากพอสำหรับผลิตระเบิดนิวเคลียร์ 1 ลูก จาก 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย 1 ปี
    .
    อิหร่านยืนยันเสียงแข็งว่าไม่เคยคิดครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ตามที่ถูกกล่าวหา และอ้างว่าใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อประโยชน์ในทางสันติเท่านั้น อย่างไรก็ตาม หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ และ IAEA เชื่อว่าอิหร่านเคยมีโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์อย่างลับๆ ก่อนที่จะยกเลิกไปเมื่อปี 2003
    .
    ที่มา: รอยเตอร์
     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘ไบเดน’ สั่งกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ทบทวนยุทธศาสตร์ที่มีต่อ ‘จีน’
    .
    ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ประกาศวานนี้ (10 ก.พ.) ว่ากระทรวงกลาโหมจะเริ่มทบทวนยุทธศาสตร์ที่มีต่อจีนในแง่มุมสำคัญๆ เช่น ข่าวกรอง, เทคโนโลยี รวมไปถึงกิจกรรมทางทหารของสหรัฐฯ ในภูมิภาค
    .
    การทบทวนยุทธศาสตร์ครั้งนี้จะเกิดขึ้นควบคู่กับการทบทวนนโยบายด้านอื่นๆ ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ กำลังดำเนินการอยู่ เช่น การคงทหารอเมริกันในภูมิภาคตะวันออกกลาง และนโยบายต่อนาโต เป็นต้น
    .
    สหรัฐฯ และจีนมีข้อบาดหมางกันอยู่ในหลายประเด็น ตั้งแต่เรื่องเทคโนโลยีไปจนถึงกิจกรรมทางทหารของจีนในทะเลจีนใต้ โดยต่างฝ่ายต่างก็กล่าวหาซึ่งกันและกันว่าจงใจแสดงพฤติกรรมยั่วยุ
    .
    กระทรวงกลาโหมในยุคของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยกให้การต่อต้านอิทธิพลจีนเป็นภารกิจสำคัญอันดับต้นๆ ซึ่ง ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมคนใหม่ ก็ส่งสัญญาณว่าสหรัฐฯ จะยังคงเดินหน้านโยบายเช่นนี้ต่อไป
    .
    ในการเยือนตึกเพนตากอนครั้งแรกหลังจากสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ไบเดน ระบุว่าตนได้รับรายงานสรุปจาก ออสติน เกี่ยวกับการจัดตั้งคณะทำงานชุดใหม่ ซึ่งจะทำหน้าที่ศึกษายุทธศาสตร์ด้านการทหารในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจีนโดยเฉพาะ
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยอมรับว่า กิจการที่เกี่ยวข้องกับจีนนั้นจะต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ รวมถึงการสนับสนุนจากทั้ง 2 พรรคการเมืองในสภาคองเกรส และพันธมิตรที่เข้มแข็ง
    .
    “นั่นคือวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถรับมือความท้าทายจากจีนได้” ไบเดน ระบุ
    .
    เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ ผู้ไม่ประสงค์ออกนามคนหนึ่งเปิดเผยว่า กระทรวงกลาโหมจะตั้งคณะทำงาน 15 คนเพื่อทบทวนยุทธศาสตร์และเสนอคำแนะนำต่างๆ แก่รัฐบาลภายในระยะเวลา 4 เดือน
    .
    เมื่อต้นสัปดาห์นี้ หมู่เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ 2 หมู่ได้เข้าร่วมปฏิบัติการซ้อมรบในทะเลจีนใต้ ซึ่งทำให้จีนได้ทีประณามสหรัฐฯ ว่าทำตัวบั่นทอนสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
    .
    สหรัฐฯ ท้าทายความพยายามของจีนที่จะอ้างอธิปไตยเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ในทะเลจีนใต้ และยังกล่าวหาปักกิ่งว่าจงใจเสริมกำลังทหารในน่านน้ำแถบนี้เพื่อข่มขู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย, เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ซึ่งอ้างกรรมสิทธิ์เหนือท้องทะเลและหมู่เกาะบางแห่งทับซ้อนกับจีน
    .
    อย่างก็ตาม เจ้าหน้าที่ยืนยันว่าการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกองกำลังจีนและสหรัฐฯ ในทะเลจีนใต้ยังคงยึดหลักความปลอดภัยและความเป็นมืออาชีพ
    .
    ที่มา: รอยเตอร์
     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    สัญญาณดี!เคสใหม่โควิด-19ทั่วโลกลดลงต่อเนื่อง4สัปดาห์ติดต่อกัน

    จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่โควิด-19 ทั่วโลกลดลงต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ติด จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO)ที่เผยแพร่เมื่อวันพธ(10ก.พ.) มอบความหวังสลัวๆว่าโลกกำลังผ่านพ้นจุดวิกฤตแล้ว ในความพยายามควบคุมโรคระบาดใหญ่

    องค์การอนามัยโลกระบุว่าจำนวนผู้เสียชีวิตโควิด-19 ที่ได้รับรายงานทั่วโลก ลดลง 2 สัปดาห์ติด โดยในสัปดาห์ที่แล้ว พบผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 88,000 ราย ลดลงจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น 10%

    ในรายงานอัพเดทสถานการณ์การแพร่ระบาดรายสัปดาห์ องค์การอนามัยโลกระบุด้วยว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้รับรายงานเคสผู้ติดเชื้อใหม่โควิด-19 มากกว่า 3.1 ล้านคนทั่วโลก ลดลงจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น 17% และถือเป็นสัปดาห์ที่พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกน้อยที่สุด นับตั้งแต่สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ตุลาคม 2020

    "แม้ยังคงมีหลายประเทศที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ในระดับทั่วโลกแล้ว มันสร้างขวัญและกำลังใจเป็นอย่างมาก" องค์การอนามัยโลกระบุในรายงานอัพเดทรายสัปดาห์

    สหรัฐฯเป็นชาติที่พบผู้ติดเชื้อใหม่สัปดาห์ที่แล้วมากสุดในโลก ด้วยจำนวน 871,365 คน อย่างไรก็ตามตัวเลขดังกล่าวถือว่าลดลงจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 19%

    บราซิล, ฝรั่งเศส, รัสเซียและสหราชอาณาจักร ก็เป็นหนึ่งในบรรดาชาติที่รายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่รายสัปดาห์สูงสุดในโลกเช่นกัน แต่องค์การอนามัยโลกระบุว่าทั้งหมดล้วนแต่มีจำนวนลดลงจากหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น

    หากนับเป็นรายภูมิภาคเปรียบเทียบกับหนึ่งสัปดาห์ก่อนหน้านั้น ข้อมูลขององค์การอนามัยพบว่าในสัปดาห์ที่แล้ว ทวีปแอฟริกาพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ลดลงมากที่สุดถึง 22% ส่วนแถบตะวันออกของเมดิเตอร์เรเนียน พบผูุ้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงน้อยที่สุด 2%

    โดยรวมแล้ว เคสผู้ติดเชื้อใหม่ในทวีปอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ติดเชื้อใหม่ทั่วโลก หลังพบผู้ติดเชื้อใหม่ในสัปดาห์ที่แล้ว 1.5 ล้านคนและเสียชีวิตมากกว่า 45,000 คน

    จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยจอห์นส ฮ็อปกินส์ พบว่าเวลานี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แล้วกว่า 107 ล้านคน ในนั้นเสียชีวิตกว่า 2.3 ล้านราย นับตั้งแต่โรคระบาดใหญ่เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2019

    โลกหวังว่าวัคซีนโควิด-19 จะเป็นทางออกของวิกฤต ทว่าในขณะที่บางประเทศเริ่มโครงการฉีดวัคซีนไปแล้วหลายล้านโดส แต่มีอยู่ถึงราวๆ 130 ชาติ ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 2,500 ล้านคน ยังไม่ได้เริ่มฉีดวัคซีนแม้แต่โดสเดียว ตามคำแถลงของเทดรอส แอดฮานอม เกรเบเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก

    ข้อมูลเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พบว่าวัคซีนที่แอสตราเซเนการ่วมพัฒนากับมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด อาจมีประสิทธิภาพลดลงในการป้องกันการติดเชื้อแบบมีอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ จนถึงปานกลาง สำหรับตัวกลายพันธุ์ที่่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักในแอฟริกาใต้ กัดเซาะแนวโน้มในทางบวกในบางแง่มุม

    วัคซีนของอ็อกซ์ฟอร์ดและแอสตราเซเนกา มีราคาถูกกว่า ง่ายต่อการขนส่งและจัดเก็บกว่าวัคซีนตัวอื่นๆบางตัวที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จนถึงตอนนี้ และด้วยจุดเด่นดังกล่าวมันจึงถูกยกว่าจะมีบทบาทสำคัญ ในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่ในบรรดาประเทศที่มีรายได้ระดับต่ำและปานกลางทั้งหลาย

    (ที่มา:ซีเอ็นเอ็น)
     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หนักกว่าทุกครั้ง!ชายคนหนึ่งล้มฟุบไม่กี่นาทีหลังฉีดวัคซีคโควิด-19 จากนั้นไม่นานเสียชีวิต

    เจ้าหน้าที่สาธารณสุขนิวยอร์ก สหรัฐฯ ยืนยันว่าชายคนหนึ่งเสียชีวิต ไม่นานหลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่จาค็อบ จาวิตส์ คอนเวนชัน เซ็นเตอร์ ในแมนฮัตตัน เมื่อวันอาทิตย์(7ก.พ.) เหตุการณ์ล่าสุดที่ก่อความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของวัคซีน

    ฮาเวิร์ด ซัคเคอร์ คณะกรรมาการสาธารณสุขแห่งรัฐนิวยอร์ก ยืนยันเมื่อวันจันทร์(8ก.พ.) ว่าชายชราวัย 70ปีเศษๆคนดังกล่าวล้มฟุบขณะกำลังออกจากศูนย์ฉีดวัคซีน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและหน่วยปฐมพยาบาลรุดไปอยู่ข้างเขาภายในเวลาไม่กี่วินาที อย่างไรก็ตามท้ายที่สุดแล้วชายรายนี้ก็ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ในเวลาไม่นานนักหลังจากนั้น

    ซัคเคอร์ระบุในถ้อยแถลงว่าเหตุการณ์ล้มฟุบของชายคนดังกล่าวเกิดขึ้นราวๆ 25 นาที หลังจากเขาได้รับวัคซีน "มันเกิดขึ้นหลังพ้นช่วงเวลาของการสังเกตอาการ 15 นาที ซึ่งเขาไม่มีอาการไม่พึงประสงค์หรือปัญหาใดๆ" เขากล่าว "สิ่งบ่งชี้ต่างๆในเบื้องต้น พบว่าชายคนนี้ไม่มีอาการแพ้ใดๆต่อวัคซีน"

    ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานชี้ชัดว่าการเสียชีวิตของชายสูงวัยเชื่อมโยงกับวัคซีนหรือไม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งสอบสวนหาสาเหตุ

    อย่างไรก็ตาม ซัคเคอร์ บอกว่าเขาและบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขรายอื่นๆ เห็นพ้องต้องกันว่าวัคซีนไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นั้น มีความปลอดภัย "ผมสนับสนุนให้ชาวนิวยอร์กทุกคนที่ลงทะเบียนไว้ เข้ารับวัคซีน" ถ้อยแถลงของซัคเคอร์สรุป

