เหตุการณ์ใน-นอกโลก VS ภัยธรรมชาติ และupdate พายุสุริยะ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 10 มกราคม 2011.

  1. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    จากข้อมูลข้างต้น ผ่านมา 3 วันแล้วไม่พบเหตุการณ์ผิดปรกติบนโลก แสดงว่าการปลดปล่อยพลังงานของดวงอาทิตย์ในทิศทางที่ไม่ตรงมายังโลกนั้น อาจถือได้ว่าไม่ส่งผลใดๆต่อโลกนัก (ก่อนหน้ามีผู้เชี่ยวชาญเคยตั้งข้อสังเกตุว่า การปลดปล่อยพลังงานจากดวงอาทิตย์แล้วส่งผลกระทบต่อโลกนั้น ไม่จำเป็นต้องมีทิศทางปลดปล่อยตรงมายังโลกเมื่อโลกโคจรไปถึงพอดีเสมอไป อาจออกมาจากด้านข้างโดยทำมุมไม่เกิน 90 องศากับโลก ก็อาจส่งผลกระทบต่อโลกได้เช่นกัน) ดังนั้นเราจึงควร alert เฉพาะในกรณีที่มีการเคลื่อนตัวของพลังงานและรังสีอันไม่พึงประสงค์นั้นตรงมายังโลกเท่านั้นก็พอ (alert ทุกครั้งที่ขึ้นไปที่ G2 G3 ก็ทำเอาเครียดกันไปเปล่าๆ)

    [​IMG]
    Ref.: http://www.dailymail.co.uk/

    [​IMG]
    Ref.: http://astro.phys.sc.chula.ac.th/

    [​IMG]
    Ref.: http://ruthiephillips.com/

    [​IMG]
    Ref.: http://pics-about-space.com/

    [​IMG]
    Ref.: http://blogs.discovermagazine.com
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2016
  2. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1099363396790825

    วันที่ 15 พฤษภาคม ได้เกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ เป็นมุมกว้าง โดยมีพลังงานออกมาในแนวทิศตะวันตก ไม่ตรงกับโลก จากการคำนวณพบว่าคลื่นพลังงานจะเดินทางมาถึงในแนววงโคจรของโลกในวันที่ 17 พฤษาคม เวลา 18 UT +/- 7 ชั่วโมง

    ในวันเดียวกันนั้น ยังพบปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 2 สัปดาห์ และดวงอาทิตย์ส่งรังสี X-ray ออกมาสูงสุดในวันที่ 14 พฤษภาคม ในระดับ C8

    ในเชิงของดาราศาสตร์นั้นจะพบว่าเป็นช่วงที่มีปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวระหว่าง โลก ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ เป็นเส้นตรง ในวันที่ 13 พฤษภาคม และ ระหว่าง ดาวพุธ ศุกร์ และ ดาวอังคาร เป็นเส้นตรง ในวันที่ 16 พฤษภาคม

    ทุกท่านที่สนใจเกี่ยวการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ที่จะสัมพันธ์กับเหตุการณ์ครั้งนี้ โปรดสังเกตการณ์ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 19 พฤษาคมครับ

    โมเดลจำลองการแพร่กระจายของพลาสม่าจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์ในครั้งนี้
    http://iswa.gsfc.nasa.gov/IswaSyste...mp=2038-01-23+00:44:00&window=-1&cygnetId=261
     
  3. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเพจ อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1148201818573649

    พลังงานในอากาศ และ พลังงานใต้ดินนั้น เป็นของคู่กัน เมื่อพลังงานในอากาศมี พลังงานใต้ดินจึงมี เมื่อพลังงานใต้ดินมี พลังงานในอากาศจึงมี

    โดยพลังงานเหล่านี้ มีการสะสมและถ่ายเทกันอยู่อย่างสม่ำเสมอ และมีช่วงเวลาที่เกิดการปลดปล่อยพลังงานเหล่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นอย่างเหลื่อมล้ำกันอยู่

    และพลังงานเหล่านี้เกิดขึ้น ก็อยู่ไม่ได้นาน ต้องเสื่อมสลายไป ตามเหตุปัจจัยที่มากระทบ

    ในกรณีการเกิดแผ่นดินไหวที่หมู่เกาะมารีน่า ขนาด 7.7 ในวันที่ 29 กรกฏาคม นั้น Earthquake - Magnitude 7.7 - PAGAN REG., N. MARIANA ISLANDS - 2016 July 29, 21:18:30 UTC

    เราจะพบว่าเป็นช่วงที่ พลังงานพายุบนโลกที่มีกำลังสูง ได้ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว โดยลดลงต่ำสุดในวันที่ 28 กรกฏาคม หลังจากที่โลกมีพายุพลังงานสูงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่งเตือนที่ผ่านมา

    ในมุมมองพลังาการถ่ายเทพลังงาน ความหมายว่าพลังงานในอากาศ ได้ถ่ายเทลงสู่ใต้ดินในระดับสูงสุด ส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยพลังงานภายหลังออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น แผ่นดินไหว หรือ ภูเขาไฟระเบิด อย่างเช่นเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนี้

