สำนักวัดนาป่าพงคึกฤทธิ์และสาวกพลาด! สร้าง" พุทธวจน " ปลอม

ในห้อง 'Black Hole' ตั้งกระทู้โดย เสขะปฎิสัมภิทา, 7 กรกฎาคม 2015.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    นิทานกถา
    ว่าด้วย ทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน สันติเกนิทาน

    แสดงผลการค้น ลำดับที่  ๑ / ๓
    พุทธประวัติ ประวัติของพระพุทธเจ้า;
           ลำดับกาลในพุทธประวัติตามที่ท่านแบ่งไว้ในอรรถกถา จัดได้เป็น ๓ ช่วงใหญ่ คือ
               ๑. ทูเรนิทาน เรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้นเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติในอดีต จนถึงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต
               ๒. อวิทูเรนิทาน เรื่องราวตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงตรัสรู้
               ๓. สันติเกนิทาน เรื่องราวตั้งแต่ตรัสรู้แล้ว จนเสด็จปรินิพพาน
           ในส่วนของสันติเกนิทานนั้นก็คือ โพธิกาล นั่นเอง ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ๓ ช่วงได้แก่
               ๑. ปฐมโพธิกาล คือตั้งแต่ตรัสรู้ จนถึงได้พระอัครสาวก
               ๒. มัชฌิมโพธิกาล คือตั้งแต่ประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธ จนถึงปลงพระชนมายุสังขาร
               ๓. ปัจฉิมโพธิกาล คือตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขาร จนถึงปรินิพพาน
           ต่อมาภายหลัง พระเถระผู้เล่าพระพุทธประวัติใด้กล่าวถึงเรื่องราวในชมพูทวีป ก่อนถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเรียกเวลาช่วงนี้ว่า ปุริมกาล กับทั้งเล่าเหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพาน เช่นการถวายพระเพลิงและสังคายนา และเรียกเวลาช่วงนี้ว่า อปรกาล;
           ในการแบ่งโพธิกาล ๓ ช่วงนี้ อรรถกถายังมีมติแตกต่างกันบ้าง เช่น พระอาจารย์ธรรมบาลแบ่ง ๓ ช่วงเท่ากัน ช่วงละ ๑๕ พรรษา แต่บางอรรถกถานับ ๒๐ พรรษาแรกของพุทธกิจเป็นปฐมโพธิกาล โดยไม่ระบุช่วงเวลา ๒ โพธิกาลที่เหลือ (ได้แก่ช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงมีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ และยังไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์)

    แสดงผลการค้น ลำดับที่  ๒ / ๓
    พุทธานุพุทธประวัติ ประวัติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก

    แสดงผลการค้น ลำดับที่  ๓ / ๓
    อนุพุทธปวัตติ ประวัติของพระสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า;
           เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ

    ประณามคาถา
    ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐสุด หาบุคคลผู้เปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นจากสาครแห่งไญยธรรม ผู้ทรงข้ามสงสารสาครเสียได้ ด้วยเศียรเกล้า พร้อมทั้งพระธรรมอันลึกซึ้ง สงบยิ่ง ละเอียดยากที่คนจะมองเห็นได้ ที่ทำลายเสียได้ซึ่งภพน้อยและภพใหญ่ สะอาดอันเขาบูชาแล้ว เพราะพระสัทธรรม อีกทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องข้อง ผู้สูงสุดแห่งหมู่ ผู้สูงสุดแห่งทักขิไณยบุคคล ผู้มีอินทรีย์อันสงบแล้ว หาอาสวะมิได้.
    ด้วยการประณาม ที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วยความนับถือเป็นพิเศษนี้นั้น ข้าพเจ้าอันผู้ที่เป็นนักปราชญ์ยิ่งกว่านักปราชญ์ ผู้รู้อาคม [ปริยัติ] เป็นวิญญูชน มียศใหญ่ได้ขอร้องด้วยการเอาใจแล้วๆ เล่าๆ เป็นพิเศษว่า ท่านขอรับ ท่านควรจะแต่งอรรถกถาอปทาน [ชีวประวัติ] เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแสดงการพรรณนาเนื้อความ อันงามแห่งพระบาลีในพระไตรปิฎกทีเดียว พร้อมทั้งชีวประวัติที่ยังเหลืออยู่ เรื่องราวอันดีเยี่ยมนี้ใครกล่าวไว้ กล่าวไว้ที่ไหน กล่าวไว้เมื่อไร และกล่าวไว้เพื่ออะไร ข้าพเจ้าจักกล่าวเรื่องนั้นๆ แล้ว ก็มาถึงวิธีเพื่อที่จะให้ฉลาดในเรื่องนิทาน เพราะจะทำให้เล่าเรียน และทรงจำได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เรื่องราวที่ท่านจัดให้แปลกออกไป ตามที่เกิดก่อนและหลัง รจนาไว้ในภาษาสิงหลของเก่าก็ดี ในอรรถกถาของเก่าก็ดี เมื่อมาถึงวิธีนั้นๆ แล้ว ย่อมไม่ให้สำเร็จประโยชน์ตามที่สาธุชนต้องการ เหตุนั้น ข้าพเจ้าก็จักอาศัยนัยตามอรรถกถาของเก่านั้น เว้นไม่เอาเนื้อความที่ผิดเสีย แสดงแต่เนื้อความที่แปลกออกไป กระทำการพรรณนาเฉพาะแต่ที่แปลก ซึ่งดีที่สุดเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27.0&i=1


    http://www.84000.org/tipitaka/atita100/nitana3_01.php

    https://youtu.be/1mY2h6Fti7A


    https://youtu.be/2qH46bhWq14


    https://youtu.be/Dn--rtoepJA


    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏฏ์นี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ที่พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อยๆ และการเกิดใดนั้น ตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาก็คือความแก่ชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจและความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่ขึ้นจากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโค ซึ่งเทียมเกวียนแล้ว จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเมื่อเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วยตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อรากยังมั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอีกแน่ๆ ภิกษุทั้งหลาย น้ำตาของสัตว์ที่ ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถมในขณะที่ท่องเทียวอยู่ในวัฏฏ์สงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านั้น เท่านี้ กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีเล่า ถ้านำมารวมกันไม่ให้กระจักกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยสัตว์ที่ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์ เหยียบย่ำบนกองกระดูก นอนอยู่บนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งสิ้น สัตว์ทั้งหลายดิ้นรนอยู่ในกองเพลิง คือทุกข์เหมือนเต่าอันเขาโยนไปแล้วในกองไฟใหญ่ฉะนั้น”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางสองสายคือกามสุขัลลิกานุโยคการหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขสายหนึ่ง และอัตตกิลมถานุโยคการทรมารกายให้ลำบากเปล่าสายหนึ่ง อันผู้หวังความเจริญในธรรม พึงละเว้นเสีย ควรเดินตามสายกลาง คือ เดินตามสายกลาง คือเดินตามอริยมรรค มีองค์แปด คือความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การทำชอบ การประกอบอาชีพในทางทางสุจริต ความพยายามในทางที่ชอบ การตั้งสติชอบและการทำสมาธิชอบ”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์เป็นความทุกข์เป็นความจริงทุกประการหนึ่งที่ชีวิตทุกชีวิตจะต้องประสบไม่มากก็น้อย ความทุกข์ที่กล่าวนี้มีอะไรบ้าง ภิกษุทั้งหลายความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่ ความเจ็บ ความตายก็เป็นความทุกข์ ความแห้งใจหรือความโศก ความพิไรรำพันจนน้ำตานองหน้า ความทุกข์กายความทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ความพลัดพราก จากบบุคคลหรือสิ่งของอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับบุคคลหรือสิ่งของอันไม่เป็นที่พอใจ ปรารถนาอะไรมิได้ดังใจหมาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความทุกข์ ที่บุคคลต้องประสบทั้งสิ้น เมื่อกล่าวโดยสรุป การยึดมั่นในขันธ์ห้าด้วยตัณหาอุปาทานนั่นเองเป็นความทุกข์อันใหญ่ยิ่ง”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวว่า ความทุกข์ทั้งมวล ย่อมสืบเนื่องมาจากเหตุ ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์นั้น เรากล่าวว่าตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ตัณหาคือความทะยานอยากดิ้นรนซึ่งมีลักษณะเป็นสาม คือดิ้นรนอยากได้อารมณ์ที่น่าใคร่น่าปราถนา เรียกกามตัณหาอย่างหนึ่ง ดิ้นรนอยากเป็นนั่นเป็นนี่ เรียกภวตัณหาอย่างหนึ่งดิ้นรนอยากผลักสิ่งที่มีอยู่แล้ว เป็นแล้ว เรียกวิภวตัณหาอย่างหนึ่ง นี่แลคือสาเหตุแห่งความทุกข์ขั้นมูลฐาน ภิกษุทั้งหลาย การสลัดทิ้งโดยไม่เหลือซึ่งตัณหาประเภทต่างๆ ดับตัณหา คลายตัณหาโดยสิ้นเชิง นั่นแลเราเรียกว่านิโรธ คือความดับทุกข์ได้”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆคน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกายและใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยศร ซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้นแต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยอะไร แล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาคือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยารักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีษะ ควรรีบดับเสียโดยพลันไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศรีษะตน ทั้งๆที่ไฟลุกไหม้อยู่”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่ว สัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน อุปมาเหมือนบุรุษสตรีผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่งและต่างคนต่างถือดุ้นไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่าร้อน ร้อน ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุกๆ คนทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อ ก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือกิเลสทั้งมวลอันเป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายนะภายในหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอกหกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือราคะบ้าง โทษะบ้าง โมหะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจารณาเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใดๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสตรี ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจรณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่สามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะแห่งบุรุษ”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมารภิกษุผู้ปรารถนา พึงสลัดเหยื่อมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมารและทำลายพลกำลังแห่งมารเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้วเจ้าเกิดความดำริคำนึงถึงนั่นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉนี้ กามเอย เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้เป็นสิ่งที่ดิ้นรนกวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก ผู้มีปัญญาพึงพยายามทำจิตนี้ให้หายดิ้นรน ให้เป็นจิตตรงเหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉนั้น ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้คอยแต่จะกลิ้งเกลือกลงไปคลุกเคล้ากับกามคุณ เหมือนปลาซึ่งเกิดในน้ำ ถูกนายพรานเบ็ดยกขึ้น จากน้ำ แล้วคอยแต่จะดิ้นรนไปในน้ำอยู่เสมอ ผู้มีปัญญาพึงพยายามยกจิตขึ้นจากการอาลัยในกามคุณ ให้ละบ่วงมารเสีย”

    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมัน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเอาสติเป็นขอสำหรับเหนี่ยวรั้งช้างคือจิตที่ดิ้นรนให้อยู่ในอำนาจ บุคลผู้มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้น คือผู้ที่สามารถเอาคนของตนเองไว้ในอำนาจได้ สามารถชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนเองได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรมคือ นินทา สรรเสริญนั้นเป็นจิตใจที่ประเสริฐยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ในหมู่มนุษย์นี้ผู้ใดฝึกฝนตนให้เป็นคนอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้อื่นได้จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐสุด ม้าอัสดร ม้าสินธพ พยาช้างตระกูลมหานาคที่ได้รับการฝึกดีแล้ว จัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ แต่บุคคลที่ฝึกตนดีแล้วยังประเสริฐกว่าสัตว์เหล่านั้น”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัว อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้ แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภมียศอยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เปิดประตูแห่งความสุขความสงบได้โดยง่ายสามารถปิดมูลเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทเสียได้ คุณธรรมทั้งมวล มีศีลและสมาธิเป็นต้น ย่อมเจริญงอกงามแก่ผู้มีความอดทนทั้งสิ้น ภิกษุทั้งหลาย เมตตากรุณาเป็นพรอันประเสริฐในตัวมนุษย์”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสผู้ยังบริโภคกามเกียจคร้านหนึ่ง พระราชาทรงประกอบกรณียกิจ โดยไม่พิจารณาโดยรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อนหนึ่ง บรรพชิตไม่สำรวมหนึ่ง ผู้อ้างตนว่าเป็นบัณฑิตแต่มักโกรธหนึ่ง สี่จำพวกนี้ไม่ดีเลย ภิกษุทั้งหลาย กรรมอันใดที่ทำไปแล้ว ต้องเดือดร้อนใจภายหลังต้องมีหน้าชุ่มด้วยน้ำตาเสวยผลแห่งกรรมนั้น ตถาคตกล่าวว่ากรรมนั้นไม่ดีควรเว้นเสีย”


    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน  


    ครั้งนั้นมีบุคคลเป็นจำนวนมาก  จากสารทิศต่างๆ  เดินทางมาเพื่อเฝ้าพระพุทธสรีระเป็นปัจฉิมกาล  แผ่เป็นปริมณฑลกว้างออกไปสุดสายตา  สมเด็จพระมหาสมณะทรงเห็นเหตุการณ์ดังนี้แล้ว  จึงตรัสกับพระอานนท์เป็นเชิงปรารภว่า

    “อานนท์ !  พุทธบริษัททั้ง สี่  คือ  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา  ทำสักการะบูชาเราด้วยเครื่องบูชาสักการะทั้งหลายอันเป็นอามิส  เช่น  ดอกไม้  ธูป  เทียน  เป็นต้น  หาชื่อว่าบูชาตถาคตด้วยการบูชาอันยิ่งไม่  อานนท์ เอ๋ย !  ผู้ใด  ปฏิบัติตามธรรมปฏิบัติชอบยิ่ง  ปฏิบัติธรรมอันเหมาะสม  ผู้นั้นแลชื่อว่าสักการะบูชาเราด้วยการบูชาอันยอดเยี่ยม”

    พระอานนท์ทูลว่า  “พระองค์ผู้เจริญ !  เมื่อก่อนนี้ออกพรรษาแล้ว  ภิกษุทั้งหลายต่างพากันเดินทางมาจากทิศานุทิศเพื่อเฝ้าพระองค์  ฟังโอวาทจากพระองค์  บัดนี้พระองค์จะปรินิพพานเสียแล้ว  ภิกษุทั้งหลาย  จะพึงไป  ณ ที่ใด ?”