    (ที่มา:WPIX)
     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ไบเดนอนุมัติคำสั่งพิเศษเปิดทางคว่ำบาตรเหล่าผู้นำกองทัพพม่า แต่แผนโดดเดี่ยวส่อล้มเหลว
    ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯในวันพุธ(10ก.พ.) แถลงว่าได้อนุมัติคำสั่งพิเศษสำหรับคว่ำบาตรรอบใหม่บรรดาผู้อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารในพม่า และเน้นย้ำข้อเรียกร้องขอให้เหล่านายพลสละอำนาจและปล่อยบรรดาผู้นำพลเรือน อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์มองกองทัพพม่าจะไม่ถูกโดดเดี่ยวดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา เนื่องจากหลายชาติที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ไม่ตัดความสัมพันธ์กับประเทศแห่งนี้
    ไบเดน บอกว่าคำสั่งดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลของเขาสามารถ "กำหนดมาตรการคว่ำบาตรบรรดาผู้นำกองทัพ ซึ่งบงการรัฐประหาร ในทันที รวมถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจต่างๆนานาของพวกเขา เช่นเดียวกับสมาชิกในครอบครัว"
    ผู้นำสหรัฐฯบอกว่าวอชิงตันเผยว่าวอชิงตันจะระบุตัวเป้าหมายรอบแรกในสัปาดห์หน้า และจะใช้มาตรการต่างๆนานาเพื่อสกัดบรรดานายพลพม่า จากการเข้าถึงเงินทุนรัฐบาลพม่า 1,000 ล้านดลอลาร์ ที่ถือครองอยู่ในสหรัฐฯ
    "นอกจากนี้แล้ว เรากำลังจะกำหนดควบคุมการส่งออกอย่างเข้มข้น เรากำลังจะอายัดทรัพย์สินสหรัฐฯที่เป็นประโยชน์แก่รัฐบาลพม่า แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะยังคงให้การสนับสนุนด้านดูแลสุขภาพ กลุ่มประชาสังคมต่างๆและขอบเขตอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์กับประชาชนชาวพม่าโดยตรง" ไบเดน กล่าวที่ทำเนียบขาว
    "เราพร้อมกำหนดมาตรการต่างๆเพิ่มเติม และเราจะเดินหน้าทำงานร่วมกับพันธมิตรระหว่างประเทศของเรา เรียกร้องประเทศอื่นๆเข้าร่วมในความพยายามนี้" ประธานาธิบดีสหรัฐฯระบุ
    ในขณะที่ ไบเดน ไม่ได้เจาะจงว่าใครบ้างที่จะถูกเล่นงานด้วยมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่ แต่สื่อมวลชนรายงานว่ามีความเป็นไปได้ที่วอชิงตันจะเล่นงาน พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่ายและนายพลระดับสูงคนอื่นๆ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯอยู่ก่อนแล้ว โดยคราวนั้นสหรัฐฯกำหนดมาตรการคว่ำบาตรในปี 2019 ตอบโต้กรณีล่วงละเมิดชาวมุสลิมโรฮิงญาและชนกลุ่มน้อยอื่นๆ
    นอกจากนี้แล้วมาตรการคว่ำบาตรอาจเล็งเป้าเล่นงานกลุ่มบริษัทหลัก 2 แห่งของกองทัพ ได้แก่ เมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิงส์ ลิมิเต็ด และ เมียนมาร์ อีโคโนมิก คอร์ป ซึ่งเป็น Holding Company (บริษัทที่มีธุรกิจหลักคือการเข้าไปลงทุนหรือถือหุ้นในกิจการอื่นๆ) ที่ลงทุนในภาคต่างๆนานา ในนั้นรวมถึงภาคธนาคาร, อัญมณี, ทองแดง, โทรคมนาคมและธุรกิจเสื้อผ้า
    รัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งกองทัพโค่นอำนาจรัฐบาลพลเรือนของนนางอองซานซูจี เกิดขึ้นไม่ถึง 2 สัปดาห์ หลัง ไบเดน เข้ารับตำแหน่ง กลายเป็นวิกฤตระหว่างประเทศใหญ่ๆวิกฤตแรกที่เขาต้องเผชิญ และเป็นบททดสอบต้นๆต่อคำสัญญาระหว่างการหาเสียงของเขา ที่เคยบอกว่าจะนำประเด็นสิทธิมนุษยชนกลับมาเป็นแก่นกลางในนโยบายการต่างประเทศและทำงานร่วมกับพันธมิตรใกล้ชิดยิ่งขึ้น
    ไบเดนบอกว่าพม่าคือประเด็นแห่งความกังวลใหญ่หลวงของพรรคการเมืองทั้งสองพรรคในสหรัฐฯ "ผมขอเรียกร้องกองทัพพม่าอีกครั้ง ให้ปล่อยตัวบรรดานักการเมืองและนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตยในทันที" เขากล่าว "กองทัพต้องปล่อยอำนาจที่พวกเขายึดมา"
    บรรดาชาติตะวันตกออกมาประณามการรัฐประหาร แต่พวกนักวิเคราะห์บอกว่ากองทัพพม่าจะไม่ถูกโดดเดี่ยวดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา โดยที่จีน, อินเดีย, บรรดาชาติเพื่อนบ้านอาเซียน และญี่ปุ่น ซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ดูเหมือนจะไม่ตัดความสัมพันธ์กับประเทศแห่งนี้
    ในวันศุกร์(12ก.พ.) คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติจะเปิดพิจารณาญัตติหนึ่งที่ร่างโดยสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป สำหรับประณามรัฐประหารในพม่า และเรียกร้องเปิดทางให้คณะผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่โดยเร่งด่วน อย่างไรก็ตามบรรดาผู้แทนทูตคาดหมายว่า จีนและรัสเซีย สมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ซึ่งต่างมีความสัมพันธ์กับทหารพม่า จะยกมือคัดค้านหรือไม่ก็พยายามทำให้เนื้อหาของร่างประณามดังกล่าวอ่อนลง
    เหล่าผู้ประท้วงกลับสู่ท้องถนนสายต่างๆของพม่าอีกครั้งในวันพุธ(10ก.พ.) แม้มีเหตุหญิงสาววัยรุ่นคนหนึ่งถูกยิงหนึ่งวันก่อนหน้านี้ โดยบางส่วนใช้แนวทางตลกขบขัน เพื่อตอกย้ำให้เห็นถึงความเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างสันติของพวกเขาต่อการทำรัฐประหารยึดอำนาจของกองทัพ
    ในวันพุธไม่ได้มีรายงานความรุนแรงใดๆ และในหลายๆ สถานที่ การประท้วงมีบรรยากาศของงานเทศกาล เป็นต้นว่า มีกลุ่มชายหนุ่มนักเพาะกายเปลือกอกโชว์กล้าม, พวกผู้หญิงสวมใส่ชุดราตรีไปงานเต้นรำ ตลอดจนสวมชุดแต่งงาน, เกษตรกรขับรถแทร็กเตอร์ ตลอดจนผู้คนที่นำสัตว์เลี้ยงของพวกตนมาด้วย
    ในย่างกุ้ง เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีผู้คนนับหมื่นๆ เข้าร่วมการชุมนุมประท้วง ขณะที่ในเมืองหลวงเนปิดอว์ มีข้าราชการลูกจ้างภาครัฐหลายร้อยคนเดินขบวนสนับสนุนขบวนการอารยะขัดขืนที่กำลังเติบโตขยายตัวไปเรื่อยๆ
    ที่รัฐกะยา ทางภาคตะวันออกของประเทศ ตำรวจกลุ่มหนึ่งแต่งเครื่องแบบออกมาชุมนุมประท้วงกัน โดยถือป้ายเขียนข้อความว่า “เราไม่ต้องการเผด็จการ” พร้อมกับชูนิ้ว 3 นิ้ว ที่เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการ
    การประท้วงใหญ่ที่สุดในรอบกว่า 1 ทศวรรษในพม่า รื้อฟื้นความทรงจำครั้งที่อยู่ภายใต้การปกครองของทหารโดยตรงนานเกือบครึ่งศตวรรษ ซึ่งสลับกับการปรามปรามนองเลือดเป็นระยะๆ จนกระทั่งกองทัพเริ่มคลายอำนาจบางส่วนในปี 2011
    กองทัพอ้างความชอบธรรมของการยึดอำนาจ โดยบอกว่าศึกเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี คว้าชัยชนะอย่างถล่มทลาย มีการโกง แม้คณะกรรมการการเลือกตั้งปฏิเสธคำกล่าวหาดังกล่าว
    (ที่มา:รอยเตอร์ส)

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    วุฒิสภาสหรัฐฯเริ่มไต่สวนถอดถอนทรัมป์ครั้ง2 เดโมแครตเปิดคลิปม็อบบุกสภาย้ำเตือนความผิด
    เดโมแครตเดินหน้าชำแหละความผิดทรัมป์ข้อหาปลุกม็อบบุกสภา หลังวุฒิสมาชิกจากรีพับลิกัน 6 คนแตกแถวมาร่วมโหวตคว่ำความพยายามของทนายอดีตประธานาธิบดีที่คัดค้านเปิดการไต่สวนประวัติศาสตร์คราวนี้ อย่างไรก็ดีแนวโน้มในการรวบรวมเสียงสภาสูงให้ได้ 2 ใน 3 เพื่อเอาผิดทรัมป์นั้นยังคงลำบากยากเย็น
    ในวันอังคาร (9 ก.พ.) วุฒิสภาสหรัฐฯ ลงมติด้วยคะแนน 56-44 ปฏิเสธคำคัดค้านของทีมทนายอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งโต้แย้งว่าวุฒิสภาไม่มีอำนาจถอดถอนประธานาธิบดีที่พ้นตำแหน่งไปแล้ว และให้เดินหน้าดำเนินการไต่สวนเพื่อถอดถอนทรัมป์ต่อไป ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์อเมริกัน ที่มีประมุขของประเทศถูกฝ่ายนิติบัญญัติไต่สวนเพื่อลงมติถอดถอน (อิมพีช) เป็นครั้งที่ 2
    พรรคเดโมแครตนั้นหวังว่า หากทำให้สภาสูงลงมติในท้ายที่สุดว่าทรัมป์มีความผิดจริง จะทำให้อดีตประธานาธิบดีซึ่งยังมีอิทธิพลอย่างสูงในพรรครีพับลิกันผู้นี้ ไม่สามารถลงเลือกตั้งรับตำแหน่งใดๆ ของสหรัฐฯได้อีก โดยเฉพาะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในสมัยหน้า
    ทว่า ผลการโหวตในวันอังคารบ่งชี้ว่า งานนี้ไม่ง่ายเลย เพราะมีวุฒิสมาชิกรีพับลิกันมาร่วมโหวตเห็นด้วยกับเดโมแครตเพียง 6 คน ขณะที่การลงมติเพื่อเอาผิดทรัมป์ในขั้นตอนสุดท้ายนั้นต้องการเสียงสนับสนุนจากรีพับลิกันถึง 17 เสียง จึงจะทำให้ได้คะแนน 2 ใน 3 ของจำนวนวุฒิสมาชิกทั้งหมด โดยในขณะนี้ทั้งสองพรรคมีที่นั่งในสภาสูงฝ่ายละ 50 ที่นั่งเท่ากัน
    คณะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) จากพรรคเดโมแครต ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นอัยการฟ้องร้องต่อสภาสูง โดยที่บรรดาวุฒิสมาชิกทั้งหลายทำหน้าที่เป็นคณะลูกขุนนั้น ได้เปิดการไต่สวนในวันอังคาร ด้วยการฉายวิดีโอภาพเหตุการณ์ความรุนแรงในรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 มกราคม พร้อมคลิปคำปราศรัยของทรัมป์ก่อนหน้านั้นที่เรียกร้องให้กลุ่มผู้สนับสนุนของเขา “สู้สุดชีวิต” เพื่อเปลี่ยนแปลงผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายนที่ตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้โจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต
    ในคลิปยังมีภาพกองเชียร์ทรัมป์ทำลายสิ่งกีดขวาง ทำร้ายตำรวจสภา ช่วงหนึ่งในคลิปยังมีภาพตำรวจที่คุ้มกันห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎรยิงผู้ประท้วงคนหนึ่งเสียชีวิต โดยในเหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้เสียชีวิต 5 คน ซึ่งรวมถึงตำรวจ 1 นาย
    นอกจากทำร้ายตำรวจแล้ว ม็อบที่บุกเข้าสู่อาคารรัฐสภายังทำให้บรรดาสมาชิกรัฐสภาต้องหาที่หลบภัย และการประชุมรับรองชัยชนะของว่าที่ประธานาธิบดีไบเดนอย่างเป็นทางการหยุดชะงักไปหลายชั่วโมง
    เดโมแครตระบุว่า ทรัมป์ละเมิดคำสาบานด้วยการพยายามยื้ออำนาจหลังการเลือกตั้ง ซึ่งนอกจากปฏิเสธความพ่ายแพ้ของตัวเองแล้ว เขายังปล่อยข่าวเท็จว่า มีการโกงการเลือกตั้ง และกดดันให้เจ้าหน้าที่รัฐบาล ซึ่งรวมถึงไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีในขณะนั้น ขัดขวางการถ่ายโอนอำนาจ
    “ถ้านี่ยังไม่ใช่ความผิดที่สมควรถอดถอน ก็คงไม่มีอะไรอีกแล้วที่เป็นความผิด” เจมี ราสกิน ส.ส.เดโมแครตที่เป็นผู้นำทีมอัยการซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 9 คน กล่าวกับวุฒิสมาชิก หลังจบวิดีโอ
    ราสกินถึงกับร่ำไห้ขณะเล่าว่า ญาติที่เขาพาไปร่วมชมพิธีรับรองชัยชนะไบเดนในวันนั้นต้องเข้าไปหลบในห้องทำงานใกล้ห้องประชุมสภาผู้แทนฯ ด้วยความหวาดกลัวสุดขีด
    ทว่า ทีมทนายความของทรัมป์กลับแย้งว่า กระบวนการถอดถอนขัดรัฐธรรมนูญ เนื่องจากทรัมป์พ้นตำแหน่งไปแล้ว พร้อมกล่าวหาว่า สภากำลังพยายามดับอนาคตทางการเมืองของทรัมป์ และประณามเดโมแครตว่า กระเหี้ยนกระหือรือถอดถอนทรัมป์ ก่อนเปิดวิดีโอเหตุการณ์ที่ ส.ส.เดโมแครตเรียกร้องให้ถอดถอนอดีตประธานาธิบดีผู้นี้เมื่อปี 2017
    ทั้งนี้ ทรัมป์ที่ถูกสภาผู้แทนราษฎรที่ควบคุมโดยเดโมแครตลงมติให้ดำเนินการถอดถอนเมื่อวันที่ 13 มกราคม เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ในประวัติศาสตร์อเมริกาที่เข้าสู่กระบวนการนี้ และเป็นคนเดียวที่ถูกสอบสวนเพื่อถอดถอน 2 ครั้ง
    ทีมทนายของทรัมป์ยังอ้างว่า 1 ตอนที่ปราศรัยกับผู้สนับสนุนก่อนเหตุการณ์ม็อบบุกสภา ลูกความของตนเพียงแต่กำลังสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีภายใต้บทบัญญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 เท่านั้น
    บรูซ แคสเตอร์ หนึ่งในทีมทนายของทรัมป์ กล่าวว่า ม็อบหลายร้อยคนที่บุกโจมตีสภาสมควรถูกประณามด้วยถ้อยคำรุนแรงที่สุด และว่า อาชญากรกลุ่มเล็กๆ เหล่านี้คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบเหตุการณ์ดังกล่าว ไม่ใช่ทรัมป์
    วุฒิสมาชิกรีพับลิกันหลายคน ซึ่งรวมถึงบิลล์ แคสสิดี้ ที่โหวตสนับสนุนให้เดินหน้ากระบวนการถอดถอน บอกว่า ส.ส.เดโมแครตเบิกความตรงประเด็นและน่าสนใจ ขณะที่ข้อโต้แย้งของทีมทนายของทรัมป์ โดยเฉพาะแคสเตอร์ ฟังไม่ขึ้น
    เดือนที่แล้ว แคสสิดี้เป็นหนึ่งในส.ว.รีพับลิกันที่โหวตคัดค้านการไต่สวน แต่แพ้ด้วยคะแนน 45 ต่อ 55 และเป็นรีพับลิกันคนเดียวที่เปลี่ยนใจมาโหวตร่วมกับเดโมแครตเมื่อวันอังคาร
    ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวคนหนึ่งเผยว่า ทรัมป์ที่ชมการไต่สวนทางทีวีอยู่ที่รีสอร์ตส่วนตัวในฟลอริดา ก็ไม่พอใจผลงานของแคสเตอร์เหมือนกัน
    การไต่สวนนี้จะบ่งชี้แนวโน้มการตัดสินใจของรีพับลิกัน หลังจากช่วงเวลา 4 ปีแห่งความวุ่นวายของคณะบริหารทรัมป์ โดยมีความขัดแย้งรุนแรงระหว่างกลุ่มที่ภักดีต่อทรัมป์ กับกลุ่มที่คาดหวังผลักดันพรรคไปสู่ทิศทางใหม่ กระนั้น ดูเหมือนมีวุฒิสมาชิกรีพับลิกันเพียงไม่กี่คนที่พร้อมแตกหักกับทรัมป์ ซึ่งอาจทำให้เขารอดพ้นความผิดเหมือนการถอดถอนเมื่อปีที่แล้วในคดีขัดขวางการสอบสวนของสภาและลุแก่อำนาจในการกดดันให้ยูเครนเปิดการสอบสวนไบเดนและลูกชายในปี 2019

