เรื่องเด่น พุทธทำนาย ยุคกึ่งพุทธกาล จะเกิดภัยพิบัติและสงครามใหญ่ (ปีพ.ศ. 2560 เป็นต้นไป)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 25 สิงหาคม 2016.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกวัดมหาพฤฒาราม ๑๑
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๒๒๒ จารึกบนหินอ่อน
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๖ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินอ่อน สีขาว
    ลักษณะวัตถุ แผ่นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๒๙ ซม. สูง ๑๒ ซม. หนา ๑ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๒ กำหนดเป็น “หลักที่ ๒๒๒ จารึกบนหินอ่อน”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ผนังด้านขวา ในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ผนังด้านขวา ในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๒ (กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๒๑), ๗๓-๗๔.
    ประวัติ จารึกหลักนี้ นายประสาร บุญประคอง เป็นผู้อ่าน โดยมีการตีพิมพ์ลงใน ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๖ ตอนที่ ๒ ใน พ.ศ. ๒๕๒๑ โดยเรียกว่า “หลักที่ ๒๒๒ จารึกบนหินอ่อน” ซึ่งเป็นหลักหนึ่งในจำนวน ๑๓ หลักที่ผนังด้านขวาและซ้ายในพระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม จารึกทั้งหมดล้วนทำจากหินอ่อนและมีขนาดใกล้เคียงกันมาก เนื้อความต่อเนื่องกัน คือ อธิบายถึงแนวทางการปฏิบัติในการถือผ้าและการถือธุดงค์ (ดูรายละเอียดได้ใน จารึกวัดมหาพฤฒาราม ๑-๑๓) วัดมหาพฤฒาราม ได้รับการปฏิสังขรณ์โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. ๔) เนื่องจากเมื่อครั้งที่ทรงอยู่ในเพศบรรพชิต ได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดแห่งนี้ พระอธิการแก้วซึ่งเป็นเจ้าอาวาสได้ทำนายว่าพระองค์จะได้ขึ้นครองราชย์ จึงทรงปฏิญาณว่าถ้าได้แผ่นดินจะทรงมาสร้างวัดให้ใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระอธิการแก้วเป็น “พระมหาพฤฒาจารย์” และสร้างพระอารามใหม่ โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๙๗-๒๔๐๙ สำหรับพระอุโบสถซึ่งพบจารึกนั้น มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบรัชกาลที่ ๔ ตัวอาคารมีขนาดใหญ่ หน้าบันเป็นรูปมงกุฎมีฉัตรขนาบ ประดิษฐานในบุษบกซึ่งเป็นพระลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๔ พระประธานภายในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย
    เนื้อหาโดยสังเขป อธิบายถึงการถือโสสานิกธุดงค์ คือ การไปเยี่ยมป่าช้าเป็นนิจ
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน

    การกำหนดอายุ รศ. ดร. สุภาพรรณ ณ บางช้าง ได้กล่าวถึงจารึกนี้ในหนังสือ “วิวัฒนาการงานเขียนภาษาบาลีในประเทศไทย : จารึก ตำนาน พงศาวดาร สาส์น ประกาศ” ว่าน่าจะถูกจารึกขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓)


    พระชั้นยอด

    ภิกษุผูถือโสสานิกธุดงค พึงสมาทานวา ฯ น สุสานํ ปฏิกฺขิปามิ โสสานิกงฺคํ สมาทิยา มิ(๑)ถืออยางอุกฤษฏนั้น จะไปเยี่ยมปาชาไปใหเปนนิจ จงบอกพระมหาเถรกอนจึ่งไปทานจะไดชวยกันอันตรายที่เกิดขึ้นในปาชา ใหตั้งเมตตาจิตห้ามมิใหฉันมังษกับปนมสดน้ำออย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 537_1.jpg
      537_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.4 KB
      เปิดดู:
      117
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกเรื่องฏีกาพาหุง ห้องที่ ๗ (บทที่ ๕)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ -
    อักษรที่มีในจารึก ไทยธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน (ไม่ทราบจำนวนบรรทัด)
    วัตถุจารึก หิน
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ผนังพระวิหารทิศใต้ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามฯ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
    พิมพ์เผยแพร่
    ๑) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔), ๑๒๗.
    ๒) ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน (กรุงเทพฯ : คณะสงฆ์วัดพระเชตุพน, ๒๕๕๔), ๑๒๙.
    ประวัติ จารึกเรื่องฏีกาพาหุง ๘ บท ติดอยู่ที่ผนังพระวิหารทิศใต้ จำนวน ๑๐ ห้อง เดิมมีภาพเขียนติดไว้เคียงกันกับแผ่นศิลาจารึก แต่ปัจจุบันภาพเขียนเหล่านั้นไม่มีแล้ว มีเพียงศิลาจารึกที่ยังหลงเหลืออยู่บ้าง  
    เนื้อหาโดยสังเขป กล่าวถึง พาหุง บทที่ ๕ “กัตวาน กัฏฐมุทรัง อิว คัพภินียา” ใจความว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จอยู่ ณ เชตวัน ใกล้เมืองสาวัตถี ครั้งนั้นได้รับลาภสักการะมาก พวกเศรษฐีเห็นดังนั้นจึงให้นางจินจมานวิกาทำอุบายโดยให้เทียวเข้าเทียวออกที่เชตวันนั้นเป็นระยะ ซักพักใหญ่ก็เอาท่อนไม้มาผูกไว้ที่ท้อง สวมผ้านุ่งคลุมไว้ ไปยืนป่าวร้องขณะพระพุทธเจ้ากำลังสำแดงพระธรรมเทศนาว่า ทำให้ตนตั้งครรภ์แล้วทำไม่ไม่ปลูกเรือนคลอดให้ตนเล่า พระอินทร์กับเทวดาทั้ง ๔ องค์ ก็จำแลงกายเป็นหนูลงมากัดเชือกที่ผูกท่อนไม้ให้ขาดออก แล้วแผ่นดินก็สูบนางจินจมานวิกาลงไปไหม้อยู่ในอเวจีนรก
    ผู้สร้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓)
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากประวัติการสร้างจารึกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ซึ่งปรากฏในจดหมายเหตุเรื่อง “การปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน : ถอดจากโคลงดั้นพระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส” 


    สำนักใดกันเห็นพาหุงเป็นคำแต่งใหม่เป็นเดรัจฉานวิชา นี่น่าคิด
    ใช่ใหม่ สำนักวัดนาป่าพง คึกฤทธิ์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • download.jpg
      download.jpg
      ขนาดไฟล์:
      8.5 KB
      เปิดดู:
      191
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ตุลาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ห้องที่ ๙๗ (อัฐวรรคคาถา ปารายนวรรค อชิตมาณวก ปุจฺฉา ปฐมา)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ จารึกอักษรขอมย่อที่ฝาผนังพระระเบียงคดทั้ง ๔ ด้านที่องค์พระปฐมเจดีย์ ห้องที่ ๙๗
    อักษรที่มีในจารึก ขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์
    ศักราช ไม่ปรากฏศักราช 
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวน ๑ ด้าน มี ๑๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก ปูน
    ลักษณะวัตถุ แผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวอักษรมีลักษณะคล้ายเป็นการแกะจากแม่พิมพ์
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๑๗๕ ซม. ยาว ๑๙๕ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ในหนังสือ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ กำหนดเป็น “จารึกอักษรขอมย่อที่ฝาผนังพระระเบียงคดทั้ง ๔ ด้านที่องค์พระปฐมเจดีย์ ห้องที่ ๙๗”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ วัดพระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดพระปฐมเจดีย์ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ (กรุงเทพ : จุฑารัตน์การพิมพ์, ๒๕๒๘), ๑๙๑-๑๙๒.
    ประวัติ จารึกนี้เป็นหนึ่งในจารึกจำนวน ๑๒๐ แผ่น บนผนังระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ โดยเริ่มห้องที่ ๑ จากวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกไปทางวิหารด้านทิศใต้ ๓๐ ห้อง จากวิหารใต้ไปทางวิหารตะวันตก ๓๐ ห้อง จากวิหารตะวันตกถึงวิหารเหนือ (วิหารพระร่วง) ๓๐ ห้อง จากวิหารเหนือถึงวิหารตะวันออก ๓๐ ห้อง รวม ๑๒๐ ห้อง จารึกห้องที่ ๑ เป็นคาถาสรรเสริญพระพุทธคุณ และเหตุผลที่จารึกคาถาธรรม รวมถึงคาถาธรรมบทแรก ห้องที่ ๒-๖๖ เป็นคาถาธรรมบท ห้องที่ ๖๗-๙๖ เป็นอัฐวรรคคาถา ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ห้องที่ ๙๗-๑๑๕ เป็นข้อความจากพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ปารายนวรรค ห้องที่ ๑๑๖-๑๒๐ เป็น ปกิณกคาถา จากพระไตรปิฎกเล่ม ๑๔-๑๕ และ ๒๐ ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ได้กล่าวถึงการสร้างจารึกเหล่านี้ไว้ในหนังสือเรื่อง พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ ว่า “ได้ก่อวิหารไว้สี่ทิศ แล้วชักระเบียงกลมล้อมรอบถึงกันทั้งสี่ด้านจดจารึกกถาธรรมยกไว้ทุกห้อง” ดังนั้น จึงมีการสันนิษฐานว่า คงเริ่มจารึกอย่างช้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมาสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๕ สมัยรัชกาลที่ ๕ ดังปรากฏหลักฐานที่ พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม มีใบบอกไปยังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งในขณะนั้น ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า การซ่อมตัวอักษรที่พระปฐมเจดีย์ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ขอให้ท่านผู้รู้ไปตรวจสอบก่อน เพราะเกรงว่าจะผิดเพี้ยนกับแบบเดิมไปบ้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงอาราธนาพระสาสนโสภณ (อหิงฺสโก อ่อน) วัดราชประดิษฐ์ไปตรวจสอบ และได้พบว่ามีทั้งที่ชำรุด และที่เกิดจากความผิดพลาดของช่างถึง ๙๕๘ แห่ง พระสาสนโสภณได้เขียนข้อความที่ถูกต้องลงในกระดาษ ทากาวติดไว้เพื่อให้ช่างแก้ไขตามนั้น ข้อมูลและคำอ่าน-คำแปล ของจารึกที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ทั้งหมด มีการตีพิมพ์ในหนังสือ จารึกที่องค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยมีผู้อ่าน ๒ ท่าน ได้แก่ สิริ เพ็ชรไชย ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกรมการศาสนา อ่านจารึกห้องที่ ๑-๖๖ และ เจษฎ์ ปรีชานนท์ อ่านจารึกห้องที่ ๖๗-๑๒๐ ส่วนคำแปลนั้นนำมาจากพระไตรปิฎกของกรมการศาสนา และหนังสือของมหามกุฏราชวิทยาลัย
    เนื้อหาโดยสังเขป อัฐวรรคคาถา ในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๕ ปารายนวรรค อชิตมาณวก ปุจฺฉา ปฐมา ซึ่งว่าด้วยบทสนทนาระหว่างพระพุทธเจ้าและอชิตะมานพ
    ผู้สร้าง พระยาพฤฒา (ปลอด) และภรรยานามว่า นางหนู
    การกำหนดอายุ เจษฎ์ ปรีชานนท์ (พ.ศ. ๒๕๒๘) กำหนดอายุจารึกที่ระเบียงคดรอบองค์พระปฐมเจดีย์ จากข้อความในหนังสือเรื่อง พระปฐมเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ โดย ท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ซึ่งระบุว่า “ได้ก่อวิหารไว้สี่ทิศ แล้วชักระเบียงกลมล้อมรอบถึงกันทั้งสี่ด้าน จดจารึกกถาธรรมยกไว้ทุกห้อง” ดังนั้น จึงมีการสันนิษฐานว่า คงเริ่มจารึกอย่างช้าเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมาสำเร็จใน พ.ศ. ๒๔๔๕ สมัยรัชกาลที่ ๕ ดังปรากฏหลักฐานที่พระยาสุนทรบุรีศรีพิไชยสงคราม มีใบบอกไปยังสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยว่า การซ่อมตัวอักษรที่พระปฐมเจดีย์ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ขอให้ท่านผู้รู้ไปตรวจสอบก่อน เพราะเกรงว่าจะผิดเพี้ยนกับแบบเดิมไปบ้าง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จึงอาราธนาพระสาสนโสภณ (อหิงฺสโก อ่อน) วัดราชประดิษฐ์ ไปตรวจสอบ และได้พบว่ามีทั้งที่ชำรุด และที่เกิดจากความผิดพลาดของช่างถึง ๙๕๘ แห่ง พระสาสนโสภณได้เขียนข้อความที่ถูกต้องลงในกระดาษ ทากาวติดไว้เพื่อให้ช่างแก้ไขตามนั้น



    https://th.wikisource.org/wiki/ปารายนวรรค_-_อชิตมาณวกปัญหานิทเทส


    ใช่ท่านอชิตะ ที่ร่ำลือกันว่าจะเป็นพระศรีอารย์หรือไม่ กรณีศึกษา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1299_1.jpg
      1299_1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      149.2 KB
      เปิดดู:
      142
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  4. น้ำเกลี้ยง

    น้ำเกลี้ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +505
    อ่านโพสของท่านจ่าแล้ว ทั้งมัน ทั้งมึนส์ มีเสริมคร่าวๆว่า การอบรมเจริญสติ

    หรือ mindfullness ถูกฝรั่งนำไปค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และ พบว่า แก้

    ทุกข์ ได้ จริง มี การนำไปใช้ต่อยอดในรูปธรรม ตัวอย่างนึง ที่ฟังใน TED

    TALK เกี่ยวกับ การเลิกบุหรี่ โดยการ อบรมให้ ดูดบุหรี่ อย่างมีสติ แทน การ

    สอนให้เห็นถึงโทษของบุหรี่

    https://www.ted.com/talks/judson_brewer_a_simple_way_to_break_a_bad_habit?language=en

    ต่อไปก็คงจะมีอย่างอื่นตามมา เพราะฝาหรั่งชอบ ทดลอง
     
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกประตูสวนปรุง หลักที่ ๒ (ด้านทิศตะวันตก)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชม. ๑๗๔/๒ จารึกประตูสวนปรุง หลักที่ ๒ (ด้านทิศตะวันตก) พ.ศ. ๒๕๐๙
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๕๐๙
    ภาษา ไทย, บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๑ บรรทัด
    วัตถุจารึก ซีเมนต์
    ลักษณะวัตถุ หลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. ๑๗๔/๒”
    ๒) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “ชม. ๑๗๔/๒ จารึกประตูสวนปรุง หลักที่ ๒ (ด้านทิศตะวันตก) พ.ศ. ๒๕๐๙”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ประตูสวนปรุง ด้านทิศตะวันตก ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฎหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑), ๑๕๒.
    ประวัติ จารึกหลักนี้เป็นของใหม่ จารึกบนแผ่นซีเมนต์ที่ฉาบอยู่ด้านหน้าของตัวหลัก
    ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑
    เนื้อหาโดยสังเขป จารึกเป็นเรือนยันต์ มีคาถาย่อบูชาพระเจ้า ๕ พระองค์
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากเลขศักราชที่ปรากฏในจารึก คือ พ.ศ. ๒๕๐๙


    ของดีโบราณ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกประตูสวนปรุง หลักที่ ๑ (ด้านทิศตะวันออก)
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ ชม. ๑๗๔/๑ จารึกประตูสวนปรุง หลักที่ ๑ (ด้านทิศตะวันออก) พ.ศ. ๒๕๑๑
    อักษรที่มีในจารึก ธรรมล้านนา
    ศักราช พุทธศักราช  ๒๕๑๑
    ภาษา บาลี
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๕ บรรทัด
    วัตถุจารึก ซีเมนต์
    ลักษณะวัตถุ หลักสี่เหลี่ยมทรงกระโจม
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “ชม. ๑๗๔/๑”
    ๒) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “ชม. ๑๗๔/๑ จารึกประตูสวนปรุง หลักที่ ๑ (ด้านทิศตะวันออก) พ.ศ. ๒๕๑๑”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ประตูสวนปรุง ด้านทิศตะวันออก ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ ไม่ปรากฎหลักฐาน
    พิมพ์เผยแพร่ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน และแม่ฮ่องสอน (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, ๒๕๕๑), ๑๕๑.
    ประวัติ จารึกหลักนี้เป็นของใหม่ จารึกบนแผ่นซีเมนต์ที่ฉาบอยู่ด้านหน้าของตัวหลัก
    ข้อมูลของจารึกหลักนี้ปรากฏและพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๒ เล่ม ๑ พ.ศ. ๒๕๕๑
    เนื้อหาโดยสังเขป จารึกเป็นเรือนยันต์ มีคาถาย่อ นวหรคุณ และ มหิทธิฤทธิ
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐาน
    การกำหนดอายุ กำหนดอายุจากเลขศักราชที่ปรากฏในจารึก คือ พ.ศ. ๒๕๑๑

    คาถาในเรือนยันต์เป็นคาถาย่อ นวหรคุณและคาถาที่อยู่ใต้ยันต์ทั้ง ๓ บรรทัด มีชื่อว่า พระคาถามหิทธิฤทธิ ใช้เสกน้ำมัน ๗ ครั้ง ทาฝ่ามือลูบคมหอกคมดาบ อาวุธนั้นจะหายคม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ราชวงศ์สาตวาหนะ (Satavahana Dynasty)
    หลังจากพระเจ้าอโศกสวรรคต ปรากฏว่า กษัตริย์ผู้สืบต่อราชสมบัติไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะปกครองอาณาจักรเมารยะที่กว้างใหญ่ไพศาล ทําให้ประเทศราชประกาศตนเป็นอิสระหลายอาณาจักร เช่น กษัตรปะ ในดินแดนด้านตะวันตก, สาตวาหนะ ทางตอนใต้กลิงคะประกาศตนเป็นอิสระ ทําให้อาณาเขตของเมารยะลดน้อยลงเหลือเพียงบริเวณลุ่มแม่น้ําคงคา และในที่สุดก็ถูกแทนที่ด้วยอาณาจักรศุงคะ


    ในดินแดนบริเวณภาคใต้ของอินเดีย ในที่ราบสูงเดคข่าน (Deccan) ราชวงศ์สาตวาหนะประกาศตัวเป็นอิสระหลังจากอํานาจของเมารยะอ่อนแอลง ราชวงศ์สาตวาหนะมีอํานาจอยู่ราว ๔๕๐ ปีบางครั้งราชวงศ์นี้ถูกเรียกว่า อานธระ (Andhras)เพราะปกครองทางภาคใต้จารึกจากนาสิก (Nasik) และนานาฆาฑ (Nanaghad) ทําให้ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์นี้กระจ่างขึ้นปฐมกษัตริย์ผู้ตั้งราชวงศ์นี้ทางพระนามว่า สิมุกะ (Simuka) หลังจากนั้นจึงเป็น พระเจ้ากฤษณะ (Krishna) ซึ่งพระองค์สามารถ
    ขยายอาณาเขตจนถึงเมืองนาสิกในทางด้านตะวันตก กษัตริย์องค์ที่ ๓ คือ พระเจ้าสตกรรณี (Satakarni) ซึ่งพระองค์มีชัยชนะเหนืออาณาจักรมัลวะตะวันตก (Western Malwa) และเมืองเบราร์ (Berar) จารึกกล่าวว่า พระองค์ทรงประกอบพิธีอัศเมธหลายครั้ง

    กษัตริย์องค์ที่ ๑๗ ทรงพระนามว่า หะละ (Hala) พระองค์ครองราชย์เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ เพียง ๕ ปีแต่พระองค์เป็นที่จดจําในฐานะผู้แต่งคัมภีร์คฐสัปตะสติ (Gathasaptasati) หรือ สัตตะสายี (Sattasai) ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ภาษาปรากฤต มีเนื้อหาถึง ๗๐๐ บทกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของราชวงศ์สาตวาหนะ คือ พระเจ้าเคาตมีปุตระ สตกรรณี (Gautamipatra Satakarni) พระองค์ทรงราชย์อยู่เป็นระยะเวลาถึง ๒๔ ปีตั้งแต่ พ.ศ.๖๔๙ – ๖๗๓ จารึกที่นาสิก ซึ่งจารึกขึ้นโดยพระราชมารดาของพระองค์คือ เคาตมีพลศรี (Gautami Balasri) ระบุว่า พระองค์ปกครองบริเวณเดคข่านทั้งหมด ทรงมีชัยเหนือพระเจ้านาคปานะ กษัตริย์แห่งมัลวะพระองค์ทรงอุปถัมภ์ทั้งศาสนาพุทธและพราหมณ์หลังจากพระองค์สวรรคต พระราชโอรสพระนามว่า วาสิฏฐีปุตระ ปุลุมายี(Vasitthiputra Pulumayi) สืบราชสมบัติต่อมา พระองค์ทรงขยายอาณาเขตไปจนถึงบริเวณปากแม่น้ํากฤษณา พระองค์ออกเหรียญกษาปณ์เป็นจํานวนมาก และหลายเหรียญมีรูปเรือ แสดงถึงการค้าทางทะเลที่ขยายตัว และนํามาซึ่งความมั่งคั่งแก่ราชวงศ์พระพุทธศาสนาในรัชกาลของพระองค์รุ่งเรืองอย่างมีนัยยะสําคัญ พระองค์ทรงซ่อมแซมสถูปองค์ใหญ่ที่อมราวดีที่นาครชุนโกณฑะ
    กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้ายของราชวงศ์สาตวาหนะ คือ พระเจ้ายัชญะศรีสตกรรณี (Yajnasri Satakarni)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แผ่นดินไหวในใบลาน: ทำนายเหตุการณ์หรือเพียงบันทึก
    ดอกรัก พยัคศรี
    นักวิชาการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
    จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ จ.เชียงราย ที่ผ่านมา (๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗) ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็มีข่าวคราวเกี่ยวกับเอกสารโบราณที่ได้ท านายเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นตามข่าว พระราชวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุนครชุม ในฐานะรองเจ้าคณะจังหวัดก าแพงเพชร "จากการ
    ตรวจสอบคัมภีร์ซึ่งถ้าเป็นตัวพิมพ์ก็จะเป็นคัมภีร์เทศเป็นส่วน แต่คัมภีร์ขอมอ่านไม่ออก ส่วนคัมภีร์ท านายพอที่จะแกะความหมายออกบ้างแต่ไม่มาก โดยมีคัมภีร์ ๑ ใบที่เขียนลักษณะเป็นค าท านาย ซึ่งเขียนขึ้นในปีกุน ๒๓๘๓ ศก ผ่านมาแล้วถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๑๗๔ ปี จารึกไว้ว่าแผ่นดินไหว ๗ ค่ าเดือน ๕ เพลา ๗-๘ ทุ่ม เทพ ๕๘ ศก โดยในคัมภีร์ค าท านายดังกล่าวยังมีตารางๆ จารึกตัวเลขเป็นภาษาไทย ๑-๘ เต็มใบลาน"

    รองเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวอีกว่า ถ้าเป็นคำทำนายแผ่นดินไหวตามวันเวลาในคัมภีร์ใบลานนี้ ก็จะตรงกับวันที่เกิดแผ่นดินไหวพอดีคือขึ้น ๗ ค่ า ส่วนเดือนขณะนี้เดือนไทยขึ้นเดือน ๖ แล้ว แต่ถ้านับตามปฏิทินสากลก็เป็นเดือน ๕ส่วนเวลานั้น ๗-๘ ทุ่ม ไม่ทราบว่าเป็นเวลาไหน แต่ถ้าเป็นค าท านายแผ่นดินไหวจริงต้องถือว่าตรงและแม่นมาก แต่ทั้งนี้ต้องถามผู้รู้เรื่องของภาษาโบราณให้มาช่วยแปลก่อน ส่วนคัมภีร์ใบลานทั้งหมดจ านวนมากนี้จะต้องเก็บไว้ แล้วรวบรวมให้เป็นเรื่องเดียวกันต่อไป เพราะคัมภีร์อายุเกือบ ๒๐๐ ปีแบบนี้หายากมากแล้ว

    ภาพใบลานที่เชื่อว่าได้บันทึกคำทำนายเรื่องแผ่นดินไหว
    ที่มา ฮือฮา! พบใบลาน200ปี ทำนายวันเกิดแผ่นดินไหวตรงเผง - thairath.co.th
    ในโลกสังคมออนไลน์ก็มีการพูดถึงข่าวการพบใบลานนี้ไปอย่างกว้างขวาง มีทั้งความคิดเห็นที่คิดว่าใบลานนี้เป็นการทำนายเรื่องแผ่นดินไหวจริง และทั้งที่คิดว่าเป็นการเขียนขึ้นมาใหม่เพราะรูปแบบตัวอักษรไม่ตรงกับยุคสมัย และมีอีกหลากหลายความคิดเห็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันไปจากภาพใบลานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า มีการเขียนตัวเลขที่เป็นเลขไทยไว้มากมาย แล้วตัวเลขที่ปรากฏบนใบลานเหล่านี้มีที่มาจากไหน? และสื่อความหมายอย่างไร?เมื่อปริวรรตอักษรไทยโบราณมาเป็นอักษรไทยปัจจุบันแล้วจึงได้ข้อความดังนี้

    บรรทัดแรกคือ “๏(พฺร) ปีกุน ๒๓๘๓ ศก” อักษรที่ปรากฏอยู่ด้านบนเครื่องหมายฟองมันเป็นอักษรขอมไทยเมื่อถ่ายถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะได้ค าว่า “พฺร” อ่านว่า “พระ” ส่วน “ปีกุน” คือ ปีนักษัตรของไทยซึ่งก็คือ ปีหมู และ “๒๓๘๓ศก” หมายถึง ปีพุทธศักราช ๒๓๘๓ เมื่อได้ลองค้นปีจากปฏิทิน ๑๐๐ ปี พบว่า ปีพุทธศักราช ๒๓๘๓ นั้นตรงกับปีชวด ไม่ใช่ปีกุน แต่ในปฏิทิน ๑๐๐ ปีก็ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
    “ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ปฏิทินชุดนี้จะแสดงปีที่คาบเกี่ยวกัน เพราะยังนับวันเปลี่ยนปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน เช่น๒๔๘๒(๒๔๘๑) ซึ่งค่าแรก ๒๔๘๒ เป็นปี พ.ศ. ที่ได้จากปี ค.ศ.+๕๔๓ คือนับ ๑ มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ ส่วนค่าในวงเล็บ(๒๔๘๑) เป็นปี พ.ศ.ไทยที่ใช้จริงหรือที่เรียกปี พ.ศ. ในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งนับ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ดังนั้นท่านที่ต้องการดูปฏิทินย้อนหลังช่วงเวลาดังกล่าว โปรดท าความเข้าใจหลักการนับปีให้ดีก่อน , นอกจากนี้ยังมีช่วง ก่อนปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ซึ่งนับวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับ วันขึ้น ๑ ค่ า เดือนห้า(๕) ซึ่งถ้าอยู่ในช่วงวันเวลานั้น อาจนับปี เรียกใช้ หรือเข้าใจไม่ตรงกัน”จากหลักฐานดังกล่าวจึงสันนิษฐานได้ว่า “๏(พฺร) ปีกุน ๒๓๘๓ ศก” หมายถึง ปีพุทธศักราช ๒๓๘๓ ปีกุนบรรทัดที่สองคือ “๑๒๐๑ ศก” หมายถึง ปีจุลศักราช ๑๒๐๑ “จุลศักราช” หมายถึง ศักราชน้อย เริ่มต้นภายหลัง
    พุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี ดังนั้นถ้าจะแปลงเป็นปีพุทธศักราชก็นำ ๑๑๘๑ ไปบวกกับ ๑๒๐๑ จะเท่ากับปีพุทธศักราช ๒๓๘๒ ที่ปีพุทธศักราชที่ได้ไม่ตรงกับปีด้านบนก็เพราะเหตุผลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการนับปีที่ได้อธิบายไว้ข้างต้นนั่นเอง