    “อานนท์ !  สถานที่อันเป็นเหตุให้ระลึกถึงเราก็มีอยู่คือ  สถานที่ที่เราประสูติแล้วคือ  ลุมพินีวันสถาน  สถานที่ที่เราตั้งอาณาจักรแห่งธรรมขึ้นเป็นครั้งแรก  คือป่าอิสิปตนะมิคทายะแขวงเมืองพาราณสีสถานที่ที่เราตรัสรู้อนุตตรสัมมาโพธิฐาณ   บรรลุความรู้อันประเสริฐทำกิเลสให้สิ้นไป  คือ  โพธิมณฑล  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  และสถานที่ที่เราจะปรินิพพาน  ณ บัดนี้  คือป่าไม้สาละ  ณ นครกุสินารา  อานนท์เอ๋ย !  สถานที่ทั้งสี่แห่งนี้เป็นสังเวชนียสถาน  สารานียสถาน  สำหรับให้ระลึกถึงเราและเดินตามรอยพระบาทแห่งเรา”

    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า !  ในพรหมจรรย์นี้มีสุภาพสตรีเป็นอันมากเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ในฐานะต่างๆ  เป็นมารดาบ้าง  เป็นพี่หญิงน้องหญิงบ้าง  เป็นเครือญาติบ้างและเป็นผู้เลื่อมใสในพระรัตนตรัยบ้างภิกษุจะพึงปฏิบัติต่อสตรีอย่างไร?”

    “อานนท์ !  การที่ภิกษุจะไม่ดูไม่แลสตรีเพศเสียเลยนั้นเป็นการดี”
    “ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็นเล่าพระเจ้าข้า”  พระอานนท์ทูลซัก
    “ถ้าจำเป็นต้องดูต้องเห็น  ก็อย่าพูดด้วย  อย่าสนทนาด้วยนั้นเป็นการดี”  พระศาสดาตรัสตอบ
    “ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยเล่าพระเจ้าข้า  จะปฏิบัติอย่างไร”
    “ถ้าจำเป็นต้องสนทนาด้วยก็จงมีสติไว้  ควบคุมสติให้ดี สำรวมอินทรีย์วาจาให้เรียบร้อย  อย่าให้ความกำหนัดยินดี  หรือความหลงไหลครอบงำจิตใจได้  อานนท์ !  เรากล่าวว่าสตรีที่บุรุษเอาใจเข้าไปเกาะเกี่ยวนั้น  เป็นมลทินของพรหมจรรย์”

    “แล้วสตรีที่บุรุษมิได้เอาใจเข้าไปเกี่ยวเกาะเล่าพระเจ้าข้า  จะเป็นมลทินของพรหมจรรย์หรือไม่ ?”

    “ไม่เป็นซิอานนท์ !  เธอระลึกได้อยู่หรือ  เราเคยพูดไว้ว่า  อารมณ์อันวิจิตร  สิ่งสวยงามในโลกนี้มิใช่กาม  แต่ความกำหนัดที่เกิดขึ้น  เพราะการดำริต่างหากเล่าเป็นกามของคนเมื่อกระชากความพอใจออกเสียได้แล้ว  สิ่งวิจิตรสวยงามก็อยู่อย่างเก้อๆ ทำพิษอะไรมิได้อีกต่อไป”

    พระผู้มีพระภาคบรรทมสงบนิ่ง  พระอานนท์ก็พลอยนิ่งตามไปด้วย  ดูเหมือนท่านจะตรึกตรองพุทธวจะนะที่ตรัสจบลงสักครู่นี้


    ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน
    ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทานโอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า 'คุณ' และภัณเตว่า 'ท่าน'

    พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุพรรษากว่าว่า 'อาวุโส' หรือ 'คุณ' ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 'ภันเต' หรือ 'ท่าน'

    ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม

    ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย

    เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า

    ตรัสบอกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และ บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไป แล้ว"บัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว"

    ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า "ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือน พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็น ประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

    พวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

    หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง


    -----------------------------------------------------------------------------------------------

    ประโยชน์อันมากมายนี้ ผู้มีศรัทธาเพียงพิจารณาก็สามารถได้เข้าสู่กระแสธรรมอันเป็นทางนำจากพื้นฐานสู่เบื้องปลาย ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาในการแยกแยะอรรถและธรรมอันเป็นนิสสัยอันเป็นปัตจัตตังในแต่ละบุคคล ตามแต่จะสามารถไตร่ตรองและปุจฉาวิสัชนาตามจริตกรรมฐานและบุญบารมีอันได้สั่งสมมาไม่มีตกต่ำเลย ปฎิบัติตนตามธรรมอันสมควรแก่ตนเป็นต้นไปให้เห็นชัด ตามฐานะสติปัญญาของตน ยังปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ จนสุดปัญญาก่อน ถ้าไม่รู้ก็ไตร่ตรองถามผู้รู้ ผู้ให้ความกระจ่างชัด ถ้าไม่มีผู้ใดสามารถก็ให้พิจารณาข้อธรรมที่สามารถเข้าใจได้ถึงก่อน

    บางคนพึ่งสั่งสมบุญมา เกิดมาพึ่งได้เข้าสู่พระพุทธศาสนา และพึ่งได้พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งในชาติ อันนิสสัยที่สั่งสมมา บางคนชอบสายฤทธิ์เดช ชอบอานุภาพ ชอบใจในมนต์ ชอบใจในวัตถุเครื่องราง ชอบใจในวัตรปฎิบัติ ชอบใจในความสงบ ชอบใจในการให้ทาน ชอบใจในพระธรรมเทศนาที่แสดงตั้งแต่ได้ฟังจากสมเด็จพระบรมมหาศาสดาไล่ไปจนถึงโคตรภูสงฆ์ ชอบใจในสิ่งๆต่างๆแม้จะเป็นเพียงชอบใจในผ้ากาษาอันเป็นธงชัย จึงได้อาศัยเกิดในชาติ นั่นก็เป็นพลวปัจจัยของเขาที่ได้ส่งเสริมเขามา การที่จะให้เขาละเขาทิ้งสิ่งที่เขาบำเพ็ญเพียงสั่งสมมา ก็เท่ากับว่า ไปบีบให้เขาทิ้งในสิ่งที่เขาชอบ จึงควรจะส่งเสริมเขาด้วยธรรมอื่นๆที่สอดคล้องกันกับจริต เพื่อเอื้อเฟื้อแก่เขาเหล่านั้นตามพลวปัจจัย เมื่อครั้งสามารถยิ่งขึ้นไปอีกในปฎิเวธก็แสดงให้เขาเห็นและอนุเคราะห์เขาในสิ่งที่ดียิ่งกว่า จวบจนสิ้นสามารถ โดยดำรงในการใช้กุศโลบายให้เหมาะแก่บุคคลนั้นแลฯจึงจะประเสริฐ นี่แลจึงเหมาะเป็นครูเป็นอาจารย์เขา


    จึงไม่เห็นจะต้องไปตัดทอนทำลายพระไตรปิฎก และพระสูตรและอรรถกถาทั้งหลายฯแต่อย่างใด

    จะโทษก็โทษที่ตนเองไม่มีสติปัญญาที่มากพอที่จะไตร่ตรองพระสัทธรรม

    ไม่ใช่ไปโทษพระไตรปิฏกและพระสงฆ์สาวกว่าไม่ใช่ไม่ดีไม่งามไม่จริง




    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุรุษคนหนึ่งเดินทางไกลมาพบแม่น้ำขวางหน้า  แต่ฝั่งนี้มีอันตราย  ส่วนฝั่งโน้นเป็นที่สบายปลอดภัย  เรือหรือสะพานจะข้ามฝั่งก็ไม่มี  บุรุษหนุ่มนั้นคิดว่าจะอยู่ช้าไม่ได้แล้วเพราะมีอันตรายรออยู่  เขาจึงรวบรวมกิ่งไม้และใบไม้มาผูกเป็นแพ  แล้วพยายามถ่อแพไปจนถึงฝั่งตรงข้ามโดยปลอดภัย  หลังจากนั้น  เขาจึงคิดว่าแพนี้มีประโยชน์แก่เขามาก  พาเขาข้ามฝั่งพ้นอันตรายมาได้  อย่ากระนั้นเลย  เราแบกแพนี้ขึ้นทูนหัวไปด้วยดีกว่า  แล้วเขาก็เอาแพนั้นทูนหัวเดินไป
     
              ภิกษุทั้งหลาย  พวกเธอคิดว่า  บุรุษนั้นทำถูกต้องหรือไม่”
     

              ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
     
              “ไม่ถูกต้อง  พระเจ้าข้า  ความจริงบุรุษนั้นควรผูกแพไว้ที่ริมฝั่ง  หรือยกแพขึ้นมาเกยบนบก  แล้วจึงเดินทางต่อไปเพราะหมดความจำเป็นที่จะต้องอาศัยแพอีกแล้ว”
     

              พระพุทธองค์ตรัสว่า
     
              เช่นเดียวกันภิกษุทั้งหลาย  เราแสดงธรรมเพื่อเป็นอุปกรณ์ให้ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์  ดุจแพน้ำไปสู่ฝั่ง  ไม่ใช่เพื่อให้ยึดมั่นถือมั่น  แม้ธรรมะเรายังสอนให้ละวาง  ไม่ต้องพูดถึงอธรรมเลย”

    น้ำตาของคนที่ร้องไห้ด้วยราคะ โทสะ โมหะ เป็นน้ำตาร้อน ส่วนน้ำตาของผู้ฟังธรรมนั้น มีน้ำตาไหลด้วยปีติยินดีเป็นน้ำตาเย็น เป็นอันว่า น้ำตาเย็นเป็นเภสัช น้ำตาร้อนไม่เป็นเภสัช”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 13613d200.jpg
      13613d200.jpg
      ขนาดไฟล์:
      69.2 KB
      เปิดดู:
      171
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    คุณยอมให้ใครดูถูกดูหมิ่นสิ่งที่คุณเคารพศรัทธาไหม?ครับ แม้พระฉันนะไปตัดต้นไม้ที่เคารพของชาวบ้าน พระพุทธเจ้ายังติเตียน

    คึกฤทธิ์กล่าวว่าพระเครื่องเป็นเดรัจฉานวิชา

    https://youtu.be/E3qU68-5I0c


    ประวัติการสร้างพระพุทธรูป
       ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น

        ส่วนการสร้างพระพุทธรูปมีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวิติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูปเป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูปนั้น เริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยทางตอนู่เหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ

       เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก


    พระพุทธรูปปางต่างๆ
    ๑.ปางประสูติ ๒.ปางมหาภิเนษกรมณ์ ๓.ปางตัดพระเมาลี
    ๔.ปางอธิฐานเพศบรรพชิต ๕.ปางปัจเจกขณะ ๖.ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา
    ๗.ปางทรงพระสุบิน ๘.ปางรับมธุปายาส ๙.ปางเสวยมธุปายาส
    ๑๐.ปางเสี่ยงบารมีลอยถาด ๑๑.ปางรับหญ้าคา ๑๒.ปางสมาธิเพชร
    ๑๓.ปางมารวิชัย ๑๔.ปางสมาธิหรือปางตรัสรู้ ๑๕.ปางถวายเนตร
    ๑๖.ปางจงกรมแก้ว ๑๗.ปางเรือนแก้ว ๑๘.ปางห้ามมาร
    ๑๙.ปางนาคปรก ๒๐.ปางฉันผลสมอ ๒๑.ปางประสานบาตร
    ๒๒.ปางรับสัตตุก้อนสัตตุผง ๒๓.ปางพระเกศธาตุ ๒๔.ปางรำพึง
    ๒๕.ปางปฐมเทศนา ๒๖.ปางประทานเอหิภิกขุ ๒๗.ปางภัตกิจ
    ๒๘.ปางห้ามสมุทร ๒๙.ปางห้ามญาติ ๓๐.ปางปลงกัมมัฏฐาน
    ๓๑.ปางชี้อัครสาวก ๓๒.ปางแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ ๓๓.ปางประทับเรือ
    ๓๔.ปางห้ามพยาธิ ๓๕.ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ๓๖.ปางอุ้มบาตร
    ๓๗.ปางโปรดพุทธบิดา ๓๘.ปางรับผลมะม่วง ๓๙.ปางแสดงยมกปาฏิหาริย์
    ๔๐.ปางโปรดพุทธมารดา ๔๑.ปางเปิดโลก ๔๒.ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์
    ๔๓.ปางลีลา ๔๔.ปางห้ามแก่นจันทร์ ๔๕.ปางพระอิริยาบถยืน
    ๔๖.ปางประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ๔๗.ปางสรงน้ำฝน ๔๘.ปางขอฝน (นั่ง)
    ๔๙.ปางขอฝน (ยืน) ๕๐.ปางชี้อสุภะ ๕๑.ปางชี้มาร
    ๕๒.ปางปฐมบัญญัติ ๕๓.ปางขับพระวักกลิ ๕๔.ปางสนเข็ม
    ๕๕.ปางประทานพร (นั่ง) ๕๖.ปางประทานพร (ยืน) ๕๗.ปางประทานธรรม
    ๕๘.ประทานอภัย (นั่ง) ๕๙.ปางโปรดพญาช้างนาฬาคิรี ๖๐.ปางโปรดพญาชมพูบดี
    ๖๑.ปางปาลิไลก์ ๖๒.ปางแสดงโอฬาริกนิมิตร ๖๓.ปางโปรดอสุรินทราหู
    ๖๔.ปางโปรดอาฬวกยักษ์ ๖๕.ปางโปรดองคุลีมารโจร ๖๖.ปางโปรดพกาพรหรม
    ๖๗.ปางพิจารณาชราธรรม ๖๘.ปางปลงอายุสังขาร ๖๙.ปางนาคาวโลก
    ๗๐.ปางทรงรับอุทกัง ๗๑.ปางทรงพยากรณ์ ๗๒.ปางโปรดสุภัททปริพาชก
    ๗๓.ปางปรินิพพาน


