สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระอภิธรรม จากไตรภูมิกถา

    ท่านที่ไปเกิดในอรูปพรหมโลกอันไกลโพ้นด้วยอรูปปฏิสนธิต่อจากชั้นอกนิฏฐพรหมขึ้นไปเบื้องบนว่างเปล่าไกลลิบลับ มีพรหมโลกอยู่อีก ๔ ชั้น คือ อากาสานัญจายตนภูมิ วิญญาณัญจายตนภูมิ อากิญจัญญายตนภูมิ และเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ พรหมโลกทั้งสี่ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของท่านผู้ได้ฌานที่ ๕ ท่านเหล่านี้ไม่มีตัวตนแม้แต่น้อย ว่างเปล่า มีแต่จิตสถิตอยู่กลางหาว ด้วยเหตุนี้ที่อยู่ของท่านจึงชื่อว่า อรูปพรหมโลก

    พรหมในอรูปภูมินี้ แม้จะมีใจละเอียดประณีตและน้อยนิดก็ยังมีเจตสิกเป็นเพื่อนของจิต ประกอบจิตอีก ๒๐ ดวง คือ โสภณเจตสิก เว้นกรุณาและมุทุตา ไม่นับ อัญญสมานาเจตสิก

    โสภณเจตสิกทั้ง ๒๐ ดวงนี้อาศัยอรูปาวจรจิตในอรูปโลก ถึงแม้ว่าใจจะละเอียดประณีตอย่างยิ่ง ก็ยังมีเพื่อนเพื่อให้อยู่เป็นสุขในสมาบัติได้ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประสูติในโลกนี้ อรูปพรหมทั้งหลายก็มีศรัทธาเลื่อมใสพากันบูชาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยใจ

    • เนื้อความจาก "ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ" กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ครั้งที่สอง พุทธศักราช ๒๕๕๕

    • อ่านฉบับเต็มได้ที่
    http://vajirayana.org/ไตรภูมิกถาฉบับถอดความ

    • สมุดภาพไตรภูมิฉบับกรุงธนบุรี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อรรถกถา ขุททกนิกาย เปตวัตถุ ปฐมวรรค๑. เขตตูปมาเปตวัตถุ



    กถาเริ่มต้นปกรณ์ ข้าพเจ้าขอนมัสการ ซึ่งพระโลกนาถเจ้า
    ผู้ประกอบด้วยพระมหากรุณาคุณ ผู้บรรลุฝั่งแห่ง
    สาครคือไญยธรรม ผู้มีเทศนานัยอันละเอียดลึกซึ้ง
    และวิจิตร.
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ ซึ่งพระธรรมเจ้า อัน
    สูงสุดนั้น ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบูชาแล้ว
    ซึ่งเป็นเครื่องนำสัตว์ผู้เพียบพร้อมด้วยวิชา และ
    จรณะให้ออกจากโลก.
    ข้าพเจ้าขอนมัสการ ซึ่งพระอริยสงฆ์ ผู้
    เพียบพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ใน
    มรรคและผล ผู้เป็นบุญเขต อันยอดเยี่ยม.
    ด้วยเดชแห่งบุญอันเกิดจากการนมัสการ
    พระรัตนตรัย ดังกล่าวมาแล้วนี้ ขอข้าพเจ้าจง
    เป็นผู้มีอันตรายอันห้วงบุญนั้น กำจัดแล้วในที่
    ทุกสถาน
    ก็เทศนาใดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ประกาศถึงกรรมที่เปรตทั้งหลาย กระทำไว้ใน
    ชาติก่อน อันเป็นเหตุนำมาซึ่งความเป็นเปรต
    โดยความต่างกันแห่งผลกรรมของเปรตเหล่านั้น
    อันนำความสังเวชให้เกิดโดยพิเศษ ทำกรรมและ
    ผลของกรรมให้ประจักษ์ เทศนานั้นมีเรื่องที่ทราบ
    กันดีแล้ว โดยชื่อว่าเปตวัตถุ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณ
    อันยิ่งใหญ่ได้สังคายนาไว้แล้ว ในขุททกนิกาย.
    ข้าพเจ้าจะยึดเอานัยแห่งอรรถกถาเก่าของ
    เปตวัตถุนั้นมาชี้แจงถึงเหตุในเรื่องนั้นๆ ให้แจ่ม
    แจ้งโดยพิเศษ จักกระทำอรรถสังวรรณนาอันงด
    งามบริสุทธิ์ด้วยดี ไม่ปะปน มีอรรถและวินิจฉัย
    อันละเอียด ไม่ค้านกับลัทธิของพระมหาเถระผู้
    อยู่ในมหาวิหารตามกำลัง ขอสาธุชนทั้งหลายจง
    ตั้งใจสดับอรรถสังวรรณนานั้นของข้าพเจ้าผู้กล่าว
    อยู่โดยเคารพเทอญ.
    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปตวตฺถุ ได้แก่ กรรมอันเป็นเหตุให้สัตว์นั้นๆ มีบุตรแห่งเศรษฐีเป็นต้นเกิดเป็นเปรต.
    ก็พระปริยัติธรรมอันเป็นไปโดยประกาศถึงกรรมนั้นมีอาทิว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเปรียบด้วยนา ท่านประสงค์เอาเปตวัตถุในที่นี้.
    ถามว่า เปตวัตถุนี้นั้น ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อไรและเพราะเหตุไรจึงกล่าว?
    ข้าพเจ้าจะเฉลย :
    จริงอยู่ เปตวัตถุนี้เกิดด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือ ด้วยเหตุที่เกิดขึ้นแห่งเรื่อง ๑ ด้วยอำนาจคำถามและคำตอบ ๑.
    ในสองอย่างนั้น ที่เกิดด้วยอัตถุปปัตติเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส นอกนั้น พระนารทเถระเป็นต้นเป็นผู้ถาม พวกเปรตนั้นๆ เป็นผู้แก้.
    ก็เพราะเหตุที่เมื่อพระนารทเถระเป็นต้น กราบทูลถึงคำถามและคำตอบนั้นๆ พระศาสดาจึงกระทำเรื่องนั้นๆ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุแล้ว แสดงธรรมแก่บริษัทพร้อมหน้ากัน. ฉะนั้น เปตวัตถุนั้นทั้งหมด จึงเป็นอันชื่อว่า พระศาสดาตรัสทั้งนั้น.

    จริงอยู่ เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในที่นั้นๆ มีกรุงราชคฤห์เป็นต้น เปตวัตถุนั้นๆ จึงขึ้นสู่เทศนา โดยกระทำกรรมและผลของกรรมแห่งสัตว์ทั้งหลายให้ประจักษ์ ด้วยการถามและแก้ไขอัตถุปปัตติเหตุนั้นๆ โดยมาก ดังนั้น ในที่นี้เทศนานี้ จึงเป็นการตอบโดยทั่วไป แห่งบททั้งหลายว่า เกน ภาสิตํ ดังนี้เป็นต้น เป็นอันดับแรก.
    แต่เมื่อว่าโดยไม่ทั่วไป เทศนานี้จักมาในอรรถวรรณนาแห่งเรื่องนั้นๆ นั่นแล.
    ก็เปตวัตถุนี้นั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎก ในบรรดาปิฎก ๓ คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎกและอภิธัมมปิฎก.
    นับเนื่องในขุททกนิกาย ในบรรดานิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกายและขุททกนิกาย.
    สงเคราะห์เข้าในคาถา ในบรรดาศาสนามีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตก ชาดก อัพภูตธรรมและเวทัลละ.
    สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์เล็กน้อย ในบรรดาธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ที่พระอานนท์ผู้ธรรมภัณฑาคาริก ได้ปฏิญญาณไว้อย่างนี้ว่า
    ข้าพเจ้าเรียนเอาพระธรรมขันธ์จากพุทธสำนัก
    ๘๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ จากสำนักภิกษุ ๒,๐๐๐
    พระธรรมขันธ์ที่เป็นไปในหทัยของข้าพเจ้าจึงมี
    จำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ดังนี้.

    ว่าโดยภาณวาร มีเพียง ๔ ภาณวาร ว่าโดยวรรค สงเคราะห์เป็น ๔ วรรคคือ อุรควรรค อุพพริวรรค จูฬวรรคและมหาวรรค.
    ใน ๔ วรรคนั้น วรรคแรกมี ๑๒ เรื่อง วรรคที่ ๒ มี ๑๓ เรื่อง วรรคที่ ๓ มี ๑๐ เรื่อง วรรคที่ ๔ มี ๑๖ เรื่อง รวมความว่า เมื่อว่าโดยเรื่อง ประดับด้วยเรื่อง ๕๑ เรื่อง.
    ในบรรดาวรรคของเรื่องนั้น อุรควรรคเป็นวรรคต้น.
    ในบรรดาเรื่องมีเรื่องเขตตูปมเปรตเป็นเรื่องต้น คาถาของเรื่องต้นนั้นมีคำว่า เขตฺตูปมา อรหนฺโต เป็นต้นเป็นคาถาแรก.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (4).jpg
      images (4).jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.9 KB
      เปิดดู:
      60
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายนั้น พระธรรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาสังยุตตนิกายประมาณ ๑๐๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระมหากัสสปเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน.
    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์สังยุตตนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาอังคุตตรนิกายประมาณ ๑๒๐ ภาณวาร แล้วมอบกะพระอนุรุทธเถระให้ไปสอนลูกศิษย์ของท่าน.
    ต่อจากนั้น
    คัมภีร์ธรรมสังคณี คัมภีร์วิภังค์ คัมภีร์กถาวัตถุ
    คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ คัมภีร์ธาตุกถา คัมภีร์ยมก
    คัมภีร์ปัฏฐาน ท่านเรียกว่า พระอภิธรรม.


    ต่อจากการสังคายนาคัมภีร์อังคุตตรนิกายนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาบาลีพระอภิธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ของญาณอันสุขุม อันบัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญแล้วอย่างนี้ แล้วกล่าวว่า ปิฎกนี้ชื่ออภิธรรมปิฎก. พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ได้ทำคณสาธยาย แผ่นดินได้ไหวตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

    ต่อจากการสังคายนาอภิธรรมปิฎกนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายได้สังคายนาพระบาลี คือ ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทามรรค อปทาน สุตตนิบาต ขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา. พระทีฆภาณกาจารย์กล่าวว่าประชุมคัมภีร์นี้ชื่อว่า ขุททกคันถะ และกล่าวว่าพระธรรมสังคาหกเถระยกสังคายนาในอภิธรรมปิฎกเหมือนกัน.


    คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระหว่างปฐมพจน์และปัจฉิมพจน์ ชื่อมัชฌิมพจน์.
    พุทธพจน์ ๓ ประเภท คือปฐมพุทธพจน์ มัชฌิมพุทธพจน์และปัจฉิมพุทธพจน์ นับอย่างนี้.
    พุทธพจน์มี ๓ ด้วยอำนาจแห่งปิฎก นับอย่างไร?
    จริงอยู่ พระพุทธพจน์ทั้งหมดนี้มี ๓ ประเภท คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก.