    “แผ่นดินไหววัน ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕” หมายถึง มีแผ่นดินไหวในวัน....... ขึ้น ๗ ค่ า เดือน ๕ ในข้อความนี้ยังขาดตัวเลขบอกวันไป จึงไม่ทราบว่าเป็นวันอะไร เมื่อลองค้นวันข้างขึ้น ๗ ค่ า เดือน ๕ ปีพุทธศักราช ๒๓๘๓ จากปฏิทิน ๑๐๐ ปีแล้วพบว่าตรงกับ “วันพฤหัสบดีที ๙ เดือนเมษายน พุทธศักราช ๒๓๘๓”

    ตัวเลขชุดอื่นๆ เป็นตัวเลขที่เกี่ยวกับการค านวณวัน เดือน ปี ทางโหราศาสตร์ ซึ่งจะขออธิบายตัวเลขเป็นชุดๆ ไปโดยเริ่มจาก “๒๗๏๔๓๔๖๗๗” ก่อนเป็นอันดับแรก โดยตัวเลข ๒๗๏ ไม่พบว่าจะหมายถึงอะไร แต่สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงหัวข้อของบันทึก คือหัวข้อที่ยี่สิบเจ็ดส่วน ”๔๓๔๖๗๗” ตัวเลขชุดนี้เป็นตัวเลขของ “หรคุณ” หมายถึง จำนวนวันที่นับจากวันเถลิงศกของปีที่ตั้งจุลศักราชขึ้นมาจนถึงวันเถลิงศกของปีจุลศักราช เกิดจากการคำนวณดังนี้

    เอาเลขจุลศักราชตั้ง ๑๒๐๑ คูณ ๒๙๒๒๐๗ = ๓๕๐๙๔๐๖๐๗
    จากนั้นน า ๓๕๐๙๔๐๖๐๗ บวก ๓๗๓ = ๓๕๐๙๔๐๙๘๐
    จากนั้นน า ๓๕๐๙๔๐๙๘๐ หาร ๘๐๐ = ๔๓๘๖๗๖ เศษ ๑๘๐
    จากนั้นน า ๔๓๘๖๗๖ บวก ๑ = ๔๓๘๖๗๗ เป็นหรคุณอัตตา

    เลขชุดต่อมา “๖๒๐” คือ “กัมมัชพล” เป็นหน่วยเวลาในการโคจรของดวงอาทิตย์ โดยใน ๑ ปีสุริยคติแบบ
    สุริยยาตร์ มี ๒๙๒๒๐๗ กัมมัชพล และ ๑ วันสุริยคติ มี ๘๐๐ กัมมัชพล และ ๑ กัมมัชพลจึงเท่ากับ ๑๐๘ วินาที หรือ ๑ นาที
    ๔๘ วินาทีเลขชุดนี้ได้จากการคำนวณดังนี้
    นำเลขเชิงหาร ๘๐๐ ลบกับเศษที่ได้จากการค านวณหรคุณอัตตาคือ ๑๘๐
    ๘๐๐-๑๘๐ = ๖๒๐ เป็นกัมมัชพลอัตตา

    เลขชุด “๘๙” คือ “อวมาน” เป็นหน่วยการโคจรของพระจันทร์ เป็นส่วนแบ่งย่อยของดิถีหรือเศษของดิถี(ทาง
    จันทรคติ) เกิดจากการค านวณดังนี้
    หรคุณอัตตาฐานบน
    ๔๓๘๖๗๗ คูณ ๑๑ = ๔๘๒๕๔๔๗
    ๔๘๒๕๔๔๗ บวก ๖๕๐ = ๔๘๒๖๐๙๗
    ๔๘๒๖๐๙๗ หาร ๖๙๒ = ๖๙๗๔ เศษ ๘๙
    เศษ ๘๙ คือ อวมานอัตตา
    เลขชุด “๑๔๘๕๕” และ “๑” คือ “มาสเกณฑ์” หมายถึง จ านวนเดือนทางจันทรคติ โดยนับตั้งแต่ปีที่ตั้งจุลศักราช
    เป็นต้นมาจนถึงจุลศักราช และ “ดิถี” หมายถึง วันทางพระจันทร์ เป็นการเฉลี่ย ๑ มาสออกเป็น ๓๐ ส่วนเท่าๆ กัน ได้จาก
    การค านวณดังนี้
    การค านวณ มาสเกณฑ์ และดิถี
    หรคุณอัตตาฐานต่ า ลัพธ์ฐานบน
    ๔๓๘๖๗๗ บวก ๖๙๗๔ = ๔๔๕๖๕๑
    ๔๔๕๖๕๑ หาร ๓๐ = ๑๔๘๕๕ เศษ ๑
    ๑๔๘๕๕ เป็นมาสเกณฑ์อัตตา ๑ เป็นดิถีอัตตา
    เลขชุด “๑๗๓๖” คือ “อุจจพล” หมายถึง รอบการโคจรของอุจนีย์ของดวงจันทร์ ๑ รอบ = ๓๒๓๒ วัน ได้จากการ
    คำนวณดังนี้
    หรคุณอัตตาเกณฑ์
    ๔๓๘๖๗๗ ลบ ๖๒๑ = ๔๓๘๐๕๖
    ๔๓๘๐๕๖ หาร ๓๒๓๒ = ๑๓๕ เศษ ๑๗๓๖
    ๑๗๓๖ เป็น อุจจพลอัตตา
    เลข “๑” อันสุดท้าย คือ “วันเถลิงศก” เกิดจากการค านวณดังนี้
    การค านวณวันเถลิงศก
    ๔๓๘๖๗๗ หาร ๗ = ๖๒๖๘๘ เศษ ๑
    ๑ = วันอาทิตย์ เป็นวันเถลิงศก
    การคำนวณตัวเลขชุดต่างๆ เหล่านี้ ได้ตัวอย่างการค านวณมาจากเว็บไซต์
    โหราศาสตร์ไทยภาคคำนวณ : สุริยยาตร์ : คำนวณอัตตาเถลิงศก « ศิลปวัฒนธรรม
    ส่วนค าว่า “๏เทพ ๕๘ ศก” นั้นเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง “รัตนโกสินทร์ศกที ๕๘” ซึ่งตรงกับพุทธศักราช ๒๓๘๓

    เมื่อได้ความหมายของตัวเลขแต่ละชุดมาแล้วจึงสามารถแปลความในเอกสารใบลานนี้ได้ดังนี้
    ๏(พฺร) ปีกุน ๒๓๘๓ ศก
    จุลศักราช ๑๒๐๑ แผ่นดินไหววันพฤหัสบดีที่ ๙ เดือนเมษายน ขึ้น ๗ ค่ า เดือน ๕
    มาสเกณฑ์ ๑๔๘๕๕ เพลา ๗ ทุ่ม ๘ ทุ่ม
    อวมาน ๘๙
    ๒๗๏ หรคุณ ๔๓๔๖๗๗
    กัมมัชพล ๖๒๐
    อุจจพล ๑๗๓๖
    ดิถี ๑
    วันเถลิงศก ๑
    รัตนโกสินทร์ศก ๕๘
    เมื่อพิจารณาจากความหมายของเลขแต่ละชุดในใบลานดังกล่าวแล้ว จึงพอสันนิษฐานได้ว่า เอกสารใบลานนี้เป็น
    เอกสารที่ “บันทึก” เกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในวันเวลาที่ระบุไว้ มากกว่าจะเป็นเอกสารที่ “ทำนาย” การเกิด
    แผ่นดินไหวในอนาคต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คัมภีร์มรณญาณสูตร

    นมัดสิดตวา ภะทันจะ ทํามันจะ สังคันจะ ตังโลกะนาถัง จะสารังตังวัดเทบุริดสุตะมังอะปจะอะหังชีวกโกมารัง อะภาติยัมะระ
    ทุกขสุกตังมะหาพัทรูปง ภควโตปะมกขังทะมะสิวังเอวหังอุจะตีติ อะหัง อันวาขา...........มีนามชื่อโกมาพัดแพทย นมัสสิตวา ถวายนมัสการแลว พัดพันจะซึ่งสมเด็จก็ดีทํามันจะ..........พระพุทธเจาก็ดี สังคันจะซึ่งพระอริยสงฆเจาก็ดีโลกนาถังวันที่พึ่งแกโลก อะปจะ อนึ่งโสด อะหัง อันวาขา สุตัง ไดสดับตรับฟงแลว ทํามะเทสะนัง ซึ่งธรรมเทศนา ภควโต ปมุกขัง จําเพาะพระ...สมเด็จพระพุทธเจา สัน...อันเปนครูแกโลก ปุริสุตตะมัง พระองคเปนมหาบุรุษอันประเสริฐ อปจะ อนึ่งโสดมะยา อันขา ภาติย กลาว มะระณะยานะสุดตังซึ่งคัมภีรมรณญาณสูตร เทวะทุดสุดตัง ทรงมหาพุทธรูป สังเคเปทะ โดยสังเขปเวชทิโย อันเพศ ทั้งหลาย วีนอยูหิ พึงรู เอวัง ดังนี้ ภัควา สมเด็จพระผูมีศรีโสภา กะรุนา วียะสัตเต ทรงพระมหากรุณาแกสัตวโลกทั้งปวง เทเสสีตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตวไว อิติม อิมินาปะกาเรน ดวยประการดังนี้แล2

    ฉบับหอสมุดแหงชาติ
    ๏ นมสฺสตฺวา พุทฺธฺจ ธมฺมฺจ สํฆฺจ โลกนาถํ สตฺถารวนฺเธ ปริสุตฺตมํ อปนามชิวโกนาม อภาภิยมรณฺญสุตฺตํเทว ทูตฺตสุตฺตํ มหาภูตรูป ภควโคปมุขํ มนสิการํ เอวเมวอหํ วกฺขามิติ ๚ะ
    ๏ อหํ อันขา ชีวโกนาม ผูชื่อวาชีวะกะโกมาพัทย นมสฺสิตฺวา ถวายนมัสการแลว พุทฺธฺจ ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจาก็ดี ธมฺมฺจ ซึ่งพระเนาวโลกุฏธรรมเจาก็ดี สํฆฺจ ซึ่งอัษฎางริยสงฆเจาก็ดี อปนาม แมอนึ่งโสด วนฺเท พึงไหว โลกนาถํซึ่งพระเจาอันเปนที่พึ่งแกโลกทั้งหลาย สตฺถารํอันเปนบรมครูแกโลก ปุรุตฺตมํพระองคเปนบุรุษราชอันประเสริฐ อภาติยจักตกแตง มรณญาณสุตฺตมํซึ่งพระคัมภีรมรณญาณสูตร เทวทูตฺตสุตฺตํเปนเทวทูตสูตร มหาภูตรูปซึ่งมหาภูตรูป วกฺขามิจักกลาว สํคเปน โดยนัยสังเขปแตยอ เวชฺโช อันแพทยทั้งหลาย วิฺโญยฺยํพึงรู เอวํเอว ดวยประการดังนี้แทจริงภควา อันวาองคสมเด็จพระผูมีพระภาคยเปนอันงาม มหาการุณิโก ประกอบดวยพระกรุณาแกสัตวโลกทั้งหลายเทเสสิพระองคตรัสเทศนาไว อิติโม อิมินาปกาเรน ดวยประการดังนี้

    ประการอันนี้เปนปริศนาธรรมอันวิเศษ เหตุ
    ดวยบุคคลทั้งหลายจะถึงแกชีวงคต อนึ่ง จึงปรากฏบังเกิดมหัสจรรยใหประจักษแกบุคคลทั้งหลายนั้นแล ฯ๏๚
    ลักษณะบุคคลนั้น ลางคนอยูดีๆ เปนไขก็ดี เห็นพรรณขาวกลมกลิ้งออกไปคือ เตโชธาตุขาด ๓ วันจะตายแล
    ลางคนอยูดีๆ ก็ไขก็ดีเห็นเขียวกลมกลึงดังลูกผัก(ปลัง) ยาวดังลูกมะมวง กลิ้งออกไปคือ อาโปธาตุขาดแลวกําหนด๕ วันจะตาย
    ลางคนอยูดีเปนไขก็ดี เห็นหมนเปน ๓ หมน แลพรรณดังสายละลอกปูมเปลือกกลิ้งออกไปคือ ปฐวีธาตุขาดกําหนด ๑๕ วันตายแล
    ลางคนอยูดี ไขก็ดี เห็นดังพระจันทรกลิ้งออกไป พลธาตุขาดแลวจะมรณภาพ กําหนดใน ๓ วันจะตายแล
    ลางคนอยูดี ไขก็ดี เห็นหญิงเอาไฟออกตามหนาตางคือไฟธาตุขาดแลวดับสูญแลวจะตายในวันนั้นแล
    ลางคนอยูดี ไขก็ดี เห็น(รูปสัตว)ทะลุหลัง(คา)ลงมา ครั้นถามหญิงมิพูด คือนางกาลผูนั้นจะตายในยามนั้นแล
    ลางคนอยูดี ไขก็ดี เห็นเปนรูปงู เสือ หมี แลคนถือดาบไลฆาฟนประการ ๑ เห็นนุงผาแดง หมแดง ทรงพระ(อา)ภรณแดงมาเรียกแลวก็กลายเปนนารีประการ ๑ ดังนี้คือ พระยามัจจุราชหากสําแดงใหเห็นผูนั้นจะถึงซึ่งชีวงคตโดยกําหนดแล๒ เดือน ๓ เดือน
    บุคคลผูใดเห็นเงาตนแปรตอตะวันเห็นพระอาทิตยภายนํามุดตนดํา ๒ เดือน ๑ ก็ตายเหมือนลูกกาประกอบดวยขนดําแลวละรังเสียนั้น
    บุคคลผูใดเห็นกระตายในวงพระจันทรยาวเซี่ยวเสี้ยวใสคือดูแหวนนั้นเห็นรูปคนยาวเบี้ยวเสี้ยวไปไมเปนปกติ
    กําหนดได ๕ วันก็จะตายแล ฯ
    นางเคยทรงสุคนธารส ละกลิ่นเสียนั้นคือ ตมูกมิไดรูจักกลิ่นเหม็นหอมคือ ฆานประสาทดับสูญแลวกําหนดยาม๑ หนึ่งจะตายแลว
    นางเคยดูระบํามิไดเห็นนั้นคือ ผูใดจักขุมืดมัวที่เคยก็มิไดปรากฏคือ จักขุประสาทขาดแลว มรณภาพกําหนด ๒เดือนครั้ง ๑
    อันวานางเคยชมประสาททั้งสิ้นนั้นคือ ผูใดดูเวนมิได เห็นหู ตมูก ปากนั้นคือเปนผีกําหนดจะตายใน ๕ วัน ๑๕ วัน๘ วัน
    อันวานางเคยฟงดนตรีแลวละเสียนั้น คือผูใดเอามือจกหูฟงทั้งสองขาง มิไดยินสําเนียงอื้ออึงคือ โสตประสาทขาดแลวกําหนด ๒ เดือนจะตาย
    นางเคยเสวยของอันมีรสแลวละรสเสียนั้น คือผูใดมิไดรูจักรสจืด เค็ม เปรี้ยว หวานคือชื่อ (ชิว)หาประสาทขาดแลวกําหนดตายใน ๑๕ วัน




    อันวาน้ําตกในยอดไม เปลือกไมนั้นซึ่งวา ขันน้ําแตก อันวาบุคคลทั้งหลายอยูดีๆ มิไดทํางานการก็บังเกิดเสโทตกทั่วสรรพางคกายคือ อาโปธาตุ แตกกระจายกําหนดอยูป ๑ แล
    อันหมอตมน้ําของนางมากระบัดรอนเย็นนั้นคือ ผูใดใจมากแลใจนอย ขี้มักโกรธ ถาผูใดใจนอยแลใจมากผูนั้นจะตายในปนั้นแล
    นางเห็นไมพึงเกลียดดังผีเสื้อแลกิ้งกือนั้นคือ ผูใด(เห็น)ทารกนอยๆ พึงเกลียดชังคือปศาจ หากสําแดงใหเห็น ผูนั้นจะตายกําหนดใน ๓ ยามนั้นแล ฯ(อ)นึ่งบุคคลทั้งหลายนั้น เมื่อยังอีก ๗ วันจะตาย ดอกบัวของ(นาง)นั้นก็ใหญขึ้นกวาเกา ดอกจงกลนีก็หดเขานั้นคือถาหญิงก็โยนีเปดเผยยิ่งกวาเกา ถาชายคุยหะฐาน๑๕ ก็เฟด๑๖เขา
    อันคือแลหยากเยื่อ ฤาอุจจาระ ปสสาวะซึ่งถายออกมานั้นก็ดําแมลงผึ้งที่เคยเอารสเกสรก็ตายสิ้นแลนั้นคือ ตมูกเมื่อจะตายเฟดเขาเชือกเถาวัลยที่เหี่ยวแหงคือ เมื่อจะตายเอ็นแลหลังก็เหี่ยวหดเขา หนังตาก็แข็งลับลงบมิไดคางอยูเกาทัณฑลดลงคือ คิ้วทั้ง ๒ แลที่เสวยก็เฟดขึ้นนั้นคือ ริมสีปาก เมื่อจะตายก็เฟดขึ้น รวงผึ้งอันลดหดเขานั้นคือ ลิ้นเมื่อคนจะตายก็เฟดขึ้น ก็หดเขาเจรจามิไดแล
    สุนัขเคยเลียขาวตกทุกวัน ครั้นคาบไดเนื้อกอนใหญก็แลนหนี
    คือ บุคคลผูไขหนักนัก กินอาหารมิได ถากินอาหารมิไดมากผิดกวาทุกมีก็จะตาย
    เมื่อนั้นเห็นคนแลนมิไดเร็วพอนคือ คนเมื่อจะตายหอบขยอนหายใจหอบรอน
    อันวาทองหลอมเทลงน้ํา น้ําทองกลับเย็นนั้นคือ คนเมื่อจะตายยอมใหรอนทุรนทุรายระทดระทวยไป
    ธงไชยประดับดวยพรวนทองแขวนไวหนาปราสาทก็แข็งกระดางนั้นคือหูทั้ง ๒ ขางนั้น เมื่อจะตายก็จะแข็งกระดางทั้ง ๒ ขาง
    แกวสุริการยอดปราสาทก็กลับขาวเสีย คือจักขุคนจะตายก็กลับขาวเปนน้ําขาวมิไดรูจักรอนแลเย็น
    อันวาใบตาลเหี่ยวดังตองแดดนั้นคือ คนเมื่อจะตายปลายมือปลายเทาชักกระเบ็ดเหี่ยวเขา
    ครั้นธาตุทั้งสี่แลเบญจประสาทแลวเมื่อใดก็จะเขานิวาสเมื่อนั้น มานิมิตฝนจึงบังเกิดนิมิต ๕ ประการคือ เห็นไฟจะไปสูทุกขเวทนาในนรก ถาเห็นเลือดนอง๑๘จะเปนเปรต ถาปาจะเปนสัตวเดียรฉาน ถาเห็นกอนเนื้อจะเปนมนุษย ถาเห็นดาวเดือนฉัตรธงจะไปสูสวรรคเทวโลกนั้นแล ๚

    ปะถมปรโมนาโคทุติยัง อุรูอัดถิตัง ตะติยัง หัพะ สัตะวัดสัง จัตุถัง จัคะนาสิดตังปนจะมาภาละ จักขุระจะฉัดถะหัฏิปะ ทศนาสัตะเมถังสะโยยามังอัดถะมัดตับปะวะขะนังณะวะมาสาสะติยะมัง ทัศมังอัดถังชิวหกา ๚
    ปะถะมังปะระโมนาโค บทประถมนั้นวาพญานาคมิไดยกพังพานเมื่อใด ผูนั้นอยู ๑๑ ป จะมรณะ
    ทุติยังอูรูหัดถีตัง เปนคํารบ ๒ นั้น ถาผุใดกระดูกขาเบื้องขวาพิการเจ็บปวด ๑๐ ปกับ ๗ วัน ผูนั้นจะตายในอัฏราคือการแล
    ตะติยังหัดถะสัดตะวัดสัง คํารบ ๓ นั้นวา ถาผูใดกระดูกแขนขวาพิการเจ็บปวด ผูนั้นอยู ๗ ปจะตายแล ๚
    จัตุถังจักขุนาสิกัง คํารบนั้นวาถาผูใดดูปลายจมูกตนมิไดเห็นอยู ๔ วันจะตาย เมื่อเพลาเชาแล ๚
    ปนจะมาภาสะขุนจะ คํารบ ๕ วัน ถาผูใดมิไดเห็นไฟในนอยตา ๓ ยามจะตายแล ๚
    ฉัดหัดถีปะทัศนาคํารบ ๖ นั้น ถาผูใดดูแข็งนขวาไมมังดุจเทาชาง ผูนั้นจะตายไมมัดชะตีการนันแล ๚
    สัตะเมกังสะโยยามัง คํารบ ๗ นั้น ถาผูใดนอนแลระสับระสายยินรายหนักหนา ผูนั้นอยูวันเดียวจะตายแล
    อัถะมังพะปะวัดตะนัง คํารบ ๘ นั้น ถาผูใดไขแล…..
    เนื้อหาในเอกสารจบเพียงเทานี้


    ค่อยมาเรียบเรียง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จารึกฐานพระประธาน วัดพวงพยอม ๒ ต. ในเวียง อ. เมืองน่าน จ. น่าน จ.ศ. ๑๑๗๓ (พ.ศ. ๒๓๕๔)


    มีคำทำนาย

    "ชินศาสนายังจักรมาภายหน้ามี ๒๖๕๕ พระวัสสา ปลายเดือน ๑๑ ปลาย ๑๕ วัน ทั้งวันผรูก ปลูกโบราณ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2016
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    มรดกทางวัฒนธรรมคืออะไร?
    มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง อนุสรณ์สถาน กลุ่มอาคารและสถานที่ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สุนทรียภาพโบราณคดี วิทยาศาสตร์ ชาติพันธุ์วิทยา หรือมานุษยวิทยา ไม่ว่าจะเป็นงานทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมหรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้้า หรือสถานที่ส้าคัญที่อาจเป็นผลงานจากฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติและมนุษย์และได้ก้าหนดว่า มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ประกอบด้วยสิ่งสร้างสรรค์ ของคนในอดีตที่เป็น
    รูปแบบที่จับต้องได้ เช่น ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้าง รวมไปถึงสิ่งที่จับต้องไมได้(Intangible) เช่น ภาษา ศีลธรรมจริยธรรม สุนทรียศาสตร์ ตลอดจนอาหารการกิน การแต่งกาย ศาสนา และความเชื่อฯลฯ

    เอกสารโบราณเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหรือไม่?
    เอกสารโบราณ คือสิ่งที่มนุษย์ค้นคิด และประดิษฐ์ขึ้นด้วยมือไม่ใช่เครื่องจักร เพื่อน้ามาใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆทั้งของตนเองและสังคมของตน ดังนั้นเราอาจถือได้ว่าเอกสารโบราณก็เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง เพราะเป็นสิ่งที่สรรค์สร้างจากฝีมือมนุษย์และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอกสารโบราณทั้งประเภทจารึก หนังสือสมุดไทย คัมภีร์ใบลาน ฯลฯล้วนเป็นโบราณวัตถุ เป็นหลักฐานชั้นต้นทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งมีคุณค่าทั้งในเชิงวิชาการและคุณค่าในฐานะที่เป็น “มรดก” ตกทอดมามาถึงลูกหลานในกาลปัจจุบัน



    เอกสารโบราณเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเภทใด?
    หากเรามองว่าเอกสารโบราณเป็นโบราณวัตถุชิ้นหนึ่ง หมายถึง วัสดุที่ใช้ในการบันทึก มีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น หิน ดิน ไม้ เปลือกไม้ ใบลาน เป็นต้น วัสดุเหล่านี้มีรูปลักษณ์ที่จับต้องได้และสามารถท้าการอนุรักษ์ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งวัสดุเหล่านี้ก็มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นมรดกสมบัติที่สามารถจับต้องได้ในขณะเดียวกันวิธีการ หรือขั้นตอนที่ท้าให้วัตถุธรรมชาติเหล่านี้มาเป็นวัสดุที่ใช้รองรับการบันทึก จนกลายมาเป็นเอกสารโบราณในเวลาปัจจุบันนี้ก็ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้นอกจากนี้ “เนื้อหา” ต่างๆ ที่ปรากฏ

    ในเอกสารโบราณ ที่เป็นสรรพวิชาการต่างๆ ของบรรพชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กฎหมาย ต้ารา วรรณคดี ฯลฯ ก็ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่สามารถจับต้องได้ด้วยอีกเช่นกัน

    ใครจะเป็นผู้ดูแลมรดกเหล่านี้?
    ในบรรดาเอกสารโบราณทั้งหมดในประเทศไทย ตามกฎหมายแล้วถือว่าเป็นโบราณวัตถุ เป็นสมบัติของชาติ ซึ่งจะมีหน่วยงานที่ด้าเนินงานเกี่ยวกับเอกสารโบราณก็คือ กรมศิลปากร เนื่องด้วยกรมศิลปากรท้าหน้าที่ดูแลสมบัติชาติ ทั้งที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้หลายอย่าง จึงท้าให้ดูแลได้ไม่ทั่วถึง เพราะขาดทั้งก้าลังคนและงบประมาณ

    ในปัจจุบันยังมีเอกสารโบราณ(นอกจากจารึก)อยู่อีกมากที่ยังขาดการดูแลและอนุรักษ์ ในขณะนี้เองในแต่ละภูมิภาคของประเทศก็มีการตื่นตัวที่จะช่วยกันทำงานเพื่ออนุรักษ์เอกสารโบราณในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมและดำเนินงานอย่างแข็งขัน แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการดูแลเอกสารโบราณทั้งประเทศ

    ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) เองในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ด้าเนินการเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโดยตรง เล็งเห็นว่าในประเทศไทยมีเอกสารโบราณที่สูญไปก็มาก และที่ยังคงเหลืออยู่ก็มาก แต่บุคลากร และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเอกสารโบราณก็มีน้อย ต้องทำงานต่อสู้กับเวลาที่คอยกัดกินเอกสารโบราณให้เสื่อมลงไปทุกวันๆ ดังนั้นจึงคิดจัดท้า “ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภาคตะวันตก” นัยหนึ่งเป็นการช่วยกันท้างานกับหน่วยงานอื่นๆ ในฐานะที่เป็นเพื่อนร่วมงานที่มีอุดมการณ์เดียวกัน นอกจากนี้การจัดท้าเป็นฐานข้อมูลเพื่อให้บริการเผยแพร่นั้น ยังเป็นกระจายความรู้ ภูมิปัญญาของคนในอดีต ให้กับคนในยุคปัจจุบันได้น้าไปศึกษาต่อยอด ประยุกต์ใช้ในกิจการงานของตน และท้าให้ความรู้ ภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษของเราสั่งสมมายังคงอยู่ต่อไป


    อย่างไรก็ดี เราทุกคนในฐานะคนไทยและเป็นผู้ที่รับมอบ “มรดกทางวัฒนธรรม” เหล่านี้มาจากบรรพชน จึงมีหน้าที่ช่วยกันดูแล ปกปักษ์รักษา อนุรักษ์ เอกสารโบราณให้คงอยู่ต่อไป แต่หากเราจะเก็บรักษาแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่นำ“เนื้อหา” ที่อยู่ในเอกสารโบราณเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ มรดกทางภูมิปัญญาที่เราเฝ้าปกปักษ์เหล่านี้ก็จะไม่มีความหมายใดๆ เลย เพราะทรัพยากร “วัฒนธรรม” แตกต่างจากทรัพยากรอื่นๆ ที่มีแต่จะใช้แล้วหมดไป แต่“วัฒนธรรม”นั้นยิ่งใช้ ยิ่งพอกพูน และคงอยู่ตราบนานเท่านาน


    ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู่ทิพยภูมิของพระอริยะเจ้า สมบูรณ์ด้วย ปฎิสัมภิทาญาน อันศิลาจารึกต่างๆ อักษรโบราณตลอดจนถึงอักษรยุคสมัยใหม่เหล่านี้ เหมาะสมจะเป็นมรดกตกทอดของผู้ใคร่ศึกษาและจักเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดเลยทีเดียว นี่จึงควรส่งเสริมให้เกิดเหล่าอัญญาสิทธิ์ อัญญาธรรม ลองคิดดูเถิดว่า ประวัติและเหล่าแหล่งโบราณคดีต่างๆ จารึกต่างๆที่มีอยู่ในโลกและทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นทวีปใดๆ เก่าแก่สักแค่ไหน? ลองคิดดูผลที่ตามมา ของผู้ที่สามารถล่วงรู้ตำนานและประวัติศาสตร์ จะมีคุณค่าความสำคัญขนาดใด

    ยอดจริงๆ ยังหลงเหลืออีกมาที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ จะขนาดไหนกันนี่!
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  12. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อาณาจักรทวารดีมีวัฒนธรรมที่เจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒-๑๕ การค้นพบ “จารึกพระธรรมจักร”

    ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม แสดงให้เห็นว่าผู้คนในอาณาจักรนี้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก “ธรรมจักร” คือสัญลักษณ์ตัวแทนของพุทธศาสนาก่อนที่ความนิยมในการสร้างรูปเคารพเหมือนพระพุทธเจ้าจะเข้ามา จารึกธรรมจักรมีลักษณะเป็นล้อเกวียน ตามแกนของล้อและดุมได้จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี เกี่ยวกับ “อริยสัจ ๔”

    สายพันธุ์“มอญโบราณ”
    “มอญ” เป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์ที่เคยมีอารยธรรมรุ่งเรืองในอดีต ถึงแม้ปัจจุบันนี้ไม่มี “ประเทศมอญ” แต่ ชาวมอญก็ยังคงรักษาวัฒนธรรมของตนเองอย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการธ ารงภาษามอญ เราพบจารึกที่ใช้ภาษามอญโบราณหลายชิ้นในหลายภูมิภาค ทั้งบริเวณภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคอีสาน ซึ่งอยู่ในช่วงยุคของอาณาจักรทวารวดี

    ตั้งแต่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๕ แต่ในยุคนั้นยังจารึกด้วยอักษรปัลลวะ และหลังปัลลวะ จารึกที่ใช้อักษรปัลลวะเขียนภาษามอญโบราณ เช่น จารึกวัดโพธิ์ร้าง จังหวัดนครปฐม จารึกวัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช จารึกฐานพระพุทธรูปยืนวัดข่อย จังหวัดลพบุรี จารึกถ้ าพระนารายณ์ จังหวัดสระบุรี และจารึกเมืองบึงคอกช้าง จังหวัดอุทัยธานีเป็นต้น ส่วนจารึกที่ใช้อักษรหลังปัลลวะเขียนภาษามอญโบราณ เช่น จารึกเสาแปดเหลี่ยม จังหวัดลพบุรี จารึกใบเสมาวัดโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น
    จารึกวัดโพธิ์ชัยเสมาราม จังหวัดกาฬสินธุ์ และจารึกสถูปดินเผาเมืองทัพชุมพล จังหวัดนครสวรรค์เป็นต้น๑๑ต่อมากลุ่มชาติพันธุ์มอญที่เคยอาศัยอยู่ในอาณาจักรทวารดีได้อพยพเดินทางขึ้นเหนือไปตั้งรกรากก่อตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นในเขตจังหวัดล าพูนปัจจุบัน ซึ่งมีชื่อว่า “อาณาจักรหริภุญชัย” ในตำนานตั้งเมืองนั้น กล่าวว่า อาณาจักรแห่งนี้ได้รับการสถาปนาโดยพระนางจามเทวีซึ่งพระนางเป็นผู้ปกครองอาณาจักรแห่งนี้เป็นพระองค์แรก จากนั้น อาณาจักรแห่งนี้ ก็มีกษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๙

    ต่อมาในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมื่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทย ได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัยขึ้นมามีอำนาจเหนืออาณาจักรขอมพระนครที่ค่อยๆ เสื่อมอ านาจลง แต่อารยธรรมและวัฒนธรรมก็ยังคงตกค้างอยู่ในดินแดนอาณาจักรสุโขทัยโดยเฉพาะอักษรขอมโบราณที่ผู้คนในอาณาจักรสุโขทัยยังนิยมใช้จารึกเรื่องราวในกลุ่มของตนเอง ในตอนแรกนั้น มีการใช้อักษรขอมโบราณเพื่อเขียนภาษาบาลี นั่นก็เพราะอักษรขอมมีอักขรวิธีที่เอื้อต่อการเขียนภาษาบาลี ต่อมาในยุคหลัง จึงมีการปรับใช้ให้อักษรขอมโบราณสามารถใช้เขียนภาษาไทยได้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    (๓.เถร ๓)
    วิชาคิดอธิกมาศจริงๆ ใหถูกกับฤกษพระจันทรในวันเพ็ญก็งายดอก ไมพอที่จะไหลเถรไป ใครเปนเถรคงบวชเปนเถรอยูก็ดี สึกออกมาแลวไมทิ้งธรรมดาเถรก็ดี ก็ถูกโฉลกที่เขารองเรียนกันอึงๆ วา ใหลเถร งมเถร ระยําเถร

    ใหลเถรนั้นจําสิบจําหาอะไรก็ไมได เมื่อไมกลัวใครเขาวาไร เพราะเขากลัวบาป ทําอยางไรจะสอพลอใหเขาชอบใจเขาจะไดใหกินก็ทําแตอยางนั้น อยางอื่นที่ควรแกปญญาแกความรู แตไมเปนประตูหากินแลวก็มิเอาใจใส ถึงจะไดยินไดฟงไดเรียน ก็ลืมเลือนใหลเสีย จึงเปนใหลเถร

    ก็งมเถรนั้นเพราะไมเอาใจใสในการที่ควรจะเอาใจใส รูจักแตกินๆ นอนๆ การอะไรๆ ที่คนอื่นๆ เขารูมีถมไป ก็ไมรูไมเงี่ยหูฟง ถึงจะพูดก็เลื่อนไหลเลอะเทอะเซอะเซิงไมรูอะไร เขาจึงวางมเถร

    ระยําเถรนั้น เมื่อบวชอยูก็วุนไปไมรูจักวาผูหญิงผูชายทางบกทางน้ํา ก็เมื่อสึกออกมาก็ตื่นผูหญิงระยํา สําหรับอีผูหญิงจิกหัวลาก แลจูงหูลากไปตามใจมัน การไมควรคิดก็คิด ไมควรทําก็ทํา เขาจึงวาระยําเถร

    ผูที่บวชอยูนั้นระวังตัวไวอยาใหเปนเถรสามอยางนี้ไดเปนดี ควรเปนที่ไหวบูชา ถึงสึกมาเปนคฤหัสถก็จะไมสกปรก ๚


    โบราณ
     
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธานุญาตใหเรียนปกขคณนา
    มีเรื่องในบาลีอุโบสถขันธมหาวัควินัยวา พระสงฆืเดินเขาไปบิณฑบาตในบาน มนุษยทั้งหลายถามวาวันนี้เปนดิถีเทาไหรของปกษ พะสงฆตอบวา เราทั้งหลายไมรูเลย ชาวบานจึงนินทายกโทษวาภิกษุทั้งหลายเหลานี้ แตสักวานับปกษไมรูจะรูอะไรที่ดีไปกวานี้เลา ความนั้นทราบถึงพระพุทธเจา พระองคจึงทรงอนุญาตใหเลาเรียนการนับปกษ พระสงฆทั้งปวงสงสัยว่าจะใหใครเรียนการนับปกษเอาความกราบทูลถาม พระองคจึงตรัสอนุญาตวาให ภิกษุทั้งหลายทั้งปวง หมดดวยกันทั้งนั้นเรียนนับปกษ ฯ

    ตําราปกขคณนา
    ดวยดูนิทานนี้ก็เห็นความชัด วาครั้งพุทธกาลนั้น การที่จะเรียนสูตรเปนตําราสําหรับนับปกษใหถูกนั้นมีสูตรนั้นไมไดนับ ดวยเดือนดวยปแลขึ้นแลแรม ใหนับแตตามลําดับปกษเหมือนอยางวา ตํารานั้นจะไมสูงายนักเชนถือกันในเมืองนี้ชาวบานจึงตองถามพระสงฆไมถามกันเอง แลครั้งนั้นพระสงฆยังไมไดเรียนจึงตอบวาไมรู แลวิธีนั้นไมสูยากนักเขาจึงนินทา วาแตสักวาปกขคณนาก็ยังไมรู แลการนั้นก็ไมสูยากนัก จนถึงมาเปนกังวลกีดขวางแกทางสมถวิปสสนา พระพุทธเจาจึงทรงอนุญาตใหเรียนคือตองเลาตองบนตองจํา วิธีอยางธรรมเนียมใชปเดือนในแผนดินสยามนี้ งายนักไปใครๆ ก็รู ไมตองถึงเลาบนจํา ก็การเรียนวิชาโหรทําปฏิทินทายสุริยคาห จันทรคาห ยากนักไปตองคูณตองหารตองเปนกังวลมากในศาสนาจึงติเตียนวาเปนติรฉานวิชา

    ก็วิธีปกขคณนามาเชนวา เปนของไมยากนักแลเปนที่จะใหรูวันอุโบสถ แลวันธรรมสวนะ เมื่อเขาถามจะไดบอกแกเขาใหถูกตอง ไมตองไดความสบประมาทนินทาดวย ไมเปนกังวลกีดขวางแกการเลาเรียนพระพุทธศาสนานัก พระองคจึงโปรดใหเรียน แลอรรถกถาตางๆ วาสั่งสอนอุกฤษฏในทางคตะปจจาคตวัตร พระสงฆถือเจริญกรรมฐานทั้งไปทั้งมา อธิษฐานการไมพูดไมเจรจา อมน้ําเขาไปเพื่อบิณฑบาตแลว ก็ยังมีบังคับไววาเมื่อชาวบานเขาถามวา วันนี้ดิถีเทาไร ก็ใหถือน้ําเสียบอกแกเขาก็ที่ทานวาดังนี้เพราะเคารพแกการที่วาในบาลีอุโบสถขันธ ฯ

    .ตํารานับปกขของเกาสูญกลายเปนบอกฤดู
    ก็เรื่องนิทานปกขคณนามาสอบสวนกันเมื่อเวลาลงประชุมทําอุโบสถดังนับภิกษุนั้น เพราะพระองคอนุญาตใหเรียนดวยกันทุกรูปทั้งหมด แตกําหนดปกขคณนาดังวานี้ สาบสูญไปเสียนานแลว จึงกลายเปนบอกฤดูที่เรียกวา อุตุกขานํ นั้นขึ้นแตในอรรถกถา แลอุตุกขานํนั้น ก็ไมมีในบาลีอุโบสถขันธ ดังหนึ่งกวาด แลตามประทีป แลปูอาสน แลตั้งน้ําใชน้ําฉัน แลน้ําฉันทปาริสุทธิ แลนับภิกษุ แลใหโอวาทนางภิกษุณี ที่มีในบาลีชัดๆ นั้นเลย แลการที่ชาวบานเขาจะถาม เขาก็ไมไดถามวาฤดูนี้ฤดูอะไร จะหนาวฤารอน ฝนฤาแลง เขาก็เห็นอยูเองไมตองถาม อนึ่ง ในฤดูนั้นจะลงโบสถกี่ครั้ง ไดลงแลวกี่ครั้ง ยังกี่ครั้ง มิใชธุระปะปงของเขา เขาจะถามทําไม การที่ทําอยูก็สักวาทําไป ไมสมไมรวมกับนิทานที่มาในบาลี ผูจะเรียนจะศึกษาใหชอบกับเหตุผล จงคิดดูจงดีเถิด ฯ


    ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ตามหลักฐานที่มี สำนักวัดนาป่าพงของคึกฤทธิ์และสาวกที่ดูหมิ่นอรรถกถา ถึงคราววิบัติซวยครั้งมโหฬาร


    สมุดไทยดําเรื่อง “ตําราปกขคณนา”ฉบับนี้เปนตําราการคํานวณปฏิทินทางจันทรคติที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว รัชกาลที่ ๔ ทรงคิดคนและนิพนธขึ้น ปกขคณนา คือการนับปกษ๒ หรือนับวันในรอบครึ่งเดือนของขางขึ้น
    ขางแรม ซึ่งเปนวิธีการนับปกษที่มีความแมนยําสูงมาก เนื่องจากปฏิทินจันทรคติฆราวาส หรือปฏิทินจันทรคติราชการมักจะมีความคลาดเคลื่อนไดภายในป มวาจะกําหนดอยางไรก็ตาม การกําหนดนั้นทําไดอยางมากคือ คลาดเคลื่อนนอยที่สุดภายในป
    ดังนั้นพระองคจึงมีพระบรมราชานุญาตใหนําการคํานวณปกขคณนานั้นไปใชทําปฏิทินพระทุกป แทนที่ปฏิทินฆราวาสความรูเรื่อง “ปกขคณนา” นี้มีนักปราชญผูรูไดศึกษาและไดแตงไวหลายทานดวยกันดังนี้๓

    ๑. พระบาทสมเด็จพระจอมเกลาเจาอยูหัว ผูทรงริเริ่มศึกษาคนควาจนทําใหเกิดมีตําราปกขคณนานี้ขึ้นมาในประเทศไทยเปนครั้งแรก และทรงนําเอาปฏิทินทางจันทรคติมาใชในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาเปนพระองคแรก
    ๒. พระมหาสมณเจา กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ ทรงเชี่ยวชาญตําราและปฏิทินทางจันทรคติ โดยเฉพาะปกขคณนา งานของทานเปนที่นับถือและใชกันอยางกวางขวาง
    ๓. พระมหาสมณเจา กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงนิพนธเรื่องปกขคณนา และความรูเกี่ยวกับประวัติความเปนมาตลอดจนการใชปฏิทินทางจันทรคติ
    ๔. พระยาบริรักษเวชชการ (บริรักษ ติตติรานนท) ขอเขียนของทานใหความรูเกี่ยวกับการคํานวณอธิกมาสอธิกวาร และวิธีใช โดยเปนการประยุกตหลักการหลายแบบเขาดวยกัน
    ๕. นายฉิ่ง แรงเพชร ไดเขียนคําอธิบายเกี่ยวกับปกขคณนาที่นารู พรอมตัวอยางปกขคณนาสําเร็จ ซึ่งเปนสวนหนึ่งของปฏิทินปูมปกขคณนาของมหามกุฏราชวิทยาลัย ปพ.ศ. ๒๔๗๙
    ๖. พระราชภัทราจารย (ลอย สิริคุตฺโต ป.ธ. ๖) วัดโสมนัสวิหาร ไดใหความรูเรื่อวปกขคณนาดวยคําอธิบายแบบงายๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กันยายน 2016
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แผ่นดินไหวใน ‘โยนกนคร’
    เดิมคนไทยอาจรู้สึกว่าแผ่นดินไหวเป็นเรื่องไกลตัว จนกระทั่งเกิดสึนามึซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล เมื่อปี ๒๕๔๗จึงรู้ว่าปรากฏการณ์นี้ใกล้ตัวกว่าที่คิด แต่ความจริงแล้ว หากย้อนเวลากลับไปในอดีตจะพบว่าคนโบราณล้วนผ่านเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาหลายครั้งหลายครา ดังปรากฏในจารึกและเอกสารเก่าแก่มากมาย อาทิ ‘พงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน’ซึ่งกล่าวถึงแผ่นดินไหว ณ เมืองโยนกนครหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อ พ.ศ. ๑๕๕๘ ในเดือน ๗ แรม ๗ ค่้า วันเสาร์ ซึ่งทำให้เวียงล่มลงกลายเป็นหนองน้้าขนาดใหญ่ ความตอนหนึ่งว่า

    “…สุริยอาทิตย์ก็ตกไปแล้ว ก็ได้ยินเสียงเหมือนดั่งแผ่นดินดังสนั่นหวั่นไหว ประดุจดังว่าเวียงโยนกนครหลวงที่นี้จักเกลื่อนจักพังไปนั้นแลแล้วก็หายไปครั้งหนึ่ง ครั้งถึงมัชฌิมยามก็ซ้้าดังมาเป็นค้ารบสองแล้วก็หายนั้นแล ถึงปัจฉิมยามก็ซ้้าดังมาเป็นอีกค้ารบสาม หนที่สามนี้ดังยิ่งกว่าทุกครั้งคราวที่ได้ยินมาแล้ว กาลนั้นเวียงโยนกนครหลวงที่นั้นก็ยุบจมลงเกิดเป็นหนองอันใหญ่ ยามนั้นคนทั้งหลายอันมีในเวียงที่นั้น มีพระมหากษัตริย์เป็นประธาน ก็วินาสฉิบหายตกไปในน้้าที่นั้นสิ้น ยังเหลืออยู่แต่เรือนยายแม่หม้ายเฒ่าหลังเดียวนั้นแล….”

    ี่คือต้านานที่โด่งดังของ ‘เวียงหนองล่ม’ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตอ้าเภอเชียงแสน และอ้าเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อันถูกผูกโยงให้เกี่ยวข้องกับอาเพศที่เกิดจากการที่ชาวบ้านพากันกินปลาไหลเผือก จนบ้านเมืองต้องวินาศด้วยภัยธรรมชาติในที่สุด


    จารึกมอญ เจดีย์พัง พลังของแผ่นดินไหวไม่เพียงพงศาวดารเท่านั้น แต่ยังมีจารึกที่จดจารเหตุการณ์แผ่นดินไหวเอาไว้ อย่าง ‘จารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๒’หรือ เดิมรู้จักกันในชื่อ จารึกวัดกู่กุด เนื่องจากตามประวัติกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด้ารงราชานุภาพและศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ พบจารึกนี้บริเวณฐานพระเจดีย์ด้านทิศตะวันออกของวัดกู่กุด หรือ วัดจามเทวี อ้าเภอเมืองจังหวัดล้าพูน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕จารึกดังกล่าว ถูกจดจารด้วยอักษรมอญโบราณ โดยใช้ภาษามอญและภาษาบาลี กล่าวถึงพระเจ้าสววาธิสิทธิกษัตริย์แห่งรัฐหริภุญไชยซึ่งโปรดให้มีการปฏิสังขรณ์เจดีย์องค์หนึ่งซึ่งพังทลายลงมาเนื่องจากแผ่นดินไหว มีการกล่าวถึงการสร้างบ่อน้้าในอารามโดยพระราชมารดา การถวายข้าพระ กัลปนาที่ดิน และสิ่งของต่างๆ จารึกนี้มีการอ่านแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดย ศ. โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ และ ศ. ชาร์ล อ๊อตโต บลากเด็น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓ อีก ๔๒ ปีต่อมา ศ.มจ. สุภัทรดิศดิศกุล ได้ทรงแปลจากภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย โดยมีใจความส้าคัญตอนหนึ่งว่า

    “ข้าพเจ้าผู้มีนามว่า สัพพาทธิสิทธิ ผู้เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน….(อักษรลบเลือน)…..ได้หักพังลงเนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งได้เกิดมีขึ้นในสมัยนั้น ในปีไวสาขะ ขึ้น ๑๓ ค่้าแห่งเดือนไจตระ วันอาทิตย์พระจันทร์เสวยกกษ์ปยยะ (?)ข้าพเจ้าได้บูรณะแก้วอันประเสริฐ คือ เจดีย์องค์นี้ในปัจจุบันประดับด้วยทองและไม่อาจมีที่เปรียบได้ในประเทศนี้…..”

    แม้ไม่ปรากฏศักราชใดๆ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็สันนิษฐานไว้ว่าน่าจะถูกจดจารขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗เนื่องจากรูปแบบตัวอักษรในจารึกนี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับตัวอักษรที่ปรากฏบนศิลาจารึก "มยเจดีย์" (Mayazedi) ของพระเจ้าจันสิตถา(Kyanzittha) กษัตริย์พุกาม (พม่า) ซึ่งจารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๑๖๒๘ และ ๑๖๓๐ นั่นหมายถึงมีการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ณ บริเวณที่เป็นแคว้นหริภุญไชย ซึ่งแม้จารึกนี้จะไม่ได้จงใจบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวโดยตรง แต่การประกาศถึงการบูรณะเจดีย์อันเนื่องจากแผ่นดินไหว ก็ทำให้ทราบได้โดยทางอ้อม

    เจดีย์ปริศนาอยู่ที่ไหน?
    จากร่องรอยหลักฐานที่ถูกจดจารในศิลาจารึกของพระเจ้าสววาธิสิทธิที่กล่าวถึง การบูรณะ ‘แก้วอันประเสริฐ’ นำมาซึ่งข้อสงสัยที่ว่า สถาปัตยกรรมใดในเมืองนี้คือเจดีย์ที่ถูกกล่าวถึง …. หรือกาลเวลาจะพาให้เจดีย์ตามที่ปรากฏในจารึกทรุดโทรมลงไปจนไม่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน ?

    ประเด็นนี้ ต้องมุ่งไปยังวัดจามเทวีซึ่งเป็นสถานที่พบจารึก ภายในวัดประกอบด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ๒ แห่งหนึ่งในนั้นคือ เจดีย์ทรงปราสาท ๘ เหลี่ยมขนาดเล็ก ก่อด้วยอิฐ มีพระพุทธรูปยืนประดิษฐานอยู่ในซุ้ม เหนือเรือนธาตุเป็นชั้นซ้อนลดหลั่น โดยชั้นบนสุดรองรับองค์ระฆัง ส่วนยอดบนสุดที่คาดกันว่าเป็นทรงกรวยได้หักพังลงไปแล้ว‘ตำนานมูลศาสนา’ ระบุถึงการสร้างเจดีย์องค์นี้โดยพระเจ้าสววาธิสิทธิ และสถาปัตยกรรมแห่งนี้เองที่นักประวัติศาสตร์ศิลปะสันนิษฐานว่าเป็นเจดีย์ที่พระองค์โปรดให้ปฏิสังขรณ์ โดยเรียกว่า ‘รัตนเจดีย์’ มีรูปแบบที่แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศิลปะทวารวดีและพุกามซึ่งผสมผสานกันอย่างลงตัว กลายเป็นศิลปะหริภุญไชยอันงดงามจารึกหลักนี้ นอกจากจะเป็นหลักฐานถึงเรื่องแผ่นดินไหวในแคว้นหริภุญไชยเมื่อครั้งอดีตแล้ว ยังท้าให้ทราบถึงประวัติของสถาปัตยกรรมเก่าแก่อันเป็นประโยชน์ต่อวงการประวัติศาสตร์ศิลปะอีกด้วยแถวใบระการูปสามเหลี่ยมทรงสูงประกอบกันเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งมีพระพักตร์สงบนิ่ง เปี่ยมด้วยความเมตตา การบูรณะปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าว อาจบอกกับเราว่า แม้ผืนแผ่นดินจะเคยสั่นไหวรุนแรงเพียงใด ก็มิอาจทำลายความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อพุทธศาสนาลงได้เลยปฐพียัง ‘หวั่นไหว’ เมื่อพระยาลิไทออกผนวช

    จารึกในยุคต่อมา ก็ยังกล่าวถึงเรื่องแผ่นดินไหว ดังเช่นจารึกของพระยาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย คือ ‘จารึกวัดป่ามะม่วง’ซึ่งมีถึง ๔ หลัก ได้แก่ เวอร์ชั่นภาษาเขมร บาลี และภาษาไทย ระบุมหาศักราช ๑๒๘๓ ตรงกับ พ.ศ. ๑๙๐๔ โดยตอนหนึ่งได้กล่าวถึงแผ่นดินไหวครั้งพระลิไทออกผนวช ความว่า

    “…ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว จึงรับเอาไตรสรณาคมน์ ขณะนั้นพื้นดินตอนล่างนี้ ก็หวั่นไหวทุกทิศ อธิษฐานบวชแล้ว จึงทรงเสด็จลงจากปราสาททอง บทจรไปถึงป่ามะม่วง เวลาที่เสด็จวางพระบาทลงบนพื้นธรณี แผ่นดินนี้ก็หวั่นไหวไปทุกทิศ….”

    (จารึกวัดป่ามะม่วง (ภาษาเขมร) ด้านที่ ๒)

    อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ระบุถึงแผ่นดินไหวในจารึกนี้มีลักษณะเป็นการสรรเสริญยกย่องบารมีของพระยาลิไทมากกว่าการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ต่างจากแผ่นดินไหวที่ปรากฏใน ‘พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐ’ ในยุคกรุงเก่าที่จะกล่าวถึงต่อไป

    อยุธยายศยิ่งฟ้า ก็ถึงคราแผ่นดินสะเทือน

    “ (จุล) ศักราช ๙๐๘ มะเมียศก เดือน ๖ นั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้านกพาน จึงสมเด็จพระเจ้ายอดฟ้าพระราชกุมารท่านเสวยราชสมบัติพระนครศรีอยุธยา ในปีนั้นแผ่นดินไหว”

    ข้อความข้างต้นปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหลวงประเสริฐซึ่งบันทึกเหตุการณ์ในรัชกาลพระยอดฟ้า แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๙ อย่างตรงไปตรงมาว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในปีแรกของการครองราชย์หลังจากนั้นมา ยังมีบันทึกเรื่องแผ่นดินไหวในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกหลายครั้ง ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับ
    เดียวกัน ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นที่เมืองก้าแพงเพชร เมื่อพ.ศ. ๒๑๒๗ ความว่า

    “ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์เป็นเจ้า เสวยราชสมบัติ ณ เมืองพิษณุโลก รู้ข่าวมาว่าพระเจ้าหงษากับพระเจ้าอังวะผิดกัน ครั้งนั้นเสด็จไปช่วยการศึกพระเจ้าหงษา ……..เสด็จออกตั้งทัพชัยต้าบลวัดยม ท้ายเมืองก้าแพงเพชร ในวันนั้นแผ่นดินไหว แล้วจึงทัพหลวงเสด็จกลับคืนมาพระนครศรีอยุธยา”

    พระนารายณ์เป็นเจ้า ในที่นี้ ไม่ใช่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่หมายถึง สมเด็จพระนเรศวร ซึ่งทรงขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกในฐานะพระมหาอุปราชแล้วเสด็จไปช่วยศึกพระเจ้าหงสา โดยตั้งทัพอยู่ที่เมืองก้าแพงเพชร ปรากฏว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้นดังที่ถูกบันทึกไว้ข้างต้น


    ล้านนาประเทศ เขตแผ่นดินไหว
    ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั้น รัฐทางภาคเหนือก็ประสบเหตุแผ่นดินไหวเช่นกัน โดยกินเวลาแรมเดือน จนมีบันทึกถึงการพังทลายของศาสนสถานต่างๆ เมื่อ พ.ศ. ๒๒๕๘ ตามที่ปรากฏใน พงศาวดารโยนก (ในพงศาวดารตอนเชียงใหม่ขึ้นพม่า)ความตอนหนึ่งว่า

    “ (จุล) ศักราช ๑๐๗๗ ปีมะเมีย สัปตศก เดือนเจ็ด ขึ้นหกค่้า ยามใกล้รุ่ง แผ่นดินไหวหนัก พระเจดีย์วิหารหักพังทลาย ๔ ตำบล แผ่นดินไหวอยู่ในเดือนนั้นทั้งเดือน ครั้นต่อมาถึงเดือนเก้า แรมสี่ค่้า แผ่นดินไหวหนักอีกครั้งหนึ่ง”

    ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีบันทึกถึงแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นเกือบทั่วดินแดนล้านนา คือ ใน จุลศักราช ๑๑๖๓ ตัวปีรวงเร้า (พ.ศ.๒๓๔๔) ซึ่งมีแผ่นดินไหวกินพื้นที่หลายแห่ง ทั้งน่าน, เชียงใหม่, ล้าพูน, ล้าปาง, แพร่, พะเยา จนท้าให้บรรดาเจดีย์น้อยใหญ่ต่างช้ารุดหักพังช่างน่าเศร้าใจ ตามความตอนหนึ่งใน ‘พงศาวดารเมืองน่าน’ ดังนี้

    “…แผ่นดินก็ร้องครางสนั่นหวั่นไหวมากนักแก้วอันในยอดพระธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง นั้นก็พอสะเด็นตกลงมายอดพระธาตุเจ้าสุเทพเชียงใหม่ และยอดพระธาตุเจ้าล้าพูน และยอดพระธาตุเจ้าล้าปาง นครและยอดพระธาตุเจ้าฉ้อแฮ เมืองแพร่ และชื่อพระวิหารหลวงเมืองพะเยาที่พระเจ้าตนหลวงอยู่นั้นก็สะเด็นตกลงถ้้า เดียวกัน ในขณะนั้นเสี้ยวแลในเดือนเดียวนี้ฮอดแรม ๑๔ ค่้า ก็ซ้้าไหวแถมทีหนึ่ง …..”