    ในสมัยที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปประทับ ณ ดาวดึงส์พิภพเพื่อแสดงธรรมโปรดพระพุทธมารดา ในระหว่างนั้นพระเจ้าปเสนทิโกศลมิได้เห็นและฟังธรรมจากผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนเช่นแต่ก่อนมา ทำให้บังเกิดความระลึกถึงสุดที่จะระงับ เฝ้าแต่รำพึงรัญจวนอยู่มิสร่างซา ทั้งนี้ก็ด้วยความเคารพและศรัทธาพระเจ้าปเสนทิโกศลจึงสั่งเจ้าพนักงานหาท่อนไม้แก่นจันทน์หอมอย่างดีมาถวาย แล้วโปรดให้นายช่างแกะเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางประทับนั่ง มีพระรูปโฉมโนมพรรณงามละม้ายคล้ายพระบรมศาสดาประดิษฐานไว้ในพระราชนิเวศน์ที่พระพุทธองค์เคยประทับเพื่อทอดพระเนตรและสักการบูชาเหมือนแต่ก่อนมา พอให้คลายความอาวรณ์การระลึกถึงได้บ้าง
    ครั้นภายหลังเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจากดาวดึงส์พิภพกลับมาสู่นครสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงอาราธนาทูลให้เสด็จทอดพระเนตรไม้แก่นจันทน์ที่นายช่างจำลองขึ้นอันประดิษฐานอยู่ ณ พระราชสถานในพระราชนิเวศน์ พระไม้แก่นจันทน์นั้นได้กระทำเหมือนหนึ่งจิตรู้จักปฏิสันถารในกิจที่ควรอันต้องลุกขึ้นถวายความเคารพพระบรมศาสดา จึงขยับพระองค์เขยื้อนเลื่อนลงจากพระแท่นที่ประทับ พระพุทธองค์ได้ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้ามพร้อมตรัสว่า
    “เอวํ นิสีทถ ขอพระองค์จงประทับอยู่อย่างนั้นเถิด”
    เมื่อสิ้นกระแสพุทธานุญาต พระไม้แก่นจันทน์นั้นได้ลีลาขึ้นไปประดิษฐานยังพระแท่นดุจเดิม พระเจ้าปเสนทิโกศลประสบความอัศจรรย์บังเกิดความโสมนัส ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์ให้รับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ท้าวเธอได้เสด็จอังคาส คือถวายอาหารด้วยพระองค์เอง ครั้นเสร็จพุทธกิจแล้วพระบรมศาสดาจึงพาเหล่าภิกษุสงฆ์เสด็จกลับไปประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
    พระแก่นจันทน์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้สร้างขึ้น ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในพระพุทธศาสนา

    พระพุทธรูปปางต่างๆ

    พระพุทธรูปปางต่างๆ:ปางพระพุทธรูป ของประเทศไทยซึ่งมีที่มาของ พระพุทธรูปปางต่าง ๆ จากพุทธประวัติ รวบรวม"พระพุทธรูปปางต่างๆ" ในพระอิริยาบถลักษณะต่างๆของ ปางพระพุทธรูป ที่ได้รวบรวมใว้

    ประวัติการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย ปางพระพุทธรูป ของไทยจากพุทธประวัติ   
    ในระยะแรกหลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิกชนก็ได้นำเอา ดิน น้ำ และใบโพธิ์จากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน) ตรัสรู้ (พุทธคยา) ปฐมเทศนา (พาราณสี) และ ปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เพื่อบูชาคุณพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมามีการสร้างรูปอื่นที่เป็นสัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ เช่น ทำดวงตราสัญลักษณ์ประจำสถานที่ต่างๆ ขึ้น ด้วยดินเผาหรือแผ่นเงิน เช่นที่เมืองกบิลพัสดุ์สร้างตราดอกบัว หมายถึงมีสิ่งบริสุทธิ์เกิดขึ้น และตราม้า หมายถึงม้ากัณฐกะ ที่เมืองพาราณสีสร้างตราธรรมจักร มีรูปกวางหมอบอันหมายถึงการแสดงธรรมจักร และพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทรงสร้างเสาหินอโศกไว้ในสถานที่ประสูติ เป็นต้น

        ส่วนการสร้าง"พระพุทธรูป " พระพุทธรูปปางต่างๆ ในประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาดังนี้ คือ ตามตำนานพุทธประวัติกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าปเสนธิโกศลแห่งแคว้นโกศล ได้โปรดให้ช่างจำหลักพระรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นจากไม้แก่นจันทร์ เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระพุทธองค์ที่เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา นับเป็นการสร้างพระพุทธรูป เป็นครั้งแรก แต่ตำนานพระแก่นจันทร์นี้ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพียงตำนานที่ยังไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้อย่างชัดเจน ถ้าไม่นับพระแก่นจันทร์ก็สันนิษฐานกันว่า พระพุทธรูป นั้นเริ่มสร้างในราวพุทธศตวรรษที่ ๗ ตั้งแต่สมัยคันธารราฐ ซึ่งเป็นแคว้นที่อยู่ทางตอนเหนือ ของอินเดียโบราณ (ปัจจุบันอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานอสถาน) ผู่ริเริ่มสร้างไม่ใช่ชาวอินเดียแต่เป็นพวกโยนก (กรีก) สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีกแห่งแคว้นคันธาระ หรือคันธาราฐ

       เมื่อพระเจ้าอโศกมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแผ่ในคันธาราฐ พวกโยนกยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา พระเจ้ามิลินท์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก แสดงองค์เป็นพุทธศาสนูปถัมภก ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจิริญรุ่งเรือง แต่เดิมนั้นพระพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด เพราะในสมัยอินเดียในสมัยนั้นมีข้อห้ามในการทำรูปเคารพ แต่เคยนับถือศาสนเทวนิยมและจำหลักรูปเคารพของเทพเจ้ากลุ่มโอลิมปัสมาก่อน เช่น รูปอพอลโลและซีอุส เมื่อเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา ก็เลยจำหลักศิลารูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    "พระพุทธรูปปางต่างๆ ปางพระพุทธรูป "ขึ้นเคารพบูชาเป็นครั้งแรก ซึ่งเราจะพบว่าการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ  นั้นส่วนใหญ่สร้างตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นประติมากรรมพุทธประวัติตั้งแต่พระองค์ประสูติ จนถึงนิพพานเลยมีการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ เพื่อเป็นการระลึกถึง เป็นสัญลักษณ์ให้เราได้มีพุทธานุสสติ คือระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระองค์ทรงมี พระคุณอันล้ำเลิศเพื่อประโยชน์สุขต่อมนุษยชาติและสัตว์โลกทั้งปวงเลยมีการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ ขึ้นมา
    ภาพ/ข้อมูล ธรรมะไทย - http://www.dhammathai.org/indexthai.php

    ผนวก

    ประวัติการสร้างพระพุทธรูป
    พระพุทธรูป หรือ พระพุทธปฏิมากร คือ รูปเปรียบ หรือ รูปสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดาแห่งพุทธศาสนา หลังจากพุทธปรินิพพานล่วงเลยนานแล้วสร้างตามลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ที่ปรากฏในมหาปุริสลักษณะ มิใช่การทำให้เหมือนองค์พระพุทธเจ้า แต่สร้างขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึง พระพุทธคุณและเพื่อสักการบูชาแทนองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อน้อมใจให้ประพฤติตามคำสอนของพระองค์

    ตลอดจนเป็นสิ่งจรรโลงสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนถาวรสืบไป ตราบใดยังปรากฏพระพุทธรูปอยู่ หมายถึงว่า พระรัตนตรัย อันเป็นหลักสำคัญของพระพุทธศาสนายังคงอยู่บริบูรณ์ เป็นเครื่องสร้างศรัทธาแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไปให้เลื่อมใสอุปถัมภ์บำรุงพุทธ ศาสนาสืบไป

    สำหรับประวัติการสร้าง พระพุทธรูปบูชา ปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของ หลวงจีนฟาเหียน เมื่อราว พ.ศ.๙๕๐ ปรากฏใน ตำนานพระแก่นจันทน์ คือ

    เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปทรงเทศนาโปรดพระพุทธมาร ดาบนดาวดึงส์สวรรค์พรรษาหนึ่งนั้น พระเจ้าประเสนทิโกศล แห่งแคว้นโกศล มีความรำลึกถึงพระพุทธองค์ ด้วยมิได้ทรงเห็นเป็นช้านาน จึงตรัสให้นายช่างทำ พระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้แก่นจันทน์แดง ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธองค์เคยประทับ

    ครั้นพระพุทธองค์เสด็จกลับลงมาจากดาวดึงส์ถึงที่ประทับ ด้วยพระบรมพุทธานุภาพ ก็บันดาลให้พระพุทธรูปแก่นจันทน์ เลื่อนหลีกจากพระพุทธอาสน์ จึงตรัสสั่งให้รักษา พระพุทธรูปนั้นไว้ เพื่อสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่าง สร้างพระพุทธรูปสืบไป

    ตำนานพระแก่นจันทน์ ที่สร้างขึ้นตามพระบรมพุทธานุญาตแต่สมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ขัดต่อหลักฐานทางศิลปกรรมในพระพุทธศาสนา ที่เก่าแก่ที่สุดใน สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช หามีการสร้างพระพุทธรูปไม่ มีแต่ทรงทำรูปสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น รอยพระพุทธบาท ธรรมจักร เป็นต้น

    จากหลักฐานทางศิลปโบราณวัตถุสถานและพงศาวดารเหล่าปราชญ์จึงสันนิษฐานว่า ตำนานเรื่องพระแก่นจันทน์ อาจเกิดขึ้นภายหลังจากที่มีคตินิยมในการสร้างรูปพระพุทธเจ้าเป็นรูปมนุษย์ หรือพระพุทธรูปนั้น และสามารถสรุปได้ว่า พระพุทธรูปเริ่มปรากฏเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายหลัง สมัยพระเจ้ามิลินท์ หรือ พระเจ้าเมนันเดอร์ ในคันธารราฐ เป็นศิลปะคันธารราฐ แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จนถึงสมัย พระเจ้ากนิษกะ แห่งราชวงศ์กุษาณะ ทรงปกครองอยู่โดยทรงตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองเปษวาร์ มีเมืองมถุราเป็นศูนย์กลาง ทางทิศใต้ลุ่มแม่น้ำคงคา-ยมุนา ทรงเป็นองค์ศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง จึงนิยมสร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระศาสดา ในรูปแบบมนุษย์เป็นพุทธเจดีย์กันทั่วไป สรุปการสร้าง พระพุทธรูปปางต่างๆ เป็นการสร้างตามพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เป็นประติมากรรมพุทธประวัติตั้งแต่พระองค์ประสูติ สร้างเป็น แบบปางพระพุทธรูป จาก พระพุทธรูปปางประสูติ จนถึงนิพพาน ซึ่งเป็นรปแบบของ พระพุทธรูปปางต่างๆ

    https://www.facebook.com/10000805521...c_location=ufi

    " อันนี้เราทำของตามพระสูตร ตามพุทธวจน ให้คนได้เอาไปเป็นที่ระลึก เอาไปบูชา" แต่เอาตังค์มาแล้วเอาของไป

    แต่พระเครื่องพระพุทธรูปรูปปั้น ไม่ต้องสร้างเพิ่ม เพราะไม่สามารถนำไประลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนได้อย่างสินค้าที่มีราคา ลงขายตามสื่อพุทธวจน




    อยากให้มองมุมดี รุปภาพพระ และข้าวของเครื่องใช้ที่สำนักวัดนาป่าพงสร้างเป็นของดี เป็นของบูชาเป็นสื่อพุทธวจน แต่กลับมองมุมเสียของการมีพระพุทธรูปเครื่องรางของขลัง
    https://www.facebook.com/100008055215611/videos/1615629925382166/?hc_location=ufi

    มองมุมดีของการมีพระเครื่องบ้างไหม? ว่าพระเครื่องก็สามารถประกาศคำพระพุทธเจ้าเหมือนกันและดียิ่งกว่า ของอุปโภคบริโภคที่สำนักวัดนาป่าพงสร้างขึ้นมาด้วย


    โดยสำนักวัดนาป่าพงทำลายศรัทธานิสสัย
    พระเครื่องเป็นเดรัจฉานวิชา
    https://youtu.be/S92kTSs18lI

    สร้างโบสถ์วิหารพระพุทธรูป ได้อานิสงส์หรือไม่อย่างไร
    https://youtu.be/lACxtEiMSAs

    พุทธวจน faq การกราบพระพุทธรูป พระพุทธเจ้าบัญญัติหรือไม่
    https://youtu.be/NuGAsHBsP5Q

    พุทธวจน faq การสร้างพระพุทธรูป มีหรือไม่ตามพทธวจน
    https://youtu.be/KjqepCx2GPs

    การปลุกเสกพระเครื่อง, การพ่นน้ำมนต์ เป็นเดรัจฉานวิชา ไม่ใช่อิทธิปาฏิหาริย์
    https://youtu.be/kesw8A8dPJE
    สรุป
    อานิสงส์การสร้างพระพุทธรูปเป็นเรื่องแต่งใหม่ และเชื่อไม่ได้ไม่มีอยู่จริงเป็นคำสอนของคึกฤทธิ์สำนักวัดนาป่าพง

    พระคู่บ้านคู่เมืององค์ใด รูปภาพใดก็ไม่เอา แต่สำนักตนวาดภาพเอาว่าเป็นของดี

    สินค้านานาชนิดซึ่งพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ทรงตรัส ว่าประกอบด้วยประโยชน์ ถือผลิตหลอกลวงส่งเสริมให้มีการซื้อการขาย แต่สำนักตนถือว่าเป็นของดี


    มองออกไหม? คิดออกไหม? ว่าโมฆะบุรุษผู้นี้ เป็นดอกบัว หรือกงจักร หรือว่า ตาลายจึงมองไม่ออก

    คงไม่ต้องเอาภาพสินค้าและรูปพระประกอบสื่อพุทธวจนมาให้ดูก็คงทราบว่าเป็นยังไงมีอะไรบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อ...มบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.