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ข้อพิจารณาทางภูมิรัฐศาสตร์ของ ‘จีน-รัสเซีย’ ในเรื่องการรัฐประหารที่ ‘พม่า’
    โดย เอ็ม เค ภัทรกุมาร
    อินเดียเข้าข้างสหรัฐฯในการประณามการก่อรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารพม่า ทว่าแดนภารตะจะสามารถรักษาผลประโยชน์ของตนเองได้ดีกว่ามาก ถ้าหากอยู่เคียงข้างจีนและรัสเซียในการแสดงท่าทีที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย
    รัฐบาลอินเดียได้ออกมาเรียกร้องอย่างห้าวเป้งเมื่อวันที่ 1 กุมภพันธ์ ว่า “หลักนิติธรรมและกระบวนการทางประชาธิปไตยจักต้องได้รับการเคารพยึดมั่นเอาไว้” ในพม่า (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.mea.gov.in/press-releases.htm?dtl/33434/Press_Statement_on_developments_in_Myanmar)
    คำแถลงนี้ ที่ออกมาภายหลังได้รับแรงกระตุ้นปลุกใจจากวอชิงตัน คือการเข้าก้าวก่ายแทรกแซงอย่างไม่มีความขวยเขิน และก็ช่างย้อนแย้งอย่างยิ่ง เนื่องจากมองข้ามโดยสิ้นเชิงถึงข้อเท็จจริงที่ว่า เรื่องสิทธิมนุษยชน, หลักนิติธรรม, แนวคิดยอมรับพหุนิยมทางประชาธิปไตย, ตลอดจนหลักการอื่นๆ ทำนองเดียวกันนี้ คือค่านิยมสากลซึ่งอินเดียเองก็สามารถ (และสมควร) ที่จะถูกไล่เรียงให้แสดงความยอมรับความผิดพลาดด้วยเช่นกัน
    ความกระตือรือร้นที่จะประกาศใช้ใบสั่งยาแบบลัทธิอนุรักษนิยมใหม่ (neo-conservative) เช่นนี้จากวอชิงตัน อาจจะไม่ได้เป็นการเอื้อเฟื้อแก่ผลประโยชน์ของอินเดียโดยภาพรวมแต่อย่างใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ได้เป็นการเอื้อเฟื้อแก่ผลประโยชน์ของอินเดียในพม่า
    รัฐบาลอินเดียล้มเหลวไม่เป็นท่าในการวัดหยั่งให้ทราบตระหนักถึงแรงจูงใจต่างๆ ของสหรัฐฯ สำหรับการที่พวกเขากระโจนเข้าขี่ม้าขาวสูงตระหง่านแห่งประชาธิปไตยอย่างรวดเร็วเหลือเกินภายหลังเกิดเหตุการณ์จลาจลที่อาคารแคปิตอลแห่งรัฐสภาอเมริกันในกรุงวอชิงตัน ดีซี. เมื่อเดือนมกราคมนี้เอง ประเด็นต่างๆ ทางสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ใช้สอยคล่องแคล่วสำหรับสหรัฐฯในการเรียกร้องระดมเหล่าพันธมิตร ณ ช่วงจังหวะหัวเลี้ยวหัวต่อที่ความเป็นผู้นำของพวกเขาในกลุ่มพันธมิตรแห่งสองฟากฝั่งแอตแลนติกกำลังง่อนแง่นคลอนแคลน และเหล่ามหาอำนาจยุโรปรายใหญ่ๆ ไม่ได้อยู่ในภาวะเห็นดีเห็นงามชนิดมองตาก็รู้ใจกับประดายุทธศาสตร์ระดับโลกของวอชิงตันในเรื่องรัสเซียและจีน รวมทั้งเยาะหยันคำขวัญที่แฝงฝังไว้ด้วยอารมณ์หวนย้อนอดีตของวอชิงตันที่ว่า “อเมริกากลับมาแล้ว” (America is back)
    อนิจจา! รัฐบาลอินเดียยังล้มเหลวไม่ได้ปรึกษาหารือกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ทั้งๆ ที่นิวเดลีชอบท่องซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า ตนเองเป็นส่วนประกอบที่เป็น “ส่วนแกนกลาง” ของกลุ่มประเทศดังกล่าว คำแถลงของประธานกลุ่มอาเซียนที่ออกมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์เช่นกันนั้น มีเนื้อหาเตือนให้ระลึกถึง “จุดประสงค์และหลักการต่างๆ ที่ระบุเอาไว้ในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งก็รวมถึงการเคารพในหลักการแห่งอธิปไตย, ความเสมอภาค, บูรณภาพแห่งดินแดน, การไม่เข้าก้าวก่ายแทรกแซง, การมีฉันทามติ, และเอกภาพความสามัคคีในความแตกต่างหลากหลาย”
    พูดโดยสรุปก็คือ อินเดียเลือกที่จะเข้าร่วมในขบวนกองเกวียนของสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, และออสเตรเลีย ในขณะที่ อาเซียน และ จีน ใช้จุดยืนที่มีความแตกต่างออกไปอย่างชัดเจน เรื่องของภูมิรัฐศาสตร์มีบทบาทอย่างสำคัญสำหรับการณ์นี้ ทว่าสหรัฐฯก็เกิดความตระหนักรู้ตัวขึ้นมาถึงความโง่เขลานี้แล้ว และที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ เจค ซุลลิแวน (Jake Sullivan) ก็ได้เร่งรีบสาละวนติดต่อกับเหล่าเอกอัครราชทูตของชาติอาเซียนในกรุงวอชิงตัน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.whitehouse.gov/.../statement-by-nsc.../)
    นิวเดลีพลาดพลั้งอย่างงี่เง่าเช่นนี้ได้ยังไง? ปัจจัยสำคัญที่สุดเหนืออื่นใดเลย ก็คือเป็นเพราะอินเดียมีความเข้าใจที่ผิดพลาดเกี่ยวกับสถานการณ์พม่า
    พวกนักวิเคราะห์ชาวอินเดีย (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://theprint.in/.../india-plans-to-steer.../543705/) มีทัศนะความคิดเห็นต่อพัฒนาการต่างๆ ของโลกโดยเอาแต่มองผ่าน “เลนส์จีน” ของพวกเขากันมากขึ้นทุกที และได้เริ่มต้นฝันเฟื่องกันว่า ชัยชนะอย่างมโหฬารของอองซานซูจีในการเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว คือการอำนวยโอกาสให้แก่อินเดียที่จะ “ขึ้นเกียร์สูงเพื่อประกาศใช้ยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากกับพม่า ภายใต้นโยบาย ‘เพื่อนบ้านต้องมาก่อนเป็นอันดับแรก’ (Neighborhood First) ของนิวเดลี ... เพื่อนำเอาพม่าเข้ามาอยู่ภายใต้โครงสร้างอินโด-แปซิฟิก” เพื่อที่จะนำเอาประเทศนั้น (พม่า) เข้าผูกพันธมิตรกับ “ประเทศต่างๆ ‘ซึ่งมีความคิดอย่างเดียวกัน’ ให้มากขึ้น ... ในการยืนหยัดอย่างมั่นคงเพื่อต่อต้านคัดค้านจีน ... เพื่อทำให้พม่ากลายเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายอินโด-แปซิฟิก ... (และ) นำพาพม่าให้ออกมาจากอุ้มมือของจีน”
    ทัศนะความคิดเห็นทำนองนี้เปิดโปงแพร่งพรายให้เห็นความคิดจิตใจแบบใครชนะกวาดเดิมพันไปหมดแต่ผู้เดียว (zero-sum mindset) ซึ่งงอกเงยออกมาจากความคิดหวาดกลัวจีนอย่างมืดบอด อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงๆ ต่างๆ ในภาคสนามเป็นสิ่งที่มีความสลับซับซ้อนมากมายกว่านี้นักหนา จุดสำคัญก็คือว่า ปักกิ่งประสบความสำเร็จอย่างชาญฉลาดมาเป็นเวลาหลายๆ ปีแล้วในการสร้างความสัมพันธ์ที่มีความไว้วางใจซึ่งกันและกันและความเคารพซึ่งกันและกันกับซูจี คู่ขนานไปกับการบ่มเพาะการติดต่อเชื่อมโยงระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (National League for Democracy หรือ NLD) ของเธอ
    ไม่เหมือนกับวาทกรรมของฝ่ายตะวันตกที่เรียก ซูจี ว่าเป็น ไอคอนแห่งประชาธิปไตยของพม่า ปักกิ่งถือว่าเธอเป็นนักการเมืองผู้มุ่งผลในทางปฏิบัติ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://en.people.cn/n3/2016/0817/c90000-9101109.html) ซึ่งไม่เคยเลยที่จะพูดจาแสดงความเห็นอันจะเป็นอันตรายต่อสายสัมพันธ์จีน-พม่า อีกทั้งเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นอย่างชัดแจ้งในการธำรงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศทั้งสองเอาไว้ รวมทั้งใช้จุดยืนที่อ่อนโยนมาโดยตลอดในประเด็นว่าด้วยทะเลจีนใต้
    ปักกิ่งมีความประทับใจอย่างใหญ่หลวงว่า ถึงแม้ ซูจี ต้องการความสนับสนุนจากฝ่ายตะวันตก แต่เธอก็มีความแน่วแน่ยืนกรานในเรื่องอธิปไตยแห่งชาติ สามารถกล่าวได้ว่ามันเป็นคุณสมบัติที่สอดคล้องต้องกันกับที่จีนปรารถนาจะให้เหล่าเพื่อนบ้านของตนยึดถือปฏิบัติ (ดูเพิ่มได้ที่ https://news.cgtn.com/.../In-The-Spotlight.../index.html) ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ได้พบปะต้อนรับ ซูจี ถึง 7 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
    หวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน ได้ไปเยือนพม่าเมื่อวันที่ 12 มกราคม โดยได้พบหารือกับ ซูจี และแสดงความสนับสนุนอย่างแข็งขันต่อรัฐบาลของเธอ รวมทั้งถ่ายทอดแสดงออกถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าที่ว่าจีนต้องการทำงานร่วมกับเธอในระหว่างวาระสมัยที่สองของเธอ นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังได้ตกลงเห็นชอบที่จะผลักดันเดินหน้าโครงการต่างๆ ตามแผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative) ตลอดจนยึดมั่นในข้อตกลงระยะ 5 ปีว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและทางเศรษฐกิจ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.china.org.cn/.../2021-01/12/content_77108641.htm)
    เป็นที่ชัดเจนว่า ลู่ทางอนาคตสำหรับ “ระเบียงเศรษฐกิจจีน-พม่า” ภายใต้แผนการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ในเวลานี้ได้ตกเข้าสู่ความไม่แน่นอนมากขึ้นด้วยซ้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 1 เดือนก่อน
    อันที่จริงแล้ว มีรายงานทางสื่อจีนหลายชิ้นส่งเสียงออกมาด้วยถ้อยคำเตือนให้ระมัดระวังตัว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.globaltimes.cn/page/202102/1215029.shtml) โดยบอกว่า “พวกบริษัทจีนที่กำลังดำเนินกิจการอยู่ในพม่า จำเป็นที่จะต้องเฝ้าติดตามความเสี่ยงต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องกับข้อผูกพันตามสัญญา และที่เกี่ยวข้องกับการผิดนัดชำระหนี้ ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวายทางการเมืองในปัจจุบัน ...
    “การผิดนัดชำระหนี้ของภาครัฐบาลคือความเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพวกโครงการใหญ่ๆ และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในภาคต่างๆ รวมทั้ง การคมนาคมขนส่งและพลังงาน ... แต่บรรดาบริษัทจีนสามารถที่จะแสวงหาการตัดสินแก้ไขข้อพิพาทระดับระหว่างประเทศได้ ถ้าหากพวกเขาเผชิญกับการริบทรัพย์สินของพวกเขาอย่างผิดกฎหมาย”
    มันไม่ใช่ความลับอะไรเลยที่ว่ากองทัพพม่านั้นมุ่งมั่นตั้งใจที่จะวางระยะห่างออกมาจากจีนในระดับหนึ่ง สามารถที่จะกล่าวได้ว่า พัฒนาการต่างๆ ในพม่าถือเป็นกรณีศึกษาอย่างโดดเด่นทีเดียวสำหรับการที่ปักกิ่งรู้สึกเสียใจอย่างเงียบๆ จากการที่ระบอบประชาธิปไตยสไตล์ตะวันตกในประเทศเพื่อนบ้านรายหนึ่งได้ถูกบดบังมืดมิดลงอย่างฉับพลัน