    ใน ๓ ปิฎกนั้นพระพุทธพจน์นี้ คือ ปาติโมกข์ทั้ง ๒ วิภังค์ขันธกะ ๘๒ ปริวาร ๑๖ ชื่อวินัยปิฎก เพราะรวมพระพุทธพจน์ทั้งหมดที่สังคายนาในครั้งปฐมสังคายนาและที่สังคายนาต่อมา.
    พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าสุตตันตปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ทีฆนิกายมีจำนวน ๓๔ สูตร มีพรหมชาลสูตรเป็นต้น มัชฌิมนิกายมีจำนวน ๑๕๒ สูตร มีมูลปริยายสูตรเป็นต้น สังยุตตนิกายมีจำนวน ๗,๗๖๒ สูตร มีโอฆตรณสูตรเป็นต้น อังคุตตรนิกายมีจำนวน ๙,๕๕๐ สูตร มีจิตตปริยาทานสูตรเป็นต้น ขุททกนิกายมี ๑๕ ประเภท คือขุททกปาฐะ ธรรมบท อุทาน อิติวุตตก สุตตนิบาต วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา เถรีคาถา ชาดก นิทเทส ปฏิสัมภิทา อปทาน พุทธวงศ์ และจริยาปิฎก.
    พระพุทธพจน์ที่ชื่อว่าอภิธรรมปิฎก ได้แก่พระพุทธพจน์ต่อไปนี้ คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน.
    ใน ๓ ปิฎกนี้

    อนึ่ง ปิฎกที่ ๑ (วินัยปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาปราธศาสนา การสั่งสอนตามความผิด เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความผิดมากมายเหล่านั้นใด สัตว์เหล่านั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งตามความผิดในปิฎกนี้. ปิฎกที่ ๒ (สุตตันตปิฎก) ที่ท่านเรียกว่า ยถานุโลมศาสนา การสั่งสอนอนุโลมตามอัธยาศัย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยอนุสัยและจริยาวิมุตติมิใช่น้อย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้วในปิฎกนี้ตามอนุโลม. ปิฎกที่ ๓ (อภิธรรมปิฎก) ท่านเรียกว่า ยถาธรรมศาสนา การสั่งสอนตามปรมัตถธรรม เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสภาวะสักว่ากองแห่งปรมัตถธรรมว่า นี่เรา นั่นของเรา ดังนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนแล้ว ตามปรมัตถธรรมในปิฎกนี้.


    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=1&p=1
     
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    [อธิบายคัมภีรภาพ ๔ อย่าง]
    บรรดาคัมภีรภาพทั้ง ๔ นั้น พระบาลี ชื่อว่าธรรม. เนื้อความแห่งพระบาลีนั้นนั่นแล ชื่อว่าอรรถ. การแสดงพระบาลีนั้นที่กำหนดไว้ด้วยใจนั้นชื่อว่าเทศนา. การหยั่งรู้พระบาลีและอรรถแห่งพระบาลีตามเป็นจริง ชื่อว่าปฏิเวธ.

    ก็เพราะในปิฎกทั้ง ๓ นี้ ธรรม อรรถ เทศนาและปฏิเวธเหล่านี้ อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลายหยั่งลงได้ยากและมีที่ตั้งอาศัยที่พวกเขาไม่พึงได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นหยั่งลงได้ยากฉะนั้น, เพราะฉะนั้น จึงจัดว่าเป็นคุณลึกซึ้ง. ก็แลบัณฑิตพึงทราบคัมภีรภาพทั้ง ๔ ในปิฎกทั้ง ๓ นี้ แต่ละปิฎก ด้วยประการฉะนี้.


    [อธิบายคัมภีรภาพอีกนัยหนึ่ง]
    อีกอย่างหนึ่ง เหตุ ชื่อว่าธรรม, สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในเหตุ ชื่อว่าธรรมปฏิสัมภิทา. ผลแห่งเหตุ ชื่อว่าอรรถ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ในผลแห่งเหตุ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.๑- บัญญัติ อธิบายว่า การสนทนาธรรมตามธรรม ชื่อว่าเทศนา. การตรัสรู้ชื่อว่าปฏิเวธ.

    ก็ปฏิเวธนั้นเป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ คือความรู้รวมลงในธรรมตามสมควรแก่อรรถ ในอรรถตามสมควรแก่ธรรม ในบัญญัติตามสมควรแก่ทางแห่งบัญญัติ โดยวิสัยและโดยความไม่งมงาย.๒-

    บัดนี้ ควรทราบคัมภีรภาพทั้ง ๔ ประการในปิฎกทั้ง ๓ นี้แต่ละปิฎก เพราะเหตุที่ธรรมชาติหรืออรรถชาติใดๆ ก็ดี อรรถที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงให้ทราบ ย่อมเป็นอรรถมีหน้าเฉพาะต่อญาณของนักศึกษาทั้งหลายด้วยประการใดๆ เทศนาอันส่องอรรถนั้นให้กระจ่างด้วยประการนั้นๆ นี้ใดก็ดี ปฏิเวธคือความหยั่งรู้ไม่วิปริตในธรรม อรรถและเทศนานี้ใดก็ดี ในปิฎกเหล่านี้ ธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธทั้งหมดนี้ อันบุคคลผู้มีปัญญาทรามทั้งหลาย มิใช่ผู้มีกุศลสมภารได้ก่อสร้างไว้ พึงหยั่งถึงได้ยากและมีที่พึ่งอาศัยไม่ได้ ดุจมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้นหยั่งถึงได้ยากฉะนั้น.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • images (6).jpg
      images (6).jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.1 KB
      เปิดดู:
      53
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไปเจอกระทู้นี้เข้า

    เรื่อง วิจารณ์พระอภิธรรมปิฎก

    โดย เปมงฺกโร ภิกฺขุ (หลวงปู่เปรม เปมังกโร)



    วิจารณ์เรื่องพระอภิธรรมที่มีต่อไปนี้ ได้เขียนขึ้นไว้ในสมัยเจ้าพระคุณสมเด็จมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) วัดบรมนิวาส เขียนโดยบัญชาของท่าน เพราะเมื่อธรรมสากัจฉากัน ท่านปรารภถึงพระอภิธรรมปิฎก และพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ ท่านพูดเป็นเชิงบัญชาให้ศึกษาพระอภิธรรม

    ได้เรียนท่านว่า เกล้าฯไม่เลื่อมใสในพระอภิธรรม การปฏิบัติเพื่อมรรคผลนิพพาน ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะต้องศึกษาพระอภิธรรม

    ท่านนิ่ง แล้วกลับบัญชาว่า ถ้าอย่างนั้นจงเขียนคำวิจารณ์แสดงเหตุผลที่ไม่เลื่อมใสมาให้ดู อาตมาก็เขียนคำวิจารณ์แสดงเหตุผลถวายตามบัญชา ท่านตรวจดูแล้วรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเห็นชอบตามนี้ เซ็นชื่อไว้เป็นสำคัญ ดังปรากฏที่ตอนจบของบทความเรื่องนี้

    อายุพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้วได้ ๒๔๙๗ ปี ผ่านพ้นมาได้โดยวิธี ๒ ประการ คือ
    ๑.เบื้องต้นจำทรงกันมาโดยการท่องบ่น เรียกว่า มุขปาฐ
    ๒.ภายหลังได้จารึกลงไว้เป็นตัวอักษร ปรากฏมาจนถึงกาลบัดนี้


    วิธีหลังนี้ทราบว่าได้เริ่มทำเมื่อทำการสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งที่ ๕ นับจำเดิมแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพานมา ได้กระทำกัน ณ ลังกาทวีป เกาะสิงฬล

    กาลที่ล่วงเลยมานานถึงเพียงนั้นก็ดี ผ่านพ้นมาโดยวิธี ๒ ประการนั้นก็ดี ชวนให้สงสัยไปในทางเสื่อมเสียคุณภาพ เพราะคนถือรับภาระนี้ ไม่ดีทุกยุคไป เกรงจะคลุกเคล้าเลอะเลือน ต่อแต้มแซมเสริมแทรกแซงกันขึ้นมากมายในภายหลัง ตามลำดับกาลเวลาที่ล่วงไปๆ เพราะปรากฏบางเรื่องบางข้อเหตุผลมืดมัว ไม่สมควรเชื่อถือก็มี คลุกเคล้ากันไปกับส่วนที่ดีๆ


    http://palungjit.org/threads/วิจารณ์พระอภิธรรมปิฎก-โดย-เปมงฺกโร-ภิกฺขุ.203896/page-3


    หวังว่าท่านคงไม่ใช่ตนแบบในสายไม่เอาพระอภิธรรม ในกรณีครูบาอาจารย์ ผมยกไว้ ๒ ท่าน คือ หลวงปู่เปรม เปมังกโร และท่าน พุทธทาส ทิ้งหมากไว้ให้แก้

    ผมเด็กวัดสุปัฎนารามวรวิหาร กินนอนอยู่หน้ารูปเคารพท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์(อ้วน ติสฺโส)ท่านเจ้าคุณเป็นถึงเจ้าหนใหญ่ฝ่ายธรรมยุต ผมกินนอนอยู่หน้าห้องเก่าท่าน ทำไฟเผาห้องท่านมาด้วยยามเป็นสามเณร เพราะนั่งสมาธิหลับ ไฟท่วมสูง ๓ เมตร ไม้กระดาน ๕ นิ้ว ไหม้สึกลงรอบจีวรห่มกาย ลึก ๒.๕ นิ้ว




    ส่วน คึกฤทธิ์ผู้ฝักใฝ่อำนาจชั่วตำทราม ผมถือว่ามันเป็นโมฆะบุรุษอามิสทายาท

    http://luangpu.exteen.com/


    แค่ขึ้นต้นผมก็ยิ้มแล้ว ทิ้งไว้เป็นหมากให้ผมแก้กันหรือขอรับ ถ้าไม่ใช่ผม ก็ไม่มีใครแก้ภาษิตท่านได้หรอก(ในเวลานี้ที่ยังไม่ปรากฎ ท่านปฎิสัมภิทาอื่น) แม้ผมจะยังไม่ชำนาญ เป็นพหูสูตรในพระอภิธรรมก็ตาม แต่ระดับ ต่ำสุดหมายเลข ๑ ใน ๑๖ ระดับ อย่างผมก็สามารถ แสดงฐานะของการมีอยู่ของพระสัทธรรมได้

    ฉนั้นข้ออื่นที่ท่านกล่าวมา นับตั้งแต่ วิธี เห็นธรรม จรรโลงรักษา ถ่ายทอดพระสัทธรรม ว่ามีเพียง วิธีโดยประการนั้น จึงไม่พอและผิดเพี้ยนไป ผมจะไม่บอกว่าท่านไม่รู้จักปฎิสัมภิทา แต่ผมจะบอกว่า หมากที่ท่านวางไว้ ผมแก้ให้ด้วยอัตตาธรรมและมานะธรรม เพียงเท่านั้นขอรับ


    แก้บทวิจารณ์ โดยไม่ทำมานะให้พระอาจารย์ หลวงปู่เปรม เปมังกโร
    อายุพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้วได้ ๒๔๙๗ /๒๕๖๐ ปี ผ่านพ้นมาได้โดยวิธี
    ประการ คือ


    {O}ผู้เห็นธรรมมีเพียง สถานะเท่านั้น{O}

    " ผู้เห็นธรรม๑ คือเห็นธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกพระองค์,พระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้เห็นโดยตรง" ซึ่ง"พระธรรมแม่บท"โดยปฎิสัมภิทาญาน" อันข้อนี้ก็รวมไปถึงพระอรหันตสาวกผู้เป็นพระอเสกขผู้เพ่งตามวิมุตติธรรมในข้อนั้นๆไว้ด้วย ตลอดจนพระอริยะบุคคลผู้เป็นเสกขภูมิไปจนถึงอเสกขภูมิ เป็นต้น

    " ผู้เห็นธรรม๒ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรงด้วยพระประสงค์ ให้เห็นตามด้วยพระทศพลญาน (ทรงพระมหากรุณาโปรดแสดงอนุปุพพิกถาตามลำดับเป็นกรณีพิเศษ,และด้วยอธิษฐานไว้เพื่อผู้ต้องบุพกรรม ณ ที่แห่งหนนั้นๆตามพระทศพลญาน ข้อนี้ก็สามารถพิจารณาเข้าสู่สิ่งที่ท่านทั้งหลายฯ ต่างปุจฉา-วิสัชนากันได้ เฉกเช่นเดียวกับที่ทรงอธิษฐานแก่พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ไว้ในภายภาคนั้นก่อนจะธาตุอันตรธาน คือ ธาตุอันตรธาน ถ้าท่านใดต้องบุพกรรมกับองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนไปถึงเหล่าพระอรหันต์ผู้มีข่ายญานอธิษฐานเอาไว้ให้ธรรมทายาท อันมี บิดามารดาของท่านญาติมิตรศิษย์สหายกลับชาติมาเกิดใหม่ ข้อนี้ท่านพึงเห็นได้ด้วยข่ายพระญาน และข่ายญานนั้นๆ

    ธาตุอันตรธานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ พระบรมธาตุนิพพาน “ และคำว่านิพพานนั้นมี ๓ ประการ คือ
    ๑. กิเลสนิพพาน คือการตรัสรู้ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์
    ๒. ขันธนิพพาน คือการดับเบญจขันธ์ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา
    ๓. ธาตุนิพพาน คือพระบรมสารีริกธาตุสูญสิ้นไปจากโลก ซึ่งจักเกิดขึ้นในอนาคต

    การนิพพานแห่งพระบรมสารีริกธาตุแห่งพระบรมศาสดาที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ เมื่อไม่มีผู้สักการะบูชาพระบรมธาตุก็จะเสด็จไปยังถิ่นประเทศที่มีคนเคารพสักการบูชา จวบจนวาระสุดท้ายมาถึง ทั่วทุกถิ่นประเทศหาผู้สักการบูชาไม่มีเลย พระบรมธาตุทั้งหลายจากโลกมนุษย์ เทวโลกและนาคพิภพ จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด แล้วรวมกันเป็นรูปของพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐ์สถาน ณ โคนต้นศรีมหาโพธิ์นั้น ประหนึ่งว่าพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ จะทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ในที่นั้น แต่ในครั้งนี้มนุษย์และสัตว์โลกทั้งหลายจะมิมีผู้ใดได้เห็นพระองค์เลย

    ฝ่ายเทพยดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาล จะพากันมาประชุม ณ ที่นั้น ต่างก็กรรแสงโศกาอาดูรเหมือนเมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ปรินิพพานที่เมืองกุสินารา ลำดับนั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้นที่พระสรีรธาตุเผาผลาญพระบรมธาตุจนหมดสิ้นหาเศษมิได้ เข้าถึงซึ่งความสูญหายไปจากโลก ได้ชื่อว่า “พระบรมธาตุนิพพาน”

    อายุกาลแห่งพระพุทธศาสนาก็สิ้นสุดลง ในบัดนั้น
    เมื่อพระบรมธาตุนิพพานแล้ว เหล่าเทพยดาพากันทำสักการบูชาแล้ว ทำประทักษิณสิ้น ๓ รอบเสร็จสิ้นต่างก็พากันกลับสู่วิมานของตนๆ ในเทวโลก

    ส่วนข้อที่จะไม่มีมนุษย์ได้ฟังธรรมและได้พบเห็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกในครานั้นก็ต้องรอดูหรือพึงรู้พึงทราบกันตามภพภูมิของสัตว์ในยุคนั้น อาจจะมีโอกาสเป็นเราหรือท่านผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ในนี้ ถ้าระบุไว้อย่างนั้นจริงๆก็ขอให้ท่านทั้งหลายฯ ผู้เจริญในพระสัทธรรม ที่ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน เป็นเทพเทวดาและเหล่าพรหมนั้นเทอญฯ

    " ผู้เห็นธรรม๓ คือการพิจารณาธรรมตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่สืบทอดจารึก ท่องจำมุขปาฐะจารจารึกตีพิมพ์กันมาด้วยความเพียรพยายาม ด้วยสภาวะบุญอันเข้าถึงในอดีตชาติที่สั่งสมการพิจารณาใคร่ครวญปฎิบัติมาดีแล้ว จนเข้าสู่หนทางปฎิบัติแห่งการบรรลุตามอัชฌาสัยของท่านสุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ตามลำดับ ซึ่งท่านเหล่านี้สามารถที่จะเพ่งพิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุุตติของท่านได้ตามกาล ส่วนจะได้มากได้น้อยซึ่งวิมุตติญานทัสสนะกถา ท่านจะแสดงหรือไม่ ก็ขอยกเอาไว้ตามอัชฌาสัยของท่านเหล่านั้นฯ

    "จงพิจารณาให้เห็นความเป็นจริงเถิดว่า"

    องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงจำแนกพระธรรมคำภีร์คำสั่งสอนออกมาเป็นทางสายกลางสายเดียวไม่มีแปลกแยกเป็นอื่น ผู้ที่ถือพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทโดยปฎิสัมภิทาญานได้ "เปรียบเสมือนผู้ถือแท่งทองชมพูนุช"เป็นแม่แบบ เป็น"รัตนมหาธาตุ"ย่อมสามารถมองล่วงรู้เห็นว่า ทองคำแท่งใดปลอมปน วัสดุอื่นตามได้อย่างละเอียด ว่ามีเหล็กบ้าง ตะกั่วบ้าง เป็นต้น ถ้าถึงกาลเวลานั้น คือมีผู้สามารถรวมรวมการแตกแยกของนิกายทั้งหมดมารวมกันเป็นหนึ่งเดียวได้เมื่อไร ด้วย ปาฎิหาริย์ ๓ ตอนนั้นจักรวรรดิธรรม ก็จะพร้อมเรียกชื่อ นิกาย อันมีนามแท้"ดั้งเดิม" อันเป็นนามที่แท้จริงของพระศาสนา เหมือนกับสมัยพุทธันดรก่อนๆ นั้นแล


    ปริยัติอันตรธาน ยังไงก็หายแน่นอน และต่อให้หายไป ก็ยังอยู่เหมือนเดิม ด้วยปฎิสัมภิทาญาน ที่เหลือขึ้นอยู่กับว่า ท่านใด มีบุญบารมีทรงจำได้มากหรือน้อย นี่คือความแตกต่างของ ระดับการทรงจำ ปฎิสัมภิทาญานแตกต่างกันอย่างเดียวคือ การทรงจำได้มาก หรือ น้อย เพียงเท่านั้น รอผู้นั้นที่ยิ่งกว่าเรา สหายธรรมในที่นี้ก็มีสิทธิ์ ขอเพียงมีความนอบน้อมเคารพ รักพระไตรปิฏก ในอนาคตท่านย่อมได้ ปฎิสัมภิทาญาน อย่างไม่ต้องสงสัย เห็นแล้วก็จะรู้เอง ว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นธรรม คือ ทรงเห็นอะไร? หากจะไม่ศึกษาอะไรเลยจะหวังพึ่งแต่ทัสสนะญานเพียงอย่างเดียว ก็ไม่ใช่อัชฌาสัยของท่านที่บรรลุปฎิสัมภิทาญานในเสกขภูมิ ญานทัสสนะวิสุทธิในท่านเสกขภูมิจะสามารถหลอมรวม เหตุแห่งการเกิดดับและการเริ่มต้นต่างๆ ได้อย่างสุดวิเศษ เมื่อถึงเวลา บทธรรมเหล่านั้นจะปรากฎเองอย่างที่ทรงตรัสรู้เห็น นั่นแหละ ! พระไตรปิฏกพระธรรมคัมภีร์ธรรมแม่บทดั้งเดิม มีรูปแบบเดียวกันกับ ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ ทรงตรัสรู้เห็นพร้อมกันซึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น และทรงตรัสรู้ธรรมเสมอกัน ส่วนพระอรหันสาวกผู้บรรลุปฎิสัมภิทา หรืออริยะสาวกผู้ได้ ปฎิสัมภิทาญาน ก็จักเจริญตามภูมิธรรมซึ่งก็คือ เสกขภูมิไปจนอเสกขภูมิ ส่วนพระอรหันตสาวกผู้เป็นพระอเสขะที่มิได้บรรลุปฎิสัมภิทาญาน ท่านก็สามารถเห็นธรรมและตรัสรู้ธรรมได้โดยการ พิจารณาตามจิตที่ต้องวิมุตติญานทัสสนะ เรียกว่าอาศัยการเสวยวิมุตติธรรมนั้นแลฯ ความสุขในพระพุทธศาสนา เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยมยิ่ง นี่ล่ะจึงทรงตรัสว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"

    http://palungjit.org/threads/พบพระพุทธเจ้า-ถามเฉพาะ-คนที่ได้พบนะครับ-คนที่เข้ามาแนะนำอะไรไม่ต้องเข้ามานะครับ.569133/page-4
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2017
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มีพวกไปยัดไส้ใส่ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เหมือนกันนะ
    https://th.wikipedia.org/wiki/พระอภิธรรมปิฎก
    มีผู้สันนิษฐานว่าพระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นของแต่งขึ้นใหม่ โดยมีเหตุผล ได้แก่

    1. สำนวนในการเขียนพระอภิธรรมปิฎกเป็น ภาษาหนังสือ แตกต่างจากสำนวนภาษาในพระวินัยปิฎกและพระสุตตันตปิฎก
    2. หลักมหาปเทสให้สาวกเทียบเคียงความถูกต้องกับพระสูตรและพระวินัย ไม่ปรากฏว่าให้เทียบเคียงกับพระอภิธรรมปิฎกเลย
    3. ข้ออ้างเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปเทศนาโปรดพระพุทธมารดาที่ดาวดึงส์ ไม่ปรากฏในพระสูตรและพระวินัย
    4. คำว่า อภิธมฺเม ที่ปรากฏในพระสูตรบางแห่งหมายถึง โพธิปักขิยธรรม
    5. พระพุทธเจ้าตรัสกับสาวกว่า ธมฺโม จ วินโย จ หมายถึงพระธรรมกับพระวินัยเท่านั้น (ที่ให้เป็นศาสดาแทนต่อไป)
    6. ยญฺจ โข ภควตา ชานตา ปสฺสตา ซึ่งแปลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่" และ วุตฺตญฺเจตํ ภควตา ซึ่งแปลว่า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ดังนี้ เป็นสำนวนของพระสังคีติกาจารย์
    7. นิกายสรวาสติวาทิน (นิกายอภิธรรม) ถือว่าพระอภิธรรมปิฎกเป็นสาวกภาษิต

    ตอบ พวกปลายแถวสันนิษฐานว่าพระอภิธรรมปิฎกนี้เป็นของแต่งขึ้นใหม่ โดยมีเหตุผลชิวๆ ๗ ข้อได้แก่

    ๑.ความแตกต่างหรือเหมือนกันบางวรรคบางตอนบางคำก็ย่อมมีอยู่แล้วไม่มากก็น้อย ไม่แปลกอะไร

    ๒.หลักมหาปเทสจะเทียบเคียงพระอภิธรรมก็ไปเอาพระอภิธรรมมาเทียบเคียงกับพระอภิธรรมพุทธนิกายอื่น ใครใช้ให้เอาไปเทียบกับพระสูตรและพระวินัย

    ๓.ข้ออ้างเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระพุทธมารดา ๓ เดือน บอกว่าไม่มี ถ้างั้นก็ไม่ต้องเอา วันเข้าพรรษาและวันออกพรรษานั้นด้วย พระยมกปาฎิหาริย์ก็ไม่ต้องเอาตัดออก ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์ก็ตัดออกเสีย กฐินกาลก็ตัดออก พิธีมหาปวารนาก็ตัดออก ฯลฯ ก็อย่าเอา

    ๔.ในพระอภิธรรม มีการแสดง โพธิปักขิยธรรม อยู่ข้างในอยู่แล้ว ไปหาอ่านพิจารณาเอาเอง อย่ามาแสล๋นว่าไม่มี

    ๕.พระพุทธเจ้าตรัส เอาแค่พระธรรมและพระวินัยเป็นศาสดา พระอภิธรรมก็คือหนึ่งในพระธรรมคำสั่งสอน อย่ามามั่วนิ่มว่าไม่ใช่พระธรรม

    ๖.เกิดไม่ทันพระอัครสาวกพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร อย่ามาทำคิดชั่วปีนเกลียว


    ๗.จะนิกายไหนก็ตามก็รู้ก็เห็นอยู่ไปศึกษามาก่อน เขาล่วงหน้ามาเป็นพันปีแล้ว เขายังเรียนพระอภิธรรม และมีแตกต่างในความสมบูรณ์ด้วยจะประสาอะไรเลยกับพวกยังไม่เป็นวุ้นมาตัดพระอภิธรรมทิ้ง



    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑

    ผู้คัดค้านพระอภิธรรมชื่อว่า ทำลายชินจักร
    บุคคลเมื่อคัดค้านพระอภิธรรม ชื่อว่า ย่อมให้การประหารในชินจักรนี้ย่อมคัดค้านพระสัพพัญญุตญาณ ย่อมหมิ่นเวสารัชชญาณของพระศาสดา ย่อมขัดแย้งบริษัทผู้ต้องการฟัง ย่อมผูกเครื่องกั้นอริยมรรค จักปรากฏในเภทกรวัตถุ ๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นผู้ควรแก่อุเขปนิยกรรม นิยสกรรม ตัชชนียกรรม เพราะทำกรรมนั้น จึงควรส่งเธอไปว่า เจ้าจงไป จงเป็นคน กินเดนเลี้ยงชีพเถิด ดังนี้.