    ส่วนเหตุที่พลังงานอากาศลดระดับลงนั้น ก็มีสิ่งบอกเหตุจากนอกโลกเช่นกัน โดยในวันที่ 26 กรกฏาคม เป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับลดลงต่ำสุดในรอบหนึ่งเดือนเช่นกัน ส่งผลให้พลาสม่ารอบๆโลกมีปริมาณลดลง เป็นเหตุให้เชื้อเพลิงพลังงานของพายุบนโลกหมดกำลังลง

    EISN | SILSO

    ในเชิงปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงนี้นั้น จะพบว่าเป็นช่วงที่มีปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวระหว่าง โลก ดวงจันทร์ และ ดาวเสาร์ และ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และ ดาวเนปจูน เป็นเส้นตรง

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบ เพื่อเป็นกรณีศึกษาหนึ่งในการคาดการณ์ภัยธรรมชาติในครั้งต่อไปครับ
    ......................................

    ปล.ขออภัยครับ ติดภารกิจทางบ้าน ไม่ได้มาอัพเดทเสียนาน
     
  4. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1156996917694139

    ในวันที่ 12 สิงหาคม นอกจากจะเป็นวันแม่แห่งชาติ ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะระลึกถึงบุญคุญของมารดา และมีกิจกรรมอันหลากหลายเพื่อตอบแทนบุญคุณของท่านเป็นพิเศษ

    ในเหตุการณ์นอกโลกในวันเดียวกันนี้ ยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ในระบบสุริยะอีกด้วย โดยมีการเรียงตัวของดาวเป็นเส้นตรง-โดยประมาณ อยู่สี่แนวด้วยกันได้แก่

    - ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวเนปจูน
    - โลก ดวงจันทร์ ดาวอังคาร และ ดาวเสาร์
    - ดวงอาทิตย์ ดาวพุธ และ ดาวเสาร์
    - ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัส

    บนโลกนั้นจะพบว่า สอดคล้องในเชิง พลังงานและจำนวนพายุ ซึ่งได้ลดระดับลงอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ (ครั้งที่แล้วเกิดขึ้นในวันที่ 28-29 กรกฏาคม) และพบว่าความถี่ และรุนแรงของแผ่นดินไหวทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำเช่นกัน

    สำหรับปฏิกริยาดวงอาทิตย์ในช่วงนี้พบว่า เป็นช่วงที่มีการทรงตัว โดยปริมาณจุดดับได้ลดลงเล็กน้อยจากที่ ขึ้นถึงจุดสูงสุดในวันที่ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา และกำลังจะมีแนวสนามแม่เหล็กเปิดเรียงตัว (อยู่บริเวณซึกใต้ของดวงอาทิตย์ตามภาพที่แนวมา) กับโลกประมาณวันที่ 12 สิงหาคม สำหรับทุกท่านที่สนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่สอดคล้องกันระหว่างในโลก และ นอกโลก สามารถสังเกตเหตุการณ์ช่วงนี้ต่อเนื่องถึงจนวันที่ 14 สิงหาคม ครับ
     
  5. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1163861300341034

    เราสามารถประเมินสถานการณ์ภัยธรรมชาติล่วงหน้าได้ ถ้าเรามีความเข้าใจว่าโลกเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งจะแปรผันไปตามเหตุปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบหลายรูปแบบ

    โดยในอวกาศนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับสสารหลายรูปแบบ มีการจัดระเบียบและแปรสภาพอยู่ตลอดเวลา ในเชิงทฤษฏีควอนตัมนั้น สสารแม้จะอยู่ไกลกันในบางมุมมอง แต่จริงแล้วความใกล้หรือไกลในการส่งถอดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้น กำหนดโดยความถี่ และความยาวคลื่นที่อยู่ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว

    ดาวเคราะห์ต่างๆ แม้จะอยู่ไกลกัน-เมื่อเทียบ-กับขนาดของมนุษย์ แต่การส่งพลังงานในย่านความถี่ต่ำระหว่างดาวเคราะห์และดวงอาทิตย์ (ในระดับ mHz) แล้วเป็นไปได้โดยง่ายและมีประสิทธิภาพสูง แต่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ แบบฉับพลันเท่านั้น ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ง่ายที่สุดในรูปแบบของปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว การเกิดขึ้นของปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และ ภัยธรรมชาติบนโลก ที่จะเกิดขึ้นตามจังหวะเวลาที่เหมาะสม ตามการโคจรของดวงดาว

    กรณีแผ่นดินไหวในวันที่ 19 สิงหาคม เวลา 7:32 UT (Earthquake - Magnitude 7.4 - SOUTH GEORGIA ISLAND REGION - 2016 August 19, 07:32:23 UTC) บริเวณซึกโลกใต้นั้น เป็นกรณีศึกษาอีกอันหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่มีการจัดระเบียบของวัตถุสสารในอวกาศ โดยมีการเรียงตัวระหว่าง โลก ดาวพุธ และ ดาวพฤหัส และ ระหว่าง โลก ดวงจันทร์ และ ดาวเสาร์ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการเรียงตัว ระหว่าง ดาวพุธ ดาวศุกร์ และ ดาวเนปจูน เป็นเส้นตรง