    แน่นอนทีเดียว การรัฐประหารยึดอำนาจในพม่าคราวนี้ ก่อให้เกิดภาระทางการเมืองแก่จีนในแง่มุมที่ว่า ปักกิ่งไม่สามารถ (และก็จะไม่) ใช้จุดยืนที่คัดค้านฝ่ายทหารของพม่า แต่พร้อมกันนั้นก็ตกอยู่ใต้การถูกบีบบังคับให้ต้องคอยระวังป้องกันและให้ความปกป้องคุ้มครองระดับระหว่างประเทศแก่ฝ่ายทหารของพม่า
    มองกันโดยภาพรวมแล้ว สถานการณ์นี้กลายเป็นภาระหน้าที่ใหญ่ในเชิงลบทั้งทางการเมืองและทางการทูตสำหรับปักกิ่ง และไม่สามารถนำมาซึ่งข่าวดีใดๆ เลย ด้วยเหตุนี้เอง จีนจึงให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ แก่การที่ฝ่ายต่างๆ ซึ่งเกี่ยวข้องของพม่าจะหาทางแก้ไขความแตกต่างระหว่างกันของพวกเขา โดยสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญและภายในกรอบโครงทางระเบียบกฎหมาย เวลาเดียวกันนั้นก็ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพ ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจีนนั้น อาชีพทางการเมืองของ ซูจี ตกอยู่ในอันตรายเป็นอย่างยิ่ง
    แน่นอนทีเดียว ซูจี ได้ทำความผิดพลาดที่ร้ายแรงยิ่งบางประการอยู่เหมือนกัน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaienquirer.com/.../suu-kyi-is-not.../) เธอพึ่งพาอาศัยผู้คนที่จงรักภักดีต่อเธอเป็นการส่วนตัวอย่างมากมายเหลือเกิน โดยที่ไม่สนใจใยดีเกี่ยวกับความสามารถหรือความซื่อสัตย์ของพวกเขา นี่ไม่ใช่แค่การทุจริตคอร์รัปชั่นอันบานเบิกเท่านั้น หากแต่ยังนำไปสู่ความล้มเหลวของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่ได้ให้สัญญาไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการสร้างงาน
    สไตล์ในการเป็นผู้นำของเธอนั้นบ่อยครั้งทีเดียวมีลักษณะเป็นเผด็จการ เธอได้หันไปใช้พวกกฎหมายเข้มงวดรุนแรงต่างๆ มาใช้ปิดปากหรือคุมขังพวกนักวิพากษ์วิจารณ์
    ซูจี ยังไม่ได้มีอำนาจควบคุมเหนือบางภาคส่วนที่สำคัญของเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งก็รวมไปถึงบริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก โฮลดิ้งส์ จำกัด (Myanmar Economic Holdings Ltd) และบริษัท เมียนมาร์ อีโคโนมิก คอร์เปอเรชั่น (Myanmar Economic Corporation) ตลอดจนเครือข่ายของวิสาหกิจธุรกิจภาคเอกชนภายในประเทศ ซึ่งเป็นที่รู้จักเรียกขานกันว่า “บรรดาบริษัทพวกพ้อง” (crony companies) ที่คอยสร้างรายรับมาให้แก่ฝ่ายทหารและเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่ความเป็นอิสระอยู่ได้ด้วยตนเองของกองทัพ
    ความผิดพลาดข้อใหญ่ที่สุดของ ซูจี คือการที่เธอเชื่อว่า โดยผ่านแบรนด์ลัทธิชาตินิยมในแบบของเธอ เธอสามารถที่จะไม่สนใจใยดีกับข้อกล่าวหาต่างๆ ในเรื่องการล้างเผ่าพันธุ์ที่ถูกนำมาใช้เล่นงานชาวโรฮิงญาโดยตรง แต่จากกระบวนการในเรื่องนี้เอง เธอได้สูญเสียความสนับสนุนที่เคยได้รับจากฝ่ายตะวันตก (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.theguardian.com/.../rohingya-aung-san-suu-kyi...) พิจารณาจากจุดนี้ กล่าวได้ว่าเธอกำลังมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาที่ขอหยิบขอยืมมา โดยที่ฝ่ายทหารแทบไม่ได้ปกปิดซ่อนเร้นความรังเกียจไม่พอใจที่มีต่อเธอเลย
    แน่นอนอยู่แล้วว่า ฝ่ายทหารพม่านั้นคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้าถึงผลกระทบและปฏิกิริยาจากประชาคมระหว่างประเทศ รวมทั้งขบคิดพิจารณาว่าคณะบริหารใหม่ของสหรัฐฯนั้นกำลังมีภาระวุ่นวายอยู่กับประเด็นปัญหาต่างๆ ภายในประเทศของตนเอง พม่าไม่ได้เป็นแม้กระทั่งเรื่องที่มีความสำคัญระดับท็อปเทนของนโยบายการต่างประเทศของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ด้วยซ้ำไป
    แต่ว่ารัฐสภาสหรัฐฯนั้นกำลังแสดงให้เห็นว่าจะไม่ยอมอดทนอดกลั้นต่อการทำรัฐประหารล้มล้างการปกครองในพม่า และจะออกแรงกดดันมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อคณะบริหารไบเดน ให้ดำเนินการลงโทษฝ่ายทหาร ด้วยการใช้มาตรการแซงก์ชั่นต่างๆ , ตัดความช่วยเหลือ, หรือพุ่งเป้าเล่นงานเหล่านายพลของพม่าตลอดจนบริษัทต่างๆ ของพวกเขา
    อย่างไรก็ดี การเข้ายึดครองอำนาจของฝ่ายทหารพม่านั้นไม่ได้เป็นที่คาดหวังว่าจะมีการเลี้ยวกลับย้อนคืน และความน่าจะเป็นก็คือว่าวอชิงตันจะสูญเสียอำนาจต่อรองเล็กๆ น้อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตามทีซึ่งตนเองเคยมีอยู่ในกรุงเนปิดอ เวลานี้วอชิงตันกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาทางเลือกทางนโยบายต่างๆ อยู่ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.reuters.com/.../analysis-biden-threatened...&)
    แต่มันอาจจะมี แผน บี ได้เหมือนกัน อันที่จริงแล้ว บิลล์ ริชาร์ดสัน (Bill Richardson) อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำสหประชาชาติ ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าเลยสำหรับพม่า ได้ส่งเสียงแสดงความคิดเห็นเอาไว้ตั้งแต่ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ถึงเวลาแล้วสำหรับฝ่ายตะวันตกที่จะต้องมองข้ามเลยไปจาก ซูจี เพื่อหาหน้าใหม่ๆ ในหมู่ฝ่ายค้านของพม่า หนทางหนึ่งก็คือการหล่อหลอมคณะผู้นำที่จะเป็นเพื่อนมิตรกับสหรัฐฯขึ้นมา
    มีสัญญาณหลายๆ ประการซึ่งแสดงให้เห็นว่า พวกหน่วยงานของฝ่ายตะวันตกกำลังยุยงเยาวชนในพม่าให้ก่อการประท้วงขึ้น ทำนองเดียวกับที่ได้เกิดขึ้นในฮ่องกงและไทย ฝ่ายทหารพม่าก็ได้จัดแจงบีบคั้นเข้มงวดการใช้เฟซบุ๊กและอินเทอร์เน็ต หรือว่านี่กำลังจะเกิดการปฏิวัติสี (color revolution) ขึ้นมาอีกสีหนึ่ง?
    ตรงนี้เป็นจุดที่บทบาทของรัสเซียสมควรได้รับความใส่ใจนำมาพิจารณากัน การต่อสู้เพื่ออิทธิพลในพม่านั้นมีมิติทางภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยเหตุผลต่างๆ อันชัดเจนอยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ภายหลังรัสเซียกับพม่าได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางทหารระหว่างกัน การปรากฎตัวของหมีขาวในแดนหม่องก็ได้เพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ และที่สำคัญมากก็คือ มันเกิดขึ้นพร้อมๆ กับที่เงาแห่งการปรากฏตัวของรัสเซียในมหาสมุทรอินเดียก็กำลังทอดตัวยาวออกไปมากขึ้นทุกทีเช่นกัน
    รัสเซียได้ปรากฏตัวขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้เองในฐานะเป็นพันธมิตรทางทหารรายใหญ่ของพม่า แดนหมีขาวเปิดศูนย์ให้บริการแห่งหนึ่งขึ้นในประเทศนี้ อเล็กซานเดอร์ ฟอมิน (Alexander Fomin) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของรัสเซียบอกกับสื่อมวลชนเมื่อเดือนที่แล้วว่า พม่านั้นแสดง “บทบาทอันสำคัญในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคแถบนี้”
    เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์แบบอยู่แล้วว่า รัสเซีย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญอย่างเอกอุในเรื่องการต่อสู้ตอบโต้กับการปฏิวัติสี จะมีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันข่าวกรองกับฝ่ายทหารพม่า ปัจจุบันมีนายทหารจากพม่ามากกว่า 600 คนกำลังศึกษาอยู่ตามสถาบันทางการทหารแห่งต่างๆ ของรัสเซีย มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า ก็เคยไปเยือนรัสเซีย 6 ครั้งในช่วงไม่กี่ปีหลังมานี้ มากกว่าที่เขาไปเยือนประเทศอื่นๆ ไม่ว่าที่ไหน
    ระหว่างที่รัฐมนตรีกลาโหม เซียเก ชอยกู (Sergei Shoigu) ของรัสเซียไปเยือนกรุงเนปิดอเมื่อเดือนที่แล้ว (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://tass.com/defense/1247857) สื่อมวลชนของรัสเซียได้อ้างอิง มิน อ่อง หล่าย ว่าได้พูดเอาไว้ว่า “เหมือนกับเพื่อนมิตรผู้ซื่อสัตย์ รัสเซียได้สนับสนุนพม่าเสมอมาในยามที่เกิดความยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะ 4 ปีหลังมานี้” นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังได้ลงนามกันในข้อตกลงฉบับหนึ่งที่รัสเซียจะจัดส่งระบบจรวดและปืนใหญ่ป้องกันภัยทางอากาศแบบปานซีร์-เอส 1 (Pantsir-S1 missile and artillery air defense systems) ให้แก่พม่า
    สำนักข่าวทาสส์ (Tass) ของรัสเซียรายงานว่า “กองบัญชาการของกองทัพพม่าได้แสดงความสนใจในระบบอาวุธก้าวหน้าทันสมัยอย่างอื่นๆ ที่ผลิตจากโรงงานของรัสเซียด้วย” นอกจากนั้นยังมีข่าวว่า ชอยกูได้แสดงความสนใจที่จะทำความตกลงกันเพื่อให้เรือรบรัสเซียเดินทางมาเยือนท่าเรือแห่งต่างๆ ของพม่า
    เมื่อนำสิ่งต่างๆ ทั้งหมดมาพินิจพิจารณา เราอาจจะคาดหมายได้ว่าจีนกับรัสเซียน่าที่จะทำตัวเป็น ไฟร์วอลล์ คอยปกป้องพม่าจากการก้าวก่ายแทรกแซงของฝ่ายตะวันตก (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://sputniknews.com/.../202102011081945325-myanmar.../) ทำนองเดียวกันกับสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นในเอเชียกลาง (คำแถลงของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในเรื่องเกี่ยวกับสิ่งซึ่งกำลังเกิดขึ้นในพม่า ปรากฏว่ามีการต่อรองประนีประนอม จนกระทั่งหลีกเลี่ยงไม่ได้มีการอ้างอิงใดๆ เกี่ยวกับฝ่ายทหารของพม่าหรือการทำรัฐประหารยึดอำนาจในพม่าเลย และไปย้ำเน้นเรื่องการปรองดองแห่งชาติ ตลอดจนมีการเอ่ยอ้างอย่างเจาะจงเรื่องให้ปล่อยตัวอองซานซูจี ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.un.org/press/en/2021/sc14430.doc.htm) ทั้งนี้ รัสเซียเห็นด้วยกับความรับรู้ความเข้าใจของจีนที่ว่า กลุ่มคว็อด (Quad) คือปัจจัยหนึ่งที่บ่อนทำลายเสถียรภาพในความมั่นคงของภูมิภาค