    สรุปไปเลย ว่าเป็นพวกที่ไม่รู้จัก และไม่เอา ปฎิสัมภิทาญาน จึงไม่รู้ที่ไปที่มา ค้นหาสืบเหตุอะไรไม่ได้

    ------------------------------------------------------------
    ภาพพระบฏเรื่องพุทธประวัติ ไตรโลกวิวรณปาฏิหาริย์ ศิลปะมองโกล วาดขึ้นเมื่อราวปีค.ศ. 1700 - 1799 โดยวาดบนผืนผ้าฝ้ายใช้สีฝุ่น ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของ Robert and Lois Baylis

    พุทธศิลป์แบบมองโกลนั้นมีความคล้ายคลึงกับพุทธศิลป์แบบทิเบตจนแทบแยกไม่ออก โดยเฉพาะงานจิตรกรรม อย่างไรก็ตาม งานพุทธศิลป์จำพวกประติมากรรม ช่างมองโกลสกุลจานาบาจาร์มีความละเอียดอ่อน แสดงลักษณะอันอิ่มเอิบ เป็นเอกลักษณ์มากกว่า

    ส่วนภาพพระบฏชุดนี้ แม้จะสู้ช่างของทิเบตไม่ได้ แต่ก็มีกลิ่นไอของศิลปะมองโกลแฝงอยู่ และดูขรึมขลังชวนให้ศรัทธายิ่ง

    ภาพจาก Himalayan Art Resources

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2017
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    หลักฐานในคัมภีร์ตอนที่ทรงตรัสรู้ใหม่ๆ

    ลำดับนั้น ทรงนิรมิตที่จงกรมในระหว่างบัลลังก์ และที่ที่ประทับยืนแล้วทรงจงกรมในรัตนจงกรมอันยาวจากตะวันออกไปตะวันตก ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์. สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.๒

    แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วในด้านทิศพายัพจากต้นโพธิประทับนั่งบนบัลลังก์ในเรือนแก้วนั้น

    #ทรงพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกและสมันตปัฏฐานอันนี้นัยในเรือนแก้วนี้ โดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์.

    ส่วนนักอภิธรรมกล่าวว่า เรือนอันล้วนแล้วด้วยแก้ว ชื่อว่า รัตนฆระเรือนแก้ว สถานที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ พระคัมภีร์ ก็ชื่อว่า
    รัตนฆรเรือนแก้ว. ก็เพราะเหตุที่ปริยายแม้ทั้งสองนี้ย่อมใช้ได้ในที่นี้

    ฉะนั้น
    ๑. สัปดาห์ที่ ๒ นับแต่ตรัสรู้
    ๒. สัปดาห์ที่ ๓ นับแต่ตรัสรู้

    คำทั้งสองนี้ควรเธอถือทีเดียว.
    ก็จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.๑

    สันติเกนิทานกถา
    ตท(ฉบับมหามกุฎฯ)
    เล่มที่ ๕๕ หน้าที่ ๑๒๕-๑๒๖
    ขุททกนิกาย ชาดก เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑


    ครั้นในวันที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาบัติ ทรงทราบความสงสัยของพวกเทวดา จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศ เพื่อกำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น แล้วแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประทับยืนทางด้านทิศอุดร อันเฉียงไปทางทิศปราจีน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ) เยื้องกับบัลลังก์ ทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์ อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีที่ทรงสะสมมาตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัป ทรงยับยั้งอยู่สัปดาห์หนึ่ง

    สถานที่นั้น จึงเกิดชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรมในที่รัตนจงกรมอันยาวทางด้านปุรัตถิมทิศและปัจฉิมทิศ ระหว่างบัลลังก์กับที่ประทับยืน ทรงยับยั้งอยู่สัปดาห์หนึ่ง.

    สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.
    ทางด้านปัจฉิม-ทิศจากสถานที่นั้น
    เทวดาเนรมิตเรือนแก้ว ทรงประทับนั่งสมาธิในเรือนแก้วนั้น

    #ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎก
    อันเป็นสมันตปัฏฐานอนันตนัย โดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ ๑ สัปดาห์ สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์. ทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ด้วยอาการอย่างนี้

    ในสัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากโพธิพฤกษ์เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ ทรงประทับนั่งสมาธิ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธนั้น.

    พระไตรปิฎก(ฉบับมหามกุฎฯ)
    เล่มที่ ๔๔ หน้าที่ ๘๓-๘๔
    ขุททกนิกาย อุทาน เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2017
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มูลนิธิจดทะเบียนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2516 เพื่อปริวรรตอักษรขอมและอักษรโบราณท้องถิ่น ชำระและแปลพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาเป็นภาษาไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราโชวาท ข้อความตอนหนึ่งว่า
    "ฉันขออนุโมทนา ขอให้ทำต่อไปอย่าหยุดเสีย ฉันสนับสนุนงานนี้ ร้อยเปอร์เซ็นต์เต็ม ให้ทำต่อไป เป็นการช่วยให้คนเข้าถึงธรรม
    การแปลคำบาลีมาเป็นคำไทยนั้น ต้องระวังให้จงหนัก อย่าให้ขัดแย้งกันได้เป็นอันขาด เพราะถ้าขัดแย้งกันแล้ว จะทำให้เกิดความยุ่งยากแก่นักศึกษาต่อไปภายหน้า มีใดสงสัยว่าจะแปลให้เข้าใจไม่ได้แจ่มแจ้ง ก็ควรมีคำอธิบายกำกับไว้ด้วย
    "

    พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2506 ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา


    เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๐๖ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อยู่ ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้นำคณะกรรมการสมาคมศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา ซึ่งตั้งขึ้นโดยพระอุปถัมภ์ของพระองค์ท่าน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ เพื่อถวายพระพร และได้ทูลเกล้าฯ ถวาย พระคัมภีร์อัฏฐสาลินี ภาคภาษาไทย อันเป็นพระคัมภีร์ขั้นอรรถกถาซึ่งยังไม่เคยแปลเป็นภาษาไทยมาก่อน และได้กราบบังคมทูลถึงงานแปลพระคัมภีร์ซึ่งทำได้ยาก เพราะขาดคู่มือคำอธิบาย
    *********************************
    คัมภีร์ที่มีพระดำรัสสนับสนุนคือ อรรถกถาธัมมสังคินี อธิบายอภิธรรมปิฏกเล่มที่ ๓๔.


    *********************************

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 ธันวาคม 2017
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หมากกระดานนี้ ที่ท่านทิ้งไว้ให้เป็นปริศนา เป็นของยาก ที่ใครก็ยากที่จะวิสัชนา

    ถ้าขืน วิสัชนา มั่วๆ ทิฏฐิ ก็ตกทันที จึงไม่ค่อยมีใคร จะวิสัชนากัน

    จิตประภัสสร
    ของ เสขะปฎิสัมภิทาระดับ ๑ / ๑๖
    จะวิสัชนา อย่างไร?

    และคืออะไร? มาจากไหน?ทำอย่างไรจึงจะได้เป็น จิตประภัสสร?


    (
    ส่วนที่มาอย่าถามเลย นานมาก อจิณไตย เดียวจะบ้าเอา)


    ในครั้งนั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้ในปลายเล็บของพระองค์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะคิดเห็นเป็นไฉน ระหว่างฝุ่นเล็กน้อย ที่เราได้ช้อนขึ้นไว้ในปลายเล็บ กับฝุ่นในแผ่นดินใหญ่ที่เธอเห็นนี้ อันไหนจะมากกว่ากัน


    ภิกษุทั้งหลายกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ฝุ่นในแผ่นดินใหญ่นี้แล มีมากกว่าพระเจ้าข้า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา (เล็บ) มีน้อยมาก เมื่อเทียบกับฝุ่นในแผ่นดินใหญ่แล้ว ฝุ่นเล็กน้อยที่อยู่บนปลายเล็บของพระพุทธองค์ ย่อมไม่สามารถจะเทียบกันได้เลย แม้เพียงส่วนเสี้ยวก็ตาม พระเจ้าค่ะ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เป็นอย่างนั้นนั่นแล สัตว์ที่ตายแล้วกลับมาเกิดในหมู่มนุษย์มีน้อยมาก ซึ่งเทียบเท่ากับฝุ่นที่อยู่บนปลายเล็บของตถาคต

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากโลกมนุษย์แล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัย มีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากเทวดาแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากนรกแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากสัตว์เดรัจฉานแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่ตายจากเปรตวิสัยแล้ว กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มีน้อย โดยมากแล้ว กลับไปเกิดในนรก สัตว์เดรัจฉาน และ เปรตวิสัยมีมากกว่า

    เพราะสัตว์เหล่านั้น ที่ไม่ได้กลับมาเป็นมนุษย์ และต้องไปเกิดในอบายภูมิ ก็เพราะว่า สัตว์เหล่านั้น ไม่ได้เห็นอริยสัจ 4 อริยสัจ 4 เป็นไฉน? คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

    ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนี้แล เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้คือทุกข์ นี้คือสมุทัย นี้คือนิโรธ นี้คือมรรค

    ภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล

    -----------------------------------------------------------------

    เว้น อกนิฏฐสุทธาวาสภูมิ แล้ว พรหมรูปพรหม ทั้ง ๑๕ ภูมิ

    "กว่าจะเป็น ประภัสสร "
    จะต้องใส่ตระกร้าล้างแล้วล้างอีกจนหมดจด เหลือเพียงเศษอกุศลมูลจิตและกรรมอันแท้ เกิดๆตายๆตั้งจิตอธิษฐาน และทำแต่กรรมดีสร้างบารมีหลายภพหลายชาติเป็นอเนกปริยาย จนจิตผ่องใส แม้มีกรรมอยู่แต่กรรมฝ่ายกุศลนั้นมีมากจนเบาบาง และเศษธรรมอกุศลอันเป็นวิบาก ยังให้มิจฉาทิฏฐิเจริญไปอยู่ เมื่อถึงกาลแล้วดังจิตอธิษฐานไว้ ก็สามารถพ้นได้ดังที่มีมา

    ตายจากพรหม ๑๕ มานั้นแล ดังพรหมที่หลงตนผู้เกี่ยวข้องกับภพวิสัยโดยเฉพาะมนุษยโลกผู้ดึงอัตตาและมานะพรหมให้เกิดขึ้น