    เอกสารโบราณเหล่านี้ ช่วยให้เราจินตนาการถึงแผ่นดินไหวซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกหรือรอยเลื่อนในระยะต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ระยะไหวเตือน (Foreshock) ซึ่งเป็นการสั่นสะเทือนล่วงหน้าเบาๆ ก่อนถึงระยะไหวใหญ่ (Mainshock) ที่มีความรุนแรงมากที่สุด ตบท้ายด้วยระยะไหวตาม (Aftershock)ซึ่งเป็นระยะสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นตามมาอีกหลายครั้งและอาจใช้เวลาหลายวันกว่าจะนิ่งสนิท แต่น่าเสียดายที่เราไม่ได้รับรู้ถึงความเสียหายของบ้านเรือน หรือผลกระทบที่มีต่อผู้คนมากนัก เพราะเอกสารส่วนใหญ่มักบันทึกเพียงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับปูชนียสถานส้าคัญทางพุทธศาสนาเป็นหลัก


    แรงเยี่ยงนี้ กี่ริกเตอร์ ?

    หากลองคิดเล่นๆถึงจ้านวนริกเตอร์โดยเปรียบเทียบข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยากับข้อความตามเอกสารที่บันทึกไว้ถึงแผ่นดินไหวหลายครั้งในล้านนา คาดว่าอย่างน้อยที่สุดน่าจะแตะ ๖ ริกเตอร์ ซึ่งเป็นขนาดที่ท้าให้เกิดการสั่นไหวจนอาคารเริ่มเสียหายหรือพังทลาย โดยยังมีพยานหลักฐานที่เห็นได้ชัดเจนมาจนถึงปัจจุบัน คือ ยอดพระเจดีย์หลวง ซึ่งหักลงมาเมื่อคราวเกิดฝนตกและแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเมืองเชียงใหม่ ในพ.ศ. ๒๐๘๘ ตรงกับรัชกาลพระมหาเทวีจิระประภา ดังปรากฏใน ‘ต้านานพื้นเมืองเชียงใหม่’ ความว่า

    “แรม ๔ ค่้า ยามแตรค่ำ แผ่นดินไหวห่วนร้องครังครางมากนัก ยอดมหาเจติยหลวงและเจติยวัดพระสิงห์หักพัง”

    หลังจากแผ่นดินไหวครั้งนั้น เจดีย์หลวงก็ถูกปล่อยทิ้งร้างไปนานกว่า ๔๐๐ ปี จนกระทั่งกรมศิลปากรเข้ามาบูรณะโดยคงไว้ซึ่งยอดพระเจดีย์ที่หักพัง เสมือนตอกย้้าเหตุการณ์อันเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่จะเห็นได้ว่า ดินแดนทางภาคเหนือมีบันทึกเรื่องแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง แม้แต่ปัจจุบันก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยาอธิบายว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่แนวตะเข็บของเปลือกโลกซึ่งมีโอกาสขยับตัวได้ตลอดเวลา จากการสำรวจของกรมทรัพยากรธรณีพบว่าภาคเหนือเป็นพื้นที่ซึ่งมีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ ล้าพูน พะเยา น่านลำปาง แต่ที่เสี่ยงภัยที่สุด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน และเชียงราย ซึ่งเป็น ๒ ใน ๔ จังหวัดที่อันตรายต่อการเกิดแผ่นดินไหวที่สุดในประเทศไทย (อีก ๒ จังหวัดคือ กาญจนบุรี และ ตาก) เพราะอยู่ใกล้รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวจะสร้างความเสียหายมากมาย แต่ก็ยังมีแง่มุมดีๆ ที่เราอาจคาดไม่ถึง

    เพราะปรากฏการณ์ดังกล่าวเป็นการลดความเครียดที่สะสมอยู่ภายในโลก เพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการสะสมตัวของแหล่งแร่อีกด้วย
    ไหวในเมืองพม่า สะเทือนมาถึงบางกอกล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ นายแพทย์ แดน บีช แบรดลีย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือ ‘หมอบรัดเลย์’ แพทย์
    ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในสยาม ก็เคยบันทึกถึงแผ่นดินไหวในกรุงเทพฯ เมื่อ จุลศักราช ๑๒๐๑ ปีกุน ตรงกับวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๘๒ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ส้าคัญคือ มีการระบุถึงจุดเริ่มต้นของแผ่นดินไหว ซึ่งเกิดขึ้นในพม่าอีกด้วย ดังความว่า

    “....แผ่นดินไหว ๓ ครั้ง ถึงน้้าในแม่น้้าคลองกระฉ่อน ต้นเดิมไหวในเมืองพม่า”

    นับเป็นการบันทึกเกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างสั้นๆ แต่ให้ข้อมูลลึกไปถึงต้นก้าเนิดคือพม่า ซึ่งถือเป็นแนวแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ประเทศไทย อันได้แก่ ทะเลอันดามัน พม่า และตอนใต้ของประเทศจีน หากเกิดแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ ๖ริกเตอร์ขึ้นไปในบริเวณที่กล่าวมานี้ จะมีความสั่นสะเทือนเข้ามาถึงในดินแดนไทยได้ตัดฉากมาถึงยุคปัจจุบัน แม้ว่าเราจะส่งคนไปถึงดวงจันทร์ สร้างสรรค์หุ่นยนต์อัจฉริยะ หรือคิดค้นนวัตกรรมที่ล้้ายุคเพียงใด แต่สิ่งที่มนุษย์ยังท้าไม่ได้ก็คือ การค้านวณล่วงหน้าว่าผืนปฐพีจะขยับตัวอีกทีที่ไหนและเมื่อไหร่ และนี่ก็คือหนึ่งในความน่ากลัวของแผ่นดินไหว ดังนั้นสิ่งเดียวที่อาจท้าได้ในตอนนี้ก็คือการหันมาเรียนรู้ที่จะรับมืออย่างมีสติ


    ….เพราะไม่ว่าจะอย่างไร ปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนี้ จะยังคงอยู่คู่โลกต่อไป ไม่ว่าอีกกี่ร้อยกี่พันปีตราบที่มันยังไม่แตกดับลงไปตามคำทำนายเสียก่อน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ศิลาจารึกวัดกิ่วพราว
    ต.จันจวาใตอ.แมจัน จ.เชียงราย
    จ.ศ.๑๐๓๒ (พ.ศ.๒๒๑๓)


    เนื่องจารึกไมสมบูรณจึงไมทราบเนื้อหาโดยตลอด แตพอสันนิษฐานไดวานาจะเปนตํานานที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทผาเรือ อันเปนสถานที่สําคัญแหงหนึ่งที่ไดรับการกลาวถึงในตํานานพระเจาเลียบโลก ปัจจุบันพระบาทผาเรือเรียกวาวัดพระพุทธบาทผาเรือ อยูในเขต ต.ทาขาวเปลือก อ.แมจัน จ.เชียงราย

    พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก

    พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก

    กัณฑ์ที่ ๙

    นโม ตสฺสตฺถุ ฯ ตตฺถ สตฺตเห ภควา วิหริตฺวา ตโต ภควา คนฺตวา อุญฺญตรสฺมี สมฺปตฺ


    ดูรา สัปบุรุษทั้งหลาย พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ดอยเกิ้งที่นั้นนานได้ ๗ วัน ก็เสด็จลงจากยอดภูเขาลูกนั้น ทรงดำเนินไปตามราวป่าแห่งหนึ่ง เสด็จลงสู่แม่น้ำระมิงค์ แล้วเสด็จเลียบไปตามฝั่งแม่น้ำขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นระยะทางประมาณ ๑๐,๐๐๐ วา (1 วา = 2 เมตร) ทรงพบลัวะคนหนึ่งกำลังสร้างระหัดพัดน้ำขึ้นใส่นาปลังอยู่ (ศัพท์นาปลังคือ นาดอ, นา เจียง) ลัวะผู้นี้ พอเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็รีบแก้ผ้าโพกศีรษะออกมาเช็ดพระบาทของพระพุทธองค์แล้วกลับเอาโพกหัวตามเดิม เมื่อเอาผ้าเช็ดพระบาทแล้ว ผ้าผืนนั้นก็กลายเป็นทองคำไปทั้งผืน ก็บังเกิดความยินดียิ่ง จึงกราบทูลอาราธนาว่า “ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขออาราธนานิมนต์ประทับอยู่โปรดเมตตาข้าพระองค์ในที่นี้ก่อนเถิด” พระพุทธเจ้าก็เสด็จประทับเหนือภูเขาลูกหนึ่ง มีอยู่ทิศตะวันตกบ้านลัวะที่นั้น

    ส่วน ลัวะผู้นั้น ก็รีบวิ่งไปหุงข้าวทำอาหารอย่างละ ๒ หม้อ คือข้าว ๒ หม้อ แกง ๒ หม้อ ในบัดดลนั้นข้าวและแกงอย่างละสองหม้อนั้นก็กลับกลายเป็นข้าวทิพย์และแกง ทิพย์ นำมาถวายแก่พระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์เสวยแล้ว ข้าวและแกงก็เหลือ แม้ถวายแก่พระอรหันต์ทั้งหลายก็เหลือ เมื่อพระพุทธองค์เสวยและพระอรหันต์ทั้งหลายฉันแล้ว พระเจ้าอโศกราชจึงตรัสแก่ลัวะผู้นั้นว่า “ดูราขุนหลวง ท่านมาสร้างระหัดพัดนั้ำขึ้นใส่นาปลังนั้น ไม่ต้องทำให้ลำบากใจเลย ท่านจงสมาทานเอาศีลจากพระพุทธเจ้าเถิด ข้าวของสมบัติที่ท่านจะกินจะบริโภคจะต้องเกิดมีอย่างมากมายเป็นแน่แท้” ลัวะผู้นั้นก็เข้ามากราบสมาทานเบญจศีลจากพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ทรงประทานเบญจศีลให้ เมื่อลัวะผู้นั้นรับเบญจศีลแล้ว ก็กราบอำลาคืนสู่เรือนของตน เมื่อถึงเรือนแล้ว ก็เห็นสิ่งของทุกชิ้นในเรือนกลับกลายเป็นทองคำไปสิ้น จึงรำพึงว่า “แต่ก่อนเราทำนาเกือบตาย ยังไม่พอเลี้ยงปากเล้ยงท้อง วันนี้เรารับศีลจากพระพุทธเจ้าแล้วกลับมาเรือนสิ่งของอันใดก็กลายเป็นทองคำ ไปสิ้น ศีลของพระพุทธเจ้าประเสริฐแท้ เราจะรักษาตลอดชีวิตของเราแล”

    สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากทรงให้ศีลแก่ลัวะผุ้นั้นแล้ว จึงตรัสแก่พระอรหันต์ทั้งหลายว่า “ดูรา ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อตถาคตมาถึงที่นี้พบลัวะกำลังทำระหัดพัดน้ำขึ้นใส่นา เมื่อถามแล้ว ลัวะก็ตอบว่า “สถานที่นี้แห้งหอดด้วยน้ำใช้ทำนา จึงต้องทำระหัดพัดน้ำใส่นา” ต่อไปภายหน้าเมืองนี้จะได้ชื่อว่า เมืองหอดน้ำ (หอดแปลว่า แห้งแล้ง, โหย หิว ปัจจุบันนี้เป็นอำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่) เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์จบแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลายและพระเจ้าอโศกราชจึงกราบทูลว่า “ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ฐานะที่นี้ดียิ่ง สมควรตั้งพระศาสนาไว้แห่งหนึ่ง ขอพระองค์ทรงมีพระเมตตาไว้พระเกศาธาตุเถิด” พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูราภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่นี้ไม่มีถ้ำช่องเขา ไม่สมควรจะไว้ธาตุ” แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จลุกจากที่นั้น เสด็จไปตามฝั่งแม่ระมิงค์ขึ้นไปทางทิศเหนือไกลประมาณ ๑๐,๐๐๐ วา ก็ทรงพบหินก้อนหนึ่งรูปร่างเหมือนเต่า พระพุทธองค์ทรงประทับนั่งเหนือหินก้อนนั้น ในกาลนั้นมีพญานาคตนหนึ่งออกจากที่อยู่แห่งตน เข้ามาอภิวาทพระพุทธเจ้า เมื่อนั้นพระอรหันต์ พระเจ้าอโศกราชและพญานาค ก็ช่วยกันกราบทูลว่า “ข้าแด่พระพุทธองค์ผู้เจริญ ฐานะที่นี้ควรตั้งพระศาสนาไว้พระธาตุแท้แล” พระพุทธองค์ตรัสว่า “ฐานะที่นี้ไม่มีถ้ำ ไม่ควรไว้ธาตุ” จึงกราบทูลต่อไปว่า “แม้นว่าพระองค์ไม่ทรงไว้พระธาตุในสถานที่แห่งนี้ขอทรงพระกรุณาไว้รอยพระบาท เถิด” เมื่อกราบทูลแล้วพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทรงเหยียบรอยพระบาทไว้เหนือหินก้อน นั้น มีรอยลึกประมาณสี่นิ้วมือขวาง (ฝ่ามือตะแคง) ไว้เป็นที่สักการบูชาแก่คนและเทวดาทั้งหลาย แล

    พระพุทธเจ้าเสด็จจากที่นั้น ขึ้นไปทางทิศเหนือตามขุนเขาน้ำแม่ระมิงค์ไกลได้ ๑๔,๐๐๐ วา (บางฉบับว่า ๔,๐๐๐ วา) ทรงพบพญานาคตนหนึ่ง เป็นนาคที่ใจกักขฬะกล้าแข็งหยาบกระด้าง เมื่อมันเห็นพระพุทธเจ้าก็คิดว่า “กูจะทำร้ายบุรุษผู้นี้” พระพุทธองค์จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์บันดาลให้ยกกายไม่ขึ้น มันก็รู้สึกหนักหัวและหนักร่างกายยิ่ง มันจึงคิดว่า “กูก็เป็นผู้มีฤทธิ์ผู้หนึ่ง แต่บุรุษผู้นี้กลับมีฤทธิ์มากจริงหนอ” พระพุทธองค์จึงทรงสำแดงปาฏิหาริย์ให้มันเห็ฯมันจึงรู้ว่า “ที่แท้บุรุษผู้นี้ หากเป็นพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐแท้ๆ ขอพระองค์โปรดกรุณาให้ข้าพระองค์ยกหัวขึ้นและเคลื่อนไหวร่างกายได้เถิด ข้าพระองค์ไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้คิดกระทำผิดต่อพระองค์ บัดนี้ข้าพระองค์รู้สึกหนักหัวและหนักกายยิ่ง” พระพุทธเจ้าก็ทรงทราบสภาวะแห่งจิตที่อ่อนน้อมของพญานาค เป็นอันอ่อนละเอียดยิ่งนัก พระองค์ก็ทรงคลายอิทธิฤทธิ์ให้พญานาคเคลื่อนไหวตัวได้ มันก็ไปนำเอาอาสนะมาให้พระพุทธองค์ ประทับนั่งเหนือหินก้อนหนึ่งซึ่งกว้าง ๔ ศอก ยาว ๘ ศอก แล้วก็ไปนำเอาข้าวน้ำโภชนาหาร มาถวายทานแก่พระพุทธองค์ พระพุทธองค์เสวยไม่ได้ พญานาคก็บันดาลให้น้ำพุ่งออกมาจากแผ่นดินพร้อมทั้งขันทองคำบรรจจุน้ำ แล้วนำไปถวายแก่พระพุทธเจ้าให้ได้เสวย เมื่อพระพุทธองค์ทรงทำภัตตกิจแล้ว พญานาคก็สมาทานเบญจศีล พระพุทธองค์ก็ทรงประทานให้พญานาคก็ยิ่งเพิ่มศรัทธาปสาทะเป็นอันมาก จึงควักเอาดวงตาทั้ง ๒ ข้างถวายแก่พระพุทธองค์ แล้วก็เลิกพังพานกั้นเป็นร่มให้พระพุทธเจ้า กราบทูลขอรอยพระบาทจากพระพุทธองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพาตรัสว่า “ฐานะที่นี้พญานาคตนนี้ถวายดวงตาเป็นทานแก่ตถาคตต่อไปภายหน้าสถานที่นี้จัก ได้เป็นเมืองๆ หนึ่งจะปรากฏชื่อว่า มหานคร” แล้วพระพุทธองค์ก็เสด็จลุกขึ้น ทรงเหยียบรอยพระบาทไว้เหนือหินก้อนนั้น พญานาคก็ถวายอำลากลับไปสู่เมืองนาค อันเป็นที่อยู่แห่งตน ในขณะนั้นดวงตาทิพย์ก็เกิดมีขึ้นแก่พญานาค นับเป็นดวงตาที่แจ่มใสยิ่งกว่าเดิมด้วยอานิสงส์ที่ได้ถวายดวงตาเป็นทานแก่ พระพุทธเจ้านั้นแล

    จาก นั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จเลียบขึ้นไปทางทิเศเหนือ ทรงบรรลุถึงสถานที่แห่งหนึ่ง แล้วทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา ทรงรำพึงว่า “อายุตถาคตได้ ๖๐ พรรษาแล้ว ยังคงเหลืออีก ๒๐ พรรษาก็จะปรินิพพาน ธาตุตถาคตจะมาบรรจุในเมืองนี้มากกว่าเมืองอื่น” ธรรมสังเวชก็บังเกิดแก่ตถาคตต่อไปภายหน้าสถานที่นี้จักได้ชื่อว่า สังเวคฐานเจดีย์ แล

    จากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปสู่ทิศตะวันออกประมาณ ๑,๐๐๐ วา (บางฉบับว่า ๒,๐๐๐ วา) เสด็จไปถึงบ้านกุมภการเศรษฐี ยังมีลัวะผู้หนึ่งเป็นเศรษฐีช่างหม้อ ปั้นหม้อขายและเป็นนายบ้านที่นั้น เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาจึงทูลถามว่า “เจ้ากูจะไปที่ไหนหนอ” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “เราตถาคตจาริกมาถึงเมืองที่นี้เพื่อจะโปรดสัตว์ทั้งหลาย” กุมภการเศรษฐีจึงกราบทูลว่า “เจ้ากู หากเป็นพระพุทธเจ้าเป็นแน่แท้” จึงกราบทูลอาราธนาว่า “ข้าแด่พระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าขอโปรดมีพระมหากรุณาธิคุณสถิตประทับโปรดเมตตาข้าพระองค์ทั้งหลายใน ที่นี้สัก ๗ วันเถิด” แล้วกุมภการเศรษฐีก็สร้างกุฎีหลังเล็กถวายเพื่อให้พระพุทธองค์ประทับสำราญ อยู่ ชาวบ้านทั้งหลายก็นำข้าวน้ำโภชนาหารมาถวายแก่พระพุทธองค์ ทรงรับแล้วก็ทรงอนุโมทนา แล้วตรัสแก่พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชว่า “ดูรา ภิกษุทั้งหลาย เมื่อตถาคตมาถึงที่นี้ลัวะทั้งหลายนำข้าวน้ำโภชนาหารมาถวาย แล้วอาราธนาว่า “ขอพระองค์จงภุญชาเถิด ต่อไปภายหน้าสถานที่นี้จะกลายเป็นเมืองๆ หนึ่งปรากฏชื่อว่า ภุญชานนคร ขณะนั้นพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชก็กราบทูลขอเอาพระเกศาธาตุว่า “ฐานะที่นี้ควรตั้งพระศาสนาของพระพุทธเจ้า ขอพระองค์โปรดเมตตาประทานพระเกศาธาตุเถิด” พระพุทธองค์ก็ทรงลูบพระเศียร ได้พระเกศาธาตุมาหนึ่งองค์ ทรงประทานแก่พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราช จึงพร้อมด้วยพวกลัวะทั้งหลายมีกุมภการเศรษฐี เป็นต้นจึงขุดหลุมลึก ๑๐๑ วา แล้วอัญเชิญพระเกศาธาตุใส่ในกระบอกไม้ซาง บรรจุใส่ในผอบทองคำใหญ่ ๘ กำมือ นำลงไปบรรจุในหลุม ลัวะทั้งหลายก็นำเอาสมบัติสิ่งของทั้งหลายสิบเจ็ดแสนใสส่ลงไปบูชาพระเกศา ธาตุ แล้วก่อเจดีย์ทองคำสูง ๗ ศอก ครอบผอบทองคำไว้ พระอินทร์ก็ทรงเนรมิตยนตร์จักรผันไว้ใช้ดินกลบถมจนเรียบร้อย แล้วสมเด็จพระพุทธเจ้าจึงตรัสแก่พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชว่า “เมื่อใดตถาคตนิพพานไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงนำเอา ธาตุกระดูกกระหม่อมหัวซีกขวา แห่งตถาคตมาประดิษฐานไว้ ณ ที่นี้”

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เสด็จจากที่นั้นขึ้นไปทางทิศเหนือไกลประมาณ ๑๐,๐๐๐ วา ทรงบรรลุถึงบ้านลัวะแห่งหนึ่งทรงพบม่าน (พม่า) ผู้หนึ่งนำหมากสดและพลูเหลืองซ้อนกันถวายแก่พระพุทธเจ้าว่า “ข้าแด่พระพุทธเจ้าพระองค์โปรดค้มชีชา (บางฉบับว่า ทีชา เข้าใจว่าหมายความถึง ฉัน, เสวย) เถิด” พระพุทธองค์ทรงรับล้วก็เสวยหมากพลูนั้น ม่านผู้นั้นก็นำข้าวน้ำมาถวายแก่พระพุทธเจ้าในเวลานั้นพระอาทิตย์กำลังจะเที่ยง

    พระ พุทธองค์ทรงประทับอยู่ที่นั้น ๑ วัน ตรัสแก่พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชว่า “เมื่อตถาคตมาถึงที่นี้ มีม่านผู้หนึ่งเอาหมากสดกับพลูมาถวายตถาคตแล้วบอกว่า “ท่านจงค้อมชีชาเถิด” ต่อไปภายหน้าบ้านนี้จะได้ชื่อว่าบ้านชีชาง ต่อไปจะแปรไปว่า เวียงกุมกาม (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่) พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชจึงกราบทูลว่า “สถานที่นี้ควรตั้งพระศาสนาไว้แล” แล้วก็ทูลขอพระเกศาธาตุจากพระพุทธองค์ก็ทรงให้พระหัตถ์ขวาลูบพระเศียร ได้พระเกศาธาตุหนึ่งองค์ ทรงประทานแก่เขาทั้งหลายคือ แก่พระอรหันต์ พระเจ้าอโศกราชและลัวะทั้งหลาย แล้วลัวะและม่านผู้นั้นก็ขุดหลุมลึก ๑๐๑ ศอก กว้าง ๑๐๑ ศอก อัญเชิญพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้รวก นำเข้าใส่ในผอบทองคำใหญ่ ๗ กำมือ อัญเชิญลงไปบรรจุในก้นหลุมที่ขุดนั้น ม่านผู้นั้นนำสมบัติสิ่งของบรรจุบูชาพระเกศาธาตุหนึ่งล้าน พระอินทร์ทรงเนรมิตยนตร์จักรผันป้องกันไว้ แล้วกลบหลุมนั้น สร้างพระเจดีย์ครอบ ก่อสูง ๒ ศอก (บางฉบับว่า ๑๐ ศอก) เป็นที่หมายพระบรมธาตุ แล้วพระพุทธองค์ทรงสั่งว่า “เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้วจงนำเอาธาตุกระดูกคางข้างขวาของตถาคตมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เถิด” พระอรหันต์ พระเจ้าอโศกราช พระอินทร์และพระมหาอานนท์ นอนพักแรมอยู่ในสถานที่นั้น

    ส่วน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปพักประทับนอนอยู่ที่ภูเขาลูกเล็กหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันตก พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่ต้นหนึ่ง ซึ่งใหญ่ประมาณ ๘ กำ สูง ๑๕ ศอก ทรงประทับอยู่เมตตาในที่นั้นตลอดราตรี ในกลางคืนนั้นเทพยดาทั้งหลายก็โสมนัสยินดีจึงบันดาลให้ฝนเงิน ฝนทองคำตกลงมาบูชาพระพุทธองค์ ครั้นสว่างขึ้นมา แก้ว เงิน ทองคำ เหล่านั้นก็หายเข้าไปสู่ใต้ภูเขาลูกเล็กนั้น เป็นไปเพราะพุทธานุภาพ เหตุนั้นภูเขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า ดอยเขาคำหลวง (พระธาตุดอยคำ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่) แล้วพวกเทพยดาทั้งหลายก็กราบทูลขอรอยพระบทจากพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ตรัสว่า “สถานที่นี้ไม่มีที่จะไว้รอยพระบาทตถาคต” พอรุ่งสว่างดีแล้วก็เสด็จไปทางทิศตะวันออกทรงพบหินก้อนหนึ่งงดงามยิ่ง ทรงประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงทอดพระเนตรดูสถานที่แห่งนั้นแล้วก็ทรงรำพึงว่า “สถานที่นี้ต่อไปภายหน้าจักเป็นมหานครเมืองใหญ่ จักเป็นที่อยู่แห่งมหากษัตริย์และคนทั้งหลาย ศาสนาตถาคตจะมาดำรงอยู่ในเมืองที่นี้เป็นที่รุ่งเรืองยิ่ง จักปรากฏชื่อเสียงไปทั่วทิศ ในเมืองนี้จะมีอารามใหญ่อยู่ ๘ หลัง (บางฉบับว่า ๖ หลัง ความจริงต้องเป็น ๘ หลัง) เมื่อเป็นเช่นนี้ เราตถาคตจะไปนั่งภาวนาในอัฏฐมหามงคลสถานทั้ง ๘ นั้นเหมือนดังที่เคยภาวนาที่โสฬสสถาน ๑๖ แห่ง ในเมืองลังกาทวีปนั้นเถิด” ทรงรำพึงเช่นนี้แล้วเสด็จลุกขึ้นแล้วทรงเหยียบรอยพระบาทไว้เหนือหินที่ ประทับนั่ง แล้วเสด็จลงไปประทับอยู่ที่โคนต้นไม้ บุนนาค (มณฑา) ต้นหนึ่งมีคนแก่ ๒ คนปลูกดอกบุนนาคแล้วนำดอกบุนนาคไปขายเลี้ยงชีวิต ทั้งสองคนเห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ที่นั้น จึงนำเอาดอกบุนนาคมาบูชาพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสว่า “สถานที่ตรงนี้ต่อไปภายหน้าคนทั้งหลายจะมาสร้างอารามใหญ่หลังหนึ่ง จะปรากฏชื่อว่า บุปฝาราม (วัดสวนดอก) เมื่อนั้นพระอรหันต์ พระเจ้าอโศกราชก็กราบทูลว่า “ข้าแต่พระพุทธองค์ประเสริฐ ในฐานะที่ควรตั้งพระศาสนาที่หนึ่ง ขอพระองค์โปรประทานพระเกศาธาตุแก่ข้าพระองค์เถิด” พระพุทธเจ้าทรงลูบพระเศียรด้วยพระหัตถ์ขวา ได้พระเกศาธาตุหนึ่งองค์แล้วตรัสว่า “สถานที่ที่จะบรรจุเกศาธาตุไม่ใช่มีแห่งเดียว แต่ว่ามีถึง ๓ แห่ง” ตรัสแล้วทรงวางพระเกศาธาตุไว้เหนือพระหัตถ์ขวาแล้วทรงอธิษฐานว่า “หากฐานะที่นี้จะเป็นที่ตั้งพระศาสนาและจักเกิดเป็นอารามใหญ่แท้ เกศาธาตุนี้จงกลับกลายเป็น ๓ องค์เถิด” เมื่อจบพระอธิษฐานแล้ว พระเกศาธาตุหนึ่งองค์ทรงบรรจุไว้ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง จึงปรากฏชื่อว่า บุปผาราม (วัดสวนดอกไม้) ในกาลบัดนี้ (วัดสวนดอก อำเภอเมือง เชียงใหม่)