    ซึ่งผมได้เขียนโปรแกรมคำนวณหาเวลาการเกิดขึ้นของปรากฏการณ์เหล่านี้ และพิสูจน์ได้ตามกราฟข้างล่างซึ่งจะพบว่า แผ่นดินไหว 3 ครั้งที่เกิดขึ้นในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานั้น เกิดขึ้นในช่วงที่มีปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวเกิดขึ้นสูงสุด ทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วเราควรดูเหตุปัจจัยปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และบนโลกมาประกอบเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการประเมินสถานการณ์ เช่น
    ที่ดวงอาทิตย์เกิดปฏิกริยาสูงสุดในเชิงปริมาณจุดดับในรอบเดือนในวันที่ 16 สิงหาคม และบนโลกนั้น ความเร็วลมพายุจากทั่วโลกจะลดระดับลงต่ำสุด ก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวตามมาภายใน 1-2 วัน

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการคาดการณ์ภัยธรรมชาติในคราวต่อไปครับ
     
  6. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ

    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1168408496552981

    กรณีศึกษา แผ่นดินไหวขนาด 6.8 ที่ประเทศพม่านั้น (Earthquake - Magnitude 6.8 - MYANMAR - 2016 August 24, 10:34:54 UTC) มีลางบอกเหตุหลายอย่างด้วยกัน ถ้าสังเกตจากปรากฏการณ์ของดวงดาวแล้วจะเป็นช่วงที่มีดาวเรียงตัวสูงสุดที่เกี่ยวข้องกับโลก ได้แก่ พุธ ศุกร์ โลก และ ดาวพฤหัส นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นการเรียงตัวของ โลก ดวงจันทร์ และ ดาวเสาร์ เป็นเส้นตรงโดยประมาณ สำหรับแนวที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์นั้น พบว่ามีการเรียงตัวของดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และ ดาวยูเรนัส

    ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม ซึ่งการจะตรวจจับได้นั้นจะต้องมีการคำนวณด้วยสมการทางคณิตศาสตร์เป็นหลัก แต่ระบบที่ผมคำนวณได้ในปัจจุบันนั้น ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับประมาณ +/- 1 วัน ตามกราฟข้างล่างนี้

    นอกจากนั้นแล้วยังมีสิ่งบอกเหตุมาจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์เพิ่มเติม โดยพบว่าปริมาณจุดดับลดลงอยู่อย่างฉับพลัน ต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ในวันที่ 21 สิงหาคมที่ผ่านมา

    สำหรับความสัมพันธ์กับพายุนั้น จะพบว่าเป็นช่วงที่เกิดพายุที่มีกำลังแรงสูงสุด และเป็นกรณีที่เคยเกิดขึ้นในอดีต จากสถิติในรอบ 5 ปีที่ผ่านมาจะพบว่า ความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีพายุสูงนั้นจะมีขนาดไม่เกิน 7.1 และจะไม่เกิดในบริเวณที่มีพายุกำลังแรง

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้ในการคาดการณ์ภัยธรรมชาติครั้งต่อๆไปครับ
     
  7. Spammer

    Spammer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    976
    ค่าพลัง:
    +3,498
    ช่วงนี้แดงถี่มากครับ แผ่นดินไหวระดับปานกลางก็เกิดบ่อย
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1214349995292164

    ในช่วงวันที่ 14-15 ตุลาคม ที่ผ่านมาจะพบว่าโลกเกิดความแปรปรวนมากกว่าปกติ โดยมีแผ่นดินไหวขนาด 3.0 ที จ. นครราชสีมา และ ขนาด 6.4 ที่ประเทศปาปัวนิวกีนี
    http://www.emsc-csem.org/Earthquake/earthquake.php?id=537136 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเดือนตุลาคม

    เหตุการณ์นี้จะสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว ซึ่งพบว่าเป็นช่วงวันที่มีการเรียงตัวของดาวสูงสุดในรอบเกือบหนึ่งเดือนเช่นกัน และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันสูงสุดในวันที่ 15 ตุลาคม สำหรับเหตุความแปรปรวนในอนาคตนั้น ทุกท่านสามารถติดตามได้จากกราฟที่แนบมานี้

    นอกจากนั้นแล้ว เหตุการณ์เหล่านี้ยังมีลางบอกเหตุล่วงหน้าหลายอย่างด้วยกัน เช่นในวันที่ 13 ตุลาคม เกิดการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็กอย่างฉับพลันและรุนแรง โดยมีเหตุปัจจัยมาจากปฏิกิริยาดวงอาทิตย์ส่งพลังงานออกมาเป็นมุมกว้างในวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา CACTUS CME Details ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับเหตุไฟฟ้าดับในกรุงโตเกียวในวันที 12 ตุลาคม
    Power Fully Restored After Outage Across Wide Area of Tokyo - Bloomberg
    และเหตุการณ์อื่นๆที่สำคัญบนโลก หลังจากนั้น

    จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์ภัยธรรมชาติต่างๆนั้นจะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปแบบที่สามารถทราบล่วงหน้าได้ เพื่อช่วยในการใช้วางแผนประเมินสถานการณ์หรือใช้เฝ้าระวังเหตุ และผมได้จัดทำปฏิทินขึ้นเพื่อใช้ในการสังเกตปรากฏการณ์เหล่านี้ และจัดทำกรณีศึกษาหลายสำหรับเดือนตุลาคมได้ทำการรวบรวมอยู่ที่ http://www.kpsquare.com/Explain.html ครับ
     