    จริงๆเป็นสิ่งที่เราควรจะตระหนี่
    แต่มาคิดพิจารณาดูแล้ว ขอยก มหาวัฎร โดย อัตตกิลามถานุโยค เป็นประธานยังพรหมจรรย์ ๔ มหาวิกัฎให้เป็นไป ถ้าไม่ใช่ศาสนาเชน หรือพราหมณ์ที่อินเดีย ก็ยากที่จะกระทำได้ในประเทศราชนี้ เรายังไม่เห็นใครจะสามารถวิสัชนา "ประภัสสร" ผู้ที่รู้เห็นเท่าเรายังไม่มี ฉนั้นเราจึงสงวนไว้ให้ผู้ที่สามารถปฎิบัติได้ และมีจุดมุ่งหมายอันแน่วแน่ ปุถุชนผู้ยังไม่ใช่พระอริยะบุคคล ยากนักที่จะปฎิบัติตามได้

    เพราะอย่างนั้นแล้ว ถึงจะรู้ไปก็ได้แค่รู้ ไม่ได้หวงว่าจะมาบรรลุธรรมก่อนเราหรือเก่งกาจกว่าเรา

    ใครทำได้ ผู้นั้นย่อมเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ดี


    เรื่องนี้ที่ผ่านมาไม่มีใครกล้าตีความ และตีความได้ แต่ถ้าไต่ระดับ ไล่ระดับการสั่งสมบารมี ในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า

    และการบำเพ็ญในชาตินี้ก่อนจะได้เป็นกว่าจะเข้าถึง จึงจะชัดเจน ถ้าจะเรียกว่า การขัดเกลาตนเองในแต่ละชาติ จนเบาบางที่สุด บาปเบาบางลง จนถึงขั้นมีแต่กรรมขาว เกิดใหม่ก็ทำแต่กรรมขาว จนเหลือแต่ ล๊อคไว้แต่กรรมที่จะต้องเผชิญและจบสิ้นในชาติ พระชาติสุดท้ายบุพกรรมของพระองค์จึงได้เข้ามาเพียง ๑๔ ประการ เพียงเท่านั้น เรื่องนี้ยากนะ อจิณไตยนะ

    ถ้าจะถึงความเลื่อมพรายระยับเจิดจรัสได้ ต้องหลุดออกจาก สูงสุดของ โมกษะและสิทธศิลาเพียงเท่านั้น ไม่แปลกอะไรที่ ฮินดูหรือพราหมณ์หรือเชนจะตีความคิดเข้าใจว่า พระพุทธเจ้าทรงอวตารมาจากเทพเจ้าของฮินดู ถ้าไปไม่ถึงและก้าวข้ามโมกษะและสิทธศิลา พรหมชาลสูตรทิฏฐิ ๖๒ ย่อมไม่มีทางปรากฎ แน่นอนนอนต้องทรงก้าวข้ามอหังการวิเศษมารนั้นด้วย ส่วนศาสนาอื่นๆลัทธิอื่นๆที่หวังแค่สวรรค์ ในโลกธาตุอื่นๆ มฤตยูอื่นๆ ไม่ต้องกล่าวถึงเลย ในทิฏฐิ ๖๒ นั้น ทรงรู้ทรงทราบคติที่ไปของทุกทิฏฐิ คำว่า นอกจากนี้้ไม่มีทิฏฐิอื่นอีก เรื่องนี้ อจิณไตยในฐานะทิฏฐิของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ เพราะทรงมีพระญานที่กว้างไกลมากไม่อาจจะคิดคำนวนได้ มีแต่พระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงเท่านั้นที่เสมอพระองค์ ไม่แปลกอะไร จึงเป็นเสมือนนอแรดดั่งอุปนิสัยของท่านพระปัจเจกพุทธเจ้า ไประลึกคิดเปรียบไม่ได้เลย

    การบำเพ็ญการปฏิบัติแบบอุกฤษฎ์ แม้เราเองก็อยากทำและอยากให้ปรากฎในประเทศราชนี้ในอนาคต ลองนึกภาพที่่สถานที่ที่มีเหล่า ผู้บำเพ็ญเพียรชนิดนี้ในประเทศเกิดขึ้้น จะเป็นอย่างไร?

    เทพเจ้าแบบไหนไม่มีและไม่ต้องรับผลกรรมที่ตนกระทำ แบบนี้ก็ผูกขาดเกินไป กรรมดำกรรมขาวและกรรมไม่ดำไม่ขาวนี้ลึกซึ้งมาก แม้เข้าสู่พระอรหัตผลแล้วกรรมยังส่งผลได้ อจิณไตย จริงๆ หากไตร่ตรองให้กว้างขวาง ของยากนะ บางท่านมีแต่ฝ่ายดี บางท่านไม่มีปรากฎ ไม่มีบันทึกไว้

    รู้ไว้จะได้ไม่หลง ในจิตประภัสสรนี้ ไปถึงระดับจะได้ไม่ไปสงสัยที่มาของ ประภัสสรอื่น สักวันหนึ่งถ้าเราพบหรือสามารถพิจารณารู้เห็นจริงมากกว่านี้ จักบอก แม้ชาตินี้ ชาติหน้าก็ตาม


    "
    ข้อควรระวัง ที่ครุ่นคิดเตือนตนเองและผู้ที่เหมาะจะรับฟังอยู่เสมอๆ "
    เธอสามารถพิจารณาอย่างละเอียดอ่อนได้อีกตามสามารถของเธอ แต่ไม่ควรเปิดเผย เพราะเป็นของยาก เมื่อเขาไม่ยินดีตาม เขาจึงละความพยายามไป ให้เขาทั้งหลายฯสั่งสมไปตามเหตุและปัจจัยเถิด

    โมกษะและสิทธศิลาไปไม่ถึงอสังขตะ ไปได้เต็มที่คือ พรหม ๑๕ พระมหาโพธิสัตว์เป็นพระพรหม ดาบส ไม่รู้กี่ชาติ นั่นล่ะ "ประภัสสร "มีอาคันตุกะคือ อวิชชาโคจรมา

    " ไม่ใช่อย่างที่โมฆะบุรุษ อลัทชี อามิสทายาท อย่าง คึกฤทธิ์ และสาวกจะเข้าใจได้ ไปสอนบ้าๆ อสังขตะมีอวิชชามาเกาะ "

    สัตตานัง บ้านมัน เจอ ขันธ์ ๕ ขันธ์ ๔ ขันธ์ ๑ มันจะเอาปัญญาไหนไปวิสัชนา



    ก่อนจะบำเพ็ญให้บรรลุในชาติ พระพรหม อรูปพรหม เคยเกิดเคยเป็นมาหรือยัง? ทำฌานสมาบัติได้แล้วหรือ ฌาน ๔ น่ะมีปัญญาได้มาและชำนาญแล้วเหรอ ถึงจะมาเอาพระนิพพาน

    อกุศลกรรมเก่าก็มี อกุศลกรรมใหม่ก็สร้าง อยากจะวิสัชนาถึง จิตประภัสสร ไปจนถึงอยากจะเอาพระนิพพาน คงได้สักวันน่ะนะ แต่ถ้าสร้างแต่อกุศลกรรมหลงตัณหาเป็นทาสบ้าปัญญาประดิษฐมารอย่างนี้ อย่าหวังเลยในชาติ

    ไม่บอกก็ตระหนี่ธรรม๕ เป็นกรรมเป็นเวรวิบากขัดขวางไปอีก
    http://palungjit.org/threads/o-จิตประภัสสร-o.631133/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2017
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    เพลง
    wù วู่ รู้แจ้งในสัจธรรม