    เป็นที่ชัดเจนว่า อินเดียจำเป็นที่จะต้องพยายามยึดมั่นอยู่กับภาพโดยรวม มันจะไม่เป็นความได้เปรียบอะไรสำหรับอินเดียขึ้นมาหรอก ในการสร้างความรับรู้ความเข้าใจอันผิดพลาดที่ว่า อินเดียกำลังเข้าร่วมกับขบวนกองเกวียนในโปรเจ็กต์บางอย่างของพวกอนุรักษนิยมใหม่อังกฤษ-อเมริกัน เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบปกครองขึ้นในพม่า ในเรื่องเกี่ยวกับเสถียรภาพของพม่านั้น อินเดียเองก็เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างสำคัญรายหนึ่ง และจะมีจุดบรรจบแห่งผลประโยชน์กับรัสเซียและจีน
    (เก็บความจากเรื่อง Myanmar coup infused with geopolitical intrigue by MK Bhadrakumar ในเอเชียไทมส์ WWW.asiatimes.com)
     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    พม่ายังประท้วงต่อเนื่อง แม้มีสาววัยรุ่นถูกยิงเจ็บหนักไปแล้ว 1
    'ประยุทธ์’ยันได้จดหมายจากผู้นำทหารแดนหม่อง ย้ำหลักการอาเซียน‘ไม่ยุ่งเรื่องภายใน’
    พวกผู้ประท้วงออกมาชุมนุมกันตามท้องถนนในเมืองต่างๆ ของพม่าอีกครั้งในวันพุธ (10 ก.พ.) ถึงแม้เกิดเหตุสาววัยรุ่นผู้หนึ่งถูกยิงด้วยกระสุนจริงอาการสาหัสมากในวันก่อนหน้านั้น ขณะ “ประยุทธ์” ยอมรับ มิน อ่อง หล่าย ผู้นำทหารพม่าส่งจดหมายแจงเหตุยึดอำนาจ พร้อมระบุไทยหนุนกระบวนการประชาธิปไตยพม่า และยึดหลักการอาเซียนเรื่องไม่แทรกแซงกิจการภายใน
    มยา ตวะเต ตวะเต ไคง์ (Mya Thwate Thwate Khaing) หญิงสาววัย 19 ปี เป็นผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสคนแรกซึ่งเป็นที่รับทราบกันในการกระท้วงครั้งนี้ และการบาดเจ็บของเธอก็กลายเป็นประเด็นเรียกความสนับสนุนให้แก่ขบวนการต่อสู้ซึ่งมุ่งหมายที่จะให้ล้มเลิกการทำรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และปลดปล่อยอองซานซูจี ตลอดจนพันธมิตรคนอื่นๆ ของเธอจากที่คุมขัง
    ในวันพุธไม่ได้มีรายงานความรุนแรงใดๆ และในหลายๆ สถานที่ การประท้วงมีบรรยากาศของงานเทศกาล เป็นต้นว่า มีกลุ่มชายหนุ่มนักเพาะกายเปลือกอกโชว์กล้าม, พวกผู้หญิงสวมใส่ชุดราตรีไปงานเต้นรำตลอดจนสวมชุดแต่งงาน, เกษตรกรขับรถแทร็กเตอร์, ตลอดจนผู้คนที่นำสัตว์เลี้ยงของพวกตนมาด้วย
    ในย่างกุ้ง เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีผู้คนนับหมื่นๆ เข้าร่วมการชุมนุมประท้วง ขณะที่ในเมืองหลวงเนปิดอ มีข้าราชการลูกจ้างภาครัฐหลายร้อยคนเดินขบวนสนับสนุนขบวนการอารยะขัดขืนที่กำลังเติบโตขยายตัวไปเรื่อยๆ
    ที่รัฐกะยา ทางภาคตะวันออกของประเทศ ตำรวจกลุ่มหนึ่งแต่งเครื่องแบบออกมาชุมนุมประท้วงกัน โดยถือป้ายเขียนข้อความว่า “เราไม่ต้องการเผด็จการ” พร้อมกับชูนิ้ว 3 นิ้วที่เป็นสัญลักษณ์ต่อต้านเผด็จการ
    แม้ไม่มีรายงานความรุนแรงในวันพุธ แต่แพทย์คนหนึ่งในเนปิดอว์เผยว่า ทหารเข้ายึดคลินิกแห่งหนึ่งที่รักษาผู้บาดเจ็บจากการประท้วง
    สำหรับหญิงวัยรุ่นที่อาการบาดเจ็บสาหัสมากนั้น เธอถูกยิงในวันอังคาร (9) ที่เมืองหลวงเนปิดอ ขณะที่พวกตำรวจยิงปืน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการยิงขึ้นฟ้า เพื่อสลายการรวมตัวของผู้ประท้วง เย ทูต ออง (Ye Htut Aung) พี่ชายของเธอบอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ครอบครัวของพวกเขาถึงแม้ให้การสนับสนุนการประท้วง แต่ก็รบเร้าไม่ให้เธออกจากบ้าน ทว่าเธอไม่ยอมและยังคงออกมา
    ทางด้านหน่วยข้อมูลข่าวสารข่าวความจริง (True News Information Unit) ของกองทัพพม่าออกคำแถลงระบุว่า กองกำลังความมั่นคงใช้เพียงอาวุธที่ไม่ทำให้เป็นอันตรายถึงชีวิต และตำรวจกำลังสอบสวนเรื่องนี้อยู่ นอกจากนั้นหน่วยนี้ระบุว่ามีตำรวจ 2 คนได้รับบาดเจ็บด้วยฝีมือของ “พวกก่อจลาจล” โดยเวลานี้ยังคงอยู่ในโรงพยาบาล
    ในเมืองย่างกุ้ง พวกผู้ประท้วงได้นำเอาภาพขนาดใหญ่ของ มยา ตวะเต ตวะเต ไคง์ มาประดับที่สะพานแห่งหนึ่ง ก่อนหน้านี้แพทย์ผู้หนึ่งในโรงพยาบาลซึ่งเธอกำลังพักรักษาตัวอยู่ได้บอกกับรอยเตอร์ว่า อาการของเธอหนักมาก และไม่น่าจะรอดชีวิต
    ทางด้านกลุ่ม ฮิวแมน ไรต์ส วอตช์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในนิวยอร์ก แถลงว่า ชายวัย 20 ปีคนหนึ่งซึ่งก็ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนปืนเหมือนกัน เวลานี้อาการทรงตัว ขณะที่แพทย์หลายรายบอกว่า ยังมีบุคคลอื่นๆ อีก 3 คนกำลังได้รับการรักษาด้วยบาดแผลซึ่งสงสัยว่าเกิดจากกระสุนยาง
    ยังมีรายงานผู้ประท้วงหลายคนได้รับบาดเจ็บเหมือนกันจากการประท้วงในเมืองมัณฑะเลย์ และเมืองอื่นๆ ซึ่งพวกกองกำลังความมั่นคงได้ใช้เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดใส่ผู้ชุมนุม รวมทั้งจับผู้ประท้วงไปหลายสิบคน สำหรับโทรทัศน์ของรัฐรายงานว่ามีตำรวจ 4 คนได้รับบาดเจ็บจากการที่ผู้ประท้วงขว้างก้อนหินใส่
    นอกเหนือจากการออกมาชุมนุมประท้วงแล้ว ข่าวบอกว่า บุคลากรทางการแพทย์ ครู เจ้าหน้าที่ควบคุมการบินทางอากาศ ยังนัดหยุดงาน ติดริบบิ้นสีแดงซึ่งเป็นสีประจำพรรคเอ็นแอลดี หรือโพสต์ภาพชู 3 นิ้ว
    มิน โก ไน นักเคลื่อนไหวรุ่นเก่า เรียกร้องผ่านเฟซบุ๊กให้ข้าราชการและลูกจ้างรัฐทุกคนร่วมอารยะขัดขืนต่อไป
    ในอีกด้านหนึ่ง เมื่อคืนวันอังคาร (9) กองทัพพม่าได้ยกระดับการข่มขวัญบรรดาผู้นำพลเรือนด้วยการบุกรื้อทำลายข้าวของในที่ทำการพรรคพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) ของซูจี ที่ถูกบุกควบคุมตัวและหายเงียบไปตั้งแต่ที่กองทัพยึดอำนาจเมื่อต้นเดือน
    โซ วิน สมาชิกคนหนึ่งของ เอ็นแอลดี เผยว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของที่ทำการพรรคในย่างกุ้งเห็นกองกำลังความมั่นคงบุกเข้าไปจากกล้องวงจรปิดระยะไกลเมื่อคืนวันอังคาร (9) แต่ไม่สามารถขัดขวางได้เนื่องจากอยู่ระหว่างช่วงเคอร์ฟิว
    กระทั่งเช้าวันพุธจึงพบว่า มีการพังประตูเข้าไป อุปกรณ์คอมพิวเตอร์หายไปเช่นเดียวกับเอกสารการธนาคารที่เก็บในตู้เซฟ สายไฟและสายเซิร์ฟเวอร์ถูกตัด โซ วินสำทับว่า ทางพรรคคิดว่า จะไปแจ้งความกับตำรวจ
    นอกจากนั้นในวันอังคาร นักการเมืองหลายคนจากพรรคเอ็นแอลดียังถูกควบคุมตัวพร้อมกับคนอื่นๆ อีก 30 คน ซึ่งรวมถึงผู้สื่อข่าวจากสถานีทีวีท้องถิ่นแห่งหนึ่งระหว่างการประท้วงในมัณฑะเลย์
    ทั้งนี้ กองทัพได้ประกาศมาตรการจำกัดการชุมนุม รวมทั้งประกาศเคอร์ฟิวในเมืองใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ เนปิดอ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์
    การประท้วงครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่าสิบปีที่เกิดขึ้นในพม่า และเตือนความจำถึงการปกครองระบอบเผด็จการทหารที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษและการลุกฮือต่อต้านจนนำไปสู่การนองเลือดหลายครั้ง กระทั่งกองทัพเริ่มปล่อยวางอำนาจบางส่วนในปี 2011
    โลกตะวันตกต่างประณามการรัฐประหารในพม่า แต่ไม่มีมาตรการรูปธรรมเพื่อกดดันให้ทหารคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนที่ชนะการเลือกตั้ง มีเพียงนิวซีแลนด์ที่ประกาศเมื่อวันอังคารระงับการติดต่อระดับสูงทางการเมืองและการทหารกับพม่าทั้งหมด
    วันเดียวกันนั้น อเมริกาและสหประชาชาติ ระณามการใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วง
    เน็ด ไพรซ์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศของอเมริกาแถลงว่า กำลังทบทวนความช่วยเหลือที่ให้พม่า เพื่อให้แน่ใจว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการรัฐประหารจะเผชิญ “ผลลัพธ์อย่างมีนัยสำคัญ” พร้อมย้ำข้อเรียกร้องให้กองทัพคืนอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง ปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุม ยกเลิกข้อจำกัดด้านโทรคมนาคมทั้งหมด และละเว้นการใช้ความรุนแรง
    ทางด้านยูเอ็นเรียกร้องให้กองกำลังความมั่นคงของเมียนมาร์เคารพสิทธิ์ในการประท้วงอย่างสันติของประชาชน และประณามว่า การใช้กำลังอย่างไม่เหมาะสมกับผู้ประท้วงเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้
    โจเซป บอร์เรลล์ กรรมาธิการนโยบายต่างประเทศของสหภาพยุโรป (อียู) เตือนว่า บรัสเซลส์อาจฟื้นมาตรการแซงก์ชันกองทัพพม่า โดยจะหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนในวงกว้าง
    อย่างไรก็ดี อวินาช ปาลีวาล อาจารย์อาวุโสสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของวิทยาลัยตะวันออกและแอฟริกันศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน ชี้ว่า พม่าเวลานี้จะไม่ถูกโดดเดี่ยวเหมือนในอดีตอีกต่อไป เนื่องจากไม่มีแนวโน้มที่จีน อินเดีย เพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และญี่ปุ่นจะตัดความสัมพันธ์ด้วย
    สำหรับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในวันพุธ ยอมรับว่าเป็นจริงตามกระแสข่าวที่ว่า พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า ส่งจดหมายส่วนตัวมาถึง เพื่ออธิบายเหตุผลในการยึดอำนาจ และสถานการณ์ในพม่า
    พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า เนื้อหาจดหมายนี้โดยสรุปคือ ขอไทยสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งตนเองก็สนันสนุนอยู่แล้ว
    นายกรัฐมนตรีไทยกล่าวต่อไปว่า “ส่วนเรื่องการบริหารจัดการภายใน ก็เป็นเรื่องของท่าน” ซึ่งเป็นไปตามหลักการของอาเซียน และTACหรือ สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีกติกามากมาย พร้อมกันนั้น พล.อ.ประยุทธ์ย้ำว่า สิ่งที่จำเป็นเวลานี้คือ ต้องรักษาความสัมพันธ์ทีดีต่อกันไว้มากที่สุด เพราะมีผลต่อประชาชนโดยรวม ต่อเศรษฐกิจ การค้าขายชายแดน ที่สำคัญยิ่งในขณะนี้
    ส่วนเรื่องตอบจดหมายนั้น นายกฯ กล่าวว่า เขาส่งมาไม่ได้ให้ตนตอบ แต่เพื่อชี้แจงกระบวนการประชาธิปไตยของเขา ซึ่งตนสนับสนุนอยู่แล้ว สุดแล้วแต่ว่าเขาจะทำอย่างไรต่อไป