  9. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1224680114259152

    วันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมาเกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ โดยพบปริมาณจุดดับลดลงต่ำสุดในรอบ 3 สัปดาห์ และมีการปะทุุเกิดขึ้นสูงในวันที่ 25 ตุลาคม เป็นมุมกว้างส่งพลังงานออกมาหลายทิศทางซึ่งจะมีทิศทางบางส่วนมาทางโลก และจากการคำนวณพบว่าพลังงานจะเข้ามาที่โลกในระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม
    http://www.sidc.oma.be/cactus/out/CME0016/CME.html

    ในช่วงนี้เองยังพบว่ามีแนวสนามแม่เหล็กเปิดขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ หันมาเรียงตัวกับโลกโดยเป็นแนวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเดือนตุลาคม และได้ส่งลมสุริยะความเร็วสูงมาที่โลก

    สำหรับบนโลกในช่วงนี้นั้น เกิดการแกว่งตัวสนามแม่เหล็กระดับสูง และพบภูเขาไฟระเบิดที่รัฐ Alaska สหรัฐอเมริกา
    https://watchers.news/2016/10/25/cl...-2016/?utm_source=dlvr.it&utm_medium=facebook

    สำหรับกรณีศึกษาและกราฟสถิติต่างๆในช่วงนี้สามารถ ศึกษาได้จากลิงค์ข้างล่างนี้ครับ
    http://www.kpsquare.com/Explain.html#content1-2
     
  10. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUye...1825.292070764186763/1235596439834186/?type=3

    สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหวประจำเดือน ตุลาคม โดยใช้ดัชนีดาวเรียงตัวที่ผมได้คิดค้นขึ้นและเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบในรูปแบบของปฏิทินดาวเรียงตัว http://www.kpsquare.com/ และซอฟแวร์ระบบเตือนภัย http://www.kpsquare.com/software.html ซึ่งแจ้งให้ทุกท่านทราบล่วงหน้าเป็นเวลากว่า 4 สัปดาห์

    จากสถิติภาพข้างล่างพบว่า ซอฟแวร์ระบบเตือนภัย **สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเกิน 6.0 ได้ครบทุกเหตุการณ์** โดยมีความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า +/-1 วัน

    รูปแบบของการตรวจจับแผ่นดินไหวจากดัชนี้ดาวเรียงตัวนี้ ขอให้ทุกท่านสังเกตจากการแกว่งตัวของดัชนีอย่างฉับพลัน โดยเฉพาะในช่วงที่ค่าดัชนีขึ้นถึงค่าสูงสุด รวมถึงความชันของกราฟดัชนีที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น

    เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศอิตาลีในวันที่ 30 ตุลาคม เวลา 6:40 UT Earthquake - Magnitude 6.5 - CENTRAL ITALY - 2016 October 30, 06:40:18 UTC

    ซึ่งเกิดในช่วงที่มีปฏิกิริยาดาวเรียงตัวสูงสุดในวันที่ 29-30 ตุลาคม และมีความชันของกราฟดัชนีสูง

    เนื่องจากสิ่งเหล่านี้สามารถถูกคาดการณ์ได้ล่วงหน้าและกรณีศึกษาเดือนตุลาคมที่ได้ถูกรวบรวมไว้ในเว็บ www.kpsquare.com/Explain.html เป็นเครื่องยืนยัน ดังนั้นการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่บนโลกจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญอีกต่อไป หากแต่เป็นเหตุการณ์ที่มีเหตุปัจจัยจากเหตุทั้งนอกโลกและบนโลก และสามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ซึ่งการคาดการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเกิน 6.0 ได้ถูกต้อง +/-1 วันนั้นถือเป็นความสำเร็จในการพิสูจน์อย่างเป็นระบบที่ตรวจสอบได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก ครบทั้งภาคทฤษฏีฟิสิกส์ควอนตัม สมการคณิตศาสตร์ แบบจำลองในห้องแล๊บ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การทำสถิติเก็บข้อมูล รวมถึงการประยุกค์นำใช้งานอย่างครบวงจร

    ทั้งนี้ ระบบต้องมีการพัฒนาต่อไป เพื่อให้เกิดความง่ายสะดวก ต่อการใช้งาน และเพิ่มความเที่ยงตรงมากขึ้นเรื่อยๆ

    เนื่องจากระบบนี้อยู่ในขั้นทดลองเก็บตัวอย่าง อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ในอนาคต จึงขอให้ทุกท่านที่สนใจศึกษาอย่างต่อเนื่อง ใช้วิจารณญาณในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม ซึ่งผมจะให้ข้อมูลต่อเนื่องเพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ต่อไปในเดือนพฤศจิกายน และให้ทุกท่านตรวจสอบความคืบหน้าในการพัฒนาระบบเตือนภัยผ่านทางเวป kpsquare.com และทางเฟสบุกค์แห่งนี้