    《新少林寺》主题曲 《悟》刘德华



    无量心 生福报 无极限

    wú liàng xīn shēng fúbào wú jíxiàn

    อู๋ เลี่ยง ซิน เซิง ฝูเป้า อู๋ จี๋เสี้ยน

    ดำรงในพรหมวิหาร ผลบุญสนองไพศาลไร้ขอบเขต


    无极限 生息息 爱相连

    wú jíxiàn shēngxī xī ài xiānglián

    อู๋ จี๋เสี้ยน เซิงซี ซี อ้าย เซียงเหลียน

    การเกิดดับอันไม่สิ้นสุดต่างผูกโยงไว้ด้วยความรัก


    为何君视而不见 规矩定方圆

    wèi hé jūn shì’ér bú jiàn guījù dìng fāngyuán

    เว่ย เหอ จวิน ซื่อ เอ่อร์ ปู๋ เจี้ยน กุย จวี้ ติ้ง ฟาง เอวี๋ยน

    เหตุใดท่านเห็นแล้วจึงมองข้าม ว่าล้วนเป็นกฏเกณฑ์นี้กำหนดโลก


    悟性 悟觉 悟空 心甘情愿

    wù xìng wù jiào wùkōng xīn gān qíngyuàn

    อู้ ซิ่ง อู้ เจี้ยว อู้ คง ซิน กัน ฉิง เอวี้ยน

    รู้ ตื่น เบิกบาน ด้วยความยินยอมพร้อมใจ


    放下 颠倒梦想 放下云烟

    fàng xià diān dǎo mèngxiǎng fàng xià yúnyān

    ฟ่าง เซี่ยะ เตียน เต่า เมิ่ง เสี่ยง ฟ่าง เวี่ยะ อวิ๋นแยน

    ละอุปาทาน ละหมอกควันอันลวงตา


    放下 空欲色 放下悬念

    fàng xià kōng yù sè fàng xià xuán niàn

    ฟ่าง เซี่ยะ คง อวี้ เซ่อ ฟ่าง เซี่ยะ เสวียน เนี่ยน

    ละตัณหาในรูปธาตุอรูปธาตุ ละความห่วง


    多一物 却添了 太多危险

    duō yí wù què tiān le tài duō wēi xiǎn

    ตัว อี๋ อู้ เชวี่ย เทียน เลอ ไท้ ตัว เวย เสี่ยน

    เพิ่มหนึ่งสิ่ง กลับพอกพูนซึ่งภยันตราย


    少一物 贪嗔痴 会少一点

    shǎo yí wù tān chēn chī huì shǎo yì diǎn

    ส่าว อี๋ อู้ ทาน เฉิน ชือ ฮุ่ย ส่าว อี้ เตี่ยน

    ลดหนึ่งสิ่ง โลภ โกรธ หลง ลดลงตาม



    若是缘 再苦味也是甜

    ruòshì yuán zài kǔ wèi yě shì tián

    ยั่วซื่อ เอวี๋ยน จ้าย ขู่ เว่ย เย่ ซื่อ เถียน

    หากมีวาสนา แม้ขื่นขมยังคงหอมหวาน


    若无缘 藏爱 在心田

    ruò wú yuán cáng ài zài xīn tián

    ยั่ว อู๋ เอวี๋ยน ฉาง อ้าย จ้าย ซิน เถียน

    หากไร้วาสนา เพียงเก็บความรักเอาไว้ในดวงใจ


    尘世 藕断还丝连 回首一瞬间

    chén shì ǒu duàn hái sī lián huíshǒu yí shùn jiān

    เฉิน ซื่อ โอ่ว ต้วน ไห ซือ เหลียน หุย โส่ว อี๋ ซุ่น เจียน

    เรื่องทางโลก แม้ตัดบัวยังเหลือใย สามารถหวนกลับชั่วพริบตา


    种颗善因 陪你走好每一天

    zhòng kē shànyīn péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān

    จ้ง เคอ ซ่านอิน เผย หนี โจ่ว ห่าว เหม่ย อี้ เทียน

    ปลูกสร้างความดี เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน


    唯有 心无挂碍 成就大愿

    wéiyǒu xīn wú guà’ài chéngjiù dà yuàn

    เหวย โหย่ว ซิน อู๋ กว้า อ้าย เฉิง จิ้ว ต้า เอวี้ยน

    มีเพียง ใจพ้นความกังวล ปนิธานบรรลุ


    唯有 心无故 妙不可言

    wéiyǒu xīn wú gù miào bù kě yán

    เหวย โหย่ว ซิน อู๋ กู้ เมี่ยว ปู้ เข่อ แหยน

    มีเพียง ใจไร้เหตุปัจจัย จึงงดงามเกินเอ่ย


    算天算地 算尽了 从前

    suàn tiān suàn dì suàn jìn liao cóng qián

    ซ่วน เทียน ซ่วน ตี้ ซ่วน จิ้น เหลียว ฉง เฉียน

    ทำนายชะตาฟ้าดิน ทำนายสิ้นถึงอดีต


    算不出 生死 会在哪一天

    suàn bù chū shēng sǐ huì zài nǎ yì tiān

    ซ่วน ปู้ ชู เซิง สื่อ ฮุ่ย จ้าย หน่า อี้ เทียน

    มิอาจทำนาย วัน เกิด-ดับ จะมาถึงในวันใด


    勿生恨 点化虚空的眼

    wù shēng hèn diǎn huà xu kū kōng de yǎn

    อู้ เซิง เฮิ่น เตี่ยน ฮว่า ซวี คู คง เตอ แหย่น

    ไร้ความโกรธ แววตาฉายแววว่างเปล่า


    勿生怨 欢喜 不遥远

    wù shēng yuàn huān xǐ bù yáo yuǎn

    อู้ เซิง เอวี้ยน ฮวาน สี่ ปู้ เหยา เอวี่ยน

    ไร้ความแค้น ความสุขอยู่ไม่ไกล


    缠绕 欲望的思念 善恶一瞬间

    chán rào yù wàng de sī niàn shàn’è yí shùn jiān

    ฉาน เย่า อวี่ ว่าง เตอ ซือ เนี่ยน ซ่าน เอ้อ อี๋ ซุ่น เจียน

    พันธนาการความคิดปรารถนา ดี-เลวห่างกันเพียงพลิกฝ่ามือ


    心怀忏悔 陪你走好每一天

    xīnhuái chànhuǐ péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān

    ซินไฮว๋ ช่าน หุ่ย เผ่ย หนี โจ่ว หาว เหม่ย อี้ เทียน

    ใจขออโหสิกรรม เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน


    再牢的谎言 却逃不过天眼

    zài láo de huǎngyán què táo bú guò tiān yǎn

    จ้าย เหลา เตอ ฮว่าง แหยน เชวี่ย เถา ปู๋ กั้ว เทียน แหย่น

    ต่อให้คำมดเท็จหนักแน่นเพียงใด ล้วนหนีไม่พ้นเนตรสวรรค์


    明日之前 心流离更远

    míng rì zhī qián xīn liú lí gèng yuǎn

    หมิง ยื่อ จือ เฉียน วิน หลิว หลี เกิ้ง เอวี่ยน

    ก่อนถึงวันพรุ่งนี้ ดวงใจจากจรไปยิ่งไกล



    浮云霎那间 障眼 人心渐离间

    fúyún shà nà jiān zhàng yǎn rén xīn jiān lí jiàn

    ฝู อวิ๋น ซ่า น่า เจียน จ้าง แหย่น เหยิน ซิน เจียน หลี เจี้ยน

    เมฆหมอกบดบังตา ใจคนแตกแยก


    集苦连连 不断的出现

    jí kǔ lián lián bú duàn de chū xiàn

    จี๋ ขู่ เหลียน เหลียน ปู๋ ต้วน เตอ ชู เสี้ยน

    ความทุกข์ระทมก่อเกิดไม่หยุดหย่อน


    无量心 生福报 无极限

    wú liàng xīn shēng fúbào wú jí xiàn

    อู๋ เหลียง ซิน เซิง ฝู เป้า อู๋ จี๋ เสี้ยน

    ดำรงในพรหมวิหาร ผลบุญสนองไพศาลไร้ขอบเขต


    无极限 生息息 爱相连

    wú jíxiàn shēngxī xī ài xiānglián

    อู๋ จี๋เสี้ยน เซิงซี ซี อ้าย เซียงเหลียน

    การเกิดดับอันไม่สิ้นสุดต่างผูกโยงไว้ด้วยความรัก


    凡人却视而不见 规矩定方圆

    fán rén què shì’ér bú jiàn guījù dìng fāngyuán

    ฝาน เหยิน เชวี่ย ซื่อ เอ๋อร์ ปู๋ เจี้ยน กุยจวี้ ติ้ง ฟาง เอวี๋ยน

    ปุถุชนต่างมองข้าม ว่าล้วนเป็นกฏเกณฑ์นี้กำหนดโลก


    悟性 悟觉 悟空 心甘情愿

    wù xìng wù jiào wùkōng xīn gān qíngyuàn

    อู้ ซิ่ง อู้ เจี้ยว อู้ คง ซิน กัน ฉิง เอวี่ยน

    รู้ ตื่น เบิกบาน ด้วยความยินยอมพร้อมใจ


    简简单单 陪你走好每一天

    Jiǎnjiǎn dāndān péi nǐ zǒu hǎo měi yì tiān

    เจี๋ยน เจี่ยน ตานตาน เผย หนี โจ่ว หาว เหม่ย อี้ เทียน

    ผ่านชีวิตอย่างเรียบง่าย เป็นเพื่อนเคียงข้างเธอไปในทุกวัน


    ชาวพุทธมหายานแบบที่ชาวจีนนับถือ จะเชื่อเรื่องบุญวาสนา ชะตาลิขิต(缘)ด้วย

    จึงมีคำพูดว่า ถ้ามีบุญวาสนา ก็จะได้มาเจอกัน และมีคำพูดว่า " หมดวาสนากันแค่นี้ "

    คนที่จะบรรลุถึงคำว่า (รู้แจ้ง) จนถึงออกบวช

    ถือว่า เป็นผู้ที่มีวาสนาที่จะได้มาเป็นนักบวชในพุทธศาสนา (跟佛教有缘)

    http://oknation.nationtv.tv/blog/chineseclub/2013/07/21/entry-1
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    พวกสำนักคลอง ๑๐ อยากได้ สัตตานัง ที่สามารถเวียนว่ายไปมารับทุกข์รับสุขได้โดยปราศจากขันธ์ฯ จนไปไกลลิบลิ่วจนถึงจักรวาลอันไกลโพ้น สามารถไปพบกับ อสังขตะแห่งจักรวาลอื่นที่โลว์เคสกว่าจักรวาลนี้ เพราะอวิชชาสามารถบินมาเกาะได้



    ก็เข้าใจอยู่บ้างน่ะนะ แต่คราวนี้ต้องมาเจอกับ สตฺตานํ ของปฎิสัมภิทามรรค อันเป็น สตฺตานํ แท้ มีตัวมีตนไม่ใช่ของปลอมลอยไปลอยมาเหมือนกับของสำนักวัดนา

    นี่ขนาดสัตตานัง มันมีของปลอมเลยนะ ก๊อปเอาทุกอย่างมิน่าล่ะ มันจึงไม่เอาปฎิสัมภิทา


    ว่าด้วยอินทริยปโรปริยัตตญาณ

    พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นยกญาณอันทั่วไปแก่พระสาวก ๖๗ ญาณขึ้นแสดงตามลำดับอย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงญาณอันมีเฉพาะพระตถาคตเจ้าเท่านั้นไม่ทั่วไปแก่พระสาวกทั้งหลาย จึงได้ยกอสาธารณญาณ ๖ มีอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดง ณ บัดนี้.
    แม้บรรดาอสาธารณญาณทั้ง ๖ นั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเมื่อจะทรงตรวจดูความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีภาชนะเป็นเครื่องรองรับพระธรรมเทศนา ก็ย่อมตรวจดูด้วยพุทธจักษุ. อินทริยปโรปริยัตตญาณและอาสยานุสยญาณทั้ง ๒ นี้เท่านั้น ชื่อว่าพุทธจักษุ.
    สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า๑-
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรวจดูสัตว์โลกด้วย
    พุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งสัตว์ทั้งหลาย
    บางพวกมีธุลีคือกิเลสในจักษุน้อย บางพวกมีธุลี
    คือกิเลสในจักษุมาก บางพวกมีอินทรีย์แก่กล้า
    บางพวกมีอินทรีย์อ่อน ดังนี้เป็นต้น.

    ____________________________
    ๑- วิ. มหา. เล่ม ๔/ข้อ ๙

    และเมื่อตรวจดูสัตว์โลกทั้งหลาย ก็ทรงตรวจดูความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ในสันดานของสัตว์ก่อน. ครั้นทรงทราบความแก่กล้าแห่งอินทรีย์แล้ว ต่อแต่นั้นก็ทรงตรวจดูอาสยานุสัยและจริต เพื่อแสดงธรรมตามสมควรแก่อาสยะเป็นต้น, แม้เพราะเหตุนั้น ท่านจึงยกอินทริยปโรปริยัตตญาณขึ้นแสดงก่อน, ในลำดับต่อจากนั้นก็ยกอาสยานุสยญาณขึ้นแสดง.
    ก็เมื่อจะทรงแสดงธรรม ย่อมทรงกระทำปาฏิหาริย์แก่ผู้ควรแนะนำด้วยปาฏิหาริย์, เพราะเหตุนั้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงยกญาณในยมกปาฏิหาริย์ขึ้นแสดงในลำดับต่อจากอาสยานุสยญาณ, เพื่อจะแสดงเหตุแห่งญาณทั้ง ๓ เหล่านี้จึงยกมหากรุณาญาณขึ้นแสดง แล้วยกสัพพัญญุตญาณขึ้นแสดงเป็นลำดับต่อไป เพื่อแสดงความบริสุทธิ์แห่งมหากรุณาญาณ.
    พึงทราบว่า พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรได้ยกอนาวรณญาณขึ้นแสดงในลำดับแห่งสัพพัญญุตญาณนั้น เพื่อแสดงความที่พระสัพพัญญุตญาณเป็นญาณที่เนื่องด้วยการระลึกถึงธรรมทั้งปวง และเพื่อแสดงความที่พระสัพพัญญุตญาณเป็นอนาวริยภาพ คือไม่มีอะไรขัดข้อง.
    ในคำว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺตญาณํ - ญาณในความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลายนี้.
    บทว่า สตฺตานํ - แห่งสัตว์ทั้งหลาย.
    ข้างหน้าพึงนำมาประกอบในที่นี้ด้วยเป็น สตฺตานํ อินฺทฺริยปโรปริยตฺตญาณํ.
    เมื่อควรจะกล่าวว่า ปรานิ จ อปรานิ จ ปราปรานิ ท่านก็เรียกเสียว่า ปโรปรานิ เพราะทำให้เป็น โรอักษรด้วยสนธิวิธี.
    ภาวะแห่งปโรประ ชื่อว่าปโรปริยะ, ปโรปริยะนั่นแหละชื่อว่าปโรปริยัตตะ, ความอ่อนและความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ ๕ มีสัทธาเป็นต้นของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าอินทริยปโรปริยัตตะ, ญาณในอินทริยปโรปริยัตตะ ชื่อว่าอินทริยปโรปริยัตตญาณ.
    อธิบายว่า ญาณในความที่อินทรีย์ทั้งหลายเป็นคุณสูงและต่ำ
    ปาฐะว่า อินฺทฺริยวโรวริยตฺตญาณํ - ญาณในความที่อินทรีย์เป็นคุณประเสริฐและไม่ประเสริฐ ดังนี้ก็มี.
    พึงประกอบคำว่า วรานิ จ อวริยานิ จ วโรวริยานิ - ประเสริฐด้วย ไม่ประเสริฐด้วย ชื่อว่าประเสริฐและไม่ประเสริฐ, ภาวะแห่งวโรวริยะ ชื่อว่าวโรวริยัตตะ.
    คำว่า อวริยานิ - ไม่ประเสริฐ. ความว่า ไม่สูงสุด.
    อีกอย่างหนึ่ง ปร-อินทรีย์ที่ใช้ได้ด้วย, โอปร-อินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้ด้วย ชื่อว่าปโรประ.
    พึงประกอบความว่า ภาวะแห่งปโรประ ชื่อว่าปโรปริยัตตะ - ความเป็นแห่งอินทรีย์ที่ใช้ได้และใช้ไม่ได้ดังนี้.
    คำว่า โอปรานิ - อินทรีย์ที่ใช้ไม่ได้. มีคำอธิบายว่า ต่ำทราม.
    ความว่า ลามก ดุจในคำเป็นต้นว่า๑- พิจารณาธรรมอันลามกของผู้ใดอยู่ ดังนี้.
    ท่านตั้งปาฐะไว้เป็นสัตตมีวิภัตติว่า อินฺทฺริยปโรปริยตฺเตญาณํ ดังนี้ก็มี.