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    หิมะตกหนักเป็นประวัติการใน “เยอรมัน-อังกฤษ” ทำรถติดยาวรวม 37 ก.ม ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ปิด
    .
    .
    .
    .
    เอเอฟพี/เอพี – เมื่อวานนี้(9 ก.พ) ยุโรปพบกับสภาพอากาศวิปริตหิมะตกหนัก ทำรถติดยาวร่วม 37 กิโลเมตรในเยอรมัน ส่วนศูนย์แจกวัคซีนโควิด-19 ในอังกฤษต้องถูกปิดลงชั่วคราว
    .
    เอเอฟพีรายงานเมื่อวานนี้(9 ก.พ)ว่า บางส่วนของเยอรมันต้องพบกับหิมะที่ตกหนักสูง 50 เซนติเมตรภายในช่วงบ่ายวันอังคาร(9) อ้างอิงจากสื่อท้องถิ่นเยอรมัน
    .
    การจราจรบนถนนมอเตอร์เวย์ใกล้เมืองบีเลเฟลด์ (Bielefeld) ต้องแน่นิ่งไปในช่วงข้ามคืนวันจันทร์(8)มาสู่วันอังคาร(9) และมีนักขับเมืองเบียร์บางส่วนติดอยู่ในรถนานถึง 16 ชั่วโมง
    .
    ตำรวจเยอรมันเปิดเผยว่า สภาพการจราจรเป็นขอขวดเกิดมาจากที่บรรดารถบรรทุกติดอยู่ในหิมะส่งผลทำให้เกิดรถติดไกลร่วม 37 กิโลเมตรภายใต้อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือแข็ง
    ,
    เอพีรายงานว่า รถนับหลายร้อยคันติดอยู่บนถนนไฮเวย์เส้น A2 ทางตะวันตกของเยอรมันตลอดทั้งคืนเนื่องมาจากรถติด ตำรวจเมืองบีเลเฟลด์แถลงในช่วงต้นวันอังคาร(9) หนังสือพิมพ์ dpa ของเยอรมันรายงานว่า ทีมกู้ภัยกระจายออกไปยื่นผ้าห่มและเครื่องดื่มร้อนให้กับนักขับเหล่านั้นที่ต้องทนหนาวกับอุณหภูมิ – 12 องศาเซลเซียส
    .
    นอกจากนี้สภาพอากาศหิมะตกและถนนลื่นเพราะน้ำแข็งเกิดขึ้นที่รัฐบรันเดินบวร์ค(Brandenburg)ทางตะวันออก และที่เฮสเซน (Hessen) ทางตอนกลางของประเทศ เอเอฟพีอ้างคำสัมภาษณ์ของตำรวจรัฐเฮสเซนที่ระบุว่า เกิดปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องมาจากหิมะตกทำให้นักขับชาวเยอรมันต้องติดอยู่ในรถนาน 15 ชั่วโมง
    .
    และพบว่ามีรายงานการยกเลิกการให้บริการทางรถไฟบางส่วนเกิดขึ้นในไม่กี่ภูมิภาคโดยมีรถกวาดหิมะทำงานเพื่อทำให้รางรถไฟสามารถกลับใช้งานได้
    .
    รัฐมนตรีคมนาคมเยอรมัน อันเดรียส ชูเออร์( Andreas Scheuer )ได้ออกมาเรียกร้องให้พลเมืองหลีกเลี่ยงการเดินทางเป็นอย่างช้าไปจนถึงวันพุธ(10)
    .
    อย่างไรก็ตามมีการคาดว่า หิมะจะเริ่มตกลดลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า แต่ทว่าอุณหภูมิอาจต่ำลงไปจนถึง -30 องศาเซลเซียสในช่วงกลางคืน
    .
    เอเอฟพีชี้ว่า สภาพอากาศเลวร้ายที่หิมะตกหนักอย่างผิดปกติยังเกิดขึ้นทั่วทั้งตอนกลางยุโรป ยุโรปเหนือรวมไปถึง เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก
    .
    บางส่วนของอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือได้ออกคำเตือนเมื่อวานนี้(9) มีการคาดไปถึงการติดขัดทางจราจรและการเดินทางด้วยรถไฟ
    .
    หิมะที่ตกหนักในเช้าวันอังคาร(9)ที่อังกฤษทำให้หลายครอบครัวชาวอังกฤษนำเลื่อนออกมาเล่นในสวนสาธารณะกลางกรุงลอนดอน ส่วนทางเหนือและทางตะวันออกของอังกฤษคาดว่าจะได้เห็นหิมะตกสูง 15 เซนติเมตร
    .
    หิมะที่ตกลงมาอย่างหนักยังทำให้ศูนย์แจกวัคซีนในอังกฤษต้องปิดลงชั่วคราว รวมไปถึงที่ อิปสวิช (Ipswich) และ โคลเชสเตอร์ (Colchester) ทำให้โครงการแจกวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ต้องเกิดปัญหาชั่วคราว
    .
    และพบว่าโรงเรียนที่ในเวลานี้เปิดให้กับเด็กที่อยู่ในกลุ่มประสบปัญหาหรือต่อกลุ่มที่เป็นพนักงานในส่วนสำคัญถูกปิดชั่วคราวที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ และ ลิงคอล์นเชอร์ (Lincolnshire)ที่อยู่ทางตะวันออก
    .
    หิมะที่ตกหนักในเช้าวันอังคาร(9)ที่อังกฤษทำให้หลายครอบครัวชาวอังกฤษนำเลื่อนออกมาเล่นในสวนสาธารณะกลางกรุงลอนดอน ส่วนทางเหนือและทางตะวันออกของอังกฤษคาดว่าจะได้เห็นหิมะตกสูง 15 เซนติเมตร
    .
    หิมะที่ตกลงมาอย่างหนักยังทำให้ศูนย์แจกวัคซีนในอังกฤษต้องปิดลงชั่วคราว รวมไปถึงที่ อิปสวิช (Ipswich) และ โคลเชสเตอร์ (Colchester) ทำให้โครงการแจกวัคซีนโควิด-19 ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ต้องเกิดปัญหาชั่วคราว
    .
    และพบว่าโรงเรียนที่ในเวลานี้เปิดให้กับเด็กที่อยู่ในกลุ่มประสบปัญหาหรือต่อกลุ่มที่เป็นพนักงานในส่วนสำคัญถูกปิดชั่วคราวที่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ และ ลิงคอล์นเชอร์ (Lincolnshire)ที่อยู่ทางตะวันออก
     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    โควิด-19 ทำพิษ “เบียร์ไฮเนเก้น” สั่งปลดพนักงาน 8,000 คนทั่วโลก
    .
    .
    .
    เอเจนซีส์ – บริษัทผู้ผลิตเบียร์ไฮเนเก้นชื่อดังของเนเธอร์แลนด์วันนี้(10 ก.ย) ประกาศปลดพนักงานออก 8,000 คน รวมไปถึงตำแหน่งงานในอังกฤษเกิดขึ้นหลังยอดขายตกวูบช่วงระหว่างวิกฤตโควิด-19
    .
    บีบีซี สื่ออังกฤษ รายงานวันนี้(10 ก.ย)ว่า บริษัทเบียร์ไฮเนเก้นออกแถลงการณ์วันพุธ(10) ประกาศสั่งปลดพนักงานจำนวน 8,000 คนทั่วโลก และพบว่าการปลดจะเกิดขึ้นกับบางส่วนที่สำนักงานใหญ่ของเฮเนเกนในเมืองอัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์
    .
    ซีอีโอใหญเฮเนเก้น ดอล์ฟ ฟาน เดน บริงก์ (Dolf van den Brink) ได้เคยกล่าวว่า ปี 2020ถือเป็นปีแห่งการติดขัดอย่างไม่คาดฝัน
    .
    ในหลายส่วนของโลกบาร์ถูกสั่งปิด และในบางประเทศเช่น แอฟริกาใต้ออกคำสั่งห้ามการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอลชั่วคราว
    .
    บริษัทผู้ผลิตสัญชาติดัตช์เป็นผู้ผลิตที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกโดยนอกเหนือจากจะเป็นเจ้าของเบียร์ไฮเนเก้นแล้ว ยังมีแบรด์อื่นเป็นต้นว่า ยี่ห้อเสือ (tiger) และยี่ห้อโซล (sol)
    .
    การลดจำนวนพนักงานทั่วโลกลงจำนวน 8,000 ตำแหน่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดทั่วโลก และในอังกฤษ บีบีซีชี้ว่า จะมีพนักงานบริษัทไฮเนเก้นไม่ถึง 100 คนที่จะถูกเลิกจ้างจากจำนวนทั้งหมด 2,300 คน
    .
    โดยโฆษกบริษัทไฮเนเก้นอังกฤษแถลงว่า “การปิดผับและบาร์ในเดือนมีนาคมและตามมาด้วยมาตรการจำกัดหลังจากนั้น และรวมไปถึงช่วงเวลาคริสต์มาสได้มีผลกระทบต่อยอดการขายเบียร์และไซเดอร์(เหล้าชนิดหนึ่ง)สำหรับตลอดทั้งปีเต็ม”
    .
    สื่ออังกฤษชี้ว่า ถึงแม้ว่าทางไฮเนเก้นจะเห็นการจำหน่ายได้มากกว่านอกผับและบาร์ แต่ทว่ายังคงไม่สามารถทดแทนได้ต่อผลกระทบที่มีต่อการขายในผับและบาร์
    .
    ซึ่งในระหว่างที่ทางบริษัทประกาศการสั่งปลดพนักงานออก CNN สื่อสหรัฐฯรายงานว่า ไฮเนเก้นได้รายงานผลการขาดทุนสุทธิประจำปี 2020 จำนวน 204ล้านยูโร หรือราว 247.6 ล้านดอลลาร์ เทียบกับผลกำไรที่ทำได้ในปีก่อนหน้า(2019)ที่ 2.2 พันล้านยูโร หรือราว 2.7 พันล้านดอลลาร์ รายได้ตกไป 16.7% อยู่ที่ 23.8 พันล้านยูโร หรือราว 28.9 พันล้านดอลลาร์ ท่ามกลางการปิดผับบาร์และร้านอาหารในตลาดสำคัญ รวมไปถึงมาตรการป้องกันโควิด-19ที่กำหนดให้มีการเว้นระยะห่างทางสังคมและการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล
    .
    บริงก์ที่เข้ามารับตำแหน่งเมื่อมิถุนายนปีที่ผ่านมากล่าวผ่านแถลงการณ์ว่า “ผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาดต่อธุรกิจเราถูกขยายโดยพันธมิตรธุรกิจของเรา(ผับ บาร์ และร้านอาหาร)และการกระทบด้านภูมิศาสตร์”
    .
    ไฮเนเก้นคาดการณ์ว่า ภายในสิ้นมกราคมไม่ต่ำกว่า 30% ของบาร์และร้านอาหารจะเปิดให้บริการในยุโรปซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของไฮเนเก้น
    .
    และจากการที่หลายประเทศในภูมิภาคกลับมาสั่งล็อกดาวน์อีกครั้งในเดือนธันวาคม และได้ออกคำสั่งเข้มงวดในมาตรการโควิด-19มากขึ้นนับตั้งแต่นั้น ไฮเนเก้นกล่าวว่า ทางบริษัทได้สั่งตัดบัญชีให้เป็นหนี้สูญเกี่ยวข้องกับผับในอังกฤษจำนวน 191 ล้านยูโร หรือ 231.6 ล้านดอลลาร์
    .
    ซึ่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน มีแผนที่จะประกาศโร๊ดแม็พการฟื้นตัวในวันที่ 22 ก.พ ที่จะถึงนี้
    .
    บีบีซี ชี้ว่าโวลุมการขายเบียร์ไฮเนเก้นลดลงในยุโรป เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และอินโดนีเซีย ทางไฮเนเก้นแถลงว่า มีเป้าหมายจำนวน 2พันล้านยูโรสำหรับความต้องการประหยัดเงินเป็นระยะเวลา 3 ปีนับจากนี้ไปจนถึงปี 2023 รวมไปถึงการตัดยอดค่าใช้จ่ายบุคคล 350 ล้านยูโร
    .
    CNN รายงานว่า อย่างไรก็ตามในปี 2020 บริษัทเห็นเติบโตของยอดจำหน่ายเบียร์โดยตรงให้กับผู้บริโภคที่นำกลับไปดื่มที่บ้านผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ชื่อดัง เป็นต้นว่า beerwulf รวมไปถึง Six2Go และ Drinkies ที่เห็นยอดการจำหน่ายสูงขึ้น 3 เท่า
    .
    แต่กระนั้นโวลุมการจำหน่ายเบียร์ในปีที่ผ่านมาตกไป 8.1% แต่ทางไฮเนเก้นเห็นการจำหน่ายเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล เป็นต้นว่า ไฮเนเกน 0.0 และมัลตินา (Maltina) ในไนจีเรีย โดยทางบริษัทชี้ว่า เป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ที่เห็นการเติบโตอย่างมีศักยภาพ และทำให้ทางบริษัทตัดสินใจที่จะเสนอผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องดื่มไร้แอลกอฮอลในส่วนอื่นๆของโลก รวมไปถึง เครื่องดื่มสปาร์กกลิ้ง วอเตอร์ที่มีส่วนผสมแอลกอฮอลที่เริ่มออกจำหน่ายในเม็กซิโกและนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปีที่แล้ว
     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ชาวจีนหย่อนหมาออกนอกหน้าต่างชั้น 4 ลงไปเดินเล่นด้านล่าง