    เหตุผลที่ทำปฏิทินและซอฟแวร์ ก็เพื่อให้ความรู้นี้เป็นที่แพร่หลาย และจะสอนวิธีประยุกต์ใช้งานทาง facebook live สำหรับเงินรายได้จากการสั่งจองปฏิทินนั้นจะนำมาใช้เป็นค่าศึกษา วิจัยและพัฒนาระบบเตือนภัย รวมถึงเป็นทุนการศึกษาให้กับเยาวชนที่สนใจทำงานวิจัยต่อยอดในอนาคตครับ
     
  11. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1239102002816963

    วันที่ 7-8 พฤศจิกายน ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติอย่างต่อเนื่องจะพบว่ามีเหตุการณ์บนโลกเกิดขึ้นมากเป็นพิเศษ เช่น ฝนตกหนักเกิดน้ำท่วมหลายจุดในประเทศไทย รวมถึงแผ่นดินไหวระดับปานกลาง ขนาด 6.0 ที่ประเทศชิลี http://www.emsc-csem.org/Earthquakeearthquake.php?id=543781

    และ แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ในรัฐ Oklahoma ประเทศสหรัฐอเมริกา M5.0 - 2km W of Cushing, Oklahoma
    ในวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

    ทั้งนี้มีเหตุปัจจัยบางส่วนมาจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์ ในวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา CACTUS CME Details
    โดยดวงอาทิตย์ได้ส่งพลังงานออกมาเป็นมุมกว้าง และเข้ามาถึงในแนววงโคจรของโลกในระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน

    ด้วยเหตุนี้เองผมจึงสร้างดัชนีพายุสุริยะขึ้นโดยมีการคำนวณแบบ real-time ผ่านทางเวป KP Square Forecast System เพิ่มเติมจากดัชนีดาวเรียงตัว และจะนำกรณีศึกษานี้จะมาประยุกต์เพิ่มเติมในปฏิทินดาวเรียงตัว เพื่อให้เกิดความครบถ้วนมากขึ้นในการเตือนภัยครับ

    โดยทุกท่านสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ และแชร์ได้ เพื่อช่วยให้ทุกท่านได้เห็นสภาวะความแปรปรวนในอวกาศที่จะส่งผลเป็นความแปรปรวนบนโลกตามมา โดยในกราฟดัชนีจะมีขึดบอกถึงระดับ และช่วงเวลาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวังเหตุครับ
     
  12. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts1243881055672391

    กรณีศึกษาแผ่นดินไหวที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 11 พฤศจิกายน เวลา 21 UT Latest Earthquakes in the world
    นั้นมีลางบอกเหตุมาจากปรากฏการณ์หลายอย่างทั้งจากบนโลก และ นอกโลก

    โดยเหตุการณ์นอกโลกนั้นพบว่า มีการเรียงตัวของดาวเกิดขึ้นสูงสุดในช่วงนี้ ตามดัชนีดาวเรียงตัวที่ผมได้คำนวณมา และทุกท่านสามารถติดตามได้จาก KP Square Forecast System
    และภาพที่แนบมา นอกจากนั้นยังพบการแกว่งตัวของพายุสนามแม่เหล็กโลกมากกว่าปกติในระดับ 5
    http://services.swpc.noaa.gov/images/planetary-k-index.gif

    ในขณะที่บนโลกนั้น พบว่าเมฆ (ทางฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา) มีลักษณะแตกลาย ตามภาพซึ่งเป็นสภาพอากาศที่บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงมากกว่าปกติ สอดคล้องกับความแปรปรวนจากอวกาศ

    ส่วนในช่วงต่อไปที่ควรติดตามสังเกตการณ์ในเชิงดาราศาสตร์ได้แก่วันที่ 14 จะมีปรากฏการณ์ supermoon ที่ใหญ่สุดในรอบ 70 ปี
    The Biggest Supermoon In 70 Years Is Set To Fill The Night Sky This Month
    และในวันที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงของดาวเรียงตัวอย่างฉับพลัน ทุกท่านทีสนใจเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง อวกาศ และโลกโปรดติดตามสังเกตการณ์ในช่วงดังกล่าวครับ

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบ
     
  13. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts1248105328583297

    กรณีศึกษาแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ในวันที่ 13 พฤศจิกายน ที่ผ่านมาพบว่า
    http://www.emsc-csem.org/Earthquak/earthquake.php?id=545040
    มีความเชื่อมโยงกับสภาพอากาศโลก และ เชื่อมโยงกับแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่ประเทศอิตาลีในวันที่ 30 ตุลาคม
    http://www.emsc-csem.org/Earthquak/earthquake.php?id=540796
    คือ ทั้งสองเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นในช่วงที่พายุทั่วโลกมีความเร็วลมต่ำสุดและดับไปชั่วขณะเป็นเวลา 1-3 วัน

    ตามทฤษฏีทางไฟฟ้าสามารถอธิบายได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่พลังงานในชั้นบรรยากาศถ่ายเทลงสู่พื้นดิน และเป็นช่วงที่เกิดแสงผิดปกติที่นิวซีแลนด์ก่อนเกิดแผ่นดินไหว https://www.rt.com/viral/366864-new-zealand-earthquake-lights/