    สัทธรรมปฎิรูปสำนักวัดนาป่าพงนี่มันสุดยอดจริงๆ ปลอมแม้กระทั่ง นิพพาน ,อสังขตะ ,จนถึง สัตตานัง

    ลิง
    หลอกเจ้าแท้ๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • buddha-palm.jpg
      buddha-palm.jpg
      ขนาดไฟล์:
      229.7 KB
      เปิดดู:
      63
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2017
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
    สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
    [​IMG]
    [​IMG]

    ๒. สัตตสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
    [๓๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัดความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.

    ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่นทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่นทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.


    ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวนกระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ด้วยมือและเท้า ฉันใด

    ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัดจงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่งจงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

    ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
    จบ สูตรที่ ๒.


    ความเกี่ยวข้อง , ผู้ข้องในรูป ในที่นี้คือ การที่ได้อาศัยยังธาตุขันธ์ อันประชุมกันเป็นที่ยึดที่ตั้งแล้ว ถือเข้าปฎิสนธิแล้ว


    หยามหมิ่นพระรัตนตรัย ทำลาย
    พระไตรปิฏก ทอดทิ้งพระอภิธรรม ทลาย นวังคสัตถุสาสน์ จึงสร้างได้แต่สัทธรรมปฎิรูป วิสัชนาธรรมออกมาจึงมีแต่ของปลอม ไม่ใช่ภาษาที่รักษาไว้ซึ่งพุทธวจนะ อันเป็นคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    คึกฤทธิ์ หนอ คึกฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Wesak.jpg
      Wesak.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.1 KB
      เปิดดู:
      71
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ธันวาคม 2017
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ไปเห็นมา นี่ก็ไม่รู้จักปฎิสัมภิทา เห็นแต่ปริยัติ อ่านท่องได้จำได้ ก็เป็นเพียงสัญญาความจำได้หมายรู้ แต่ไม่ใช่ เหมือนอย่าง ในสัญญาสูตร


    Mos
    " ในโลกนี้ก็มีอัจฉริยะ สามารถจำได้ทุกคำที่อ่านทุกหน้า เพราะเขาสามารถจำเป็นภาพได้แต่มีไม่กี่คนในโลก แต่คนทั่วไปจำได้แต่ความรู้สึกเรื่องอัจฉริยะด้านความจำนี้ ทำให้นึกถึง

    พระอานนท์ และพระอุบาลี ที่ว่าจำได้หมด 84,000ธรรมขันธ์ มีความเป็นไปได้แน่นอนเพราะในยุควิทยาศาสตร์นี้ ก็มีหลักฐานยืนยันว่ามีคนทำได้
    "


    จำได้ ก็คือเห็น อ่านจำด้วยตาเนื้อ แต่ไม่ใช่ด้วย ธรรมจักษุ ญานจักษุ ทิพยจักษุฯ


    ปฎิสัมภิทาญานเมื่อปรากฎ ย่อมประกอบด้วย สภาวะธรรม อันมีวิมุตติญานทัสสนะ และ นิรุตติญานทัสสนะ อันมี เสียง ทำนอง จังหวะ อันลึกซึ้ง ชัดเจน ไพเราะ

    ด้วยประการฉะนี้ นิรุตติปฏิสัมภิทานี้ ชื่อว่ามีสัททะคือเสียงเป็นอารมณ์ มิได้มีบัญญัติเป็นอารมณ์. เพราะเหตุไร? เพราะพระอริยบุคคลได้ยินเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    จริงอยู่ พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทา ครั้นเขาพูดว่า ผสฺโส ก็ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, ครั้นเขาพูดว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ก็ย่อมรู้ว่า นี้มิใช่สภาวนิรุตติ.

    แม้ในสภาวธรรมทั้งหลายมีเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

    ถามว่า ก็พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานี้จะรู้หรือไม่ รู้คำอื่นคือเสียงแห่งพยัญชนะอันกล่าวถึงนาม, อาขยาต, อุปสัค, และนิบาต.

    ตอบว่า พระอริยบุคคลผู้บรรลุนิรุตติปฏิสัมภิทานั้น ครั้นได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ, นี้มิใช่สภาวนิรุตติ ด้วยเหตุสำคัญอันใด, ก็จักรู้คำนั้นด้วยเหตุสำคัญอันนั้น.

    ปฎิสัมภิทา ไม่ใช่สัญญาจำได้หมายรู้ ท่องจำ ด้วยปากอันอาศัยแล้วซึ่งใบลานเปล่า



    ถ้ามีโอกาสเข้ามาเห็นมาอ่าน ก็พิจารณาเสียใหม่

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=2&p=3
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2017
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201



    เอาหรือยัง? คึกฤทธิ์ติดอันดับหรือไม่? ถ้าไม่ติดก็ยุบไปเถอะจะหน่วยงานอะไรก็แล้วแต่

    ขึ้นเเบล็คลิสต์พระสงฆ์-สามเณร ประพฤติตนไม่เหมาะสมทั่วประเทศ

    ไปกันที่วงการสงฆ์บ้าง / การปฏิรูปวงการผ้าเหลือง เป็นหนึ่งวาระปฏิรูปประเทศที่หลายฝ่ายเรียกร้อง ซึ่งที่ผ่านมาเราจะเห็นข่าวการปราบปรามเรื่อง "เงินทอนวัด" ซึ่งตำรวจ ปปป. ได้ทำสำนวนส่งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวนดำเนินคดีต่อแล้ว 2 เฟซ มีผู้เกี่ยวข้องติดร่างแหหลายสิบคน ทั้งข้าราชการสำนักพุทธฯ ฆราวาสทั่วไป รวมทั้งพระสงฆ์ ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นมาอีก คือฝ่ายตำรวจ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สั่งรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขึ้นบัญชี "พระ-เณรนอกรีต" นับร้อยรูป เพื่อเตรียมดำเนินคดีหากมีหลักฐานว่ากระทำความผิด



    "ล่าความจริง" ได้ข้อมูลมาว่า การดำเนินการเรื่องนี้เป็นหนึ่งในแนวทางปฏิรูปวงการผ้าเหลือง โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้มอบหมายให้กองบังคับการปราบปราม รวบรวมพยานหลักฐาน ทั้งพยานเอกสาร พยานบุคคล รวมถึงรูปภาพ และข้อความทางโซเชียลมีเดีย เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของพระภิกษุและสามเณรทั่วประเทศ

    เบื้องต้นได้มีการประสานไปยัง กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเช่นกัน พร้อมขอข้อมูลไปยังสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อช่วยกันเก็บข้อมูล โดยขณะนี้มีรายชื่อพระภิกษุและสามเณรที่ประพฤติตัวไม่เหมาะสมเกือบ 100 รูปแล้ว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการแสดงออก เช่น โพสต์รูปภาพ คลิปวิดีโอ และข้อความหยาบคาย ลามก อนาจาร ในโซเชียลมีเดีย บ้างก็แต่งตัวเป็นผู้หญิง โชว์เรือนร่าง หรือดื่มสุรา

    สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่มีรายชื่อถูกขึ้นบัญชีเกือบ 100 รูปนั้น ยังไม่ชี้ชัดว่าพฤติกรรมเข้าข่ายความผิดระดับใดบ้าง เป็นการผิดวินัยสงฆ์ หรือผิดอาญา ซึ่งทางกองปราบปรามกำลังเร่งตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกต่อไป เพื่อรักษาภาพลักษณ์วงการสงฆ์ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการปราบปรามเงินทอนวัด
    เงินทอนเฟส 3 โยงวัดกว่า 100 แห่ง

    ด้านความคืบหน้าคดีเงินทอนวัดเฟส 3 พันตำรวจเอก วรายุทธ สุขวัฒน์ธนกุล รองผู้บังคับการตำรวจ ปปป. บอกว่า ในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด "วัดเป้าหมาย" ที่เจ้าหน้าที่จะลงไปตรวจสอบปัญหาเงินทอนวัด เบื้องต้นมีวัดที่เข้าข่ายทุจริตมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ

    ชงแก้ 2 ปัญหาเร่งด่วน "เงินวัด-ระบบปกครองสงฆ์"

    สำหรับการปฏิรูปวงการผ้าเหลืองในด้านอื่นๆ นั้น ผู้เกี่ยวข้องในระดับนโยบาย นำโดยสำนักพุทธฯ ได้จัดทำรายงานศึกษาปัญหาวงการสงฆ์ พบว่ามีปัญหาหลักที่ต้องเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วน 2 เรื่องด้วยกัน คือ 1.ปัญหาเงินวัด ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัด ที่ทับซ้อนกับทรัพย์สินส่วนตัวของพระ และเงินบริจาค กับ 2.ปัญหาการปกครองคณะสงฆ์ ที่มีความลักลั่น และเล่นพรรคเล่นพวกในบางส่วน บางระดับ
    เรื่องนี้ต้องบอกว่าเป็นหนังเรื่องยาวแน่นอน เพราะมีการดำเนินการ 3 ด้านพร้อมกัน คือ 1.ปราบปรามเงินทอนวัด เพื่อตัดเส้นทางผลประโยชน์ พร้อมจัดระเบียบเงินวัดเสียใหม่ 2.รื้อระบบการปกครองสงฆ์บางส่วน เพื่อลดปัญหาการเล่นพรรคเล่นพวก และ 3.การขึ้นบัญชีพระที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม โดยการแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบาย ล่าความจริงมีข้อมูลรายละเอียดมาเล่าให้ฟัง ติดตามวันพรุ่งนี้


    ในส่วนที่เลวร้ายที่สุด ไม่กำจัด จะไปกำจัดปลาซิวปลาสร้อย แล้วบอกจะปฎิรูป

    ช่างน่าอนาถใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2017
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธวจนะ ก็คือ ปฎิสัมภิทา ก็คือ พระไตรปิฏก แยกจากกันไม่ได้ แต่สำนักพุทธวจนปลอม ไม่เอา ปฎิสัมภิทาและพระไตรปิฏก มันจะเป็นอะไรได้ นอกจากสัทธรรมปฎิรูป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พยายามอธิบายโทษของการสอนเกี่ยวกับปฎิสัมภิทามรรคอย่างผิดๆอยู่เหมือนกัน จริงๆแล้วมีอีกหลายเจ้า เคยเตือนเจ้าอื่นๆไปแล้วบ้างก็มี

    กลายเป็นของเล่นหรือสัทธรรมปฎิรูปไปเลย เมื่อพระสัทธรรมมาอยู่ในมือ

    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้
    อย่าฆ่าอาจารย์ เพราะมีผู้รู้เห็น รักอาจารย์ ต้องพิจารณาธรรมจากอาจารย์ ให้ดีแล้วค่อย เอามาสอน เอามาประกาศ อย่าทำร้ายอาจารย์ อันเป็นเหตุให้สำนักอื่นที่ขัดกันหาเหตุโจทย์อธิกรณ์ได้
    ผู้นำธรรมมาแสดงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยไม่รู้จักการตีความให้บริสุทธิ์ แล้วจึงนำมาแสดง อันจะเกิดเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติธรรม โดยไม่ทำลายขวัญกำลังใจและศรัทธา ผู้เดินมาตามหลัง ทั้งจะถูกเยาะเย้ยจากศาสนาอื่น เดียร์ถีย์นอกลัทธินิยมนั่นด้วย โดยแสวงอื่น คือการเพ่งโทษ ย่อมทำลายมรรค ๘ ในทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุธรรมฯ

    การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย



     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภัยในพระพุทธศาสนาที่ร้ายแรงที่สุด ในประเทศไทย " ขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ "

    ทุกครั้งที่พระสัทธรรมถูกแต่งเติมด้วยสัทธรรมปฎิรูปและถูกย่ำยีด้วยอามิสทายาทที่เนรคุณต่อพระสัทธรรมธรณีจะหวั่นไหวพินาศ(ธาตุ๔)

    และทุกครั้งที่อสัทธรรมเจริญโชติช่วงจนถึงขีดสุดก็ถึงคราวิบัติของโลก

    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรกัสสป ข้อนั้นเป็นอย่างนี้คือ
    เมื่อหมู่สัตว์เลวลง พระสัทธรรมกำลังเลือนหายไป สิกขาบทจึงมีมากขึ้น ภิกษุที่ตั้งอยู่ในพระอรหัตผลจึงน้อยเข้า สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด
    ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด

    ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลก ตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป เมื่อสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้น เมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป ฯ

    ดูกรกัสสป ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ธาตุ
    น้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้ ที่แท้โมฆบุรุษใน
    โลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น พระสัทธรรมยังไม่เลือนหายไปด้วยประการฉะนี้

    "ดูก่อนท่านปัณฑรสฤาษี ในกาลภายหน้านั้น ภิกษุเป็นอันมาก จะเป็นคนมักโกรธ มักผูกโกรธไว้ ลบหลู่ คุณท่าน หัวดื้อ โอ้อวด ริษยา มีวาทะแตกต่างกัน จะเป็นผู้มีมานะ (ถือตัว) ในธรรม ที่ยังไม่รู้ทั่วถึง คิดว่าตื้น ในธรรมที่ลึกซึ้ง เป็นคนเบาปัญญา ไม่เคารพธรรม ไม่มีความเคารพกันและกัน

    ในกาลข้างหน้า โทษภัยเป็นอันมากจะเกิดขึ้นในหมู่สัตว์โลก ก็เพราะภิกษุทั้งหลาย ผู้ไร้ปัญญา จะกระทำ ธรรมะ ที่พระศาสดา ทรงแสดงแล้วนี้ ให้เศร้าหมอง

    ทั้งพวกภิกษุที่มีคุณอันเลว แต่โวหารจัดแกล้วกล้า มีกำลังมาก ปากกล้า ไม่ได้ศึกษาธรรมวินัย ก็จะมีขึ้น ในสังฆมณฑล ส่วนภิกษุผู้มีคุณความดี มีโวหารสมควรแก่เนื้อความ มีความละอาย ต่อบาป ไม่ต้องการ อะไรๆ ก็จะมีกำลังน้อย

    ธาตุอันตรธานปริวัตต์
    คำว่า อัตรธาน คือ ความเสื่อมสูญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา มี ๕ ประการ คือ
    ๑.ปริยัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระปริยัติ
    ๒.ปฏิบัติอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการปฏิบัติ
    ๓.ปฏิเวธอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งการสำเร็จมรรคผลนิพพาน
    ๔.ลิงคอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งเพศสมณะ
    ๕.ธาตุอันตรธาน การเสื่อมสูญแห่งพระบรมธาตุ

    สำนักวัดนาป่าพง ปทุมธานี คลองสิบ หมิ่นรอยพระพุทธบาท และพระบรมเดชานุภาพพระบรมวงค์ศานุวงค์

    มั่นใจคนที่รักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ต้องได้อ่าน ตอนนี้ สำนักวัดนาป่าพง ได้เดินทางเข้าสู่ การทำลายสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์อย่างเต็มตัวแล้ว ข่าวสารกำลังกระจายไปสู่พี่น้องเหล่าพุทธศาสนิกชนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามเพจต่างๆ เราเปิดเผยความจริง เราสู้เพื่อปกป้องรักษา พิทักษ์รักพระพุทธศาสนาและสถาบันของชาติบ้านเมือง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือส่วนได้ส่วนเสีย ไม่มีการว่าจ้าง หรือ รับมีรับจ่าย หรือรับสิทธิ์สินบนใดๆ ให้กระทำการเปิดโปงหรือใส่ความใดๆแก่ สำนักวัดนาป่าพง หรือ อลัชชีคึกฤทธิ์ และศิษย์สำนัก มีแต่ความจริง กล่าวจริง ไม่มีข้อมูลอันเป็นเท็จ โจทก์จริง ด้วยโลกะวัชชะของเหล่าพุทธบริษัท ที่มีดวงตาไม่มืดบอด ไม่เคยตำหนิพระไตรปิฏกว่าไม่ได้เรื่อง ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ดีอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะอาศัยสติปัญญา มีความคิดอ่านพิจารณามากเพียงพอแก่การศึกษา ไม่ได้ตำหนิพระไตรปิฏก ไม่ได้ตำหนิพระสังฆราชและพระราชาคณะ ที่ทรงชำระพระไตรปิฏก แม้ฉบับหลวงก็ดี ฉบับสยามรัฐก็ดี หรือฉบับอื่นๆก็ดี ว่าเป็นชนรุ่นหลังแต่งคำปลอม ยัดเรื่องนอกแนวเข้าสู่พระไตรปิฏก
    อย่างที่ คึกฤทธิ์ชาวคณะสำนักวัดนาป่าพงพูดและกระทำอยู่ในทุกๆวันนี้ โดยมีเจตนาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของบรรพกษัตริย์ จนถึงพระบรมวงค์สานุวงค์ในราชกาลปัจจุบัน และอาณาประชาราฏร์ ที่พระองค์ทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจัดสร้างจัดพิมพ์มาโดยตลอด จนถึงเมื่อปี ๒๕๕๕ ฉลอง ๒๖๐๐ปี แต่สำนักวัดนาป่าพงประกาศจะเอาหนังสือ พุทธวจนปิฏก ซึ่งเป็นสัทธรรมปฎิรูป โดยแอบอ้างว่ารู้พุทธวจนกว่าผู้ใด ที่ไม่ถูกต้องในระเบียบการชำระ มาแทนที่พระไตรปิฏกในประเทศไทยและในโลก เป็นการทำลายสถาบัน ชาติและบ้านเมืองให้เกิดความวุ่นวายสับสนแตกแยกในบวรพระพุทธศาสนา และได้หลอกลวงกลุ่มพุทธบริษัท ที่ยังอ่อนต่อการพิจารณาศึกษา ในการเจริญในพระสัทธรรม ด้วยจิตที่เปรียบประดุจลูกโคอ่อนแรกเกิด ลืมตาขึ้นมา ไม่ได้เห็นแม่วัว ได้ไปเห็นเสือก็คิดว่าเป็นพ่อแม่ของตน จึงต้องตกเป็นอาหารของเหล่าพยัคฆ์ราชสีห์ไปดังนี้แล
    ขอท่านผู้อ่าน ที่มาด้วยมิตรก็ดีไม่ใช่มิตรก็ดี โปรดพิจารณา ช่วยกันตักเตือนญาติมิตรสหาย และบุตรหลานของท่าน อย่าได้หลงเชื่อ สำนักที่สร้างสัทธรรมปฎิรูปนี้ เพื่อความพ้นภัยในวัฎสงสาร ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในพระสัทธรรมอันสมเด็จพระบรมหาศาสดาทรงตรัสไว้ดีแล้วนั้นเทอญฯ
    ด้วยรักและปรารถนาดี
    ว่าที่ พระธรรมบุตร
    ขออนุโมทนาบุญฯ

    --------------------------------------------------------------
    คึกฤทธิ์ ทำลายพระพุทธศาสนา อวดเก่งวิสัชนาสอนศิษย์ลิ่วล้อโง่ๆตาบอด

    สัตตสูตร
    ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าสัตว์
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระราธะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า สัตว์ สัตว์ ดังนี้ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล จึงเรียกว่า สัตว์?

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัดความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูปแล เป็นผู้ข้องในรูป เป็นผู้เกี่ยวข้องในรูปนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า สัตว์. เพราะเหตุที่มีความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในเวทนา ... ในสัญญา ... ในสังขาร ... ในวิญญาณ เป็นผู้ข้องในวิญญาณ เป็นผู้เกี่ยวข้อง ในวิญญาณนั้น ฉะนั้น จึงเรียกว่า สัตว์.

    ดูกรราธะ เด็กชายหรือเด็กหญิง เล่นอยู่ตามเรือนฝุ่นทั้งหลาย เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความกระหาย ไม่ปราศจากความกระวนกระวาย ไม่ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นอยู่เพียงใด ย่อมอาลัย ย่อมอยากเล่น ย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนฝุ่นทั้งหลายอยู่เพียงนั้น.

    ดูกรราธะ แต่ว่าในกาลใด เด็กชายหรือเด็กหญิงเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความกระวนกระวาย ปราศจากความทะยานอยากในเรือนฝุ่นเหล่านั้นแล้ว ในกาลนั้นแล เด็กชายหรือเด็กหญิงเหล่านั้น ย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด ย่อมทำเรือนฝุ่นเหล่านั้น ให้เล่นไม่ได้ด้วยมือและเท้า ฉันใด

    ดูกรราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำรูปให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำเวทนาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำสัญญาให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัดจงทำสังขารให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา จงรื้อ จงยื้อแย่งจงกำจัด จงทำวิญญาณให้เป็นของเล่นไม่ได้ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้นนั่นเทียวแล.

    ดูกรราธะ เพราะว่าความสิ้นไปแห่งตัณหา เป็นนิพพาน.
    จบ สูตรที่ ๒.

    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย ฯ ล้วนแต่เข้าถึงสภาวะ นิพพานธาตุแล้ว เป็นผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องข้องในรูป เหลือแต่เพียงการเสวยเวทนาของอินทรีย์๕ เพียงเท่านั้น

    ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
    เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็พระอรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ

    เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ
    นี้แล ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
    อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
    เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
    ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๗

    พุทธวจนะ ก็คือ ปฎิสัมภิทา ก็คือ พระไตรปิฏก แยกจากกันไม่ได้ แต่สำนักพุทธวจนปลอม ไม่เอา ปฎิสัมภิทาและพระไตรปิฏก มันจะเป็นอะไรได้ นอกจากสัทธรรมปฎิรูป

     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถ้าเช็ควันเวลา ที่ผ่านมาในการทำฌานเอาฟ้าไปผ่าสำนักนี้ มีความระยะเวลาตรงกัน นั้นก็แสดงว่า การใช้สิ่งนั้นก็เป็นเหตุผลที่ลงตัว และสามารถกำจัดสิ่งที่ควรกำจัดได้อย่างไม่จำกัดระยะทาง และมันจะต้องจบด้วยความสามารถแบบนี้ แค่เพียงเศษเสี้ยวของอหังการวิเศษมาร

    การพิจารณานี้ มาจากความเป็นจริงและความปรารถนาจริง และได้ปฎิบัติไปบ้างแล้ว ในกาลก่อน ย่อมถือทิฏฐิได้ ไม่วิปลาส
     
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    รอบต่อๆไปถ้ามีใครตาย หรือถึงตาย ก็เป็นที่ให้ทราบกันว่าถูกต้องแน่นอน ยังมีหน้ามาทำตลกตีเนียนผ่ามาแล้วหลายครั้ง ชิวๆ เห็นเป็นของธรรมดาเรื่องธรรมดา

    ผิดยังไม่ยอมรับผิด ก็รอลงทัณฑ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...