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 11 , 2021 จุฬาประกาศติดเชื้อโควิดเพิ่มอีก 2 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 16 ราย
    .
    ประกาศมาตรการของคณะกรรมการโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ฉบับที่ 6/2564
    .
    ตามที่คณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ ประกาศพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) ซึ่งพักอาศัยในหอพักบุคลากรและดำเนินการส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาฯ แล้วนั้น
    .
    คณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ ได้มีมาตรการระดมตรวจคัดกรองโรคเชิงรุกกับกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดกับบุคลากรกลุ่มดังกล่าวพบว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) เพิ่มเติมอีก 2 ราย รวมเป็น 16 ราย จึงได้ดำเนินการสอบสวนโรคอย่างเร่งด่วน และได้ดำเนินการส่งผู้ป่วยคนดังกล่าวเข้ารักษาตัวตามมาตรการที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว
    .
    อนึ่ง ขณะนี้กรรมการโควิด-19 จุฬาฯ ยืนยันว่ายังควบคุมสถานการณ์ได้ และหากมีความคืบหน้าเพิ่มเติม คณะกรรมการโควิด-19 จุฬาฯ จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะต่อไปผ่านทาง https://www.chula.ac.th/covid-19/ หัวข้อ “ข่าวสาร COVID-19”
    ..
    #จุฬา #โควิด #Covid #Misterban
     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 11, 2021 ทรุดเกินคาด! เศรษฐกิจเสือเหลืองปี 63 ดำดิ่งรอบ 23 ปี จีดีพีมาเลเซียติดลบมากกว่าคาดแตะ -5.6%
    .
    สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศมาเลเซีย แถลงภาวะเศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2563 ปรากฎว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพีชะลอตัวมากถึง -5.6% ไม่เพียงทำสถิติตกต่ำมากกว่าที่คาดไว้ในช่วง -3.5% ถึง -5.5% แต่ยังทำสถิติตกต่ำมากที่สุดในรอบ 23 ปี หรือนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจการเงินเอเชีย (วิกฤต้มยำกุ้ง) ในปี 1998 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ตัวเลขจีดีพีในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ชะลอตัวมากถึง -3.4% ส่งผลให้เศรษฐกิจมาเลเซียชะลอตัว 3 ไตรมาสติดต่อกันในปี 2563 สาเหตุมาจากวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ในปี 2563 ที่ทำให้เกิดการระบาดถึง 3 รอบในมาเลเซีย
    .
    ด้านประธานธนาคารกลางมาเลเซีย เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจมาเลเซียในปี 2021 จะฟื้นตัว จากปัจจัยของการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดโควิด-19 ในทั่วโลก ซึ่งคาดว่าจะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภาคธุรกิจให้ดีขึ้น จากปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคเอกชน โดยเฉพาะการลงทุน ซึ่งนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้.
    .
    สถานการณ์การปิดล็อกภาคธุรกิจในประเทศมาเลเซียจากผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 ล่าสุด รัฐบาลมาเลเซียผ่อนคลายมาตรการที่มีต่อธุรกิจค้าปลีกให้สามารถกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้งโดย ผลเมื่อวานนี้ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในช่วงที่ปิดล็อกธุรกิจค้าปลีกเป็นเวลาเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจถึงวันละ 173 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 5,363 ล้านบาท ขณะที่รัฐบาลมาเลเซีย ประกาศแพคเกจกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 15,000 ล้านริงกิตมาเลเซีย หรือราว 112,500 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย การแจกเงินสดให้กับผู้ยากจน การลดอัตราภาษี การอุดหนุนค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
    .
    ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ปอร์เช่ เอจี ผู้ผลิตรถยนต์ซุปเปอร์คาร์สุดหรูหราจากเยอรมนี เตรียมเปิดโรงงานประกอบรถยนต์ปอร์เช่แห่งใหม่ที่รัฐเกอดะห์ ทางเหนือของประเทศมาเลเซียเร็วๆนี้ สำหรับกระแสข่าวดังกล่าวนั้น เปิดเผยว่า ปอร์เช่ เอจี จะร่วมลงทุนกับบริษัท ไอโนคอม คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นบริษัทด้านยานยนต์ในกลุ่มธุรกิจไซม์ ดาร์บี้ เบอร์ฮาร์ด ยักษ์ธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศมาเลเซีย ที่สำคัญค่ายรถยนต์ซุปเปอร์คาร์สุดหรูหรานี้ วางยุทธศาสตร์ให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางของบริษัทปอร์เช่ เอจี ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนด้วย
    .
    #มาเลเซีย #เศรษฐกิจ #ทรุดหนัก #Covid #โควิด #Misterban
     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 11 , 2021 ศบค.รายงานผู้ติดเชื้อใหม่ 201 ราย รวมยอดติดเชื้อสะสม 24,104 ราย
    .
    ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. เผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 201 ราย แบ่งเป็น
    .
    ติดเชื้อในประเทศ 185 ราย
    .
    ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันที่รัฐจัดให้ 16 ราย
    .
    โดยเป็นการติดเชื้อในประเทศรวม 21,514 ราย และเป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 2,590 ราย รักษาหายป่วยแล้ว 19,799 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล (รพ.) 4,225 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 80 ราย
    .
    #covid19 #โควิด19 #misterban
     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 10 , 2021 นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาครประกาศ ขอผู้ประกอบการปิดตลาดช่วง 12 – 14 ก.พ.นี้ เพื่อ Big Cleaning รวมถึงตรวจหาเชื้อโควิด เพื่อกลับมาเปิดอีกครั้ง 15 ก.พ.นี้
    .
    นายชิงชัย บุญประคอง ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่ นายกเทศมนตรีนครสมุทรสาคร ลงนามในประกาศ ขอความร่วมมือหยุดประกอบการตลาดชั่วคราวและล้างทำความสะอาดตลาด ( Big Cleaning) โดยมีใจความระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์ของไวรัสโควิด 19 ในจ.สมุทรสาครยังคงพบผู้ติดเชื้อจากกลุ่มประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการค้าภายในตลาด และผู้ใช้แรงงานทั่วไปทั้งคนไทยและคนต่างด้าว อีกทั้งมีประชาชนจับจ่ายใช้สอยจำนวนมาก ตลาดจึงเป็นจุดเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ
    .
    เทศบาลนครสมุทรสาครจึงร่วมกับเครือข่ายภาคีทั้งภาครัฐและเอกชน ขอความร่วมมือผู้ประกอบการตลาดและผู้ค้าภายในตลาด เขตเทศบาลนครสมุทรสาครทุกแห่ง หยุดประกอบการชั่วคราว ตั้งแต่ 12 – 14 ก.พ.นี้ เพื่อทำการล้างทำความสะอาดตลาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อดำเนินการครบทุกตลาดแล้ว ให้ผู้ประกอบการ-ลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับตลาดทั้งหมด ตรวจหาเชื้อโควิด และเมื่อทราบผลทั้งหมดแล้วจะเปิดให้บริการตามปกติในวันที่ 15 ก.พ.นี้ และจะให้กลุ่มที่ไม่พบเชื้อเท่านั้น ที่จะเข้าไปประกอบการในตลาดได้
    .
    #เทศบาล #สมุทรสาคร #Covid #โควิด #ปิดตลาด #Misterban
     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    ‘วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19’ ความหวังของคนทั้งโลก คู่ประสิทธิภาพที่ควรต้องรู้
    .
    วัคซีน เปรียบเสมือนความหวังในการป้องกันและยับยั้งการแพร่กระจายเชื้อไวรัสของคนทั่วโลก ซึ่งในปัจจุบันวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 มีเพียง 3-4 แบรนด์ที่ได้รับการยืนยันความปลอดภัย และสามารถฉีดให้กับประชาชนได้ แต่รู้หรือไม่ว่าวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ของแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกันอย่างไร? ถ้าไม่รู้ไม่เป็นไรนะคะ เพราะวันนี้ BTimes จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับประเภทของเจ้าวัคซีนทั้งหมดกันค่ะ
    .
    เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19
