เรื่องเด่น เรื่องเล่าในพระธรรมบท ตอน พระสงฆ์ผู้อยากสึกเพราะเบื่อการเรียนรู้ในพระศาสนา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 23 กรกฎาคม 2017.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    47817404_l.jpg

    เรื่องเล่าในพระธรรมบท ตอน พระสงฆ์ผู้อยากสึกเพราะเบื่อการเรียนรู้ในพระศาสนา
    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่พระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 36 นี้

    ครั้งหนึ่งมีบุตรเศรษฐีผู้หนึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้สอบถามพระภิกษุผู้ไปรับบิณฑบาตที่บ้านของเขาว่า หากเขาต้องการจะพ้นทุกข์เขาควรจะทำอย่างไร พระภิกษุรูปนั้นได้แนะนำเขาให้แบ่งสมบัติออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนหนึ่งใช้ในการดำเนินธุรกิจ ส่วนหนึ่งใช้เลี้ยงบุตรและภรรยา และอีกส่วนหนึ่งใช้ในการทำทาน บุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น และต่อมาเขาได้เรียนถามพระภิกษุรูปเดียวกันนั้นอีกว่า เขาควรทำอะไรอีกต่อไป พระภิกษุนั้นบอกว่า ข้อที่ 1. ให้ถึงพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง และให้รักษาศีล 5 ข้อ 2. ให้รักษาศีล 10 และ ข้อที่ 3. ให้สละโลกออกบวชเป็นภิกษุ บุตรเศรษฐีได้ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นและได้บวชเป็นพระภิกษุในที่สุด

    เมื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว อาจารย์รูปหนึ่งสอนท่านในเรื่องพระอภิธรรม ส่วนอีกรูปหนึ่งก็สอนในเรื่องพระวินัย เมื่อท่านถูกสอนแบบนี้ ท่านก็มีความรู้สึกว่าต้องมาศึกษาเล่าเรียนมาก ต้องรักษาพระวินัยที่เคร่งครัดและต้องรักษาศีลหลายข้อด้วย จนท่านไม่มีเวลาแม้แต่ “จะเหยียดมือ” ตั้งแต่นั้นมาท่านก็หมดความยินดีที่จะประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีความสุข และไม่ยอมทำการสาธยายในอาการ 32 และไม่ยอมศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีร่างกายซูบผอม มีเส้นเอ็นสะพรั่งตามตัว เมื่อพระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ ก็ได้ตรัสกับภิกษุหนุ่มรูปนี้ว่า “หากเธอสามารถคุ้มครองจิตของตัวเองได้ เธอก็ไม่ต้องมีอะไรจะต้องคุ้มครอง แล้วเธอก็จะพ้นทุกข์ได้”

    จากนั้นพระศาสดาได้ตรัสพระธรรมบท พระคาถาที่ 36 ว่า

    สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ
    ยตฺถ กามนิปาตินํ
    จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี
    จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํฯ

    ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต
    ที่เห็นได้แสนยากละเอียดยิ่งนัก
    มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,
    (เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้.


    เมื่อพระสัทธรรมเทศนาจบลง ภิกษุหนุ่มรูปนั้นก็ได้บรรลุพระโสดาบัน และชนเหล่าอื่นเป็นอันมากก็ได้บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มีพระโสดาปัตติผลเป็นต้น พระสัทธรรมเทศนา เป็นประโยชน์แก่มหาชน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...