    (ในกรณีแห่ง เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำที่มีหลักเกณฑ์ในการตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้วนั้นทุกประการ)

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.




    อนุสาสนีปาฏิหาริย์ นั้นงามที่สุด เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าท่านสรรเสริญคุณข้อนี้มากที่สุดก็เพราะว่า คหบดีหรือบุตร ผู้นั้นหรือเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาดในธรรมเป็นผู้มีบุญที่ได้สั่งสมกระทำไว้แต่ปางก่อนมาก ว่าด้วยผู้ได้ต้องพยากรณ์ว่าจะได้มาเกิดและออกบวชเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายฯ เป็นศิษย์ของพระสาวกแก้วทั้งหลาย สามารถบรรลุมรรคผลได้อย่างสมควรแก่ฐานะบารมีที่สั่งสมมาของเป็นต้น

    แต่บุคคลบางจำพวกอย่างคฤหัสถ์และเป็นผู้มีสติปัญญาน้อยนี้แลฯ ที่กระทำให้พระองค์ทรงอึดอัด ระอาใจ อย่างเช่นในพุทธสมัยที่พระองค์ทรงแรกเริ่มตรัสรู้ ดังนี้ว่า

    "ธรรมที่เราตรัสรู้แล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยากรู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิตก็หมู่สัตว์นี้แล ยังยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัย ก็ฐานะนี้ คือ ความเป็นปัจจัยแห่งธรรมมีสังขารเป็นต้นนี้ เป็นธรรมอาศัยกันและกันเกิดขึ้น อันหมู่สัตว์ผู้ยินดีด้วยอาลัย ยินดีแล้วในอาลัย เบิกบานแล้วในอาลัยจะพึงเห็นได้ยาก แม้ฐานะนี้ ก็เห็นได้ยาก คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวงธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอก ธรรมเป็นที่ดับ นิพพานก็ถ้าเราจะพึงแสดงธรรม แต่ชนเหล่าอื่นจะไม่พึงรู้ทั่วถึงธรรมของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความเหน็ดเหนื่อยของเรา ข้อนั้น จะพึงเป็นความลำบากของเรา ฯ"

    จะไม่ให้เหน็ดเหนื่อย อึดอัดระอาใจได้อย่างไร?

    เพราะบางจำพวกโดยส่วนใหญ่ ต่อให้มีครบ แสดงครบใน ปาฏิหาริย์ ๓ ชนเหล่านั้นก็ไม่ชอบใจ ไม่ปรารถนาในพระธรรมคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนานี้ ซึ่งก้เป็นอย่างนั้นในโลก



    ปาฏิหาริย์ ๓
    เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้
    แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้.
    ๓ อย่างอะไรเล่า ? ๓ อย่าง คือ :-
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
    ๓. อนุศาสนีปาฏิหาริย์

    (๑) เกวัฏฏะ! อิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า ?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ กระทำอิทธิวิธีมีประการต่าง ๆ :
    ผู้เดียวแปลงรูปเป็นหลายคน, หลายคนเป็นคนเดียว, ทำที่
    กำบังให้เป็นที่แจ้ง ทำที่แจ้งให้เป็นที่กำบัง, ไปได้ไม่
    ขัดข้อง ผ่านทะลุฝา ทะลุกำแพง ทะลุภูเขา ดุจไปใน
    อากาศว่าง ๆ, ผุดขึ้นและดำรงอยู่ในแผ่นดินได้เหมือนในน้ำ,
    เดินไปได้เหนือน้ำ เหมือนเดินบนแผ่นดิน, ไปได้ใน
    อากาศเหมือนนกมีปีก ทั้งที่ยังนั่งสมาธิคู้บัลลังก์. ลูบคลำ
    ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์อานุภาพมาก ได้ด้วย
    ฝ่ามือ. และแสดงอำนาจทางกายเป็นไปตลอดถึงพรหม
    โลกได้.


    เกวัฏฏะ ! กุลบุตรผู้มีศรัทธาเลื่อมใสได้เห็นการ
    แสดงนั้นแล้ว เขาบอกเล่าแก่กุลบุตรอื่นบางคน ที่ไม่
    ศรัทธาเลื่อมใสว่าน่าอัศจรรย์นัก. กุลบุตรผู้ไม่มีศรัทธา
    เลื่อมใสนั้น ก็จะพึงตอบว่า วิชา ชื่อ คันธารี มีอยู่ ภิกษุ
    นั้นแสดงอิทธิวิธีด้วยวิชานั่นเท่านั้น.
    เกวัฏฏะ ! ท่านจะ
    เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าว
    ตอบผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ ?



    “พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
    เกวัฏฏะ!
    เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อิทธิปาฏิหาริย์.



    (๒) เกวัฏฏะ ! อาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น เป็น
    อย่างไรเล่า?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมทายจิต ทายความรู้สึก
    ของจิต ทายความตรึก ทายความตรอง ของสัตว์เหล่าอื่น
    ของบุคคลเหล่าอื่นได้ ว่า ใจของท่านเช่นนี้ ใจของท่าน
    มีประการนี้ ใจของท่านมีด้วยอาการอย่างนี้. ... ฯลฯ ...
    กุลบุตรผู้ไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมค้านกุลบุตรผู้เชื่อผู้เลื่อมใส
    ว่า วิชา ชื่อ มณิกา มีอยู่ ภิกษุนั้น กล่าวทายใจได้เช่นนั้น ๆ
    ก็ด้วยวิชานั้น
    (หาใช่มีปาฏิหาริย์ไม่),


    เกวัฎฎะ ! ท่านจะ
    เข้าใจว่าอย่างไร : ก็คนไม่เชื่อ ไม่เลื่อมใส ย่อมกล่าวตอบ
    ผู้เชื่อผู้เลื่อมใสได้อย่างนั้น มิใช่หรือ?

    “พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
    เกวัฏฏะ !
    เราเห็นโทษในการแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อาเทสนาปาฏิหาริย์.




    (๓) เกวัฏฏะ! อนุศาสนีปาฏิหาริย์ นั้นเป็น
    อย่างไรเล่า?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมสั่งสอนว่า “ท่านจงตรึก
    อย่างนี้ ๆ อย่าตรึกอย่างนั้น ๆ, จงทำไว้ในใจอย่างนี้ ๆ
    อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้น ๆ, จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้ ๆ แล้ว
    แลอยู่” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :

    สำหรับผู้มีศรัทธามีความชาญฉลาดในธรรม

    ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้
    เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
    ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกได้อย่างไม่มี
    ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
    จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
    กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
    เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่น
    ให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น –
    ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ
    และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.



    คหบดีหรือบุตร
    คหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
    ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบ
    ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
    มาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน
    จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
    หมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร
    เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
    บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.



    โดยสมัยอื่น
    ต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่และวงศ์ญาติน้อยใหญ่
    ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง
    ด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วย
    ความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
    โคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษ
    เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบ
    แล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์,
    ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ.



    เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์
    มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วาง
    ท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
    กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
    เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส
    ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน
    ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
    เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัด
    ตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับ
    ไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหล่านี้
    อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่ง
    อาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ
    ภวาสวะ อวิชชาสวะ.



    ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิด ญาณหยั่งรู้
    ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
    จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ
    ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือน
    ห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งใน
    ที่นั้น, เขาเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง
    อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจ
    อย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลา
    ทั้งหลายเหล่านี้หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้;
    ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เรา
    ได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้
    ตามด้วย.
    สี. ที. ๙/๒๗๓ – ๒๗๖/ ๓๓๙ – ๒๔๒.

    แม้จะมีทั้งหมดก็ไม่สามารถทำให้ปุถุชนคนหนาเข้าถึงได้ กี่มากน้อยแล้วในพระพุทธศาสนาต้องกำราบผู้อื่นด้วย อิทธิปาฏิหาริย์ และ อาเทสนาปาฏิหาริย์
    แม้แสดงทั้ง ๓ เขาก็ไม่ชอบใจ

    คงไม่ต้องอธิบายพระสาวกแต่ละท่านว่า มีคุณมีฤทธิ์มีเดชมีปฎิหาริย์ ๓ อย่างไรบ้าง? และท่านเหล่านั้นได้แสดงที่ไหนอย่างไรบ้าง

    ยกท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้มีฤทธิ์มาก (แสดงฤทธิ์ด้วยตนเอง)
    และท่านพระสิวลีผู้มีลาภมาก(ผู้อื่นแสดงฤทธิ์ถวาย)


    ไว้ให้พิจารณา
    ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง 80 พระองค์


    http://palungjit.org/threads/ประวัติพระพุทธสาวกทั้ง-80-พระองค์.14946/





    ถ้าไม่มีอทธิฤทธิ์ใหญ่ แย่แน่ จะไม่สามารถกำราบใครได้
    ปาฏิหาริย์ 3 การกระทำที่กำจัดหรือทำให้ปฏิปักษ์ยอมได้, การกระทำที่ให้เป็นอัศจรรย์, การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์
    1. อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
    2. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิตจนสามารถกำหนดอาการที่หมายเล็กน้อยแล้วบอกสภาพของจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง เป็นอัศจรรย์
    3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คืออนุศาสนี, คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์

    ใน 3 อย่างนี้ พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ว่าเป็นเยี่ยม



    นี่ของสำคัญ เป็นอานุภาพใหญ่ในพระพุทธศาสนา สามารถจะทำกิจให้ลุล่วงต่างๆทำลายอุปสรรคขวางกั้นต่างๆได้ สามารถรวบรวมพระศาสนากลับมาเป็นหนึ่งเดียวได้ ไม่ใช่ใครจะมีได้ง่ายๆ ไม่ใช่ฐานะเลย

    ถ้าไม่มีก็อย่าดึงดัน ชอบใจในพระธรรมก็ เป็นผู้ปฎิบัติผู้สอนตามสมควรแก่ฐานะตนไป

    ถ้าพระองค์ทรงรังเกียจอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ พระองค์จะทรงประกาศทำไม

    เกวัฏฏะ ! นี่ปาฏิหาริย์สามอย่าง ที่เราได้ทำให้
    แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้

    •   ได้ยกย่องในทางบันลือสีหนาท
    โดยปกติ ท่านปิณโฑลภารทวาชเถระ มักจะบันลือสีหนาทด้วยวาจาอันองอาจว่า
    “ยสฺส มคฺเค วา ผเล วา กงฺขา อตฺถิ โส มํ ปุจฺฉตุ แปลว่า ผู้ใด มีความสงสัยในมรรคหรือใน
    ผล ผู้นั้น ก็จงถามเราเถิด” แม้แต่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ท่านก็บันลือสีหนาท
    เช่นนั้น

    ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันกล่าวขวัญถึงท่านว่าเป็นผู้มีความองอาจประกาศ
    ความเป็นพระอรหันต์ของตนในที่เฉพาะพระพักตร์ พระบรมศาสดาและยังได้กระทำ
    อิทธิปาฏิหาริยิ์ เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้จันทน์แดง จนทำให้เศรษฐีพร้อมด้วยบุตรและภรรยาพา
    กันประกาศตนเป็นพุทธมามกะ คือ ประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา

    พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นพากันกล่าวสรรเสริญเกียรติคุณของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
    แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือเอาคุณความดีของพระเถระนี้ตรัส
    สรรเสริญว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านภารทวาชะได้ประกาศความเป็นพระอรหันต์ ของตนเช่นนั้น
    ก็พราะท่านอบรมอินทรีย์ ๓ ประการ คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ ไว้มาก ครั้น
    ตรัสดังนี้แล้ว ทรงประกาศยกย่อง พระปิณโฑลภารทวาชะ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
    ภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้บันลือสีหนาท
     
    ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับ
    ขันธปรินิพพาน


    ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

                 พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
    ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์

    เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะ
    เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด
    เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์

    เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
    ที่ยังไม่เลื่อมใส ...


    ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่
    พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฎ



    ชัดเจนไหม?ว่าแสดงแก่พวกคฤหัสถ์ เป็นอาบัติทุกกฎ ถ้าท่านประสงค์แสดงแก่พระสงฆ์หรือเหล่าพุทธบริษัท ๔ หมู่สงฆ์สาวกและอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาในพระรัตนตรัยที่มีศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา อันมีวิสัยปฎิบัติ และสติปัญญาที่ ไม่เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามย่อมแสดงได้ นั่นก็สามารถกระทำได้ ไม่เป็นอาบัติใดๆ

    ข้อนั้นที่พระองค์ทรงห้ามโดยเด็ดขาดจึงตกไป จะกล่าวตู่ว่าพระองค์ทรงรังเกียจอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์จึงตกไป จะกล่าวตู่ว่าพระองค์ทรงรังเกียจอาเทสนาปาฏิหาริย์จึงตกไป

    เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อิทธิปาฏิหาริย์.

    เราเห็นโทษในการแสดง อาเทสนาปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อาเทสนาปาฏิหาริย์.


    อะไรคือโทษ โทษมาจากไหน โทษเนื่องด้วยอะไร?

    ที่ทำให้ทรงเกลียดทรงรู้สึกอึดอัด ขยะแขยง นั่นก็เพราะ บุคคลที่ทรงแสดงไม่มีสติปัญญารับรู้รับฟังพิจารณา ดูแต่ปลายไม่ดูที่เหตุ วิสัชนามั่วซั่ว

    ข้ออื่นยังมีอีก :



    ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้
    เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ
    ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกได้อย่างไม่มี
    ใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว
    จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์. ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้
    กับทั้งเทวดา มาร พรหม หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
    เทวดาพร้อมทั้งมนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนผู้อื่น
    ให้รู้แจ้งตาม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น –
    ท่ามกลาง – ที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะ
    และพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.



    คหบดีหรือบุตร
    คหบดี หรือผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่งในภายหลังก็ดี
    ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดศรัทธาในตถาคต. เขาผู้ประกอบ
    ด้วยศรัทธา ย่อมพิจารณาเห็นว่า “ฆราวาสคับแคบ เป็นทาง
    มาแห่งธุลี, บรรพชาเป็นโอกาสว่าง; การที่คนอยู่ครองเรือน
    จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว
    หมือนสังข์ที่เขาขัดแล้วนั้น ไม่ทำได้โดยง่าย. ถ้ากระไร
    เราจะปลงผมและหนวด ครองผ้ากาสายะ ออกจากเรือน
    บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนเถิด”, ดังนี้.



    โดยสมัยอื่น
    ต่อมา เขาละกองสมบัติน้อยใหญ่และวงศ์ญาติน้อยใหญ่
    ปลงผมและหนวด ออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง
    ด้วยเรือนแล้ว. ภิกษุนั้น ผู้บวชแล้วอย่างนี้ สำรวมแล้วด้วย
    ความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
    โคจร, มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ว่าเป็นโทษ
    เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย, ประกอบ
    แล้วด้วยกายกรรม วจีกรรมอันเป็นกุศล, มีอาชีวะบริสุทธิ์,
    ถึงพร้อมด้วยศีล, มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย,
    ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ, มีความสันโดษ.



    เกวัฏฏะ ! ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล เป็นอย่างไรเล่า ?
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการทำสัตว์
    มีชีวิตให้ตกล่วงไป เป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วาง
    ท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดู
    กรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงอยู่.
    เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! ภิกษุนั้น ครั้นจิตตั้งมั่นบริสุทธิ์ผ่องใส
    ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติอ่อนโยน
    ควรแก่การงาน ตั้งอยู่ได้อย่างไม่หวั่นไหว เช่นนี้แล้ว,
    เธอก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณ. เธอย่อมรู้ชัด
    ตามที่เป็นจริงว่า “นี้ทุกข์, นี้เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์,
    นี้ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับ
    ไม่เหลือแห่งทุกข์”; และรู้ชัดตามที่เป็นจริงว่า “เหล่านี้
    อาสวะ, นี้เหตุเกิดขึ้นแห่งอาสวะ, นี้ความดับไม่เหลือแห่ง
    อาสวะ, นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งอาสวะ”.
    เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตก็พ้นจากกามาสวะ
    ภวาสวะ อวิชชาสวะ.



    ครั้นจิตหลุดพ้นแล้วก็เกิด ญาณหยั่งรู้
    ว่า “จิตพ้นแล้ว”. เธอรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
    จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ
    ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้. เกวัฏฏะ ! เปรียบเหมือน
    ห้วงน้ำใสที่ไหล่เขาไม่ขุ่นมัว, คนมีจักษุดียืนอยู่บนฝั่งใน
    ที่นั้น, เขาเห็นหอยต่าง ๆ บ้าง กรวดและหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง
    อันหยุดอยู่และว่ายไปในห้วงน้ำนั้น, เขาจะสำเหนียกใจ
    อย่างนี้ว่า “ห้วงน้ำนี้ใส ไม่ขุ่นเลย หอย ก้อนกรวด ปลา
    ทั้งหลายเหล่านี้หยุดอยู่บ้าง ว่ายไปบ้าง ในห้วงน้ำนั้น” ดังนี้;
    ฉันใดก็ฉันนั้น. เกวัฏฏะ ! นี้เราเรียกว่า อนุศาสนีปาฏิหาริย์.
    เกวัฏฏะ ! เหล่านี้แล ปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง ที่เรา
    ได้ทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้
    ตามด้วย.




    มโนมยิทธิญาณ
                ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจคือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.

    ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่านี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้องอย่างหนึ่ง ไส้อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออกจากหญ้าปล้องนั่นเองอีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝักดาบอย่างหนึ่ง ฝักอย่างหนึ่ง ก็แต่ดาบชักออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจากคราบ เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูอย่างหนึ่ง คราบอย่างหนึ่งก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ เธอย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อนิรมิตรูปอันเกิดแต่ใจ คือนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    อิทธิวิธญาณ
                 ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลสอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

    ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดีแล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างงาหรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการเครื่องงาชนิดใดๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการทองรูปพรรณชนิดใดๆ พึงทำทองรูปพรรณ
    ชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออิทธิวิธี เธอบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    ทิพยโสตญาณ
                  ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อนควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ. เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์. ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษเดินทางไกล เขาจะพึงได้ยินเสียงกลองบ้าง เสียงตะโพนบ้าง เสียงสังข์บ้าง เสียงบัณเฑาะว์บ้าง เสียงเปิงมางบ้าง เขาจะพึงเข้าใจว่า เสียงกลองดังนี้บ้าง เสียงตะโพนดังนี้บ้าง เสียงสังข์ดังนี้บ้าง เสียงบัณเฑาะว์ดังนี้บ้างเสียงเปิงมางดังนี้บ้าง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลสปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อทิพยโสตธาตุ เธอย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    เจโตปริยญาณ
                 ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ.
    เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.

    ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดูเงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือในภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้วไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อเจโตปริยญาณ เธอย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะหรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่านจิตเป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้นหรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
                ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ.

    เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้างสี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจากบ้านนั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิมเขาจะพึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้น เราได้ยืนอย่างนั้นได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น เราได้จากบ้านแม้นั้นไปยังบ้านโน้น แม้ในบ้านนั้นเราก็ได้ยืนอย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจากบ้านนั้น
    มาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้างสามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้างตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้นเสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้นแม้ในภพนั้นเราก็มีชื่อนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    จุตูปปาตญาณ
                  ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติเลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมด้วยประการฉะนี้ เปรียบเหมือนปราสาทตั้งอยู่ ณ ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนปราสาทนั้น จะพึงเห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปสู่เรือนบ้าง กำลังออกจากเรือนบ้าง กำลังสัญจรเป็นแถวอยู่ในถนนบ้าง นั่งอยู่ที่ทาง๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนครบ้าง เขาจะพึงรู้ว่า คนเหล่านี้เข้าสู่เรือน เหล่านี้ออกจากเรือนเหล่านี้สัญจรเป็นแถวอยู่ในถนน เหล่านี้นั่งอยู่ที่ทาง ๓ แพร่ง ท่ามกลางพระนคร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลายเธอเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตไม่ติเตียนพระอริยะเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ แม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.

    อาสวักขยญาณ
             ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส
    อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

    ดูกรมาณพ เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขาใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว
    บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดอย่างนี้ว่าสระน้ำนี้ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบต่างๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้างฝูงปลาบ้าง เหล่านี้กำลังว่ายอยู่บ้าง กำลังหยุดอยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น ดังนี้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงานตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้ อาสวะ นี้อาสวสมุทัยนี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะแม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีแม้ข้อนี้ก็เป็นปัญญาของเธอประการหนึ่ง.


    พระพุทธเจ้าไม่สอนเรื่องฤทธิ์จริงหรือ

    http://www.oknation.net/blog/print.php?id=126099
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้ทรงกระทำก็ดี ธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้าฯ

                 ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ เช่นนี้ เธอจะปรารถนาการกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ไปทำไม ดูกรโมฆบุรุษ เธอจงเห็นว่า ข้อนี้เป็นความผิดของเธอเท่านั้น ฯ



    ประโยชน์ของฤทธิ์นั้น มิใช่ว่า ทำให้เกิดความเลื่อมใสแล้ว จะเข้าปฏิบัติธรรมอย่างเดียว ยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีก ในเล่ม 20 หน้า 258 พระอานนท์กราบทูลว่า "เป็นลาภของข้าพระองค์หนอ ข้าพระองค์ได้ดีแล้วหนอ ที่ข้าพระองค์มีพระศาสดาผู้มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้

    ท่านพระอุทายีก็ติงว่า "ดูกรอานนท์ ในข้อนี้ท่านจะได้ประโยชน์อะไร ถ้าศาสดาของท่านมีฤทธิ์ มีอานุภาพมากอย่างนี้ "

    พระพุทธเจ้าทรงแก้ให้ว่า "ดูกรอุทายี เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ ถ้าอานนท์ยังไม่หมดราคะเช่นนี้พึงทำกาละไป เธอพึงเป็นเจ้าแห่งเทวดาในหมู่เทวดา 7 ครั้ง พึงเป็นเจ้าจักรพรรดิในชมพูทวีปนี้แหละ 7 ครั้ง เพราะจิตที่เลื่อมใสนั้น ดูกรอุทายี ก็แต่ว่า อานนท์จักนิพพานในอัตภาพนี้เอง"

    ผู้ใดมีปัญญาเห็นธรรมสามารถที่จะวิสัชนาข้อนี้ให้ละเอียดอ่อน ลึกซึ้งกว้างขวางได้ ย่อมเข้าใจและรู้ว่า ที่องค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดาทรงนึกรังเกียจหรือ อึดอา ระอาใจต่อ ปาฎิหาริย์ ทั้งสองอย่างแรก ที่แสดงแก่เหล่า คฤหัสถ์ ปุถุชนคนว่ายากสอนยาก ไม่ใช่พุทธบริษัท ๔ ผู้มีศรัทธาเท่านั้น

    อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ
    อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
    ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี
    โย ปญฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ.

    คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี,
    พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี,บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี.

    (พุทธ) ขุ. ชา. วีส. ๒๗/๔๔๖.

    และยังสามารถวิสัชนาให้ถี่ถ้วนไปยิ่งกว่านี้อีก ยกตัวอย่างเช่น พระสาวกเหาะได้ ผู้ไม่เชื่อไม่มีศรัทธา เป็นคฤหัสถ์ผู้มีปัญญาน้อย ก็จะบอกว่า นกแมลงก็บินได้ไม่น่าตื่นเต้นแปลกใหม่อะไร? ก็ตรงกับการแสดงปาฎิหาริย์ทั้งสองข้อแรกที่ทรงตรัส นี่จึงแสดงให้ถึง บุคคล ที่ควรเลือกเสวนา ไม่เสวนากับคนพาล อเสวนาจะพาลานัง ดังนี้แลฯ

    จากคลิปนี้ ที่คึกฤทธิ์กล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าทรงรังเกียจ อิทธิปาฎิหาริย์ ด้วยการทำปาฎิหาริย์ ทั้งสองอย่างแรก แต่ไม่มีปัญญาวิสัชนาว่า ทรงยกเว้นเพียงแก่เหล่าบรรดา คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามผู้เป็นปุถุชนว่ายากสอนยาก

    ถ้าคฤหัสถ์เป็นผู้ไม่ควรแสดงฤทธิ์ทั้งสองอย่างแรกให้ดู คือเป็นผู้ไม่สมควรแก่การได้ทัสนานุตริยะในการแสดงฤทธิ์ทั้งสองอย่างแรก ฉันใด


    อุปมาการแสดงของลับ อย่างมาตุุคาม ไม่ควรแสดงของลับนั้นแก่ บุคคลใดที่ไม่เข้าใจและไม่มีความรู้ และไม่ปรารถนาของลับนั้น ฉันนั้นแลฯ ต้องให้บอกไหม? ว่าอะไรยังไง หรือใคร? แล้วถ้าแสดงให้กับบุคคลประเภทนั้น ของลับของมาตุคามที่บุุคคลปรารถนา นำไปแสดงแก่บุคคลไม่ปรารถนา ไม่เห็นค่า จะกลายเป็นของเน่าของเหม็นเพียงไร ทั้งนี้ให้ระบุเป็น บุคคลชนิดที่บวชไม่ได้และไม่ควรบวช และมีความรังเกียจไม่ชอบมาตุคาม อุปมาอย่างนี้ในกาล ไม่ต้องไปถึงพระอริยะบุคคลเบื้องสูง


    https://youtu.be/kesw8A8dPJE

    และไคล์แม๊กที่สุดให้มองให้ลึกซึ้งกว้างไกล การวิสัชนาของคึกฤทธิ์นี้ ไปขัดกับการแสดงวิสัชนาในเรื่อง บัวสามเหล่า ทันที เพราะคิดแค่ว่าในโลกใบนี้และตลอดจนสหโลกธาตุทั้งหลาย อุปมาสติปัญญาของบุคคลและการมีอยู่ของบุคคล ได้ดั่งบัวสามเหล่าเพียงเท่านั้น จึงเป็นความผิดพลาดอย่างมหาศาลล่มจ่มของการวิสัชนาเรื่อง ปาฎิหาริย์ ๓ อันเกี่ยวเนื่องกับการสร้างเครื่องรางของขลัง และการกล่าวตู่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิการแสดงฤทธิ์ต่างๆ มาดังนี้แลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    https://youtu.be/kesw8A8dPJE