    ต่อ จากนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงประทับนั่งที่ดคนไม้หกกอหนึ่ง แล้วทรงพยากรณ์ว่า “ต่อไปภายหน้าสถานที่นี้จะได้ชื่อว่า ป่าเวฬุนาราม แล้วพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชก็ทูลขอพระเกศาธาตุหนึ่งองค์ บรรจุไว้ในที่นั้นปรากฏชื่อว่า เวฬุวันวัดป่าหก บัดนี้แล จากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทรงประทับนั่งแล้วทรงพยากรณ์ว่า “ในฐานะที่นี้ต่อไปภายหน้า คนทั้งหลายจะมาสร้างอารามขึ้นเป็นอารามใหญ่จะได้ชื่อว่า บุพพาราม ตามนิมิตที่อยู่ในทิศตะวันออก พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชก็ทูลขอพระเกศาธาตุหนึ่ง องค์ประดิษฐานไว้ในที่นั้นเลยได้ชื่อว่า วัดบุพพาราม จนตราบทุกวันนี้

    ต่อ จากนั้นสมเด็จพระชินสีห์เจ้า ก็เสด็จพรากจากที่นั้น ในระหว่างทางทรงพบชีม่าน (นักบวชชาวพม่า) คือนักบวช ๒ รูป นุ่งผ้าน่าเกลียดยิ่งนัก นักบวชทั้งสองเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็ถวายอภิวาทและเอาบาตรถวายทานแก่พระพุทธองค์ ๒ ลูก พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ท่านทั้งสองนุ่งผ้าน่าเกลียดยิ่ง ไม่เป็นสมณสารูปแม้แต่น้อย” ชีม่านทั้งสองรูปเลยบังเกิดความละอายก็เลยสึกจากเพศนักบวชนั้น ทูลขอบวชต่อพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ก็ทรงบวชให้ด้วยวิธีเอหิภิกขุแล้วตรัสแก่พระอินทร์, พระ เจ้าอโศกราชและพระอรหันต์ทั้งหลายว่า “ต่อไปภายหน้าสถานที่ที่นี้จักเป็นที่ที่มีกษัตริย์มหาศาล และเพราะสถานที่นี้ ชีม่านสึกจากเพศนักบวชแบบเดิมอันไม่เรียบร้อยแล้วขอบวชใหม่ ได้เป็นเอหิภิกขุเช่นนี้ สถานที่นี้จักเป็นเมืองชื่อว่า อภินวนคร คือเวียงเชียงใหม่ เหตุดังนี้เมืองนี้จึงชื่อว่า เมืองเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้

    เมื่อ ตรัสพยากรณ์เช่นนั้นแล้ว ก็เสด็จไปทางทิศตะวันตก มีลัวะ ๒ คนยิงกระทิง คือวัวเถื่อนเอาเนื้อมาย่างไว้ เขาทั้งคู่จึงนำข้าวและเนื้อกระทิงย่างนั้นถวายแก่พระพุทธเจ้า พระพุทธองค์เสวยแล้วตรัสพยากรณ์ว่า “ต่อไปภายหน้าสถานที่นี้คนทั้งหลายจะมาสร้างอาราม จะปรากฏชื่อว่า อโศการาม ตามนิมิตที่ลัวะย่างเนื้อแห้งนั้นแล” พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชจึงทูลขอพระเกศาธาตุหนึ่งองค์อัญเชิญบรรจุไว้ใน สถานที่นั้นและได้ปรากฏชื่อว่า วัดอโศการาม จนถึงกาลบัดนี้ (วัดป่าแดงหลวง ต.สุเทพ จ.เชียงใหม่)

    พระ พุทธเจ้าเสด็จจากที่นั้นไปสู่ทิศใต้ ทรงประทับนั่งอยู่ที่แห่งหนึ่ง มีลัวะสองคนเอามะม่วง ๒ ผลมาถวายแก่พระพุทธเจ้า ลัวะทั้งหลายก็นำมะปราง มะขุนและข้าวซ้อมมืออันขาวงามมาถวายแก่พระพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธองค์เสวยแล้ว พวกเขาก็เอาส้มป่อยและน้ำหอมถวาย พร้อมทั้งน้ำสำหรับสรงและน้ำสำหรับล้างพระหัตถ์ พระพุทธองค์ก็ทรงสงน้ำและสระพระเกศา ก็ประทับอยู่ทรงแสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนพวกลัวะทั้งหลายตลอด ๓ วัน ๓ คืน แล้วทรงพยากรณ์ว่า “ต่อไปภายหน้าคนทั้งหลายจะมาสร้างอารามขึ้น ณ สถานที่นี้เป็นอารามใหญ่ จักปรากฏชื่อว่า พืชอาราม (วัดหลวงศรีเกิด อ.เมือง จ.เชียงใหม่) แล้วพระเจ้าอโศกราชก็ทูลขอพระเกศาธาตุอัญเชิญบรรุจุไว้ในสถานที่นั้น

    สม เด็จพระภควันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จจากที่นั้นไปสู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงประทับอยู่ที่แห่งหนึ่ง เวลานั้นชีม่าน คือนักบวชม่าน ๗ รูป มานอนอยู่ในที่นั้น พวกเขาเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามา ก็ถวายอภิวาทพระพุทธองค์ตรัสว่า “สถานที่นี้มีชีม่านมานอนอยู่ ต่อไปภายหน้าคนทั้งหลายจะมาสร้างอารามใหญ่อารามหนึ่ง จักปรากฏชื่อ สังฆาราม พระเจ้าอโศกราชก็ทูลขอพระเกศาธาตุหนึ่องค์ ทรงบรรจุไว้ในสถานที่นั้น สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า สังฆาราม (วัดเชียงมั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่) จนตราบถึงปัจจุบันนี้

    จาก นั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลัวะคนหนึ่งเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมตตา ก็รีบปลูกกระท่อมใหญ่หลังหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าประทับสำราญอยู่ในกระท่อม พระพุทธองค์ก็ทรงสงเคราะห์เมตตาประทับอยู่จนสิ้น ๑ ราตรีแล้วตรัสพยากรณ์ว่า”เมื่อตถาคตมากถึงที่นี้ ทิมฬมีความยินดีปีติมาก สร้างกระท่อมให้ตถาคตอยู่สำราญ ควรแก่การโสมนัสยินดียิ่ง ต่อไปภายหน้า คนทั้งหลายจะมาสร้างอารามใหญ่ในที่นี้ จะปรากฏชื่อว่า นันทาราม แล้วพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชก็ทูลขอพระเกศา ธาตุหนึ่งองค์บรรจุไว้ในสถานที่นั้น

    ต่อ จากนั้น ลัวะก็อาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปเมตตาที่บ้านของเขา พระพุทธเจ้าก็เสด็จเคลื่อนจากที่นั้นไปถึงบ้านของลัวะ ประทับเหนือแท่นอาสนะท่ามกลางบ้านแห่งนั้น ลัวะผู้นั้นก็บังเกิดความยินดีปสาทศรัทธายิ่ง จึงฝังค้างฉัตร ธงแผ่นผ้าถวายบูชาพระพุทธเจ้า ในเวลานั้นยังมีนักบวชม่านรูปหนึ่ง มีอายุได้ ๑๒๐ ปี บริบูรณ์ได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมา ก็บังเกิดปสาทะยินดีมาก ว่า “ตั้งแต่เราเกิดมาอายุถึง ๑๒๐ ปี และได้บวชนอกศาสนา หาประโยชน์สิ่งใดมิได้ บัดนี้มาพบเห็นพระพุทธเจ้าตอนชราเช่นนี้ดียิ่งนักไ แล้วก็แก้ผ้าสไบชุบน้ำมันจุดบูชาพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์จึงตรัสพยากรณ์ว่า “เมื่อตถาคตมาถึงที่นี้เขาทั้งหลายมาปักฉัตรและธงถวายบูชา ชีม่านก็จุดผ้าสไบบูชาเป็นอันรุ่งโรจน์โชตนาการยิ่งต่อไปภายหน้า คนทั้งหลายจะมาสร้างวัดที่นี้ เป็นอารามอันใหญ่แห่งหนึ่งจะปรากฏนาม โชติอาราม พระเจ้าอโศกราชและพระอรหันต์ทั้งหลายก็ทูลขอพระเกศาธาตุเอาบรรจุไว้ในกระบอก ไม้วาง ใส่ในผอบทองคำใหญ่ ๗ กำมือ ลัวะทั้งหลายก็ขุดหลุมลึก ๔๐๐ ศอก แล้วอัญเชิญพระเกศาธาตุลงบรรจุในก้นหลุมเอาสมบัติข้าวของถมใส่เป็นจำนวนมาก พระอินทร์ทรงเนรมิตรยนต์จักรผันป้องกันไว้ แล้วก็กลบก่อเจดีย์ครอบสูง ๓ ศอก (บางฉบับว่า ๓๐๐ ศอก) พระพุทธองค์ทรงสั่งพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชไว้ว่า “เมื่อเราตถาคตนิพพานไปแล้ว ท่านทั้งหลายจงเอาธาตุอุ้งมือข้างขวาของตถาคตมาไว้ที่นี้เถิด”

    ต่อ จากนั้นพระพุทธเจ้าก็เสด็จลงมา ทรงบรรลุถึงบ้านกุมภะ คือ ว่าบ้านเศรษฐีช่างหม้อ ก็ทรงประทับอยู่เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ๓ วัน ๓ คืนและทรงแสดงอานิสงส์สร้างพระพุทธเรูป ให้แก่เศรษฐีฟัง เศรษฐีช่างหม้อได้ฟังแล้วบังเกิดความยินดีเป็นอันมาก มีความประสงค์อยากจะสร้างพระพุทธรูป ทั้งหลายจึงประกาศบอกกล่าวแก่ชาวบ้านทั้งหลาย ทมิฬทั้งหลายก็นำสิ่งของมารวมกันช่วยกันจัดวัตถุทาน ชักชวนกันเอาดินที่ใช้ปั้นหม้อมาปั้นพระพุทธรูปได้พระพุทธรูป ๓,๓๐๐,๐๐๐ องค์ สร้างฐานสร้างแท่นแล้วก็นำมาบูชาพระพุทธเจ้า

    ทมิฬ ทั้งหลายมีกุมภเศรษฐีเป็นประธาน ก็พร้อมกันกราบไหว้สักการบูชาพระพุทธรูปเหล่านั้น ตามกำลังศรัทธาแห่งตน สมเด็จพระพุทธจ้าตรัสว่า “สาธุ สาธุ ดีนักแล ดูราภุมภเศรษฐี ท่านทั้งหลายพร้อมใจกันสร้างรูปแห่งตถาคต เพื่อไว้เป็นที่สักการบูชาเป็นการดียิ่งนัก เมื่อตถาคตนิพพานไปแล้ว สถานที่นี้จักเป็นมหานครใหญ่แห่งหนึ่ง ศาสนาแห่งตถาคตจะมาตั้งอยู่ในเมืองที่นี้ จักรุ่งเรืองจำเริญเป็นอันมาก คนทั้งหลายที่เกิดมาในกาลยามนั้น ก็จะบำเพ็ญบุญกุศลเขาจะได้ถึงมรรคถึงผลในศาสนาแห่งตถาคต หากว่าบุญบารมียังหย่อน ไม่อาจบรรลุถึงพระนิพพานในศาสนาแห่งตถาคตได้ พวกเขาก็จะมาถึงมรรคถึงผลในศาสนาแห่งพระอริยเมตไตรยเจ้า” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสตรัสจบแล้ว พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราช ก็ช่วยกันขุดหลุมลึก ๗ ศอก แล้วนำพระพุทธรูปทั้งหมดนั้น ลงฝันในหลุมนั้นกลบถามเสียเป็นอันดี พระพุทธองค์ก็ทรงเล็งดูอนาคตกาลที่จะมาภายหน้า แล้วทรงพยากรณ์ว่า “เมื่อใดพระพุทธรูปที่ปั้นด้วยดินเหล่านี้ปรากฏขึ้นมา ให้คนและเทวดาทั้งหลายได้กราบไหว้สักการบูชา เมื่อนั้นศาสนาเราตถาคตก็จะรุ่งเรืองจำเริญเป็นอันมากแล”

    เมื่อ ทรงพยากรณ์เช่นนี้แล้ว พระพุทธเจ้าก็ทรงพาพระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราช เสด็จไปสู่ ดอยนางนอน (บางฉบับว่า ดอยนั่งนอน) ที่นั้น ตรัสว่า “สถานที่นี้ควรตั้งพระศาสนาแล” พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราชก็กราบทูลขอพรเกศาธาตุ พระพุทธองค์ก็ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศาธาตุมาหนึ่งองค์ ก็ทรงประทานให้พระอรหันต์และพระเจ้าอโศกราช บรรจุกระบอกไม้ซาง ใส่ผอบลงในก้มหลุม พระอินทร์ทรงเนรมิตยนต์จักผันป้องกันไว้ พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ธาตุตถาคตองค์นี้ จะปรากฏชื่อว่า พระธาตุดอยนางนอน (พระธาตุจอมแจ้ง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่)

    จาก นั้น พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปสู่เมืองยวม (ขุนยวม) ทรงเหยียบรอยพระบาทไว้ที่นั้นหนึ่งรอย แล้วเสด็จไปสู่เมืองธราง (บางฉบับว่า เมืองบราง) ก็ทรงเหยียบรอยพระบาทไว้ที่นั้นหนึ่งรอย แล้วก็เสด็จไปสู่ เมืองแซร (แปร) เมืองตะโค่งตามลำดับ จนบรรลุถึงเมืองกุสินารา และพระวิหารเชตวัน ทรงจำพรรษาที่นั้น

    คราว เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปโปรดสั่งสอนเวไนยสัตว์ปางนั้น เมื่อเสด็จไปถึงที่ใดคนและเทวดาทั้งหลายก็บังเกิดความเลื่อมใสศรัทธาได้ทูล ขอบวชและติดตามพระพุทธองค์ทุกบ้านทุกเมือง เมืองละรูปสองรูป ได้ภิกษุ ๑๐๐ รูปเป็นบริวาร ติดตามพระพุทธองค์เข้ามาถึงพระวิหารเชตวนาราม ดูเป็นที่รุ่งเรืองงดงามเป็นอันมาก

    ใน การเสด็จจาริกสั่งสอนเวไนยสัตว์ ทรงพยากรณ์พระบาท พระธาตุและบ้านเมืองทั้งหลายนั้น เป็นพรรษาที่ ๒๕ หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วพระชนมายุ ๖๐ พรรษา ก็มีด้วยประการดังกล่าวมานี้แล

    ดูรา สัปบุรุษทั้งหลาย ยังมีในกาลครั้งหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าองค์ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่ง ทรงรำพึงถึงพระยายักษ์ใหญ่ตนหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่ ดอยอ่างสรง (ถ้ำเชียงดาว) อันมีอยู่ในเมืองหริภุญชัย (เวลานั้นเมืองหริภุญชัยคือเมืองลำพูน มีอาณาเขตถึงเชียงดาว) พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยทิพยจักขุญาณแห่งพระองค์ แล้วก็เสด็จไปสู่บริเวณเขตแดนดอยอ่างสรงที่นั้น

    ส่วน พระยายักษ์ที่อาศัยอยู่ในดอยอ่างสรงนั้น มีมีปรกติแสวงหาคนและสัตว์มากินเป็นอาหารเสมอมาเป็นประจำ ในวันนั้น พระยายักษ์ก็ออกจากที่อยู่แห่งตน เพื่อไปแสวงหาอาหาร มันไปทางใดก็ไม่พบคนหรือสัตว์แม้แต่ตัวเดียว แล้วมันก็ไปพบพระพุทธเจ้า เมื่อมันเห็นแล้ว มันหาได้รู้ว่าเป็นพระพุทธเจ้า มันคิดว่า “โชคกูยังดีอยู่ ถึงได้มาพบมาปะชายผู้นี้ อาหารของกูเดินทางมาหากูแล้ว” เมื่อมันเห็นเช่นนั้นแล้ว ก็แสดงฤทธิ์เดชอันเป็นยักษ์แห่งมัน แล้วก็วิ่งไปหาพระพุทธเจ้า ด้วยอาการอันรีบด่วน “กูจะจับบุรุษผู้นี้เป็นอาหาร” สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทราบวารจิตแห่งพระยายักษ์จึงตรัสว่า “ดูก่อนพระยายักษ์ ท่านอย่าคิดว่าจะกินเราเลย จะเป็นบาปอันหนักแก่ท่านต่อไปในภายหน้าหาที่สุดไม่ได้ เราตถาคตนี้มิใช่คนธรรมดาสามัญ เราเป็นสัพพัญญูพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้งสาม” พระยายักษืได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าเช่นนั้น ก็บังเกิดความสะดุ้งตกใจกลัว มีร่างกายอันสั่นสะท้าน มีความกลัวต่อมรณภัยเป็นอย่างยิ่งึงเข้ามากราบขออภัยไว้ชีวิตจากพระพุทธเจ้า แล้วถอยหลังกลับคืนสู่ถ้ำอันเป็นที่อยู่แห่งตน แล้วจึงบอกกล่าวยังเหตุอันนั้นแก่ลูกเมียว่า “ดูรานาง วันนี้พี่ออกไปแสวงหาอาหารตลอดวันไม่พบคนและสัตว์แม้แต่ตัวเดียว แต่พี่ไปพบบุรูษผู้หนึ่ง มีรูปโฉมผวิพรรณอันงดงาม พี่นึกว่าเป็นคนธรรมดาสามัญ เมื่อพี่วิ่งทะยานเข้าไปนึกว่าจะจับเอามาเป้นอาหารแห่งเราทั้งสอง บุรุษผู้นั้นกลับเปล่งสีหนาทแก่พี่ว่า “ดูรา พระยายักษ์ ท่านอย่าคิดว่าจะกินเราเลย จะเป็นบาปอันหนัก เหตุว่าตถาคตนี้มิใช่คนะรรมดาสามัญเหมือนคนและสัตว์ทั้งหลาย หากเราเป็นผู้ประเสริฐกว่าโลกทั้งสาม” พี่ได้ฟังคำเช่นนั้น ก็บังเกิดความสะดุ้งตกใจกลัวต่อมรณภัยเป็นอันมาก ก็ก้มกราบแล้วถอยหนีกลับคืนมาหาที่อยู่แห่งเรานี้แหล่ะ เมื่อนั้น นางยักษ์ได้ฟังพระยายักษ์ผู้เป็นสามีแห่งตนกล่าวเช่นนั้น ก็กำหนดรู้ด้วยปัญญาแห่งตนว่า ไบุคคลผู้นั้นต้องเป็นพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐอย่างเดียว” เมื่อกำหนดรู้เช่นนี้แล้วจึงกล่าวแก่พระยายักษ์ว่า “ข้าแต่เจ้ากูผู้เป็นสามี ผู้ที่เห็นมาปานนั้นมิใช่คนธรรมดาสามัญ ต้องเป็นคนที่มีบุญสมภารเป็นมาก ที่แท้พี่ท่านได้พบพระสัพพัญญองค์ประเสริฐล้ำเลิศเป็นที่ยิ่งแล้ว พี่ท่านจงอย่าคิดว่าจักใคร่กินเถิด จะเป็นบาปอันหนักแก่พี่ท่าน บัดนี้ท่านองค์ประเสริฐนั้นยังสถิตอยู่ ณ ที่ใดหนอ” พระยายักษ์ก็กล่าวว่า “ดูรา นางเจ้าองค์ประเสริฐนั้น ยังคงอยู่ที่นั้นยังไม่ทันจะไปที่ไหนหรอก” นางยักษ์จึงกล่าวว่า “ข้าแต่เจ้ากูจงรีบขวนขวายหาปรมามิสบูชา มีข้าวตอกดอกไม้และของหอมทั้งหลาย ไปขอขมาพระพุทธเจ้าองค์ประเสริฐนั้นเถิด พี่ท่านจงขอให้พระพุทธเจ้าลดโทษแก่ท่านเถิด” พระยายักษ์ได้ฟังคำที่ภริยาแห่งตนกล่าวตักเตือนเช่นนนั้นก็บังเกิดความยินดี จึงพูดว่า “ดูรา นางเป็นการดีแท้แล” แล้วพระยายักษ์ก็รีบขวนขวายหาปรมามิสบูชา คือดอกไม้ของหอมได้แล้ว ก็รีบกลับคืนมาสู่สำนักพระพุทธเจ้าแล้วก็กราบทูลขอขมาด้วยคำว่า “ข้าแด่พระพุทธเจ้าผู้หาทุกข์มิได้ ข้าพระพุทธเจ้าก็กราบขอพระพุทธเจ้า โปรดจงบังเกิดพระมหากรุณาธิคุณลดโทษแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด เพราะข้าพระองค์ไม่ทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า จึงได้วิ่งพรวดเข้ามาเพื่อจะจับพระองค์กินเป็นอาหาร การกระทำเช่นนี้ก็บังเกิดเป็นโทษแก่ข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดอภัยโทษเหล่านั้น แล้วโปรดทรงพระกรุณาสั่งสอนข้าพระองค์เถิด”

    ขณะ นั้นสมเด้จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นพระยายักษ์ตนนั้นเป็นผู้มีบุญ สมภาร ซึ่งจักต้องปรากฏด้วยบุญและคุณแห่งตนในภายภาคหน้าเป็ฯอันมาก ก็ทรงรับเอาปรมามิสบูชา และทรงลดโทษแก่พระยายักษ์ตนนั้นด้วยดี แล้วทรงสั่งสอนพระยายักษ์ให้เข้าถึงสรณาคมน์และรักษาเบญจศีล พระยายักษ์ก็ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ แล้วนั่งเฝ้าปรนนิบัติพระพุทธเจ้าอยู่ พระพุทธอค์ทรงพยากรณ์ว่า “ดูรา ยักขราชผู้เป็นใหญ่ ต่อไปในอนาคตเบื้องหน้าในระหว่างแห่งศาสนาที่ตถาคตตั้งไว้นั้น ท่านจะได้เกิดมาเป็นพระยาธรรมิกราชองค์หนึ่ง ในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาพันที่สาม ท่านจะได้ส่งเสริมยกย่องพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก เหตุการณ์เช่นนี้จะมีต่อไปในกาลภายหน้าอย่างแน่นอน เมื่ท่านเกิดมาเป็นพระยาธรรมิกราชนั้น ท่านจะมีอายุยืน ๒๐๐ ปี ในกาลนั้นพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้วสองพันปีกว่า จะย่างเข้าสู่สามพันปี ในระหว่างนี้แหละที่ท่านจะได้เป็นพระยาธรรมิกราชภายหลังแต่นั้น อายุแห่งพระพุทธศาสนาจะเหลือประมาณ ๒,๐๐๐ ปี ดูรามหายักษ์ โดยที่ในระหว่างศาสนา ตถาคตที่ตั้งไว้ ๕,๐๐๐ ปี นัแต่ตถาคตนิพพานไปนั้นจะมีพระยาธรรมิกราชมาเกิด ๕ พระองค์คือ องค์ที่ ๑ จะเกิดนเมืองปาฏลีบุตรนคร มีนามบัญญัติว่า ปัตตมาลิก (บางฉบับว่าปุตตมาลิก) คือพระเจ้าอโศกราช องค์ที่ ๒ จะเกิดในเมืองสาวัตถีคือเมืองหงสาวดี ท่านองค์นี้จะได้อาชีพค้าขายเมื่อง เวลานั้นเมี่ยงจะราคาแพงน้ำหนัก ๑,๐๐๐ จะขายได้เงิน ๓๒ ลูกเงินตลิง องค์ที่ ๓ จะเกิดในเมืองอังวะ องค์นี้จะเป็นพ่อค้าเกลือ คือในเวลานั้นเกลือจะมีราคาแพง คือเกลือน้ำหนักสองพันปลายสามร้อยธ๊อก จะขายได้ ๓๒ ลูกเงินตลิง องค์ที่ ๔ จะเกิดในเมืองอโยธิยา องค์นี้จะเกิดมาเป็นพ่อค้าพลู เวลานั้นพลูจะมีราคาแพง พลู ๑๐๐ ใบจะขายได้ ๓๐ ลูกเงินตลิง องค์ที่ ๕ องค์นี้เกิดมาเป็นพ่อค้าข้าวสาร คือในเวลานั้นข้าวสารจะมีราคาแพง คือ ข้าหมื่นน้ำหนัก (ประมาณ ๑๒ กก.) จะขายได้เงิน ๗๐ ลูกเงินตลิง คือว่าหมื่นข้าวมีราคา ๓๐๖ เถ้ (ธ็อก) เงินตลิง ๑ ลูกมีน้ำหนัก ๕ ผิน (ไม่ทราบมาตรโบราณ ต้องค้นคว้าต่อไป ฝ่านท่านผู้รู้ช่วยคิดด้วย) ในพระยาธรรมิกราช ๕ องค์นี้พระยาธรรมิกราชองค์ชื่อว่า พระเจ้าอโศกราชจะเกิดก่อน ในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาหนึ่งพันวัสสาแรก พระยาธรรมิกราชองค์ที่ ๒ มีชื่อว่า ตัมพลุ อนุรุทธรรมิกราช ที่เป็นพ่อค้าเมี่ยง เกิดในเมืองพุก่ำในเมืองหงสาวดีในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาพันที่สอง พระยาธรรมิกราชเป็นพ่อค้าพลู จะมาเกิดในเมืองอโยธิยาทวารวดี ในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาพันที่สอง พระยาธรรมิกราชที่เป็นพ่อค้าข้าวสารจะมาเกิดในเมือง โยนกโลก หรือเมืองหริภัญชัยนคร ในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาพันที่สาม พระยาธรรมิกราชองค์ที่เป็นพ่อค้าเกลือจะมาเกิดในเมืองอังวะ ในระหว่างอายุพระพุทธศาสพันที่สี่ ดูรา ยักขราช ท่านจะได้เกิดเป็นพระยาธรรมิกราชในศาสนาตถาคตในระหว่างอายุพระพุทธศาสนาพัน ที่สาม คือว่าหลังจากตถาคตนิพพานไปแล้ว ตถาคตจะต้้งพระพุทธศาสนาไว้ ๕,๐๐๐ พรรษา ในเมื่ออายุพระพุทธศาสนาล่วงไปแล้วได้ ๒,๐๐๐ ปีบริบูร์และย่างเข้าสู่พรรษาที่สามมาถึงเมื่อใด เมื่อนั้นท่านจะได้เกิดเป็นพระยาธรรมิกราชจะได้เกิดในเมืองที่นี้ จะเสวยราชสมบัติเป็นสุขในเมืองเชียงดาวที่นี้ ท่านจะได้ยกย่องส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมาก ภูเขาลูกใหญ่ดอยอ่างสรงนี้ ซึ่งใหญ่และกว้างได้โยชน์ สูงก็ได้โยชน์หนึ่ง มีถ้ำใหญ่แห่งหนึ่ง มีพระพุทธรูปองค์หนึ่งสูง ๑,๐๐๐ วา และมีรูปยักใหญ่ ๔ ตนอยู่เฝ้ารักษาพระพุทธรูปที่นั้น ดูรา ยักขราช ในกาลต่อไปภายหน้า เมื่อศาสนาตถาคตล่วง ๒,๐๐๐ ปีเข้าสู่เขต ๓,๐๐๐ ปี ในเมืองหริภุญชัยนครนี้จะมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งพระนามว่า นครสีสา ภาษาไทยว่า พระยาหัวเวียง จะเสวยราชสมบัติในเมืองหริภัญชัยนคร ในเวลานั้นจะมีหญิงโสเภณีคนหนึ่งจะยุยงสนลส่อเท็จทูลให้พระองค์เบียดเบียนเส นาอำมาต์ประชานาราษฎร์ทั้งหลายคือ ให้ปรับไหมให้ถึงความฉิบหายเป็นอันมาก อีกประการหนึ่งพระยาองค์นี้จะมัวเมาในการเล่น ชอบไปเที่ยวตลาดทุกวัน เสนาอำมาตย์ไม่พอใจ จึงพร้อมใจกันปลดจากพระเจ้าแผ่นดิน แล้วยกย่องพระยาองค์อื่นขึ้นเสวยราชสมบัติแทน ต่อมาก็เปลี่ยนพระเจ้าแผ่นดินถึง ๒๐ รัชกาล ในสมัยที่โอรสพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่ ๒๐ ขึ้นครองราชสมบัตินั้น ข้าศึกพวกลัวะยกลมาจากเมืองโกสัมพี เข้ามาตีนครหริภุญชัยจะเกิดเป็นโกลาหลกลียุคเป็นเวลานาน ศึกสงครามครั้งนั้นจะชนะกันด้วยรี้พลคนกล้าหาญก็หามิได้ แต่จะชนะกันด้วยคนบ้าคนหนึ่ง ตั้งแต่นั้นมาจะไม่มีเชื้อสายท้ายพระยากษัตริย์เสวยเมืองเป็นเวลานานยิ่งนัก จนถึงปีกัดไค้ถึงปีเล้าในระหว่างนั้นท่านจะได้มาเกิดเป็นพระยาธรรมิกราช ได้ยกย่องส่งเสริมศาสนาแห่งตถาคต และปีเบิกสันพระอินทร์ผู้เป็นเจ้าแก่เทวดาทั้งหลาย จะเสด็จลงมาจากชั้นฟ้าดาวดึงส์มาตีกลองแก้วใบหนึ่ง เป่าหอยสังข์ ให้คนทั้งหลายในสกลชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ได้ยินได้ฟังทุกแห่ง เพื่อให้สมณพราหมณ์และคฤหัสถ์หญิงชายทั้งหลายได้กระทำบุญให้ทาน รักษาศีลเจริญเมตตาภาวนาเป็นนิรันดร์เถิด ต่อจากนั้นจะบังเกิดภัยอันใหญ่คือพระอาทิตย์และพระจันทร์จะปรากฏแก่ตาโลก เห็นเป็นสองดวง จะมีต่อไปภายหน้า

