เรื่องเด่น พระพุทธเจ้าเทศน์ถึงบุคคลสี่จำพวกและบัวสามเหล่า ไม่ใช่บัวสี่เหล่า

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 22 สิงหาคม 2017.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    บัวสามเหล่า-พลังจิต1.jpg


    ถาม : ผมสงสัยบัว ๔ เหล่าที่พระพุทธเจ้าท่านแยกไว้ ประเภทที่ ๔ ปทปรมะที่มากไปด้วยบทบาท คือ ไม่ยอมรับฟังความเห็นคนอื่น แปลว่าสังโยชน์ข้อมานะทิฐิท่านมีมากใช่หรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : โปรดเข้าใจเสียใหม่ พระพุทธเจ้าเทศน์ถึงบุคคลสี่จำพวกและบัวสามเหล่า แต่กลับมีคนรู้ดีและเอาไปยำรวมกัน จนกลายเป็นบัวสี่เหล่า

    บุคคลสี่จำพวก คือ
    อุคฆติตัญญู เป็นผู้ที่ฟังข้อธรรมก็สามารถบรรลุมรรคผลได้เลย
    วิปจิตตัญญู ฟังหัวข้อธรรมและได้รับการขยายความเล็กน้อย ก็สามารถเข้าถึงมรรคผลได้
    เนยยะ เป็นผู้ที่ต้องปากเปียกปากแฉะ จ้ำจี้จ้ำไชอยู่เสมอ
    ปทปรมะ เป็นบุคคลที่ไม่ยอมรับความคิดของคนอื่น ก็เลยไม่ได้ผลอะไร

    คราวนี้ในเรื่องของบัว ท่านเปรียบไว้บัวสามเหล่า คือ
    บัวพ้นน้ำ กระทบแสงแดดก็บานเลย
    ประเภทที่สอง บัวปริ่มน้ำ พร้อมที่จะโผล่พ้นขึ้นมาบานในวันรุ่งขึ้น
    ประเภทที่สาม บัวใต้น้ำ รอที่จะโผล่ขึ้นมาในวันต่อ ๆ ไป

    ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเอาไปรวมกันเป็นบัวสี่เหล่า แต่ในพระไตรปิฎกมีแค่บัวสามเหล่า และบุคคลสี่เหล่า

    ในส่วนของปทปรมะนั้นไม่ใช่แต่มากด้วยทิฐิมานะเฉย ๆ สักกายทิฐิยังเต็ม ๆ อีกด้วย ก็เลยทำให้ไม่ยอมรับคนอื่น คิดอยู่แต่ว่ากูดี กูแน่แล้ว


    ถาม : แล้วบุคคลประเภทปทปรมะ ถ้าเขาต้องการเข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้า ท่านเหล่านี้ต้องโดนทำให้หมดมานะทิฐิก่อนหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : เป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นปทปรมะจริง ๆ ต้องรออีกหลายชาติ

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๐
    เว็บวัดท่าขนุน

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2017
  2. ไตรสิกขา

    ไตรสิกขา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
  3. ไตรสิกขา

    ไตรสิกขา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +8
    แต่ในบาลี

    อนุโตนิมุคฺคโปสินี ได้แก่ ดอกบัวที่ยังจมอยู่ภายในน้ำ อันน้ำเลี้ยงไว้.
    สโมทกฏฺฐิตานิ ได้แก่ ดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ.
    มีหลายบทว่า อุทกํ อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺฐนฺติ ได้แก่ ตั้งอยู่พ้นน้ำ.

    กราบขอบพระคุณพระอาจารย์เล็ก วัดท่าขนุนค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...