    ดีนะที่ไม่บอกว่า อิทธิปาฏิหาริย์ และ อาเทสนาปาฏิหาริย์ เป็นเดรัจฉานวิชา คือใจของคึกฤทธิ์นี้ไปไกลมากแล้วจึงดูดกลืน มิจฉาทิฎฐิ เข้าไปอย่างสุดที่จะเต็มกลืน

    สรุปรวมๆคือ ไม่รู้ และ ไม่เห็นประโยชน์ในอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์ มองเห็นแต่โทษ แต่ไม่รู้ว่าโทษนั้นเกิดมาจากไหน จากใคร เนื่องด้วยเหตุด้วยเรื่องอะไร?จึงมีโทษ

    สมดังคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

    มุตโตทัย ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    บันทึกโดยพระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันพระราชธรรมเจติยาจารย์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพฯ ) ณ วัดป่าบ้านนามน กิ่ง อ. โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร พ.ศ. ๒๔๘๖

    ๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป)


    แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย

    ๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
    ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
    สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย


    ถ้าจะเอาตามความหมายของคึกฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทสนาปาฏิหาริย์
    ไม่ใช่โลกุตระธรรม ไม่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้



    แต่ทว่า เมื่อมีประโยคนี้ขึ้นมา สิ่งที่คึกฤทธิ์วิสัชนาจึงดูหมิ่นพระทศพลญานและพระสัพพัญญุตญานองค์สมเด็จพระบรมหาศาสดา ผู้ทรงบารมีญานเป็นอันมาก

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์ได้ทรงกระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้ทรงกระทำก็ดี ธรรมที่พระองค์ได้ทรงแสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ พระเจ้าข้าฯ



                 ดูกรสุนักขัตตะ เพราะเหตุที่เมื่อเราได้กระทำอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นธรรมยิ่งยวดของมนุษย์ หรือมิได้กระทำก็ดี ธรรมที่เราได้แสดงไว้ย่อมนำผู้ประพฤติให้สิ้นทุกข์โดยชอบ


    ข้อนี้ คึกฤทธิ์จึงวิสัชนาผิดไป โดยมีเจตนาหมายว่า อิทธิปาฏิหาริย์ และ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และต่อให้พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปาฎิหาริย์ ทั้ง ๒ อย่างนี้ ก็ไม่ใช่โลกุตระธรรม ไม่สามารถนำสัตว์ออกจากทุกข์ได้

    นี่จึงขัดกับที่ทรงตรัสไว้กับ สุนักขัตตะ ผู้จะได้ดีแล้ว ก็ไม่เอา แถมยังทำเล่ห์กล่าวตู่พระพุทธเจ้าอีกด้วย ในศรัทธาที่ฉ้อฉลอีกด้วย จึงต้องพยากรณ์ไปอีกราย


    สอนแบบนี้ก็มีคนเชื่อนะคึกฤทธิ์ เก่งจังเลย

    เจริญ เจริญ

    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=11&item=1&items=1&preline=0&pagebreak=0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    พระจูฬปันถกเถระ
    เอตทัคคะในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิ

    พระจูฬปันถก เป็นน้องชายร่วมมารดาบิดาเดียวกันกับท่านพระมหาปันถก เมื่อ
    พระมหาปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วได้รับความสุขจากการหลุดพ้นสิ้นกิเลสาสวะทั้งปวงแล้ว มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถก น้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้างจึงไปขออนุญาตจากธนเศรษฐีผู้เป็นคุณตา ซึ่งก็ได้รับอนุญาตและให้ความร่วมมือด้วยดี เพราะคุณตาก็เป็นผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว เมื่อจูฬปันถกได้รับการอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ท่านพระมหาปันถก
    ผู้เป็นพี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาพุทธคุณหนึ่งคาถา ความว่า...
    ปทุมํ ยถา โกกนุทํ สุคนฺธํ
    ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธํ
    องฺคีรสํ ปสฺส วิโรจมานํ
    ตปนุตมาทิจฺจมิวนฺตลฺเข ฯ

    “ดอกปทุมชาติที่ชื่อว่าโกกนุท ขยายกลีบแย้มบานตั้งแต่เวลารุ่งอรุณยามเช้า กลิ่นเกษร
    หอมระเหยไม่รู้จบเธอจงพินิจดูพระสักยมุนีอังคีรส ผู้มีพระรัศมีแผ่ไพโรจน์อยู่ ดุจดวงทิวากรส่องสว่างอยู่กลางนภากาศ ฉะนั้น”


    ปัญญาทึบพี่ชายไล่สึก
    ด้วยคาถาเพียงคาถาเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าพระจูฬปันถก เรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ ท่านพระมหาปันถกพี่ชาย พยายามเคี่ยวเข็ญอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดก็เห็นว่าท่านเป็นคนโง่เขล่าปัญญาทึบ เป็นคนอาภัพในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถจะบรรลุคุณพิเศษเจริญรุ่งเรืองในพระศาสนาได้ จึงตำหนิประณามท่านแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป ด้วยคำว่า

    “จูฬปันถก เธอใช้เวลาถึง ๔ เดือน ยังไม่อาจเรียนคาถาแม้เพียงบาทเดียวได้ นับว่าเธอ
    เป็นคนอาภัพ ไม่สมควรอยู่ในพระศาสนานี้ เพียงคาถาเดียวยังเรียนไม่ได้แล้วจะทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอจงออกไปเสียจากที่นี้เถิด”

    ในวันนั้น หมอชีวกโกมารภัจ ได้กราบอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
    ๕๐๐ รูป ไปเสวยและฉันภัตตาหารที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้นในฐานะที่พระมหาปันถก ผู้มีหน้าที่เป็นภัตตุทเทศก์ ได้จัดนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ ทั้งหมดในพระอาราม ในฉันภัตราหารที่บ้านของหมอชีวกโกมารภัจ นั้น เว้นเฉพาะพระจูฬปันถก เพียงรูปเดียวเหลือไว้ในพระอารา,พระจูฬปันถก เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตและวาสนาของตนเอง คิดว่าตนเองเป็นอาภัพบุคคลในพระพุทธศาสนา ไม่สามารถที่จะบรรลุโลกุตรธรรมได้ จึงตัดสินใจที่จะสึกออกไห้เป็นฆราวาสแล้วทำบุญสร้างกุศลต่างๆ ตามควรแก่ฐานะ จึงได้หลบออกจากวัดตั้งแต่เช้าตรู่ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ได้ทอดพระเนตรเห็นเธอเดินมาจึงตรัสถามว่า:-

    “จูฬปันถก นั้นเธอจะไปไหนแต่เช้าตรู่เช่นนี้ ?”
    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระมหาปันถกได้ขับไล่ข้าพระพุทธเจ้าออกจากอาราม ดังนั้น
    ข้าพระพุทธเจ้าจะไปลาสิกขา พระเจ้าข้า”

    “จูฬปัถก เธอมิได้บวชเพื่อที่ชาย เธอบวชเพื่อตถาคตต่างหาก เมื่อพี่ชายขับไล่เธอ เหตุไฉนเธอจึงไม่มาหาตถาคต การกลับไปอยู่ครองเรือนจะมีประโยชน์อะไร มาอยู่กับตถาคตจะประเสริฐกว่า”

    พระบรมศาสดา พาเธอไปที่พระคันธกุฏี ประทานผ้าขาวบริสุทธิ์ผืนเล็ก ๆ ให้เธอผืน
    หนึ่ง แล้วทรงแนะนำให้เธอบริกรรมด้วยคาถาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ พร้อมกับใช้มือลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วย เธอรับผ้ามาด้วยความเอิบอิ่มใจ แสวงหาที่สงบสงัดแล้วเริ่มปฏิบัติบริกรรมคาถา ลูบคลำผ้าที่พระพุทธองค์ประทานให้เธอบริกรรมได้ไม่นาน ผ้าขาวที่สะอาดบริสุทธิ์ผืนนั้น ก็เริ่มมีสีคล้ำเศร้าหมองเหมือนผ้าเช็ดมือ จึงคิดขึ้นว่า “ผ้าผืนนี้เดิมทีมีสีขาวบริสุทธิ์ แต่อาศัยการถูกต้องสัมผัสกับอัตภาพของเรา จึงกลายเป็นผ้าสกปรก เศร้าหมอง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ” แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานยกผ้าผืนนั้นขึ้นเปรียบเทียบกับอัตตภาพร่างกายเป็นอารมณ์

    ก็ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือปัญญาอันแตกฉานมี ๔ ประการคือ
    ๑. อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ
    ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม
    ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุตติคือภาษา
    ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
    ครั้งรุ่งเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังเรือนของ
    หมอชีวกโกมารภัจ เพื่อเสวยภัตตาหารตามที่หมอชีวกกราบอาราธนาไว้ เมื่อหมอชีวกน้อมนำภัตตาหารเข้าไปถวายพระบรมศาสดา พระองค์ทรงปิดบาตรแล้วตรัสว่า “ยังมีพระภิกษุอีกรูปหนึ่ง อยู่ที่วัด” หมอชีวกจึงส่งคนไปนิมนต์ให้ท่านมาฉันภัตตาหาร

    ประกาศความเป็นอรหันต์
    ขณะนั้น พระจูฬปันถก เพื่อจะประกาศความเป็นพระอรหันต์ของตน ให้ปรากฏ จึงได้
    เนรมิตพระภิกษุขึ้นถึงจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ในพระอารามอยู่ในอิริยาบถต่าง ๆ กัน บ้างก็สาธยายพุทธคุณ บ้างก็ซักจีวร บ้างก็ย้อมจีวร เป็นต้น เมื่อคนรับใช้มาถึงวัดได้เห็นพระภิกษุจำนวนมากมายอย่างนั้น จึงรีบกลับไปแจ้งแก่หมอชีวก

    พระพุทธองค์ทรงสดับอยู่ด้วย จึงรับสั่งให้คนใช้นั้นไปนิมนต์ท่านที่ชื่อจูฬปันถก
    คนรับใช้ไปกราบนิมนต์ตามพระดำรัสนั้น ด้วยคำว่า “ข้าแต่พระคุณเจ้า พระบรมศาสดา
    รับสั่งให้มานิมนต์พระจูฬปันถก ขอรับ”

    ปรากฏว่าพระภิกษุทุกรูปต่างก็พูดเหมือนกันว่า
    “อาตมา ชื่อพระจูฬปันถก”

    คนรับใช้ไม่รู้จะทำอย่างไรจึงต้องกลับไปกราบทูลพระบรมศาสดา
    ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีก พระพุทธองค์ ตรัสแนะว่า:-

    “ถ้าพระภิกษุรูปใดพูดขึ้นก่อน เธอจงจับมือภิกษุรูปนั้นไว้แล้วนำท่านมา ส่วนพระภิกษุ
    ที่เหลือก็จะหายไปเอง”


    คนรับใช้ ปฏิบัติตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำนั้นแล้ว ได้นำพระจูฬปันถก สู่ที่
    นิมนต์ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระบรมศาสดาทรงมอบให้ท่านเป็นผู้กล่าวภัตตานุโมทนา อันเป็นการเสริมศรัทธาแก่ทายกทายิกา

    บุพกรรมของพระจูฬปันถก
    ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พระจูฬปันถก ได้บวชเป็นพระภิกษุ
    ในครั้งนั้นด้วย ท่านเป็นผู้มีปัญญาดี จำทรงหลักธรรมคำสอนได้เร็วแม่นยำ ท่านเห็นเพื่อนภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งปัญญาทึบท่องสาธยายหัวข้อธรรมเพียงบทเดียวก็จำไม่ได้ จึงหัวเราะเยาะท่าน ทำให้ภิกษุรูปนั้นเกิดความอับอายเลิกเรียนสาธยายหัวข้อธรรมนั้น เพราะกรรมเก่าในครั้งนั้นจึงเป็นผล
    ติดตามให้ท่านมีปัญญาทึบโง่เขลาในอัตภาพนี้
    พระจูฬปันถก สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้เป็นกำลังช่วยกิจการพระศาสนาตามความ
    สามารถของท่านและโดยที่ท่านเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในมโนมยิทธิ พระบรมศาสดาจึงทรงยกยองท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ชำนาญในมโนมยิทธิท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน



    โดนท่านพระจูฬปันถกเถระผู้เจริญด้วยปฎิสัมภิทาญาน ฝากสอนธรรมเป็นแน่แท้

    ไหนล่ะ ทรงตำหนิหรือไม่ เรื่องการแสดงฤทธิ์ของท่านพระจูฬปันถกเถระ


    เราเองจริงๆก็เป็นผู้มีปัญญาทึบมากเสียด้วยสิ ไม่ใช่จะจดจำอะไรได้ง่ายๆ คงไปต้องบุพกรรมมาเหมือนกัน
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เรื่องพระจูฬปันถกเถระ
             โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
    อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย ผลัดเปลี่ยนกันกล่าวสอนพวกภิกษุณี สมัยนั้น ถึงวาระของท่านพระจูฬปันถกที่จะกล่าวสอนพวกภิกษุณี พวกภิกษุณีพูดกันอย่างนี้ว่า วันนี้โอวาทเห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจูฬปันถกจะกล่าวอุทานอย่างเดิมนั่นแหละซ้ำๆ ซากๆ แล้วพากันเข้าไปหาท่านพระจูฬปันถก อภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

                 ท่านพระจูฬปันถกได้ถามภิกษุณีเหล่านั้น ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ น้องหญิงทั้งหลาย?
                 ภิกษุณี. พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า.
                 จูฬ. ครุธรรม ๘ ประการยังเป็นไปดีอยู่หรือ น้องหญิงทั้งหลาย?
                 ภิกษุณี. ยังเป็นไปดีอยู่ เจ้าข้า.
                 ท่านพระจูฬปันถกสั่งว่า นี่แหละเป็นโอวาทละ น้องหญิงทั้งหลาย แล้วได้กล่าวอุทานนี้ซ้ำอีก ว่าดังนี้:
                              "ความโศก ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ประมาท
                              ศึกษาอยู่ในโมเนยยปฏิปทา ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ"

                  ภิกษุณีทั้งหลายได้สนทนากันอย่างนี้ว่า เราได้พูดแล้วมิใช่หรือว่าวันนี้ โอวาทเห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยว พระคุณเจ้าจูฬปันถก จะกล่าวอุทานอย่างเดิมนั่นแหละซ้ำๆ ซากๆ

                 ท่านพระจูฬปันถกได้ยินคำสนทนานี้ของภิกษุณีพวกนั้น ครั้นแล้วท่านเหาะขึ้นสู่เวหาจงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง ทำให้ควันกลุ้มตลบขึ้นบ้าง ทำให้เป็นไฟโพลงขึ้นบ้าง หายตัวบ้าง อยู่ในอากาศกลางหาว กล่าวอุทานอย่างเดิมนั้น และพระพุทธพจน์อย่างอื่นอีกมาก.