    นอกจากนั้นแล้วยังมีลางบอกเหตุการปฏิกิริยาดวงอาทิตย์ โดยพบว่าเป็นช่วงที่ปริมาณจุดดับลดลงต่ำสุดในรอบหลายเดือนและกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นเป็นโดยขึ้นสูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งสำหรับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งผมได้รายงานรูปแบบการเกิดแผ่นดินไหวลักษณะนี้ในวารสาร NCGT ในปีที่ผ่านมา และยังพบว่าดวงอาทิตย์ยังส่งคลื่นพลาสม่ามากว่าปกติในวันที่ 10 พฤศจิกายน และส่งพลังงานมาถึงในแนววงโคจรของโลกในระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน เป็นเหตุปัจจัยเพิ่มเติม
    CACTUS CME Details

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษาสำหรับการคาดการณ์ภัยธรรมชาติในอนาคต เพิ่มเติมจากรูปแบบการเตือนภัยจากปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวที่ได้แจ้งให้ทุกท่านทราบก่อนหน้านี้ครับ
     
  14. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1250685884991908

    ในช่วงวันที่ 16-18 พฤศจิกายน ในเชิงดาราศาสตร์พบดัชนีดาวเรียงตัวมีการแกว่งตัวสูงในวันที่ 17 แต่ค่าสูงสุดอยู่ที่ในระดับ 5 ต่ำสุดเทียบกับช่วงอื่นๆที่เกิดเหตุการณ์ใหญ่ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา KP Square Forecast System

    ถ้าสังเกตสภาพอากาศจากทั่วโลกจะพบว่าโดยรวมมีความปลอดโปร่ง โดยท้องฟ้าใสเป็นส่วนมากและไม่พบเมฆลักษณะผิดปกติมากนัก (เช่น แตกลาย หรือ เป็นลอนคลื่นมากนัก)

    ในขณะที่ปฏิกริยาดวงอาทิตย์โดยรวมตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีการแกว่งตัวต่ำ โดยเฉพาะค่าปริมาณจุดดับตามรูปที่แนบมา

    ถ้าทุกท่านได้ติดตามเหตุการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงนี้จึงพบว่าไม่มีรุนแรงมากนักเทียบกับสัปดาห์ก่อน แต่จะเกิดแผ่นดินไหวมากกว่าปกติในช่วงวันที่ 16-18 ที่ผ่านมาตามที่ได้ประเมินไว้เบื้องต้น

    เนื่องจากผมได้ประเมินค่าสถานการณ์ล่วงหน้าในปฏิทินสูงเกินไปในช่วงนี้ จึงขออนุญาติแก้ไข และนำกรณีศึกษานี้มาใช้ในการปรับปรุงระบบเตือนภัยที่มีอยู่ให้มีความเที่ยงตรงมากขึ้นในอนาคตครับ
     
  15. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส องก้องภพ อยู่เย็นครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1253162968077533

    ในวันที่ 20-21 พฤศจิกายน เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 6.5 และ 6.9 ที่ประเทศอาร์เจนตินา และ ประเทศญี่ปุ่นตามลำดับ Earthquake - Magnitude 6.9 - NEAR EAST COAST OF HONSHU, JAPAN - 2016 November 21, 20:59:49 UTC มีสิ่งบอกเหตุล่วงหน้าหลายอย่างด้วยกันทั้งจากในโลก และนอกโลก

    เหตุการณ์นี้สามารถตรวจจับได้จากปฏิกริยาดวงอาทิตย์หลายอย่าง เช่นปริมาณจุดดับเปลี่ยนแปลงฉับพลันขาลง และแนวสนามแม่เหล็กเปิด (coronal hole) โดยในวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมาเกิดปฏิกริยาดวงอาทิตย์มากกว่าปกติ โดยมีการคำนวณโดยระบบเตือนภัยที่ผมได้พัฒนาขึ้นโดยสามารถดูได้จาก KP Square Forecast System

    สำหรับแนวสนามแม่เหล็กเปิดนั้นพบว่ามีขนาดใหญ๋และเคลื่อนตัวเข้ามาเรียงกับโลกสูงสุดในวันที่ 21 พฤศจิกายนตามรูปที่แนบมา

    สำหรับสิ่งบอกเหตุบนโลกนั้นพบว่าในวันที่ 19 พฤศจิกายนได้เกิดความแปรปรวนสูงอย่างผิดปกติของปริมาณอิเลคตรอนนั้นชั้นบรรยากาศ (TEC) Ionosphere ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 21 และมีการแจ้งเตือนการถึงความเสี่ยงการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่จากกลุ่มเฟสบุกค์ EMP Electromagnetic Precursors for Earthquakes

    ในช่วงนี้เองยังพบว่าเกิดลมพัดแรงหลายพื้นที่ และมีสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัดเกิดขึ้นหลายแห่งทั่วโลก ความเร็วลมพายุทั่วโลกอยู่ในระดับต่ำ และ สภาพท้องฟ้าส่วนมากมีลักษณะเปิดเป็นส่วนใหญ่

    ในเชิงของปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ พบว่า ดัชนีดาวเรียงตัวแกว่งตัวสูงผิดปกติระหว่างวันที่ 18 ที่ผ่านมา และเกิดขึ้นในช่วงที่ดัชนีมีค่าต่ำสุดในรอบเดือนพฤศจิกายน