    ใน กาลต่อไปนับจากนั้น จะมีพระยาธรรมิกราชองค์หนึ่ง ซึ่งเกิดมาในปีกกัดเล้า เดือนเพ็ญวันเสาร์จะได้เป็นพระยาธรรมิกราชองค์ประเสริฐ เมื่อพระยาธรรมิกราชองค์นี้เกิดขึ้นมา คนทั้งหลายคือท้ายพระยา เสนาอำมาตย์และสมณพราหมณ์ผู้ที่เป็นคนพาล ใจบาป เขาย่อมเกลียดชังไม่มีใจรักพระยาธรรมิกราชองค์นั้น ท่านจะเกิดในตระกูลฃช่างหูก ในประเทศที่อยู่ตอนล่างแม่น้ำ พระยาธรรมิกราชองค์นั้นเป็นผู้มีปัญญาอันวิเศษ มีปรกติสั่งสอนสมณะและคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยเรื่องที่เป้นบุญเป็นกุศลบ่อยๆ ด้วยเหตุนี้สมณะและคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้เป็นพาลมีใจบาป จึงไม่ชอบไม่พอใจพากันเกลียด ในกาลต่อมาท่านผู้มีบุญมากนั้นจึงขึ้นไปเลี้ยงชีวิตแห่งตน ทางตอนต้นน้ำแม่ระมิงค์ (น้ำปิง) ตั้งแต่นั้นต่อไปภายหน้าสมณะและคฤหัสถ์ทั้งหลายจะประสบอุบาทว์โรคภัยไข้เจ็บ ต่างๆ เป็นต้นว่า ปวดท้อง ลงเลือดตาย ยิ่งกว่านั้นจะบังเกิดเป็นโกลาหลกลียุค จะฆ่าฟันกันตายเป็นอันมาก หญิงชายจะตายเพราะทุพภิกขภัยอดอยากเป็นจำนวนมาก ประการหนึ่งคนทั้งหลายจะตายเพราะโรคภัยไข้เจ็บเป็นต้นว่า เป็นตุ่ม, เป็นฝี, เป็นหิด, เป็น เหา เป็นโรคเรื้อนตายกันมาก ประการหนึ่ง คนทั้งหลายจะอยู่ในสงคราม คนใดเกิดยามนั้น จะกระทำบุญรักษาศีลพังธรรรมเมตตาภาวนาอยู่ตลอดเวลา จงอย่าประมาทเลย ในกาลยามนั้นจะเกิดทุพภิกขภัยข้าวจะแพงยิ่ง ข้าวสารหมื่นน้ำเป็นราคา ๗๒ ตลิง เป็น ๓๐๖ ธ็อก ก็ยังหาคนขายมิได้เหตุนั้นเจ้าตนมีบุญจึงเป็นพ่อค้าข้าวสาร ในเวลาที่เจ้าตนมีบุญจะได้เป็นพระยาธรรมิกราชนั้น ท่านจะไปค้าขายข้าวสารตามลำดับ แล้วจะไปพักอยู่ใน ดอยสากก้อมคือภูดินแดง อันมีอยู่ในเขตเมืองฝ้่างทัี่นั้นในเวลานั้นพระอินทร์ทอดพระเนครเห็นแล้วจะ เสด็จนำม้าตัวหนึ่งชื่อมัญกัณฐัก เข้ามาสู่ดอยดินแดงในเมืองฝางนั้น เมื่อมาถึงพ่อค้าผู้นั้นแล้วจะกล่าวว่า “ดูรา พ่อค้า ขอท่านกรุณาถือเชือกม้าไว้ให้ข้าพเจ้าครู่หนึ่งเถิด ข้าพเจ้าจะไปกินน้ำรินสามสบสักประเดี๋ยว แล้วอินทมานพก็เอาข้าวต้มมัด ๓ ลูกให้แก่พ่อค้าแล้วสั่งว่า “ขอท่านโปรดจงรักษาม้าข้าพเจ้าไว้สักระยะเถิด ท่านหิวข้าว ท่านจงกินข้าวต้ม ๓ ลูกนี้เถิด หากว่าม้าต้วนี้มันดิ้นส่งเสียงร้องลำพองนัก ท่านจบขึ้นขี่เหนือหลังมัน มันก็จะหยุดร้องคะนองทันที” เมื่อสั่งเสร็จแล้ว อินทราธิราชก็เสด็จไปแอบอยู่ที่แห่งหนึ่ง ต่อมาพ่อค้าผู้นั้นรู้สึกหิวข้าวเป็นอันมาก ก็แกะข้าวต้มห่อหนึ่งออกกิน เมื่อกินแล้วปัญญาอันเป็นทิพย์ก็บังเกิดแก่พร่อค้าผู้นั้นทันที ในกาลนั้นม้าก็ดิ้นส่งเสียงร้อง พ่อค้าผู้มีบุยก็ขึ้นขี่บนหลังม้าตัวนั้น ม้าตัวนั้นก็พาท่านเหาะมาทางอากาศ ท้าวจตุโลกบาล เทวดา พญานาค ยักษ์ คนธรรพ์ ทั้งมวลในหมื่นโลกธาตุ ก็พร้อมใจกันบรรเลง ๕ ประการ อบรมสมโภช บูชาเป็นโกลหลเอกเกริกทั่วทั้งหมื่นโลกธาตุ คนทั้งหลายในสกลชมพูทวีป ไม่เคยได้ยินมาแต่ก่อน เมื่อได้ยินแล้วก็สะดุ้งตกใจกลัวเป็นอย่างยิ่ง และพระอินทร์ ท้าวจตุดลกบาลเทวดา ยักษ์ กุมภัณฑ์ คนธรรพ์และสุรางคณาทั้งหลาย ก็พร้อมกันนำเอาท่านผู้มีบุญนั้น ขึ้นไปสู่เมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ก็พร้อมกับอุสสวราชาภิเษกด้วย เบญจกกุธภัณฑ์ อันเป็นทิพย์แล้วจึงเชิญพระยาธรรมิราชองค์นั้นลงมา หมู่คนและเทวดาอินทร์พรหมก็พร้อมกันอุสสวราชาภิเษกในเมืองเชียงดาว เขตแห่งเมืองหริภัญชัยนครที่นั้นปราสาททิพย์ ๓ หลังคือ ปราสาทแก้ว ๑ หลัง ปราสาททอง ๑ หลัง ปราสาทเงิน ๑ หลัง สูง ๖๗ วา กว้าง ๓๐ วา จะโผล่ออกมาใต้ปฐพีขึ้นมา ปราสาททางกลางเวียงเชียงดาวที่นั้น ยามนั้นทองคำสี่แท่งที่มีอยู่ในหนองสรงเกศ อันตั้งอยู่ในหัวหนองไคร้ ที่จะโผล่ออกมาอยู่ที่มุมปราสาททั้ง ๔ มุม ต่อจากนั้นจะมีรินทองคำพาดแต่หัวดอยอ่างสรงโพ้นลง พระอินทร์พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย จะพร้อมกันรดสรงด้วยน้ำมูรธาภิเษกในรินทองคำนั้น รินทองคำจะพาดแต่จอมดอยภูหวดโน้นลงมา ยามนั้น สมณพราหมณ์ท้าวพระยาเสนามาตย์และคนทั้งหลายพากันอุสสาราชาภิเษกในรินทองคำ อันนั้น ในกาลครั้งนั้นคนทั้งหลายก็จะได้เห็นเทวดา พระอินทร์ พระพรหมทุกองค์ เพราะเทวดาเหล่านั้นได้มาอุสสาราชาภิเษกพ่อค้าข้าวสาร ที่เป็นลูกช่างหูกซึ่งเป็นพระยาธรรมิกราชนั้นแล เมื่อท่านผู้มีบุญได้เป็นพระยาธรรมิกราชแล้ว ต้นกัลปพฤกษ์ทิพย์ทั้งหลาย ๑,๖๐๐ ต้น ก็จะโผล่จากใต้แผ่นดินออกมา แวดล้อมปราสาทและเวียงเชียวดาวทั้งหมด จะเป็นที่รุ่งเรืองปรากฏไปทั่วชมพูทวีปทั้งสิ้น มนุษย์ชายหญิงทั้งหลายเมื่อเข้ามาถึงที่นั้นแล้วก็จะถอดเสื้อผ้าออกกองไว้ สูงประมาณ ๗ ศอก ลมจะพัดเสื้อผ้าเก่าเหล่านั้นทิ้งไปทั้งหมดถึง ๗ ครั้ง คนทั้งหลายจะได้นุ่งวัตถาภรณ์อลังการผืนใหม่ที่เป้นทิพย์ทุกคน ในกาลใดที่ท่านยักขราชได้เกิดเป็นพระยาธรรมิกราช ในกาลนั้นท่านจะได้เสวยทิพยสมบัติสุขทุกคน ในเมืองเชียงดาวอันอยู่ในแว่นแคว้นเขตเมืองหริภัญชัยนคร ชาวเมืองโกสัมพีทั้งหลายจะเข้าพึ่งบรมสมภารชั้นใน คือเป็นพ่อครัวของพระยาธรรมิกราชองค์นั้น สมณพราหมณ์หมู่ใดที่ไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยจะถูกไล่สึกเสียทั้งสิ้น ส่วนสมณะพราหมณ์หมู่ใดอยู่ในธรรมวินัยของตถาคตที่ได้บัญญัติไว้ ก็จะให้อยู่รักษาพระพุทธศาสนา จำนวนภิกษุที่ปฏิบัติชอบด้วยพระธรรมวินัยที่ไม่ได้ไปสึกนั้น ในสกลชมพูทวีปทั้งสิ้นจะมีประมาณ ๖ ร่มไม้นิโครธ (บางฉบับว่า ๒ ร่มไม้นิโครธ) ต้นใหญ่ พระยาธรรมิกราชองค์นั้นจะอยุ่เสวยราชสมบัติตราบอายุ ๒๐๐ ปี บุญสมภารการแห่งตน ดูรายักขราช เมื่อถึงเวลาที่ท่านจะได้เป็นพระยาธรรมิกราชองค์นั้น ภัยอุบาทว์ศัตรูจะมีแก่คนทั้งหลาย จะต้องถึงความพินาศฉิบหายเป็นอันมากก่อน ในเมื่อภัยอุบาทว์จะบังเกิดมีนั้น… จะมีกวางทองตัวหนึ่งซึ่งเทวบุตรเนรมิตเป็นกวางทองตัวนั้นจะล่องมาจากทิศ เหนือ และมีเทวบุตรองค์หนึ่งเนรมิตเป็นกระต่ายเผือกตัวหนึ่งขึ้นมาแต่ทิศใต้ ทั้งสองสัตว์มาพบกันในที่แห่งหนึ่ง กว่างทองก็ถามกระต่ายเผือกว่า “ดูรา สหายท่านมาจากที่ไหนหนอ” กระต่ายตอบว่า “ดูรา เรามาแต่ทิศใต้” กว่างทองจึงถามต่อไปว “ดูรา สหายท่านนี้อันโลกทั้งหลายสมมุติว่าเป็นสัปบุรุษบัณฑิตเรียกว่า กระต่ายตัวเป็นนักปราชญ์โดยแท้ ดูราท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าจะถามท่าน ถ้าท่านพอรู้จงบอกข้าพเจ้าเถิด ดูราสหายบ้านเมืองทางทิศใต้นั้นคนยังมีทุกข์สุขประการใด” กระต่ายตอบว่า “ดูราสหาย บ้านเมืองทางทิศใต้เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบได้เห็นมา มหาภัยเป็นอันมากย่อมบังเกิดขึ้น คือว่าน้ำขุ่นน้ำเน่ามาปนกันกับน้ำอันใสสะอาด คือว่า คนใจบาปเข้ามาปะปนยุ่งกับคนใจบุญ สมณะผู้ใจบาปก็ปะปนยุ่งกับด้วยสมณะผู้บริสุทธิ์ผู้มีบุญเป็นอันมาก ประการหนึ่งบุพนิมิตบางแห่งการพินาศแห่งคนทั้งหลาย ก็จะบังเกิดมีหลายอย่าง เป็นต้นว่า ม้ากลับกินหญ้าอย่างวัว คนจะหวีผมลงมาคลุมตา คนพา (สะพาย) ถุงหลวงกำด้ามดาบอันยาว… (กระทู้, หลัก) รั้วนา คนทือ (ถือ) งาหูล้ำหน้าพ่อค้ามักสืบคำดจร ผีโหงมักบินโยน (กระโดดโลดเต้น) ในอากาศ คนฝูงเป็นนักปราชญ์ บ่หุมบุญ (ไม่ชอบทำบุญ) เป็นขุนเป็นนายบ่รู้ตกแต่ง คนทั้งหลายมักเอาผ้าสี่แจ่ง (ผ้าเช็กหน้า) แปลงถง (ถุง) ฝนตกลงบ่ใช่เมื่อ (ไม่ตกตามฤดูกาลหรือเวลา คือ กาลที่ควรตกกลับไม่ตก) คนทั้งหลายบ่อเชื่อในธรรม (คือว่าคฤหัสถ์บรรพชิตทั้งหลายได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าที่สอนเป็นบุญ กลับเข้าใจเสียว่าไม่เป็นบุญ ให้ทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนาก็ไม่ทำให้คนดีขึ้น ทำหรือไม่ทำ รักษาหรือไม่รักษาก็เหมือนกัน ที่เป็นบาปกลับเข้าใจว่าไม่ร้ายไม่ดีอะไร แม้จะทำบาปอยู่บ่อยๆ ก็ไม่เป็นอะไรขึ้นมา ก็ยังคงมีเงินมีทองเจริญด้วยศักดิ์อยู่) “คนบ่ยำนักบวช” (ไม่ยำเกรง…) “มักต้านโจทก์อาจารย์” คือว่าคนทั้งหลายเห็นนักบวชไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย ไม่สำรวมในอินทรี์ ไม่เคารพในพระธรรมคำสอนว่าเป็นนักบวช การอยู่การกินอาการลีลาต่างๆ ตลอดถึงการนุ่งผ้าก็เป็นเช่นเดียวกับคฤหัสถ์ จึงหาความเคารพยำเกรงไม่ได้ ประการหนึ่งนักปราชญ์อาจารย์ผู้มีปัญญา มีความสงสารกรุณาตักเตือนสั่งสอนตามธรรม คนทั้งหลายก็จะกล่าวคำอันธพาลโจทก์จะหาเรื่องด้วยคำอันเป็นผรุสวาจา ตำหนิติเตียนว่าร้ายเป็นอันมาก บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลายก็จะหาอุบายหยุดหย่อนผ่อนเสีย คือ หาทางหยุดนิ่ง ถึงรู้ก็จะไม่พูดอะไรเลย สมณะปฏิบัติผิดคลองโบราณว่าไว้ คือว่า คลองวัตรปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์ได้ชี้แจงแนะนำไว้ ชอบพระธรรมวินัย สมณะทั้งหลายก็จะละและเหยียบย่ำเสีย ไม่ปฏิบัติตาม แต่จะตั้งขึ้นมาใหม่ผิดวินัยไปตลอด แม้นท้ายพระยามหากษัตริย์ทั้งหลาย ก็จะเลิกละเหยียบย่ำโบราณประเพณีอันเป็นคลองธรรมของกษัตริย์ และผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยปฏิบัติและบัญญัติไว้โดยชอบธรรมแล้วจะเอาอย่างอื่น ขึ้นมาใหม่ เวลานั้นผู้ไร้จะกลับเป็นคนมี คือคนที่ทุกข์ไร้เข็ญใจทั้งหลายทุกข์ ไม่มีความกลัวตายอะไร จะมีใจหยาบกล้าหาญในการรบการทำงานตามความใบ้ว่าได้ไปเป็น (ตามความโง่ ว่าอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้) ก็เลยเกิดมียศ มีสมบัติสิ่งของเรื่องเหล่านี้จะมีต่อไปภายหน้า ประการหนึ่ง ” ผู้หญิงอายุ ๑๐ ปีจะมีชู้ “ คือว่าเป็นเวลาที่ทุกข์เข็ญเป็นอันมาก ลูกหญิงยังไม่ถึงเวลาที่สมควรจะมีผัว พ่อแม่พี่น้องจักเล้าโลมให้เอาผัว ละทิ้งข้อวัตรปฏิบัติ จะอยู่ด้วยความประมาทซึ่งกันและกัน จะเป็นบาปเป็นเวรที่แน่นหนา จะหาใครสั่งสอนไม่ได้จะพากันล่มจมฉิบหายในชาตินี้และชาติต่อไป “ผู้รู้ท่านบ่นับ” คือคนทั้งหลายเห็นนักบวชผู้รู้ ผู้เรียนจบพระไตรปิฏกหรือเห็นคฤหัสถ์ผู้รู้ธรรมคำสอนอันเป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นบุญเป็นบาป คนทั้งหลายก็ไม่เคารพยำเกรงไม่เข้าสู่ไปหา ไม่เล่าไม่เรียนไม่สืบไม่ถาม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อวัตรปฏิบัติก็สูญสลายหายไปไม่มีใครรู้ คนทั้งหลายก็จะทำตามวิสัยใจของเขา ประการหนึ่ง “ขับฝูงชีหนีจากที่” ท่านสมณะและคฤหัสถ์ทั้งหลาย เห็นนักบวชผู้ประกอบชอบพระธรรมวินัยก็จะไม่พอใจจะช่วยกันบังคับขับไล่ให้หนี จากไป จะทิ้งนักบวชแงะคนฝูงใจบาปอยู่ด้วยกัน พวกเขาเข้าใจว่าเป็นการดีเป็นการควรแท้แล ประการหนึ่ง “สายฟ้าจะคลี่เป็นทุง” คือว่า สายฟ้าแลบจะคลี่ลงมาเหมือนธงแผ่นผ้า จะเป็นอุบาทว์แก่คนทั้งหลาย ประการหนึ่ง “ผีรุงเกี้ยวอากาศ” คือจะปรากฏในอากาศ มันจะเกี่ยวพันกันแล้วย้อยมากินน้ำในบ้านในเมือง จะเป็นอุบาทว์แก่คนทั้งหลายประการหนึ่ง “นักปราชมักรู้ล่ารู้พลาง” คือได้แก่คนพาลไม่ใช่สัตบุรุษ แต่พอมีความรู้ระเบียบสักเล็กน้อย ไม่แจ่มแจ้ง คนทั้งหลายจะเข้าใจและสมมุติว่าเป็นนักปราชญ์ คนพาลประเภทนี้ยิ่งเพิ่มมายาเป็นทนงองอาจ สักแต่ว่าพูดไปตามวิสัยอันไม่ค่อยรู้ ให้คนท้้งหลายเห็นว่าดีว่าเก่ง แต่เป็นโกหกหลอกลวงเป็นส่วนมาก จะเป็นบาปเป็นกรรมแก่มันอย่างหนักต่อไป ประการหนึ่ง “คนทั้งหลายเทียวทางมักยกโทษ” คือคนพาลหาปัญญาไม่ได้ หากว่าได้เดินทางไปด้วยกันก็ดี ได้ถืออาชญากฏหมายไปก็ดี เมื่อพบเห็นท่านผู้อื่นกระทำผิด จะน้อยหรือจะมากก็ตามย่อมจะหาเรื่องจับกุมให้ผู้อื่นได้เสื่อมเสียได้ หากว่าเขามีโทษน้อยก็หาเรื่องโทษมาใส่ให้มาก แม้นไม่ม่ีโทษก็ยกเอาโทษคือหาเรื่องให้เขา จะจับเอาไปถึงโรงถึงศาล เป็นการให้เขาถึงพินาศฉิบหาย ประการหนึ่ง “นักบวชบ่เรียนธรรม” ได้แก่บุคคลทั้งหลายเป็นคนขี้เกียจไม่ทำงาน กลายเป้นคนยากคนจน ไม่หาทางเลี้ยงตนอย่างไร จึงเข้าไปบวชเพื่อเลี้ยงชีวิต ชอบประดับตกแต่งและเห็นแก่กิน ไม่ปฏบัติตามพระธรรมวินัย ไม่รักษาศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ศึกษาข้อปฏิบัติให้รู้อย่างไหนผิดอย่างไหนถูก มีแต่ตัณหาในลาภสักการ ไม่แสวงหาหนทางแห่งพระนิพพาน จะมีใจยินดีในทางที่จะล่มจมอยู่ในวัฏฏสงสารนั้นประการหนึ่ง “เงินคำพ้อยจักถูกกว่าเบี้ย” คือเบี้ย ๑๐๐ จะมีค่า ๒๐ จะบังเกิดทุพภิกขภัยเอาเงินเอาคำหาซื้อสิ่งของไม่ได้ ผู้ที่มีสิ่งของดูถูกเงินคำเหล่านั้น เป็นของไร้ค่าหาคุณอันใดมิได้เลย คนทั้งหลายจะหาอุบายบังคับกดขี่ ข่มเหงเอาสิ่งของของกัน แม้นว่าจะเอาเงินคำมาทุ่มมาหยดกอง ก็จะหาคุณค่าอันใดมิได้ ค่าของเงินคำจะถูกยิ่งนัก แม้นจะเอาเงินเอาทองมาทำเครื่องประดับหรือเอาทำเครื่องใช้สอย ก็จะไม่มีคุณค่าอะไรเลย คนทั้งหลายจะดูถูกเงินทองเป็นอันมาก แม้นจ่ายเบี้ยก็ไม่เต็มร้อย จะสมมุติกันว่าเต็มร้อย คามสุขสมบัติของคนก็จะเรียวลงเหมือนดังเบี้ยหรือเงินที่ขาดจากจำนวนร้อยนั้น บ้านเมืองทั้งหลายก็จะแปรเปลี่ยนไป คือเมืองใหญ่จะกลายเป็นเมืองเล็ก บ้านใหญ่จะกลายเป็นบ้านเล็ก เจ้านายผู้ใหญ่ก็จะกลายเป็นเจ้าเล็กเจ้าน้อยไป ประการหนึ่ง “ชาวเมืองมักช่างล่าย” คือชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายจะเป็นคนขี้คร้าน ไม่ชอบประกอบกิจการงานเอาแต่ความสบาย จึงต้องเป็นคนโกหกหลอกลวงซึ่งกันและกัน เมื่อจับได้ไล่ทันก็จะเกิดเป็นโทษภัยความพินาศฉิบหาย ประการหนึ่ง “ผู้น้อยมักม่ายกินเมือง” คือข้าราชการผู้น้อย กลับได้เป็นใหญ่รุ่งเรืองแทนข้าราชการชั้นผู้ใหญ่บุญสมภารมีน้อยก็จะพาตนไป สู่ความวอยวาย ประการหนึ่ง “ขุนนายเรืองไถ่ข้า” (บางฉบับว่าขุนนางเรืองไถ่ข้า) คือว่าเจ้าขุนทั้งหลายจะเบียดเบียนไพร่ฟ้าข้าเมืองให้ได้วัตถุสิ่งของมาเป้ นสมบัติตน ภายหลังไพร่ฟ้าฉิบหายเกิดเป็นโทษเป็นภัยขึ้นแล้ว เจ้าขุนทั้งหลายจะเอาสมบัติวัตถุออกจ้างออกไถ่ เพื่อเอาคนเหล่านั้นมาเป็นข้าบริวารของตน จะบังเกิดมีต่อไปภายหน้า ประการหนึ่ง “ฟ้าร้องเป็นดั่งลวา (ลา) ” มีเมื่อใด “หมู่กาตามอากาศหยาดเพ้าเถียง” (จับยายกันเป็นกลุ่มส่งเสียงร้องเถียงกัน) “เสียงดังนั้นเนืองบ่ขาด” มีเมื่อใด “ฝูงนักปราชญ์พ้อยเลี้ยงมิจฉาทิฏฐิ” (ปราชญ์กลับนับถือทรงเจ้าเข้าผี) “ฝูงเป็นชีหุมช่างค้า” (พระภิกษูสามเณณชอบไปทางค้าขาย) “ห่มนุ่งผ้ากุยเชิง” (ชอบนุ่งผ้าปล่อยชาย) “พ่อค้าเนิงช่างลัก” (พ่อค้าไม่ซื่อสัตย์โลภมักโกง) “นักบวชและคนมักกินเหล้า” “คนบ่ยำผู้เฒ่าผู้แก่พ่อแม่ลุงอาว” (ผู้คนจะไม่เคารพยำเกรงผู้เฒ่าผู้แก่ตลอดถึงบิดามารดา) “ชาวสรมณ์มักทือกบคระยวง” (สมณะชอบถือหมวก) “ฝูงชีชวงถือดาบมีตัณหาด้วยลาภทาน) “อาจารย์มักกิ๋นเหล้า” (มัคคทายกชอบทานเหล้า) “ต้นข้าวจะลาบเสีย นาทุ่งหลวงจักตายแล้ง น้ำบ่อแห้งเขาะกิ๋น” (ต้นข้าวจะไม่มีรวง ทั้งทั้งท้องทุ่งจะแห้งแล้ง น้ำก็จะแห้งต้องขอดกิน) “คนจะหาศีลบ่ได้ต้นดอกไม้บ่เผยชอบฤดู” (ผู้คนไม่มีศีล ดอกไม้จะไม่บานตามฤดู) “ศัตรูจักแผ่กว้าง คนทั้งหลายจักสร้างบ่ได้ลูก ปลูกบ่ได้กิน เรือนหลวงจักกลายเป็นเรือนน้อยบ่ช่างอูบผิดกัน (อูบหมายถึงเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่) ไก่จะขันทักแขก บ้านเมืองจักแตกเป็นผง คนทรงเถื่อนไม้ทุกอ่อนให้ในยม(ยมหมายถึงน้ำ) เมืองใหญ่จักข่มนิคม ชาวสรมณืจักไปแอ่วค้า (เมืองใหญ่ประเทศใหญ่จะข่มเหงประเทศเล็ก พระภิกษุจะเที่ยวค้าขาย) “จักสะว้านผ้าเหน็บแอว” คือภิกษุห่มจีวรไม่เรียบร้อย คือ ตระหวัดจีวรห่มไม่เป็นระเบียบนุ่งสบงหยักรรั้ง) “ฝนตกแผวบ่พอดินชุ่ม” (ฝนตกไม่ชุ่มแผ่นดิน) “เสียงฟ้ารุ่มปุนกลัว” (เสียงฟ้าร้องครวญครางน่ากลัว) “เตโชดินแห้งแดด” (บางฉบับว่า “เตโชเลิงแห้งแดด”) “แขวดน้ำล้องเป็นนา” (กำหนดเอาบวกหนองเป็นนา) “ท้าวพระยาจักเอาส่วยไรมาก” (รัฐบาลจะเก็บภาษีอากรมาก) “จักทุกข์ไร้ยากปานตาย” “หญิงชายจักโลภตาชั่ง” (ผู้หญิงผู้ชายจะโกงตาชั่ง) “คนรั่งจักจ่ายเงินผิดเมือง” (คนรั่ง คือคนมั่งมี) “สมบัติเรืองจักถอยไป” (บางฉบับว่า “สมเร็จจักถอยไป, สมณะ รีตจักถอยถกไป”) “สัตว์จังไรจะมากินข้าวกล้า” (สัตว์จัญไรจะมากานข้าวกล้า) “ฟ้ามืดแล้วบ่มีฝน” “คนแปลงนาบ่อได้เข้า (ข้าว)” “เท่าจักไว้กล้าแต่งเยีย” (ครึ่มฟ้าครึ้มฝนทำท่าจะตกแต่ไม่มีฝนตก ทำนาก็ไม่ได้ข้าว ถึงได้ก็น้อยกองอยู่มุมยุ้งฉางเท่านั้น ) “คนจักเรรนอิดหอด” (หมู่คนจะเกิดความสับสนด้วยความหิวกระหาย) “อึบกลั้นข้าวรอดทุกปี” (จะอดอยากข้าวปลาอาหารทุกปี) “คนจะขายครัวหนีเสียบ้าน” (ครัวหมายถึงสมบัติ) “จักค้านการเมือง” (จะพ่ายแพ้ต่อการบ้านการเมือง) “ผีลงเนืองมาหาโอกาส” (ทรงเจ้า เข้าผีมาแนะนำสั่งสอน) (บางฉบับว่า “ผีหลวงเนืองมาจากโอกาส”) “ผีหัวหลวง จักร้องอากาศ” “ผีหลวงเนืองอากาศ” “บอกโอวาสสอนคน” (หมายถึงทรงเจ้าเข้าผี ให้มีสั่งสอนคน) “จักมาปองปุนตั้งแต่ง” (ผีจะมารวมตั้งแต่สิ่งต่างๆ ให้) ” มีชุแห่งชุพาย” (จะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง) “ลูกน้องบ่ยำนาย ลูหญิงชายบ่ยำพ่อแม่” (ลูกน้องไม่เคารพผู้เป็นนาย ลูกหญิงลูกชายก็ไม่เคารพพ่อแม่) “ฝูงเฒ่าแก่บ่รักลูกหลาน” “แต่งของเมาเหล้า” (เวลานั้นคนตระเตรียมไทยธรรมจะดื่มสุรา) ชาวเจ้าสูตรเหมือนขับซก” (พระจะสวดมนต์เหมือนร้องเพลง) “วันคืนนั้นนอท่านจะขับไปเศิกไปเวียก” (ไม่ว่าเวลากลางคืนหรือกลางวันจะถูกบังคับให้ไปรบ หรือให้ไปทำงาน) “ท่านจะร้องเรียกหาการ” “ยินผานใจ๋ จกอกแตก” ท่านจะร้องยกไปทำงานเท่านั้นรู้สึกลำบากใจเหมือนกันอกจะแตก) “ฝูงคนแขกจะมียาม” (ในเวลานั้นไม่มีใครไปหากัน) “การสงครามแดนจักเกิดใกล้” “คนจะได้ไห้ตาแดง” “ขัดดาบแฝงกับช้าง” “วันคืนอ้างคำการ” (การสงครามจะต้องเกิดขึ้นแน่ คนจะร้องไห้จนตาเป็นสายเลือด ดาบปืนจะต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลาทุกวันทุกคืนจะเต็มไปด้วยความลำบาก)