                 ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวชมอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์นัก ชาวเราเอ๋ย ไม่เคยมีเลย ชาวเราเอ๋ยในกาลก่อนแต่นี้ โอวาทไม่เคยสำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา เหมือนโอวาทของพระคุณเจ้าจูฬปันถกเลย.

    คราวนั้น ท่านพระจูฬปันถกกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นจนพลบค่ำ ย่ำสนธยา แล้วได้ส่ง
    กลับด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย. จึงภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อเขาปิดประตูเมืองแล้วได้พากันพักแรมอยู่นอกเมือง รุ่งสายจึงเข้าเมืองได้ ประชาชนพากัน เพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า ภิกษุณีพวกนี้เหมือนไม่ใช่สตรีผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พักแรมอยู่กับพวกภิกษุในอารามแล้ว เพิ่งจะพากันกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพากันเพ่งโทษติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนท่านพระจูฬปันถก เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว จึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ...

    ทรงสอบถาม
                 พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรจูฬปันถก ข่าวว่า เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว เธอยังกล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ?
                 พระจูฬปันถกทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

    ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

                 พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรจูฬปันถก เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว ไฉน เธอจึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

                 ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
    พระบัญญัติ
                 ๗๑. ๒. ถ้าภิกษุ แม้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดงค์แล้ว กล่าวสอน
    พวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.


    เรื่องพระจูฬปันถกเถระ จบ.

    ที่นี้เข้าใจหรือยังว่า อิทธิฤทธิปาฎิหาริย์นั้นสามารถแสดงทัสนานุตริยะแก่พุทธบริษัท ๔ ผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาได้

    ไม่ต้องกล่าวถึงพระยมกปาฎิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเลยว่าจะเป็นทัสนานุตริยะขนาดไหนแก่เหล่าเวไนยสัตว์มหาชน


     ในวันนั้น พระศาสดาเสด็จจงกรมทรงทำ (ยมก) ปาฏิหาริย์แสดงธรรมกถาแก่มหาชนในระหว่างๆ และเมื่อทรงแสดงไม่ทรงทำให้มหาชนให้หนักใจ๑- ประทานให้เบาใจยิ่ง. ในขณะนั้น มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว.


                   ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่งๆ ด้วยอำนาจอาการ ๑๖ อย่าง. จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้, บุคคลใดๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด พระศาสดาทรงแสดงธรรม และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้นๆ.

                   เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว.

                   ก็พระศาสดาทรงกำหนดจิตของพระองค์ ไม่ทรงเห็นคนอื่นผู้สามารถจะถามปัญหาในสมาคมนั้น จึงทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต. พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาที่พระพุทธนิรมิตนั้นถามแล้ว. พระพุทธนิรมิตนั้นก็เฉลยปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว. ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตสำเร็จอิริยาบถมีการยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในเวลาที่พระพุทธนิรมิตจงกรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จพระอิริยาบถ มีการประทับยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

                   เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรมบ้าง" เป็นต้น.
                   ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐ โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็นปาฏิหาริย์ของพระศาสดาผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.

    ที่นี้ผู้ใดใครกันหนอที่ว่า ปาฎิหาริย์ ๒ ไม่ใช่โลกุตระธรรม นำสัตว์ออกจากทุกข์สำเร็จและบรรลุมรรคผลไม่ได้

    ออ รึว่าจะไม่เอาอรรถกถาสินะ งั้นคงต้องไปแปลภาษาบาลีเอาเอง อย่าลอกอรรถกถามา ปุจฉา - วิสัชนา หลอกสัตว์ตาบอด หนอนตัวน้อยๆอีก


    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤษภาคม 2016
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    จากใจเราแด่สหายธรรม
    " ขอจงตั้งใจ ตราบใดที่ยังมีลมหายใจ ยังไม่เคยสร้างกรรมใหญ่ ชาตินี้มีโอกาส "
    จงเลือก ไม่เลือกไม่ได้ มนุษย์สมบัติ สวรรคสมบัติ นิพพานสมบัติ ไม่เลือกไม่ได้

    หากจะให้เลือกระหว่าง การขุดแงะชอนไชกัดเซาะที่เป็นที่ไปที่มาของพระธรรมคำสั่งสอน๑ กับ การสรรเสริญพระธรรมที่พระพุทธเจ้าท่านทรงแสดงไว้๒ ควรเลือกอย่างที่๒จะเป็นการดีเป็นมรรคเป็นผล ที่ไม่มีเหตุแห่งความเสื่อมเลย ผู้ใดยังสงสัยและหลงทางอยู่ ไปไม่ถูก ให้ล้างใจให้สะอาด และกล้าที่จะเผชิญกับความจริง ขอจงเดินกลับไปเริ่มต้นยังจุดเริ่มต้นใหม่ สร้างวิริยะศรัทธาให้มากขึ้นกว่าเดิม อย่าดูถูกดูแคลนตนเอง อย่าดูถูกผู้อื่น แต่จงชี้แจงเหตุและผลผิดหรือถูกตามความเป็นจริง และตามฐานะอุตริมนุษยธรรมที่มีในตน และอย่าหมายใจหวังในตนและผู้อื่นเพื่อการสรรเสริญตนเอง จงสรรเสริญพระธรรมนั้นเถิด มีพระธรรมนั้นแล จึงมีเรา ผู้ใดเห็นเรา จึงเห็นธรรม
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    เพื่อความกระจ่างชัดแจ้งในธรรมยิ่งขึ้นไปอีก ในการที่ไปเด็ดดอกบัวของพระพุทธเจ้าทิ้ง ของคึกฤทธิ์ โมฆะบุรุษผู้เป็นกงจักรแห่งสำนักวัดนาป่าพง ผู้เสแสร้งแปลงกายเป็นดอกบัว อันเป็นการหลอกลวงเหล่าสัตว์ตาบอดผู้โง่เขลาและไม่ฉลาดในธรรม ให้ต้องทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฎรอย่างยาวนาน

    "พระพุทธองค์ทรงแสดงพระสัทธรรมเพื่อหงายของที่คว่ำ ส่วน คึกฤทธิ์แสดงอสัทธรรมคว่ำของที่หงาย"

    พึงทราบความพิสดารต่อไปนี้
    อัธยาศัยเป็นต้นของสัตว์ทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า
    บุคคลนี้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ บุคคลนี้เป็นอุจเฉททิฏฐิ บุคคลนี้ตั้งอยู่ในขันติอันเป็นอนุโลม (ผ่อนผัน) บุคคลนี้ตั้งอยู่ในยถาภูตญาณ (กำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บุคคลนี้เป็นกามาสยะ (มีอัธยาศัยไปในกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัยไปในเนกขัมมะเป็นต้น บุคคลนี้เป็นเนกขัมมาสยะ (มีอัธยาศัยมุ่งไปในการออกจากกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัยไปในกามเป็นต้น
    และโดยนัยมีอาทิว่า
    กามราคะของบุคคลนี้จัดมาก แต่ไม่มีปฏิฆะ (ความคับแค้น) เป็นต้น. ปฏิฆะของบุคคลนี้แรงมาก แต่ไม่มีกามราคะเป็นต้น


    บุญญาภิสังขาร (สภาพตกแต่งบุญ) ของบุคคลนี้ยิ่ง อปุญญาภิสังขาร (สภาพตกแต่งบาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพตกแต่งความไม่หวั่นไหว) ไม่ยิ่ง. อปุญญาภิสังขารของบุคคลนี้ยิ่ง บุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ไม่ยิ่ง. อเนญชาภิสังขารของบุคคลนี้ยิ่ง บุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ไม่ยิ่ง.

    กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตของบุคคลนี้ยิ่ง บุคคลนี้น้อมไปในความเลว บุคคลนี้น้อมไปในความประณีต บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณกรรม บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณกิเลส บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณวิบาก บุคคลนี้ไม่ประกอบด้วยอาวรณกรรม บุคคลนี้ไม่ประกอบด้วยอาวรณกิเลส บุคคลนี้ไม่ประกอบด้วยอาวรณวิบาก นั้นเป็นอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยและกิเลสอันนอนเนืองอยู่ในสันดาน). ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นไปแล้วโดยอาการ ประกาศให้แจ้งตามความเป็นจริง.

    พระบาลีมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต สตฺตานํ อาสยํ ชานาติ อนุสยํ ชานาติ จริตํ ชานาติ อธิมุตฺตึ ชานาติ ภพฺพาภพฺเพ สตฺเต ชานาติ
    ความว่า พระตถาคตในศาสนานี้ทรงรู้อัธยาศัย ทรงรู้กิเลสอันนอนเนืองในสันดาน ทรงรู้จริต ทรงรู้อธิมุตติ (ความมุ่งหมาย) ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้ภัพสัตว์ และอภัพสัตว์ทั้งหลาย. ท่านกล่าวหมายถึงอาสยานุสยญาณ.



    บุพนิมิตเกิดแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ทรงดำริว่า บัดนี้ เราจักเกิดในกำเนิดมนุษย์แล้วจักตรัสรู้ดังนี้ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหามายาเทวีในศากยราชตระกูลในวันเพ็ญเดือน ๘ เหล่าเทวดาและมนุษย์ต่างพากันดูแลรักษาตลอด ๑๐ เดือน ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่งในวันเพ็ญเดือน ๖ ก็ทรงประสูติ ในขณะประสูติบุพนิมิต ๓๒ ประการได้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์เหมือนในขณะถือปฏิสนธิ โลกธาตุหนึ่งหมื่น สะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว แสงสว่างหาประมาณมิได้ แผ่ซ่านไปในหมื่นจักรวาล คนตาบอดก็ได้เห็น เหมือนประสงค์จะดูสิริอันหาประมาณมิได้ คนหูหนวกก็ได้ยินเสียง คนใบ้ก็คุยกันได้ คนค่อมก็ตัวตรง คนเปลี้ยก็เดินได้สรรพสัตว์ที่ถูกจองจำ ก็พ้นจากเครื่องจองจำด้วยขื่อคาเป็นต้น ไฟในนรกทั้งหมดดับ ความหิวกระหายในเปรตวิสัยสงบ ภัยมิได้มีแก่เดียรัจฉานทั้งหลาย โรคของสรรพสัตว์สงบ สรรพสัตว์พูดจาน่ารัก ม้าร้องด้วยเสียงไพเราะ ช้างส่งเสียงกระหึม สรรพดุริยางค์บรรเลงเสียงกังวานขึ้นเอง เครื่องประดับมีสวมข้อมือเป็นต้นของมนุษย์ทั้งหลายไม่ประยุกต์กันเลย ยังเปล่งเสียงออกมาอย่างไพเราะ.