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบ เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาพิเศษ สำหรับการประเมินและคาดการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอนาคตครับ
     
  16. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1257299250997238

    ในระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน เป็นช่วงที่มีสภาพอากาศที่แปรปรวนกว่าปกติ โดยเกิดพายุหิมะที่ประเทศญี่ปุ่น
    ญี่ปุ่นมีหิมะเร็วกว่าปกติในรอบ 54 ปี
    เร็วกว่าปกติในรอบ 54 ปี และเป็นช่วงที่โลกเกิดการแกว่งตัวของสนามแม่เหล็กสูงสุดในรอบเดือน (ระดับ 6)

    โดยมีแผ่นดินไหวมากกว่าปกติ ขนาด 7.0 ใกล้กับชายฝั่งประเทศประเทศเอลซัลวาดอร์ และ ขนาด 6.5 ที่ประเทศจีน เกิดขึ้น
    Earthquake - Magnitude 7.0 - OFF COAST OF CENTRAL AMERICA - 2016 November 24, 18:43:48 UTC
    Earthquake - Magnitude 6.5 - SOUTHERN XINJIANG, CHINA - 2016 November 25, 14:24:29 UTC

    ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ มีสิ่งบอกเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น แนวสนามแม่เหล็กเปิด, ลักษณะของเมฆจากทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงมากเป็นพิเศษ และจากปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวระหว่าง โลก ดวงจันทร์ และ ดาวพฤหัส, ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และ ดาวอังคาร, และระหว่าง โลก ดาวพุธ และ ดาวเสาร์ เป็นเส้นตรง

    สำหรับปรากฏการณ์ทางดาราศาตร์นั้น ทุกท่านสามารถทราบล่วงหน้าได้จากกรณีศึกษาปฏิทินดาวเรียงตัว ตามลิงค์นี้ http://www.kpsquare.com/November.html

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษาครับ
     
  17. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1267225950004568

    วันที่ 28 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมาจะพบว่าโลกมีความแปรปรวนทางธรรมชาติมากกว่าปกติ

    เช่น พายุทอร์นาโดก่อตัวและไฟป่าทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา TNN24
    และ เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.2 ที่ประเทศเปรูในวันที่ 1 ธันวาคม Earthquake - Magnitude 6.2 - SOUTHERN PERU - 2016 December 01, 22:40:26 UTC

    ทั้งนี้มีเหตุปัจจัยภายนอกบางส่วนจากปฏิกริยาดวงอาทิตย์ และปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ซึ่งมีปฏิกิริยาดวงอาทิตย์เกิดขึ้นมากกว่าปกติ โดยดวงอาทิตย์ส่งรังสี X-ray ในระดับ M1 ซึ่งเป็นค่าสูงสุดในรอบกว่าสองเดือน และส่งพลังงานคลื่นมาถึงโลกในวันที่ 30 พย - 1 ธค ตามการคำนวณของดัชนีพายุสุริยะ

    ในวันที่ 28 พฤศจิกายน นั้นยังเป็นวันสำคัญทางดาราศาสตร์ โดยมีการเรียงตัวระหว่าง ดวงอาทิตย์-ดาวศุกร์-ดาวอังคาร และระหว่าง ดวงอาทิตย์ โลก และ ดวงจันทร์ เป็นเส้นตรงโดยประมาณ และได้คำนวณในเชิงดัชนีดาวเรียง
    โดยทั้งดัชนีดาวเรียงตัว และ ดัชนีพายุสุริยะ นั้นผมได้ทำการเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบและเข้าถึงได้ฟรีจากเวปไซต์ KP Square Forecast System

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษาในการคาดการณ์ภัยธรรมชาติในอนาคต และสามารถติดตามความแปรปรวนจากเหตุปัจจัยภายนอกโลกจากดัชนีทั้งสองในเวลาปัจจุบันได้ทางเวปดังกล่าวข้างต้นครับ
     
  18. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1272143526179477

    ในวันที่ 3-5 ธันวาคม ที่ผ่านมา จะพบว่าเกิดความแปรปรวนทางสภาพอากาศมากกว่าปกติ เช่น น้ำท่วมทางภาคใต้ของประเทศไทย
    ฝนซัดภาคใต้อ่วม! นครศรีฯ สังเวยแล้ว 6 ศพ ถนนขาด-น้ำในตัวเมืองยังสูง - thairath.co.th

    http://manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9590000121533

    น้ำท่วมในประเทศสเปน
    http://www.reuters.com/article/us-spain-flood-idUSKBN13T0MV
    พายุหิมะที่เกาะฮาวาย
    http://news.mthai.com/hot-news/world-news/536515.html

    และยังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ที่ประเทศอินโดนีเซีย
    http://www.emsc-csem.org/Earthquake/world/M5/