    ดูรา สหาย นิมิตทั้งหลายตามที่กล่าวมานี้ แม้นว่าเกิดมีมากในประเทศหรือในนครใด ภัยทั้งหลายก็จะเกิดแผ่กระจายไปทั่วบ้านทั่วเมืองนั้น คนในชมพูทวีปทั้งมวลจะเป็นทุกข์ลำบากใจยิ่งจะเลี้ยงปากก็ไม่พอจะเลี้ยงคอก็ ไม่อิ่ม” กระต่ายกล่าวจบแล้ว กวางทองจึงถามต่อไปว่า “ดูรา สหาย เคราะห์ภัยพิบัติของบ้านเมืองหมดสิ้นแล้วหรือ” กระต่ายตอบว่า ดูรา สหาย เคราะห์ร้ายทั้งมวลยังไม่หมดแค่นี้ ตั้งแต่ปีกาบไจ้เป็นต้นถึงปีรวายไจ้ ในระหว่างนี้ภัยกลียุคจะลุกเป็นเปลวถึง ๗ ครั้งเพราะเหตุว่าาอาณารัฐประเทศกลางชมพูทวีปจะรบราฆ่าฟันกัน คนจะตายเป็นจำนวนมากจนกระทั่งเลือดท่วมข้อเท้าช้าง” กวางทองถามต่อไปอีกว่า “เคราะห์บ้านเคราะห์เมืองจะมีเท่านั้นแลฤา” กระต่ายตอบว่า “ดูราเจ้าสหายเคราะห์ยังหาได้หมดไปไม่ ตั้งแต่ปีรวายไจ้ไปถึงปีเบิกยีจะมีเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง มีช้างม้ามากนัก แต่หาคนขี่มิได้และมีเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่ง มีท้ายพระยารี้พลมาก แต่หาช้างม้าขี่มิได้ ยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งมีแต่ผู้หญิงแต่หาผู้ชายมิได้ ยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งมีข้าวน้ำปัจจัยมาก ข้าวสัดหนึ่งจะขายราคา ๑ ซีก ก็ไม่มีคนซื้อ ดีกว่ามีข้าวไว้แต่หาคนกินมิได้ มีเรือนไว้แต่หาคนอยู่มิได้ ยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งมีคนไว้ แต่ไม่มีข้าวจะกิน คือว่าข้าวสารหมื่นน้ำหนึ่ง (ประมาณ ๑๐ ลิตร) ให้ราคา ๒๐๕ ธ็อก ก็หาคนขายไม่ได้ ข้าพเจ้าจะอุปมาให้แจ้งดังนี้เปรียบเหมือนสระใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างแสนโยชน์ยาวก็แสนโยชน์ แต่ความลึกมีเพียงประมาณ ๑ ข้อมือ สระนั้นคงมีปลาและสัตว์ทั้งหลายอยู่บ้าง แต่ไม่มีมากเหมือนแต่ก่อน เพราะว่ามีหญ้างอกงามรุกล้ำเข้ามาเป้นอันมาก น้ำก็แห้งไปสิ้นและสระนั้นไม่มีผู้ใดจะดูแล” กวางทองจึงถามต่อไปว่า “ดูราสหาย เคราะห์ร้ายลียุคหมดสิ้นแค่นั้นแล้วหรือ” กระต่ายกล่าวว่า “ดูราสหายฯ ตั้งแต่ปีเบิกยีต่อไปภายหน้าจะมีพระยาใหญ่ ๔ องค์มาแต่ทิศทั้งสี่จะมาชุมนุมกันในหนองนัำนั้น คือว่า เมืองใหญ่ที่นั้น พระองค์องค์ที่มาจากทิศตะวันออกจะถามพระยาใหญ่ ๓ องค์นั้นว่า “ดูรา สหายทั้งสาม ตามที่ข้าพเจ้าได้ยินมานี้ว่า บ้านเมืองในชมพูทวีป ซึ่งกว้างได้หมื่นโยชน์ มีสัณฐานเหมือนหน้า ตั้งแต่ปฐมกัปป์มาถูกน้ำมหาสมุทรท่าวมไปเสียสี่พันโยชน์ เป็นป่าหิมพานต์เสียสามพันโยชน์ เหลือเฉพาะที่อยู่ของคนสี่พันโยชน์ มีแม่น้ำใหญ่ ๕ แม่น้ำ คือแม่น้ำคงคา, แม่น้ำยมมุนา, แม่น้ำจิรวดี, แม่น้ำสรภู, แม่น้ำมหิ, แม่ น้ำเหล่านี้ย่อมไหลไปสู่ราชธานีเมืองใหญ่โน้นทั้งสิ้น ไม่ไหลไปสู่ปัจจันตประเทศแม้แต่แม่น้ำเดียว บ้านเมืองปัจจันตประเทศที่นี้ มีแต่เพียงแม่น้ำห้วยไคร้เท่านั้น ที่เป็นแม่น้ำไหลมาจากหนองพระยากาจก ในเมืองมิถิลานคร ไหลผ่านเมืองไทยหมดแล้ว แล้วไหลไปถึงเมืองสุวรรณภูมิโน้น ฟากห้วยไคร้ไปทางทิศตะวันตก เป็นเขตแดนเมืองโกสัมพีนครทั้งสิ้น แม้นเมืองกุจฉิราราย, เมืองกาลี, เมือง หงสาวดี ก็อยู่ฟากนี้ทั้งหมดสิ้นฟากน้ำห้วยไคร้ไปทางทิศตะวันออกตามลำดับไปจนถึงหนอง พระยากาจก เป็นเกาะเสียเป็นส่วนมาก ทางทิศเหนือหากเป็นเมืองอาฬวี คือเมืองลี้ ภายใต้น้ำห้วยไคร้นั้น เป็นเมืองยวมเมือง -ย ทั้งหมด แม้นเมืองสุโขทัย, เมือง จำปานครและเมืองสุวรรณภูมิ ตั้งอยู่ทางทิศนี้ทั้งสิ้น น้ำจากหนองพระยากาจกหากกำหนดเขตแดนเมืองสุวรรณภูมิทั้งสิ้น ฟากน้ำหนองแสพระยากาจกไปทางทิศตะวันออกเป็นเขตเมืองอุตตระปัญจะ, เมืองจุฬนี, เมืองตักกสิลา, เมืองปาไวย, เมืองอนุราธะ, เมืองเจตรัฏบะ, เมือง พาราณสี นอกเหนือจากเมืองที่กล่าวมานี้ ข้าพเจ้าไม่อาจจะกล่าวได้ตั้งแต่เขตแดนเมืองคนเราไปทางทิศเหนือเป็นป่าไม้ ทั้งสิ้น (บางฉบับว่าเป็นป่าหิมพานต์) ต่อจากป่าไม้นั้นไปทางทิศเหนือเป็นเขาสิเนโรตั้งอยู่ ฟากน้ำห้วยไคร้ไปทางทิศตะวันตกเมืองทั้งหลายเหล่านั้นเป็นภาษาเดียวกันคน ทั้งหลายที่อยู่ฟากตะวันตกเฉียงเหนือของถ้ำจากหนองแสพระยากาจก เขาไม่มีภาษาเหมือนกัน แผ่นดินในเมืองชมพูทวีป แบ่งออกเป็น ๓ ส่วนเท่าๆ กัน พระยาใหญ่องค์ที่อยู่ทิศตะวันออกจะได้บอกกล่าวเช่นนี้” กระต่ายกล่าวจบแล้วก็ถามกวางทองว่า “ดูราสหาย ส่วนที่ว่าเจ้าองค์ที่มีบุญจะเป็นที่พึ่งแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นที่ท่าน รู้จักแจ่มแจ้งหรือไม่” กวางทองจึงกล่าวว่า “ดูรา สหาย ส่วนว่า เจ้าองค์มีทมียุญสมภารมากนั้น ข้าพเจ้ามีความรู้บ้างเล็กน้อย แต่ว่าไม่ควรจะพูดถึงที่อยู่แห่งท่านผู้มีบุญนั้นได้ ข้าพเจ้าจะกล่าวอุปมาให้ท่านทราบ เพราะว่าท่านผู้มีบุญนั้น คนทั้งหลายย่อมปรารถนาจะใคร่เห็นหน้าท่านทุกวันทุกเวลา แต่ผู้ที่จะได้เห็นนั้นรู้สึกว่าเป็นการยาก เหตุว่ายังไม่ถึงคราวตามที่ข้าพเจ้าได้ยินมานี้ ท่านยังจะได้เป็นพ่อค้าข้าวสารเสียก่อน ท่านเป็นลูกของช่างหูกผู้หนึ่งอยูในปัจจันตประทเศ คือชนบทบ้านนอก เพราะเหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะว่าเมืองมัชฌิมาประเทศทั้งหลายนั้น อุปมาเหมือนสระน้ำอันแห้งหาน้ำไม่ได้ ผู้มีบุญจะหาสิ่งใดบริโภคลำบาก ส่วนเมืองปัจจันตลชนบท บ้านนอกเป็นเมืองคับแคบ ที่ใดชุ่มชื้นเย็นใจ ท่านก็าตนไปเลี้ยงชีวิตตามสุขสำราญในที่นั้น เมื่อใดสระน้ำใหญ่อันเก่านั้นมีน้ำบริบูรณ์บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุขผู้คน มาก ในกาลครั้งนั้น พระอินทร์จะลงมา ท้าวจตุโลกบาล, ยักษ์, คน ธรรพ์และกุมภัณฑ์ทั้งหลายก็จะพร้อมกันเล็งดูหมู่คนในโลก ให้รู้ว่าคนบุญหรือคนบาป แล้วจะได้ยกออกเสียตามวิบากกรรมทั้งหลาย ทุกบ้านทุกเมือง เป็นต้นว่าให้เสือกกัด งูฉก ฟ้าผ่า ตายลงเลือดอาเจียนเป็นโลกหินตเป็นหนองเป็นฝี เป้นอหิวาตกโรค หรือเป็นโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ หรือรบพุ่งฆ่าฟันกัน คนมีบาปและพระเณรที่มีบาปย่อมจะฉิบหายไปสิ้น พระเณรและคนทั้งหลายที่เหลือ ก็จะสะดุ้งตกใจกกลัวต่อภัยทั้งหลาย เขาก็พร้อมเพรียงกันสามัคคีเว้นจากการทำบาป จะพร้อมกันทำบุญกุสลต่างๆ เป็นต้นว่า ให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ เจริญเมตตาภาวนา จะเป็นเช่นนี้ทุกบ้านทุกเมืองทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่ปีเบิกยีตราบถึงปีเบิกสัน ในกาลนั้นท้าวจตุโลกบาลและเทวดาทั้งหลาย ก็จะลงมาเลียบดูโลกทุกบ้านน้องเมืองใหญ่ทุกแห่ง เห็นพระเณรและท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายตลอดถึงคนทั้งปวง ยึดเอาแก้ว ๓ ประการเป็นสรณะที่พึ่ง มุ่งประกอบแต่เฉพาะบุญอย่างเดียว ไม่กระทำบาปแล้วเช่นนั้น เทวดา, พระอินทร์, พระ พรหมและเทวคณาทั้งหลาย ก็จะพร้อมกันอุสสาราชาภิเษกเจ้าตนบุญนั้น ขึ้นเป็นพระธรรมิกราชให้เสวยทิพยสมบัติในเวียงเชียวดาวที่นั้น เทวดาทั้งหลายจะไปเอานางแก้ว อุดรชมพูทวีปมาเป็นเอกอัครมเหสีของพระยาธรรมิกราช” กวางทองและกระต่ายทั้งคู่อันเป็นสัตว์เนรมิตได้ถามและตอบซึ่งกันและกันเช่น นั้น ต่างก็อำลาซึ่งกันกลับไปอยู่ที่อยู่แห่งตน”



    สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระเทศนาพยากรณ์ พระยายักขราชได้ฟังเช่นนี้ เมื่อได้พังพระพุทธทำนายตนเช่นนั้น ก็บังเกิดความยินดีอภิวาทกราบไหว้พระพุทธเจ้า แล้วกลับคืนไปสู่ดอยอ่างสรงอันเป็นที่อยู่แห่งตน

    พระพุทธเจ้าก็เสด็จพรากจากที่นั้น ทรงจาริกไปโปรดเวไนยสัตว์ทั้งหลายต่อไป แลฯ

    พุทธตำนานกัณฑ์ที่ ๙ ก็จบด้วยประการฉะนี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ศักราชรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากที่พบในจารึกโบราณ
    ยังมีศักราชรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏในจารึก แต่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณอื่นๆ อีก เช่นอัญชนะศักราช เป็นศักราชที่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณของล้านนา อ. พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ได้กล่าวถึงที่มาของ “อัญชนะศักราช” ไว้ในบทความเรื่อง “อัญชนะศักราช ศักราชที่ไม่มีคนใช้” ค่อนข้างยาว ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำมาลงไว้ ณ ทีนี ้ :

    “พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) กล่าวไว้ในหนังสือ ประวัติศาสนา ของท่านว่าก่อนเวลาที่พระพทุธเจ้าทรงประสูติเล็กน้อย ที่กรุงเทวทหะมีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าอัญชนะ มีพระขนิษฐาพระองค์หนึ่งไปเป็นพระมเหสีพระเจ้าสีหหนุแห่งกรุงกบิลพัสดุ์ ส่วนพระองค์ก็ได้พระขนิษฐาของพระเจ้าสีหหนุมาเป็นพระมเหสี ส่วนที่กรุงราชคฤห์มีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าพาทิยะ กษัตริย์ทั้งสามนครสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามหาสมมติตั้งแต่ครั้งปฐมกัลป์ และเป็นพระสหายกันพระเจ้าอัญชนะนั้นมีพระอนุชาพระองค์หนึ่งถือเพศเป็นดาบส พระนามว่า กาลเทวิลดาบส

    ครั้งหนึ่ง กาลเทวิลดาบส ได้ชักชวนให้กษัตริย์ทั้งสามนครลบศักราชเก่าเสียแล้วตั้งศักราชของตนเองขึ้นมาใช้ใหม่เรียกว่า อัญชนะศักราช แต่ในบางแห่งก็เรียกว่าศักราชของพระเจ้าสีหหนุพระเจ้าสีหหนุมีโอรสพระองค์หนึ่งคือพระเจ้าสุทโธทนะ มีพระชายาคือพระนางสิริมหามายาและต่อมามีพระชายาอีกองค์คือพระนางปชาบดี ทั้งสองเป็นพระธิดาของพระเจ้าอัญชนะ ต่อมาเมื่ออัญชนะศักราชได้ ๖๘ ปี พระโพธิสัตว์ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา และมีพระประสูติกาลเมื่ออญัชนะศกัราชได้๖๙ ปี ครั้งเมื่ออัญชนะศักราชได้ ๙๘ ปี พระโพธิสัตว์สิทธัตถะทรงออกผนวช และได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพทุธเจ้าเมื่ออญัชนะศักราชได้๑๐๓ ปีจนถึงอัญชนะศักราชได้ ๑๔๘ ปีก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน”


    อย่างไรก็ดี ดร. สมหมาย จันทร์เรือง และ อ. ยุทธพร นาคสุข ต่างก็ได้กล่าวไว้ในบทความของแต่ละท่านว่า อัญชนะศักราชนั ้นได้ตั้งขึ้นก่อนพุทธศักราช ๑๔๗ ปี ซึ่งต่างกับข้างต้นที่ว่า ๑๔๘ ปีทั้งนี้น่าจะขึ้นอยู่กับว่านับตามแบบลังกาหรือไม่ เพราะหากนับตามแบบลังกา จะต้องบวกเพิ่มอีก ๑ ปีคือเป็ น ๑๔๘ หากนับแบบพม่าจะเป็ น ๑๔๗ฉะนั ้น วิธีการค านวณ “อัญชนะศักราช” ก็คือ น าเลขอัญชนะศักราช + ๑๔๗ หรือ ๑๔๘ แล้วจึงจะได้เลขพุทธศักราช

    ศักราชจุฬามณี เป็นศักราชที่ปรากฏอยู่ในหนังสือไทยโบราณ มีขึ ้นหลังจุลศักราช ๒๕๘ ปีหรือ หลังพุทธศักราช ๑๔๓๙ ปี ทั ้งนี ้ยังไม่ทราบที่มาว่าศักราชชนิดนี ้มีขึ ้นในสมัยใด ทราบแต่เพียงว่า หากพบศักราชนี ้ในหนังสือกฏหมายโบราณ ต้องใช้เกณฑ์การคำนวณโดย นำเลขศักราชจุฬามณี + ๑๔๓๙ จึงจะได้เลขพุทธศักราช สรุป
    จากเนื้อความทั้งหมดข้างต้น อาจจะเห็นบ้างแล้วว่า แม้จะมีสูตรการคำนวณเลขศักราชอย่างค่อนข้างแน่นอน แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะคลาดเคลื่อนได้ เนื่องจาก การนับปี ด้วยจำนวนพุทธศักราชนั้นมีอยู่ ๒ วิธี คือ (๑)เริ่มนับปี ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็ นพุทธศักราช ๑ วิธีนี ้เรียกง่ายๆ ว่านับตามแบบลังกา และ (๒)
    เริ่มนับพุทธศักราช ๑ หลังจากวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานครบ ๑๒ เดือนแล้ว วิธีนี ้เรียกง่ายๆ ว่านับตามแบบพม่า

    ดังนั้นจะเห็นว่า หากนับแบบลังกา จำนวนปี ที่จะนำมาบวกเพิ่ม จะมีมากกว่านับอีกแบบ ๑ ปีตัวอย่างเช่น การคำนวณปี มหาศักราช อาจจะต้องบวกด้วย ๖๒๑ หรือ ๖๒๒, การคำนวณปี จุลศักราช อาจจะต้องบวกด้วย ๑๑๘๑ หรือ ๑๑๘๒ เป็นต้น แต่โดยมากแล้วของไทยจะนับตามแบบพม่า

    อ. พิพัฒน์ สุขทิศ ได้ตั้ข้อสังเกตไว้ในบทความเรื่อง “การนับปี แห่งพุทธศักราช” ว่า
    “ข้อควรพิจารณามีอยู่ว่า คตินับปี พุทธศักราชนั ้นเรารับมาจากลังกา แต่ไฉนวิธีนับจึงไม่เป็นไปตามอย่างชาวลังกา หรือว่าเดิมเรานับอย่างลังกา ภายหลังจึงเปลี่ยนวิธีนับใหม่ไม่เอาอย่างเขาต่อไป ถ้าเป็นอย่างนี้มีปัญหาว่า เราเปลี่ยนวิธีนับตั้งแต่เมื่อใด ผู้เขียนได้ค้นคว้าหลักฐานจนพอทราบได้ว่า "ในสมัยสุโขทัยตั้งแต่รัชกาลพระเจ้าลิไทยเป็ นต้นมา เรานับจำนวนพุทธศักราชตามอย่างชาวลังกาผู้เป็นครูแท้ทีเดียว เพิ่งเปลี่ยนมานับปี อดีตในสมัยอยุธยานี้เอง ...”

    จากข้อสังเกตนี้น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า เหตุใดจารึกบางหลักจึงกำหนดอายุแบบพม่า และบางหลักกำหนดแบบลังกาอย่างไรก็ตาม บทความนี ้มุ่งเพียงให้ความรู้และเทคนิคง่ายๆ ในการคำนวณ เพียงจากขั้นตอนสั้นๆ ที่ให้มาแล้วนั้นเป็นเบื้องต้น ก็จะสามารถกำหนดอายุจารึกจากเลขศักราชได้อย่างคร่าวๆ หากมีความสนใจที่จะสามารถกำหนดอายุจารึกด้วยเทคนิคที่ซับซ้อนกว่านี้ เช่น กำหนดจากรูปแบบอักษร, ดวงฤกษ์ดวงชะตา, ศัพท์สัญลักษณ์ ฯลฯ ก็น่าที่จะสามารถพัฒนาได้ต่อๆ ไปโดยอาศัยการค้นคว้าจากแหล่งความรู้ที่อยู่มากมายในปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จารึกที่มีคำสาปแช่งโบราณ

    • จารึกปู่ขุนจดิขุนจอด (สท. ๑๕ อักษรไทยสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๓๕) ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๗-๒๒ :
    “ผิผูใ้ด ใครบ่ซื่อ จ่งุ ผีฝงูนีห้กักา้วนา้วคออย่าเป็นพระยาเถิงเท่าเป็นเจ้าอยู่ยืน หืนตายดงัวนัทันดังเครียวเขียว เห็นอเวจีนรกตกอบายเวทนา เสวยมหาวิบาก อย่าได้คาดได้พบพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์สักคาบ”


    จารึกวัดแดนเมือง ๒ (จารึกวัดปัจจันตบุรี) (นค. ๒ อักษรไทยน้อย พ.ศ. ๒๐๗๘) ด้านที่ ๑ บรรทัด
    “...ผูใ้ดหากโลภะตณั หามากแลมลา้งราชอาชญาทา้วปะญาเสีย แลล่วงค าสอน
    พระพทุ ธเจ้า แลเอาหมากพลูพร้าวตาลไร่นาข้าคนไวก้ บัพระพทุธเจ้า......ก หากจักไปไหม้ในนรก.......พระพุทธเจ้า หาก (โทสะ) ......ลงได้มีอันจักไป”


    จารึกวัดเทพจันทร์(อย. ๓ อักษรไทยอยุธยา พ.ศ. ๒๒๗๗) บรรทัดที่ ๑๖-๑๗ :
    “...ถา้บคุ คลผูใ้ดมิฟัง แลขดุ พระพทุธรูป แลทอ้งพระวิหารก็ดี ให้ตกนรกอพิจี อย่าทันพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้าเลย ...”