    เนื่องจากวัคซีนที่ผ่านการอนุมัติฉุกเฉินมีจำกัดเพียง 4 ยี่ห้อ ได้แก่ ไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech), โมเดอร์นา (Moderna), แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) และสปุตนิก ไฟว์ (Sputnik-V) ทำให้หลายประเทศทั่วโลกเข้าสู่สนามรบในการแย่งชิงวัคซีน เพื่อนำมาฉีดป้องกัน และยับยั้งการแพร่กระจายให้กับประชาชนของตนเอง ซึ่งแต่ละวัคซีนก็มีการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 6 ประเภท ดังนี้
    .
    1. Viral-Vector Vaccine
    คือวัคซีนที่ผลิตโดยการใช้ไวรัสที่ทำให้เชื้ออ่อนลงแล้วไม่ทำให้เกิดโรค มาตัดต่อใส่สารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ลงไป เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ วัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ที่คิดค้นโดยบริษัทแอสตราเซเนกา และมหาวิทยาลัยออกฟอร์ด, วัคซีนของบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน, วัคซีนสปุตนิก ไฟว์ (Sputnik-V) ซึ่งวัคซีนที่กล่าวไปได้ทำการทดลองกับกลุ่มอาสาสมัครที่มีอายุตั้งแต่ 18–60 ปี พบว่ามีประสิทธิภาพสามารถต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้มากกว่า 90% ทั้งสิ้น
    .
    2. mRNA Vaccine
    คือเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้ในการผลิตวัคซีน ซึ่งจะเป็นการฉีดพันธุกรรมแบบโมเลกุลเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน และสร้างแอนติบอดีมาต่อสู้กับเชื้อโรค โดยวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer-BioNTech) และวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) สรุปได้จากผลการทดลองพบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของไวรัสได้ดีถึงร้อยละ 95 และสามารถผลิตได้เป็นจำนวนมาก รวมถึงใช้ระยะเวลาในการผลิตไม่นาน
    .
    3. Protein-nanoparticle Vaccine
    คือวัคซีนที่ใช้โปรตีนส่วนหนึ่งของไวรัสร่วมกับส่วนอื่นๆ มาฉีดกระตุ้น เพื่อให้ร่างกายสร้างเกิดการสร้างภูมิคุ้มกัน โดยวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ วัคซีนโนวาแวกซ์ (Novavax) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทโนวาแวกซ์ อิงค์และได้รับการสนับสนุนจากโครงการ Operation Warp Speed สรุปได้จากผลการทดลองเฟสที่ 3 กับกลุ่มอาสาสมัครจำนวน 15,000 คนในประเทศอังกฤษพบว่า วัคซีนของโนวาแวกซ์มีประสิทธิภาพสามารถป้องกันเชื้อได้สูงถึง 89.3% เมื่อเจาะลึกลงไปก็พบอีกว่าวัคซีนโนวาแวกซ์ สามารถป้องกันเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมได้ถึง 95.6% และป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ที่พบใหม่ได้ 85.6% แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพต่อการยับยั้งเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ทั้ง 2 สายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในอังกฤษและแอฟริกาใต้ได้ ซึ่งเจ้าไวรัสกลายพันธุ์ที่พบใหม่นี้มีอัตราการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
    .
    4. DNA Vaccine
    คือวัคซีนที่ผลิตโดยการออกแบบชิ้นส่วน DNA ด้วยวิธีสอดแทรกยีนที่สร้างแอนติเจนเข้าไป โดยใช้วิธีฉีดเข้าทางกล้ามเนื้อ หรือผิวหนัง เพื่อให้เกิดการแสดงออกเป็นโปรตีนแอนติเจนที่ต้องการได้ ซึ่งเทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ด้วยเช่นกัน แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการทดลองและยังไม่มีการรายงานผลสรุปในเรื่องประสิทธิภาพออกมาอย่างชัดเจน
    .
    5. Inactivated Vaccine
    คือวัคซีนชนิดเชื้อตาย ที่ทำจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว ด้วยการใช้ความร้อนจากสารเคมี หรือแสง UV เข้าไปทำลาย ซึ่งมีข้อดีคือไม่ต้องเสี่ยงต่อการตอบสนองของโรคขั้นรุนแรง โดยวัคซีนที่ใช้เทคโนโลยีนี้ ได้แก่ วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) และในปัจจุบันประเทศไทยได้ทำการสั่งซื้อวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 จาก Sinovac เป็นจำนวนทั้งหมด 2 ล้านโดส โดยคาดว่าจะจัดส่งถึงไทย 200,000 โดสในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์, 800,000 โดสในช่วงปลายเดือนมีนาคม และอีก 1 ล้านโดสในช่วงปลายเดือนเมษายน
    .
    6. VLP (Virus Like Particle)
    คือวัคซีนที่มีอนุภาคคล้ายไวรัส ซึ่งถูกพัฒนาโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราช และสวทช. ทั้งยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเบื้องต้นในสัตว์ทดลอง
    .
    อัดฉีดความหวังการรักษาด้วย ‘วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19’ แก่ประชาชนทั่วโลก
    จากข้อมูลเดือนมกราคม 2564 ระบุว่าทั่วโลกมียอดการสั่งจองวัคซีนแล้วกว่า 8,400 ล้านโดส โดยประเทศที่มีการสั่งจองเข้ามามากที่สุดคืออินเดีย รองลงมาคือแคนาดา ที่ทำการจองวัคซีนเข้ามามากกว่าประชากรในประเทศถึง 3 เท่า ซึ่งผู้ผลิตวัคซีนจากสถาบัน Serum Institute ในประเทศอินเดีย ได้คาดการณ์ว่า ระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่ทั่วโลกจะได้รับวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 อย่างเพียงพอคือในปี 2024 หรือ พ.ศ. 2567
    .
    ทั้งนี้ ข้อมูล ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 ระบุว่าทั่วโลกได้ทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้วกว่า 100 ล้านโดส โดยสหรัฐอเมริกา คือประเทศที่ทำการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนมากที่สุดถึง 32.8 ล้านโดส ซึ่งจากภาพรวมที่หลายประเทศทั่วโลกเริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 พบว่าวัคซีนประเภท mRNA ถูกนำมาฉีดให้กับประชาชนมากที่สุด รองลงมาคือประเภท Inactivated ส่วนประเภทอื่นนั้นยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย และพัฒนา หากได้ผลการป้องกันที่ดี เราก็อาจจะได้เห็นวัคซีนหลากหลายประเภทที่สามารถใช้กับคนทุกเพศทุกวัยได้มากขึ้นต่อไปในอนาคต
    .
    กลับมาในส่วนของประเทศไทย ได้ตั้งเป้าว่าจะดำเนินการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมคนไทยเกินครึ่ง หรือกว่า 30 ล้านคน โดยล่าสุดรัฐบาลได้ทำการสั่งจองวัคซีนล่วงหน้าแล้วทั้งสิ้น 61 ล้านโดส แบ่งเป็นวัคซีนแอสตราเซนเนกาและวัคซีนซิโนแวค แต่ต่อมาเมื่อประมาณกลางเดือนธันวาคม 2563 ไทยพบเจอการแพร่ระบาดระลอกใหม่ จึงได้เจรจากับผู้ผลิตอีกหลายแห่ง เพื่อเร่งนำเข้าวัคซีนบางส่วนมารองรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น โดยได้เจรจากับแอสตราเซเนกานำเข้าวัคซีนจากแหล่งผลิตในยุโรปมาใช้ก่อนประมาณ 1.5 แสนโดส แต่ติดปัญหาเรื่องการขนส่ง ทำให้การนำเข้าถูกชะลอออกไป ซึ่งทุกฝ่ายก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ และพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำให้ได้วัคซีนมาใช้ก่อนจำนวนหนึ่ง เพื่อให้ได้ต้นแบบการฉีดให้เป็นไปตามแผน พร้อมกับการสังเกตผลข้างเคียงที่อาจพบ ก่อนจะเริ่มฉีดให้กับประชาชนทั่วไปในช่วงเดือนมิถุนายน ทั้งนี้รัฐบาลได้เตรียมแผนจัดหาวัคซีนเบื้องต้น จำนวนทั้งสิ้น 2 ล้านโดส แบ่งเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2 แสนโดส ในเดือนมีนาคม 8 แสนโดส แล้วจะตามมาในช่วงเดือนเมษายนอีก 1 ล้านโดส
    .
    แม้ว่าปัจจุบันจะมีวัคซีนป้องกันออกมาให้ทั่วโลกอุ่นใจ แต่ก็ยังมองไม่เห็นถึงจุดสิ้นสุดของการระบาด ดังนั้นทุกคนก็อย่างเพิ่งนิ่งนอนใจ จะไปไหนก็ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง พกเจลแอลกอฮอล์ และหมั่นล้างมือบ่อยๆ เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นเกราะป้องกันเบื้องต้นที่ดีที่สุดที่ตัวเราสามารถสร้างขึ้นเองได้ค่ะ
    .
    https://misterban.com/hashtag/ความหวังกับ-วัคซีนโควิด/
    .
    #วัคซีน #วัคซีนป้องกันโควิด19 #COVID19 #โควิด19 #ไฟเซอร์ #ซิโนแวค #โมเดอร์นา #เทคโนโลยีการผลิต #BTimes
     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    222,656
    ค่าพลัง:
    +97,150
    Feb 10,2021 สมุทรสาครพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 10 ก.พ.ที่ผ่านมา 129 ราย รวมยอดสะสม 15,476 ราย
    .
    โดยมีผู้หายป่วย/จำหน่ายแล้ว 11,381 ราย เสียชีวิตสะสม 5 ราย
    .
    #โควิด #Covid #สมุทรสาคร #Misterban

    7meNLtAdPGayGDNpitkh87gR1FimEabMYhyqOdzx2_C&_nc_ohc=RWtLrZ4z_W8AX9otQDT&_nc_ht=scontent.fbkk22-2.jpg

     

แชร์หน้านี้

Loading...