    ทั้งนี้มีสิ่งบอกเหตุหลายอย่างด้วยกันโดยเฉพาะจากปฏิกิริยาดวงอาทิตย์ โดยพบว่าเกิดจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 เดือนในวันที่ 2 ธันวาคม และจากการที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยา X-ray สูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
    ซึ่งจะได้ข้อสังเกตว่า ภัยธรรมชาติเกี่ยวกับอุทกภัยนั้นจะเริ่มเกิดมากขึ้นในช่วงที่ปริมาณจุดดับอยู่ช่วงขาขึ้น บวกกับการที่ดวงอาทิตย์มีปฏิกริยารังสี สูงเป็นพิเศษ
    ในเชิงเหตุปัจจัยทางดาราศาสตร์จะพบว่าเป็นช่วงที่มีปรากฏการณ์ดาวเรียงตัวเป็นพิเศษ คือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของการเรียงตัวระหว่างดวงดาวในวันที่ 4 ซึ่งได้แจ้งเตือนให้ทุกท่านทราบล่วงหน้าผ่านทางปฏิทินดาวเรียงตัวประจำเดือนธันวาคม โดยผมจะทำการรายงานกรณีศึกษาเพิ่มเติมให้ทุกท่านได้ติดตามในภายหลังได้จากลิงค์ http://www.kpsquare.com/December.html ครับ
     
  19. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟส อ.ก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1273821002678396

    กรณีศึกษาแผ่นดินไหวขนาด 6.5 ที่ประเทศอินโดนีเซีย ในวันที่ 6 ธันวาคม ที่ผ่านมานั้น
    Earthquake - Magnitude 6.5 - NORTHERN SUMATRA, INDONESIA - 2016 December 06, 22:03:33 UTC
    มีเหตุปัจจัยที่สามารถทราบล่วงหน้าได้จากปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ และ ปฏฺิกิริยาดวงอาทิตย์

    ในเชิงปฏิกิริยาดวงอาทิตย์นั้น พบว่าปริมาณจุดดับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 6 เดือนในวันที่ 2 ธันวาคม และส่งคลื่นพลังงามมาถึงโลกประมาณวันที่ 6 ธันวาคม CACTUS CME Details

    ในเชิงดาราศาสตร์นั้นพบว่าเป็นช่วงวันที่การเรียงตัวของดาวสูงสุดในรอบกว่า สองสัปดาห์ โดยแนวเรียงตัวหลักได้แก่ ระหว่าง ดวงอาทิตย์ ดาวศุกร์ และ ดาวพฤหัส และ ระหว่าง โลก ดวงจันทร์ และ ดาวอังคาร เป็นเส้นตรง

    โดยการคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้สามารถทำได้โดยการติดตามดัชนีดาวเรียงตัว และ ดัชนีพายุสุริยะ ซึ่งทุกท่านสามารถติดตามได้จากเวปไซต์ KP Square Forecast System

    จึงเรียนมาให้ทุกท่านทราบเป็นกรณีศึกษา เพื่อใช้สังเกตและคาดการณ์ภัยธรรมชาติในคราวต่อไปครับ
     
  20. Jingjoknayork

    Jingjoknayork เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    700
    ค่าพลัง:
    +3,726
    จากเฟซ องก้องภพ อยู่เย็น ครับ
    https://www.facebook.com/KongpopUyen/posts/1289693357757827

    ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา พบว่า โลกเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมากกว่าปกติในหลายพื้นที่ด้วยกันเช่นที่ประเทศอินโดนีเซีย (Earthquake - Magnitude 6.5 - NORTHERN SUMATRA, INDONESIA - 2016 December 06, 22:03:33 UTC) ทั้งนี้เป็นช่วงเวลาที่ความชื้นรอบโลกโดยรวมมีค่าต่ำและมีพายุเกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อย ส่งผลให้พลังงานใต้ดินมีการสะสมได้สูงกว่าปกติ

    ในเชิงดาราศาสตร์นั้นพบว่าเป็นเดือนที่มีการเรียงตัวของดาวสูงและมีอิทธิพลของดาวพฤหัสมาเกี่ยวข้อง (ระหว่างวันที่ 4-8 และในวันที่ 21 ธันวาคม) โดยแผ่นดินไหวจะเกิดมากและรุนแรงในช่วงที่มีปราฏการณ์ดาวเรียงตัวอย่างฉับพลันตามกราฟและปฏิทินที่ได้แนบมา โดยมีความคลาดเคลื่อนไปหนึ่งเหตุการณ์ในวันที่ 14 ธันวาคม

    ส่วนในระหว่างวันที่ 12-16 ธันวาคมนั้น พบว่าเป็นช่วงที่มีอิทธิพลจากดวงอาทิตย์ โดยปริมารณจุดดับบนดวงอาทิตย์แกว่งตัวสูงและลดลงอยู่ในช่วงต่ำสุดในรอบเดือน

    ดังนั้นปฏิทินดาวเรียงตัวจึงเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีประโยชน์อันหลากหลายสามารถใช้ในการคาดการณ์ทั้งได้ปฏิกิริยาดวงอาทิตย์ และ ความแปรปรวนทางธรรมชาติบนโลกไปพร้อมๆกัน

    สำหรับผู้ที่สนใจสั่งซื้อปฏิทินดาวเรียงตัว สามารถทำได้โดยเข้ากรอกข้อมูลสั่งซื้อทางเวป KP Square ซึ่งได้เปิดให้สั่งซื้อแล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงปลายเดือนมกราคมครับ โดยจะจัดส่งให้ทันที และฟรีค่าจัดส่งทั่วประเทศครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...