    • ปราสาทหินพระวิหาร ๒ (ศก. ๓ อักษรขอมโบราณ พ.ศ. ๑๖๖๔) ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๕-๖ :
    “...(ผู้ใดทำลาย) หลักศิลานี้ผู้นั้น จงไป...ตกนรก ตราบเท่าที่พระจันทร์พระอาทิตย์ยังมีอยู่”


    จารึกวัดใหม่ศรีโพธ์ิ๒ (อย. ๔ อักษรไทยอยุธยา พ.ศ. ๒๒๙๘) ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๒-๓ :
    “...อ้ายบุญน้อย อ้ายชีย์ อ้ายเกิด อ้ายสน อ้ายสี อ้ายบุญมาก อีฉิม อีทองมาก อีกุ อีเขียว๑๓ ไวเ้ป็นข้าพระสำหรับอารามสืบๆ ไป ถา้ผู้ใด เอาไปเป็นบ่าวไพร่ข้าไท ให้ตกนรกมหาวิจี ้ แสนกัลปอนันตชาติ อย่าให้พระพุทธเจ้าโปรดได้เลย”

    จารึกพลับพลาจตุรมุข (อย. ๘ อักษรไทยอยุธยา พ.ศ. ๒๓๐๑) บรรทัดที่ ๕-๘
    “…อันบริวารยักษ์แลเทวดาทั้งปวง แลให้สังหารผลาญชีวิตเอาบุคคลซึ่งคิดอ่านจะยักย้าย จะฉอ้เอาของพระไป และจะใหพ้ น้จากขา้พระ พระกลัปนา อทุ ิศไวท้งั้นี้อย่าใหบ้ คุ คลผูน้ นั้ พบพระพทุธเจ้าพระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้าเลย ให้ตกนรกหมกไหม้อย่ใูนมหาเวจีแสนกัลปอนันตชาติเทิด...”

    จารึกที่อุโบสถวัดหน้าพระเมรุ๒ (อย. ๔๔ อักษรไทยธนบุรี – รัตนโกสินทร์) บรรทัดที่ ๗-๘ :
    “...ใครอย่าปลงอย่าเจาะ ขดุ คดักะเทาะอิดปนู ใหเ้สียสูญของบูชา ลา้งสทาเราอทุ ิศ เป็นอุกฤษโทษโหดหืน ให้ตายคืนตายวัน อย่าให้ทันถึงเดือน อย่าให้เคลื่อนถึงปีตกอเวจีแสนกับกัลป์...”

    จารึกวัดศรีบุญเรือง (หนองคาย) (นค. ๖ อักษรไทยน้อย พ.ศ. ๒๐๕๑) บรรทัดที่ ๑๑-๑๓ :
    “...ทา้วพระยาแสนหมื่นเจ้าบา้นเจ้าเมืองอย่าถกอย่าถอนออก ผใู้ดหากโลภตณั หามากแลถกถอนออก ให้มันไปไหม้ในอบายทั้ง ๔...”

    จารึกวัดพระธาตุพนม (นพ. ๑ อักษรไทยน้อย พ.ศ. ๒๑๕๗) บรรทัดที่ ๑๕-๑๘ :
    “…ผิผูใ้ดโลภะตณั หามาก หากยงัมาถกมาถอนดินดอนไร่นา บา้นเมืองน ้าหนองกองปลาฝงูนั้นออกอบายคมณียะให้ถึงแก่มัน”

    จารึกวัดถา ้สุวรรณคหู า ๑ (อด. ๑ อักษรธรรมอีสานและไทยน้อย พ.ศ. ๒๑๑๕) บรรทัดที่ ๑๕-๑๗ :
    “...ทา้วมาลนุ ขนุ มาใหม่ อย่าใหม้ ลา้งพระราชอาชญา ผูใ้ดหากโลภตณั หามากแลมามลา้งพระราชอาชญา ให้ผ้นูั้นได้ไปไหม้อบายทุกข์ทั้งสี่...”


    จารึกวัดถา ้สุวรรณคหู า ๒ (อด. ๒ อักษรธรรมอีสาน พ.ศ. ๒๑๖๙) บรรทัดที่ ๑๒-๑๓ :
    “...ผูใ้ดมลา้งค าผูข้า้ให้มันตกอบายทั้ง ๔ โสตเทวทัต ชั่วอย่ารีมีอย่ากว้างเทอญ”

    จารึกวัดวิชัยอาราม (ขก. ๘ อักษรไทยน้อยและธรรมอีสาน พ.ศ. ๒๑๗๒) บรรทัดที่ ๒๐-๒๓ :
    “ทา้วมาลนุ ขนุ มาใหม่อย่ามลา้ง อย่ารีด อย่าถอด อย่าถอน อย่ากกุ อย่ากวน ผูใ้ดมีใจ
    ประกอบด้วยโลภตัณหา แลมล้างรีดถอดถอนคนขุมนี้หนีจากศาสนาที่นี้ เอาไปใต้มาเหนือที่ใดก็ดีให้ขาดทานวัตถุแห่งเรา ให้มันผู้นั้นได้ไปไหม้ในอบายทั้ง ๔ แมน้ พระพทุ ธเจ้าเกิดมาคู่เม็ดหินเม็ดทรายก็ดี อย่าให้พ้นจากอบายทั้ง ๔ ด้วยบาปกรรมอันได้มล้างทานวัตถุแห่งเรานั้น...”


    จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด (สท. ๑๕ อักษรไทยสุโขทัย พ.ศ. ๑๙๓๕) ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๗-๒๒ :
    “ผิผูใ้ด ใครบ่ซื่อ จ่งุ ผีฝงูนีห้กักา้วนา้วคออย่าเป็นพระยาเถิงเท่าเป็นเจ้าอยู่ยืน หืนตายดงัวนัทันดังเครียวเขียว เห็นอเวจีนรกตกอบายเวทนา เสวยมหาวิบาก อย่าได้คาดได้พบพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์สักคาบ”


    จารึกวิหารจันทรอาราม (ชร. ๑ อักษรฝักขาม พ.ศ. ๒๐๓๑) ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗-๑๑ :
    “...เป็นวดัลูกพระเป็นเจ้าเชียงราย ไผมากินนีบ้ ่ไดด้งัค ากูว่านีด้าย หือ้ มนัดบัมนัวาย อย่าหือ้มันได้....เป็นขุน อย่าหื้อมันได้หันหน้า.....ตรัย...”


    จารึกวัดเทพจันทร์(อย. ๓ อักษรไทยอยุธยา พ.ศ. ๒๒๗๗) ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๖-๑๗ :
    “...ถา้บคุ คลผูใ้ดมิฟัง แลขดุ พระพทุ ธรูป แลทอ้งพระวิหารก็ดี ให้ตกนรกอพิจี อย่าทันพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้าเลย ...”

    จารึกพลับพลาจตุรมุข (อย. ๘ อักษรไทยอยุธยา พ.ศ. ๒๓๐๑) บรรทัดที่ ๕-๘ :
    “…อันบริวารยักษ์แลเทวดาทั้งปวงแลให้สังหารผลาญชีวิตเอาบุคคล ซึ่งคิดอ่านจะยักย้าย จะฉ้อเอาของพระไป และจะให้พ้นจากข้าพระ พระกัลปนา อุทิศไว้ทั้งนี้ อย่าให้บุคคลผ้นูั้นพบพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้าเลย ใหต้กนรกหมกไหม้อยู่ในมหาเวจีแสนกลัปอนนัตชาติเทิด...”


    จารึกวัดธาตุอุปสมาราม (วัดบ้านโก่ม) (อด. ๕ อักษรไทยน้อย พ.ศ. ๒๑๓๔) บรรทัดที่ ๓-๕ :
    “...ผูใ้ดมลา้งอาชญาใหม้ นัเป็นหลกัเป็นตอในสงสารอยู่อย่าใหเ้กิดเป็นคนสกัชาติ...”


    จารึกวัดไชยเชษฐา (วัดทุ่ง) (นค. ๑๔ อักษรไทยน้อยและธรรมอีสาน พ.ศ. ๒๐๙๗) ด้านที่ ๑
    บรรทัดที่ ๙-๑๐ :
    “...ดินบ่อนนีไ้ดช้ื่อดอน.......ผูใ้ดยงัเอาออก......มนัไปเป็นเทวทตั...”
    แม้จะมีข้อความไม่ครบสมบูรณ์ แต่ก็พอจับความได้ว่า หากใครมาล่วงล ้าหรือช่วงชิงที่ดิน(ของวิหาร) ผืนนี ้ ก็ขอให้ไปเป็ นเทวทัตในภายหน้า


    จารึกพลับพลาจตุรมุข (อย. ๘ อักษรไทยอยุธยา พ.ศ. ๒๓๐๑) บรรทัดที่ ๘-๑๐
    “…อันบาป ก าม อันหนัก ซึ่งบุคคลทั้งปวงได้กระท าปิ ตุฆาต มาตุฆาต โลหิตบาท สังฆเภท ให้บุคคลซึ่งจะฉ้อข้าของพระไปแล้วนั้น ให้ทนทุกขเวทนา ให้ผลัดมหาเถรเทวทัตทุกๆ ชาติเทิด...”


    จารึกวัดสมุหนิมิตร (สฏ. ๑๖ อักษรขอมธนบุรี-รัตนโกสินทร์พ.ศ. ๒๓๑๙) ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๑-
    ๑๔ :
    “…ถา้แลผูใ้ดเบียดบงัเอานาแลจังหันซึ่งเป็นของพระสงฆ์ แต่สักทะนานหนึ่งขึ้นไป พอให้โรคแปดประการ อัณณราย ๑๖ ประการให้บังเกดิมีแก่ผู้นั้นไปจนเข้านิพพานเถิด...”


    ค่อยแก้ตัวอักษร แช่งกันน่าดูชม
     
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ชื่อจารึก จารึกคำอธิษฐาน
    ชื่อจารึกแบบอื่นๆ หลักที่ ๒๙๐ จารึกคำอธิษฐาน, พย. ๑๗ จารึกคำอธิษฐาน พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒, พย. ๑๗ จารึกคำอธิษฐาน
    อักษรที่มีในจารึก ไทยสุโขทัย
    ศักราช พุทธศตวรรษ  ๒๐-๒๑
    ภาษา ไทย
    ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๒ ด้าน มี ๔๖ บรรทัด ด้านที่ ๑ มี ๓๗ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๙ บรรทัด
    วัตถุจารึก หินทรายสีแดง
    ลักษณะวัตถุ รูปใบเสมา
    ขนาดวัตถุ กว้าง ๔๑ ซม. สูง ๑๐๓ ซม. หนา ๑๓ ซม.
    บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “พย. ๑๗”
    ๒) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๗ กำหนดเป็น “หลักที่ ๒๙๐ จารึกคำอธิษฐาน”
    ๓) ในหนังสือ จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ กำหนดเป็น “พย. ๑๗ จารึกคำอธิษฐาน พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒”
    ๔) ในหนังสือ ประชุมจารึกเมืองพะเยา กำหนดเป็น “พย. ๑๗ จารึกคำอธิษฐาน”
    ปีที่พบจารึก ไม่ปรากฏหลักฐาน
    สถานที่พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ผู้พบ ไม่ปรากฏหลักฐาน
    ปัจจุบันอยู่ที่ วัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
    พิมพ์เผยแพร่ ๑) ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๗ (กรุงเทพฯ : สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, ๒๕๓๔), ๔๗-๕๒.
    ๒) จารึกล้านนา ภาค ๑ เล่ม ๑ (กรุงเทพฯ : มูลนิธิเจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน, ๒๕๓๔), ๑๔๑-๑๔๓.
    ๓) ประชุมจารึกเมืองพะเยา (กรุงเทพฯ : ศิลปวัฒนธรรม, ๒๕๓๘), ๓๗๘-๓๘๔.
    ประวัติ นายเทิม มีเต็ม นักภาษาโบราณ งานบริการหนังสือภาษาโบราณ กองหอสมุดแห่งชาติ เดินทางขึ้นไปทำการสำรวจกับเจ้าหน้าที่กองโบราณคดี เพื่อจัดทำประวัติจารึก เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เดิมศิลาจารึกหลักนี้ขึ้นอยู่ในบัญชีจารึกจังหวัดเชียงราย ลำดับเลขที่ ชร. ๑๒ (ชร./พ. ๑) ได้ตัดโอนตั้งเป็นบัญชีจารึกจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เลขที่ พย. ๑๗
    เนื้อหาโดยสังเขป แม้ข้อความจารึกคำอธิษฐานนี้จะขาดหายไปมาก แต่ก็นับว่าเป็นตัวอย่างที่ดีของการเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์สังคมไทยสมัยโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับเทวปกรณ์ และบรรดาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ซึ่งคนในสมัยก่อนมิอยากให้มาเบียดเบียน ดังจะเห็นได้ว่าด้านที่ ๑ สตรีชั้นสูงผู้ประกอบบุญกุศลในพุทธศาสนา ได้อัญเชิญเทพในเทวปกรณัมของฮินดูมาเป็นสักขีพยาน และแสดงคำอธิษฐาน ขออุทิศส่วนกุศลแก่คนทั้งหลาย ขอให้ได้พบแต่ความสุขอายุยืนปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นอกจากนั้น ตัวนางเองปรารถนาได้บรรลุอรหัตตผล แต่ก่อนวันได้บรรลุสิ่งนั้นก็ขอให้มีรูปและพรรณงามดั่งนางพิสาขา นอกจากนี้ก็ขออย่าได้มีโรคพยาธิต่างๆ มากล้ำกลาย ส่วนในด้านที่ ๒ นางอธิษฐานขอให้ได้เกิดในสวรรค์และได้พบกับพระศรีอาริยเมตตรัย ซึ่งเป็นอนาคตพุทธเจ้า
    ผู้สร้าง ไม่ปรากฏหลักฐานการกำหนดอายุ ในการประชุมกลุ่มสุโขทัยศึกษา-อยุธยาคดี ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร ได้แสดงความคิดเห็นว่า จารึกคำอธิษฐานนี้ ไม่น่าจะมีอายุเก่าไปกว่ากลางพุทธศตวรรษที่ ๒๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กันยายน 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๖ สมัยเดียวกันกับประเทศลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ๙ สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ไม่น้อยกว่า ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้

    พระพุทธศาสนา สมัยทวาราวดี
    ผืนแผ่นดินจุดแรกของอาณาจักรสุวรรณภูมิ หรือที่เรียกกันว่า "แหลมทอง" ซึ่งท่าน พระโสณะกับพระอุตตระได้เดินทางจากชมพูทวีปเข้ามาประดิษฐานนั้น จดหมายเหตุของหลวงจีนเหี้ยนจัง เรียกว่า "ทวาราวดี" สันนิษฐานว่าได้แก่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะมีโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น ปรากฏว่าเป็นหลักฐานประจักษ์พยานอยู่ พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในครั้งนี้ เป็นแบบเถรวาทดั้งเดิม พุทธศาสนิกชนได้มีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในอินเดีย ที่พระเจ้าอโศกทรงสร้างขึ้น ศิลปะในยุคนี้เรียกว่า ศิลปะแบบทวาราวดี

    พระพุทธศาสนา สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
    พระพุทธศาสนาในยุคนี้เป็นแบบมหายาน ในสมัยที่ขุนนางเม้ากษัตริย์ไทย ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยปัจจุบัน ครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายานผ่านมาทางประเทศจีน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ ๔ ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเซียกลาง พระเจ้ามิ่งตี่ กษัตริย์จีนทรงรับพระพุทธศาสนาไปเผยแผ่ในจีน และได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรอ้ายลาว คณะทูตได้นำเอาพระพุทธศาสนามาด้วย ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง ๗๗ มีราษฎร ๕๑,๘๙๐ ครอบครัว หันมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานเป็นครั้งแรก

    พระพุทธศาสนา สมัยศรีวิชัย พ.ศ. ๑๓๐๐
    อาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ได้แผ่อำนาจเข้ามาถึงจัดหวัดสุราษฎร์ธานี กษัตริย์ศรีวิชัยทรงนับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน พระพุทธศาสนาแบบมหายานจึงได้แผ่เข้ามาสู่ภาคใต้ของไทย ดังหลักฐานที่ปรากฏคือเจดีย์พระบรมธาตุไชยา พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช และรูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร

    พระพุทธศาสนา สมัยลพบุรี พ.ศ. ๑๕๕๐
    ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. ๑๕๔๐ และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น
    เมืองลพบุรี ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดี ส่วนข้างใต้
    เมืองสุโทัย ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวาราวดีส่วนข้างเหนือ
    เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
    เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงต้อนข้างเหนือ
    เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิมด้วย กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนา ๒ แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายาน และภาษาสันสกฤตอันเป็นภาษาหลักของศาสนาพราหมณ์ และพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานก็ได้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในด้านภาษาและวรรณคดีไทยตั้งแต่บัดนั้นมา สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น คือพระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นก็เป็นแบบขอม ถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี

    พระพุทธศาสนา สมัยเถรวาทแบบพุกาม
    ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธมหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับรามัญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง จนถึงลพบุรี และทวาราวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวสลายตัว ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๒๙๙ ขุนท้าวกวาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาอาณาจักรโยนกเชียงแสนในสุวรรณภูมิ หลังจากนั้นคนไทยก็กระจัดกระจายอยู่ทั่วภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทยปัจจุบัน เมื่อกษัตริย์พุกาม (กัมพูชา) เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากขอมเช่นเดียวกัน คือเมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ ๔ มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากพุกามแบบพม่า

    พระพุทธศาสนา สมัยสุโขทัย
    หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง ๒ อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อยู่ทางภาคเหนือของไทย และอาณาจักรสุโขทัย มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยปัจจุบัน เมื่อพ่อขุนรามคำแหงเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง ๒ ครั้ง คือครั้งที่ ๑ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ครั้งที่ ๒ ในสมัยพระเจ้าลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก กษัตริย์ทุกพระองค์ทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม มีความสงบร่มเย็น ประชาชนเป็นอยู่โดยผาสุก ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน

    พระพุทธศาสนา สมัยอยุธยา
    พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลของพราหมณ์เข้ามามาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์ เน้นความขลังความศักดิ์สิทธิ์ และอิทธิปาฏิหาริย์ มีเรื่องไสยศาสตร์เข้ามาปะปนอยู่มาก ประชาชนมุ่งเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น

    อยุธยาตอนแรก (พ.ศ. ๑๙๙๑ - ๒๐๓๑)
    ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา ๘ เดือน เมื่อ พ.ศ. ๑๙๙๘ และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน พ.ศ. ๒๐๒๕

    สมัยอยุธยาตอนที่สอง ( พ.ศ. ๒๐๓๔ - ๒๑๗๓)
    สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พบพระพุทธบาทสระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๑๗๐ และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย

    สมัยอยุธยาตอนที่สาม (พ.ศ. ๒๑๗๓ - ๒๓๑๐)
    พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้พวกฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่ศาสนา และทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา ทรงนำพาประเทศชาติรอดพ้นจากการเป็นเมืองของฝรั่งเศสได้ เพราะมีพระราชศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง

    สมัยอยุธยาตอนที่สี่ (พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๑๐)
    พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสวยราช เมื่อ พ.ศ. ๒๒๗๕ การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๖ จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่า นิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน

    พระพุทธศาสนา สมัยกรุงธนบุรี
    ปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาถูกพม่ายกทัพเข้าตีจนบ้านเมืองแตกยับเยิน พม่าได้ทำลายบ้านเมืองเสียหายย่อยยับ เก็บเอาทรัพย์สินไป กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำในการกอบกู้อิสระภาพ สามารถกอบกู้เอกราชจากพม่าได้ ทรงตั้งราชธานีใหม่ คือเมืองธนบุรี ทรงครองราชและปกครองแผ่นดินสืบมา ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างวัดเพิ่มเติมอีกมาก ทรงรับภาระบำรุงพระพุทธศาสนารวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกจากหัวเมือง มาคัดเลือกจัดเป็นฉบับหลวง แต่ไม่ยังทันเสร็จบริบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน ต่อมา พ.ศ. ๒๓๒๒ กองทัพไทยได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มายังประเทศไทย ภายหลังพระองค์ถูกสำเร็จโทษเป็นอันสิ้นสุดสมัยกรุงธนบุรี

    พระพุทธศาสนา สมัยรัตนโกสินทร์
    รัชกาลที่ ๑ (๒๓๒๕ - ๒๓๕๒)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ต่อจากพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์" ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่าง ๆเช่นสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศนเทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพน ฯ เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๙ และถือเป็นครั้งที่ ๒ ในประเทศไทย ณ วัดมหาธาตุ ได้มีการสอนพระปริยัติธรรมในพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนตามวังเจ้านายและบ้านเรือนของข้าราชการผู้ใหญ่ ทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรมทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๕๒

    รัชกาลที่ ๒ (๒๓๕๒- ๒๓๖๗)
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณ ในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช( สุก ) สมเด็จพระสังฆราช( มี ) และสมเด็จพระสังฆราช ( สุก ญาณสังวร)
    ในปี พ.ศ. ๒๓๕๗ ทรงจัดส่งสมณทูต ๘ รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร ๓ ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น ๙ ชั้น คือชั้นประโยค ๑ - ๙

    รัชกาลที่ ๓ (๒๓๖๗ - ๒๓๙๔)
    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. ๒๓๗๖ แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ

    รัชกาลที่ ๔ (๒๓๙๔ -๒๔๑๑)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช ๒๗ พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ ๕๗ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๒๓๙๔ ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่นวัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "มาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๓๙๔ ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้

    รัชกาลที่ ๕ (๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)
    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ทรงยกเลิกระบบทาสในเมืองไทยได้สำเร็จ ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือวัดวัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดใหั้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ ครั้น พ.ศ. ๒๔๒๗ ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม ถึงปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น
    เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ ๓๙ เล่ม จำนวน ๑,๐๐๐ จบ พ.ศ. ๒๔๓๒ โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ และต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร
    ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน

    รัชกาลที่ ๖ (๒๔๕๓- ๒๔๖๘)
    พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง ทรงโปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก
    พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม ๒๔๕๔ ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"
    พ.ศ. ๒๔๖๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๖๓ โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่น ๆ เช่นวิสุทธิมรรค มิลินทปัญหา เป็นต้น

    รัชกาลที่ ๗ (๒๔๖๘ - ๒๔๗๗)
    พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๘ - ๒๔๗๓ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เป็นการสังคายนาครั้งที่ ๓ ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ ๔๕ เล่ม จำนวน ๑,๕๐๐ ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ ๕๐๐ ชุด โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด" ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๑ กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า "ธรรมศึกษา" ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎร์ได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๘

    รัชกาลที่ ๘ (๒๔๗๗ - ๒๔๘๙)
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่อยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชเป็นรัชกาลที่ ๘ ในขณะพระพระชนมายุ เพียง ๙ พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
    ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด ๘๐ เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐
    ๒. พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น ๑๒๕๐ กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๒
    พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่
    พ.ศ. ๒๔๘๘ มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม
    พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราช เป็นรัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน

    สมัยรัชกาลที่ ๙ (ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ สืบมา)
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นราชกาลที่ ๙ สืบต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย ดังนี้
    - ด้านการศึกษา ประชาชนได้สนใจศึกษาพุทธศาสนามากขึ้นตามลำดับ ได้มีการจัดตั้งสมาคม มูลนิธิทางพุทธศาสนาเพื่อการศึกษามากมาย มีการจัดตั้งชมรมพุทธศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ พ.ศ. ๒๔๙๐ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยฝ่ายพระพุทธศาสนาขึ้น เมื่อวันที่ ๙ มกราคม ๒๔๙๐ และเปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๔๙๐ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนการศึกษาของพระสงฆ์ได้มีการยกระดับมาตรฐานการศึกษา เช่นยกระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง คือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และมีนโยบายจะเปิดระดับปริญญาเอกในอนาคต ได้มีการรับรองวิทยฐานะเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยสากลทั่วไป และได้ออกกฏหมาย พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง ๒ แห่ง โดยรัฐสภาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ มีชื่อว่า "มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ "มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย" ปัจจุบันนี้ได้มีวิทยาเขตต่างจังหวัดอีกหลายแห่ง เช่น เชียงใหม่ พะเยา แพร่ ลำพูน นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา หนองคาย นครปฐม นครศรีธรรมราช เป็นต้น ส่วนการศึกษาด้านอื่น ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ ระดับประถมปลาย และ ม.๑ ถึง ม.๖ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ได้มีการจัดตั้งโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรก ณ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเปิดการสอนพุทธศาสนาแก่เด็กและเยาวชน จนได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศ
    - ด้านการเผยแผ่ ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยได้มีองค์กรเผยแผ่ธรรมในแต่ละจังหวัด โดยได้จัดตั้งพุทธสมาคมประจำจังหวัดขึ้น ส่วนพระสงฆ์ได้มีบทบาทในการเผยแผ่มากขึ้น โดยใช้สื่อของรัฐ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดเอาวิชาพระพุทธศาสนาเป็นวิชาภาคบังคับแก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตั้งแต่ ม. ๑ ถึง ม. ๖ พระสงฆ์จึงได้มีบทบาทในการเข้าไปสอนในโรงเรียนต่าง ๆ มีการประยุกต์การเผยแผ่ธรรมในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการบรรยาย ปาฐกถา และเขียนหนังสืออธิบายพุทธธรรมมากขึ้น ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นมีพระเถระนักปราชญ์ชาวไทยในยุคนี้ ได้แก่ ท่านพุทธทาสภิกขุ และพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นต้น ในต่างประเทศได้มีการสร้างวัดไทยในต่างประเทศหลายวัด เช่นวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นวัดไทยแห่งแรกในต่างประเทศ ต่อจากนั้นได้มีการสร้างวัดไทยในประเทศตะวันตก คือวัดพุทธประทีป กรุงลอนดอน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิด เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ นับเป็นวัดไทยวัดแรกในประเทศตะวันตก ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีการสร้างวัดแห่งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นครลอสแองเจลิส รัฐแคลิฟอเนีย ชื่อว่า วัดไทยลอสแองเจลิส ปัจจุบันมีวัดไทยในสหรัฐอเมริกา ประมาณ ๑๕ วัด นอกจากนั้นได้มีองค์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศของคณะสงฆ์ไทย ได้จัดให้มีการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศขึ้นประจำทุกปี เพื่อส่งไปเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางตะวันตก ปัจจุบันนี้ชาวตะวันตกได้หันมาสนใจพุทธศาสนากันมาก ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้มีการจัดตั้งสำนักงานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกขึ้น ณ ประเทศไทย ( พ.ส.ล. ) เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวพุทธทั่วโลก
    - ด้านพิธีกรรม ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระราชพิธีต่าง ๆ ที่เป็นพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ให้เป็นพิธีของรัฐบาล เรียกว่า "รัฐพิธี" โดยให้กรม กระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้จัด จัดให้มีงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาช่วงวันวิสาขบูชาของทุกปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จแทนพระองค์ในพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนาเช่นวันวิสาขบูชา มาฆบูชา อาสาฬหบูชา ณ พุทธมณฑล ซึ่งสร้างขึ้น เมื่อคราว ฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
    - ด้านวรรณกรรม ได้มีวรรณกรรมทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นมากมาย มีปราชญ์ทางพุทธศาสนาเกิดขึ้นหลายรูป จึงได้เกิดวรรณกรรมทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองมากมายหลายเล่ม เช่นพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ ของท่านพุทธทาสภิกขุ หนังสือ พุทธธรรม ของพระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...