                   ทั่วทุกทิศสว่างไสว ลมพัดเย็นอ่อนๆ ทำให้สัตว์ทั้งหลายเกิดความสุข. ฝนตกในเวลามิใช่กาล น้ำพุพุ่งจากแผ่นดินไหลไป นกทั้งหลายไม่บินไปทางอากาศ แม่น้ำไม่ไหลเอ่ออยู่กับที่ น้ำในมหาสมุทรมีรสหวาน เมื่อดวงอาทิตย์ลับไปแล้ว ยังส่องแสงสว่างอยู่ ความสว่างทั้งหมดโชติช่วงในอากาศ. หมู่เทพทั้งหมดที่เหลือ เว้นอรูปาวจรเทพและสัตว์นรกทั้งหมด ได้ปรากฏรูปให้เห็น ต้นไม้ ฝาประตู และหินเป็นต้นก็กั้นไว้ไม่ได้ สัตว์ทั้งหลายไม่มีจุติอุปบัติ กลิ่นทิพย์ฟุ้งตลบอบอวลขจัดกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาทั้งหมด. ต้นไม้มีผลทุกชนิดก็ออกผลสมบูรณ์ มหาสมุทรก็ดาดาษไปด้วยดอกบัว ๕ ชนิดเต็มไปทั้งหมด บรรดาดอกไม้ทุกชนิด ทั้งที่เกิดบนบกและเกิดในน้ำก็บานสะพรั่ง ขันธปทุม (บัวกอ) ก็บานสะพรั่งที่กอ สาขาปทุม (บัวก้าน) ก็บานสะพรั่งที่ก้าน ลดาปทุม (บัวเถา) ก็บานที่เถา ทัณฑปทุม (บัวลำต้น) ก็เจาะพื้นดินแผ่นหินโผล่ออกมา มีใบตั้งร้อยคลุมอยู่เบื้องบนๆ โอลัมพกปทุม (บัวห้อยย้อย) ก็เกิดบนอากาศ ฝนดอกไม้ก็ตกไปโดยรอบ บนอากาศดนตรีทิพย์ก็บรรเลงกระหึม หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นมีพวงมาลาอย่างเดียวกัน ดุจช่อมาลาที่ร้อยห้อยไว้ ดุจกำมาลาที่มัดวางไว้ และดุจแท่นมาลาที่ประดับตกแต่งไว้ ได้มีพัดวาลวิชนีคลี่ออก อบด้วยกลิ่นดอกไม้และกลิ่นธูปดูงดงามยิ่งนัก.

     อนึ่ง บุพนิมิตเหล่านั้นได้เป็นนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษไม่น้อยที่พระโพธิสัตว์บรรลุแล้วในเบื้องบน เพราะปรากฏความอัศจรรย์ไม่น้อยอย่างนี้ การเกิดที่พระโพธิสัตว์นั้นปรารถนาประโยชน์อันใดไว้ ก็ได้เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพื่อความสำเร็จอภิสัมโพธิญาณนั้นโดยส่วนเดียว.

                   อนึ่ง พวกพ้องที่ควรแนะนำเพื่อการตรัสรู้ที่ชื่อพุทธเวไนยนั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแนะนำด้วยพระองค์เองทั้งนั้น โดยไม่มีเหลือเลย มิใช่สาวกแนะนำ สาวกเวไนยและธรรมเวไนย แม้เหล่านั้นอันพระสาวกเป็นต้นแนะนำแล้ว ก็ย่อมเข้าถึงและจักเข้าถึงข้อแนะนำ ด้วยประการฉะนี้ การตรัสรู้ยิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าปรารถนาประโยชน์อันใดไว้ การตรัสรู้ยิ่งเพื่อความสำเร็จประโยชน์นั้นโดยส่วนเดียว เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.

                   อีกอย่างหนึ่ง การตรัสรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่งซึ่งสภาวะแห่งไญยธรรมที่ควรตรัสรู้ โดยไม่เหลือไม่วิปริต ด้วยพระญาณของพระองค์อันเกี่ยวเนื่องเพียงนึก ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น ดังนี้ ก็เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.

                   อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูวิธีที่ควรแสดงอย่างนั้นๆ แห่งธรรมเหล่านั้นๆ และอัธยาศัย กิเลสอันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน และความพอใจในความประพฤติของสัตว์เหล่านั้นๆ ไม่ทรงละความเป็นธรรม ไม่ทรงเร่งรีบให้เป็นไปเพียงโวหาร ทรงประกาศความเป็นธรรม ทรงพร่ำสอนตามความผิด ตามอัธยาศัย และตามความเป็นธรรม ทรงแนะนำแล้ว เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ให้เวไนยสัตว์บรรลุถึงอริยภูมิ.

                   แม้การประกาศธรรมวินัยของพระองค์ เพื่อความสำเร็จประโยชน์นั้นและเพื่อความเป็นไปตามเป็นจริง ก็เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.


    ยังมีผู้ใดต้องการบัวสามเหล่า ที่คึกฤทธิ์จัดให้ ในสำนักวัดนาป่าพงอีกบ้าง ?


    สาธุธรรมฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ที่หลงมากที่สุด ว่าตนและสำนักตนได้เป็นผู้ประกาศตนอันเลิศ เป็นผู้เดินตามเป็นธรรมทายาทที่ดีงามน่าชื่นชมที่สุด แต่กลับมีความคิดแบบ สัสสตทิฏฐิ และ อุทเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง เป็นทิฐิที่ตรงกันข้ามกับ อุจเฉททิฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ) ศาสนาพุทธถือว่าทั้งสัสสตทิฐิและอุจเฉททิฐิเป็นมิจฉาทิฐิ

    สัสสตทิฐิ เป็นลัทธิความเห็นที่มีมาก่อนสมัยพุทธกาล โดยเห็นว่าอัตตาหรือตัวตนเป็นสิ่งเที่ยงแท้ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ไม่ขาดสูญ แม้ตายแล้วก็เพียงร่างกายเท่านั้นที่สลายหรือตายไป แต่สิ่งที่เรียกว่าอาตมันหรืออัตตา ชีวะ เจตภูติ ยังเป็นอมตะ ไม่มีวันตาย ไม่มีวันสูญ จะไปถือเอาปฏิสนธิในกำเนิดของภพอื่นต่อไป


    โลกนี้มีเพียงบัวสามเหล่า โลกของคึกฤทธิ์สำนักวัดนาป่าพงและเหล่าสมุนสาวก


    Underworld


    เข้าใจว่าทรงตรวจดูโลกไหม? ด้วยพุทธจักษุ และด้วยพุทธจักษุนี้สามารถมองเห็นได้ไกลขนาดไหน ถ้าจะมองดูบัวสามเหล่า ใช้ดวงตาของมนุษย์หรือเครื่องมืออันสุดแสนธรรมดาของมนุษย์ ตรวจจับ จ้องดูก็เห็นหมดแล้วว่า บัวนั้นมีประมาณเท่านั้น เท่านี้ มีสภาพเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อุปมาได้แบบนั้นแบบนี้ ยิ่งมีสติปัญญามาก ย่อมอุปมาได้มากมายหลากหลาย

    บัวที่ไม่มีสติปัญญามองได้เห็น ว่ามีบัวที่พ้นน้ำไม่ติดอยู่ในน้ำ บัวผุด บัวไม่ผุด บัวไม่ออกดอก ฯลฯ

    และนี่ก็เป็นเรื่องที่ทรงกระทำบุพนิมิต กับ ท้าวสหัมบดีพรหม แล้วคิดว่าจักษุของพระพรหมนี่เป็นเหมือนดวงตาอันมีธุลีเหมือนมนุษย์ถ้วนทั่วไปอย่างนั้นหรือ
    ซึ่งพระองค์ก็ทรงตรัสตอบอยู่แล้วว่า พระองค์ทรงรู้เห็นและเข้าใจในอัชฌาสัยของสัตว์โลกนั้น รู้ลึกละเอียดกว่า ท้าวสหัมบดีพรหม นี้แลฯ

    วิสัชนากันมั่วทั้งๆที่ไม่มีญานหยั่งรู้และไม่เข้าใจในพระสัพพัญญุตญาน



    ปริยัติไม่ดี ปฎิบัติไม่ถึง อย่าหวังวิสัชนาปฎิเวธ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y7136744-14.jpg
      Y7136744-14.jpg
      ขนาดไฟล์:
      141.8 KB
      เปิดดู:
      281
    • Y7136744-20.jpg
      Y7136744-20.jpg
      ขนาดไฟล์:
      164.5 KB
      เปิดดู:
      162
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อย่าลืมว่า มีท่านผู้เป็นเอตทัคคะสร้างบุญบารมีมากหลายหลากประเภท ผู้ใดหมายคิดว่าจะให้ท่านทั้งหลายฯ เหล่านั้นบรรลุธรรมด้วยวิสัยเดียวกันทั้งหมด นี่ก็เป็นสัสสตทิฐิเป็นมิจฉาทิฐิอย่างแน่นอน


    ทุกสิ่ง ทุกอย่างขึ้นอยู่ที่เหตุ ที่ปัจจัยที่ท่านผู้นั้นสั่งสมมา บางท่านต้องบรรลุด้วยการต่อสู้ด้วยสติปัญญาของตนเองและอาศัยสติปัญญาของผู้อื่น บางท่านต้องบรรลุเผาผลาญขจัดอุปสรรคด้วยฤทธานุภาพด้วยตนเองและอาศัยฤทธฺานุภาพของผู้อื่น บางท่านได้พิจารณาจบกิจพ้นวิเศษด้วยยังอัชฌาสัยของตนตามพลวปัจจัยอันได้สั่งสมมา ด้วยผู้บันดาลก็ดี ประสบเหตุที่สร้างด้วยตนเองก็ดี ให้เขาทำก็ดีก็ล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมได้ดังนี้แลฯ



    หนึ่งกระทู้สะเทือนสำนักที่วิสัชนาไม่ถูกต้องไปทั้งแผ่นดิน
    โปรดกรุณาหลอมรวมและสรุปให้เป็นสัมมาทิฐิ ท่านจะได้พบความกระจ่าง


    เป็นเรื่องถึงคราที่เราจะต้องวิสัชนา
    ถือเป็นการบ้านที่ท่านอาจารย์ทั้งหลายฯ มอบไว้ให้ผมแก้สิ่งที่ท่านได้วิสัชนาเอาไว้อย่างไม่ถูกต้อง วิสัชนาโดยนอบน้อมพระธรรม ทั้ง ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ มาอธิบาย อันพอให้ความกระจ่าง

    หมากผู้ใหญ่ท่านเดินทิ้งไว้ให้แก้ ลูกหลานอยากได้สุดยอดเคล็ดวิชา ก็มาแก้เอาวิชา


    เรื่องราวของฮือเต็ก / หลวงจีนซีจู๋

    ฮือเต็กเป็นหลวงจีนจากวัดเสียวลิ้มยี่ ผู้มีจิตใจอ่อนโยนและเมตตา เขายึดมั่นต่อศีลแห่งพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง และไม่ยอมผิดศีลแม้อยู่ในสถานการณ์คอขาดบาดตายก็ตาม เขาได้ติดตามหลวงจีนผู้เป็นอาจารย์ไปที่งานชุมนุมชาวยุทธครั้งหนึ่ง และนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นการผจญภัยของเขา

    ด้วยโชคชะตาเล่นตลก ฮือเต็กได้แก้กลหมากล้อมโดยบังเอิญ และได้กลายเป็นเจ้าสำนักสราญรมย์ และจากการเรียนวิชายุทธกับนางเฒ่าทาริกาเทียนซัวโดยบังเอิญ เขาก็ได้เป็นเจ้าสำนักหลายๆ แห่งในบู๊ลิ้มอีก

    ฮือเต็กรับรู้ถึงภาระหนักอึ้งเหล่านี้และตัดสินใจจะกลับไปสู้อ้อมกอดของพระธรรมอีกครั้ง แต่ผู้คนและสำนักต่างๆไม่ได้ยอมรับเขาเป็นหลวงจีนอีกต่อไป ซึ่งเขาก็ได้แต่ยอมรับชะตากรรม ฮือเต็กเป็นผู้ที่น่าสงสารในเรื่องบุพการี เมื่อเรื่องราวถูกเปิดเผยว่าเขาเป็นบุตรของเจ้าสำนักเสียวลิ้มกับเอี๊ยบยี่เนี้ย นางรองแห่งสี่นางมารร้าย การรวมตัวของบุพการีของเขาจึงเป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้าย เมื่อทั้งหมดล้วนถูกฆ่าในตอนนั้นเอง

    และด้วยโชคชะตาอีกครั้ง ฮือเต็กกลายเป็นเจ้าชายแห่งอาณาชักรซีเซี่ย เนื่องจากเหตุการณ์ในอดีตกับเจ้าหญิงอิงช้วน ผู้ซึ่งเขามีความสุขที่ได้เคียงคู่ในที่สุด



    ออกแรงฟันสำนักวัดนาป่าพง โดนไปหมด สำนักนี้ สำนักนั้นและสำนักอื่นๆเลยโดนไปด้วย

    พังถล่มกันเป็นแถบๆ เพราะอะไร?


    http://www.buddhadasa.com/shortbook/patihan.html

    https://www.facebook.com/permalink....454869179&id=444458422329651&substory_index=0

    ฯลฯ
    และไม่ว่าจะเป็นผู้บรรลุอรหัตผล อันบรรลุด้วย

    ปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ก็ดี อุภโตภาควิมุต ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ ก็ดี
    ในพระอรหันต์ทั้ง ๔ หมวดก็ดี
    สุกฺขวิปสฺสโก เตวิชฺโช ฉฬภิญฺโญ ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต



    เพื่อเจริญในพระสัทธรรมโปรดพิจารณา
    พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๕.  สัมปสาทนียสูตร]
          เทศนาเรื่องปฏิปทา



          เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ
       [๑๕๐]    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่องปุคคลบัญญัติก็นับว่ายอดเยี่ยม    บุคคล    ๗    จำพวกนี้ (๑)    คือ
    ๑.    อุภโตภาควิมุต (๒ )  (ผู้หลุดพ้นทั้ง    ๒    ส่วน)                                             
    ๒.    ปัญญาวิมุต( ๓)     (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
    ๓.    กายสักขี (๔)        (ผู้เป็นพยานในนามกาย)
    ๔.    ทิฏฐิปัตตะ (๕)      (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
    ๕.    สัทธาวิมุต (๖)       (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
    ๖.    ธัมมานุสารี (๗)      (ผู้แล่นไปตามธรรม)
    ๗.    สัทธานุสารี (๘)      (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)
        ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปุคคลบัญญัติ

    (๑) ดูเทียบ  องฺ.สตฺตก.  (แปล)  ๒๓/๑๔/๑๓
    (๒) อุภโตภาควิมุต  หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ  และใช้สมถะเป็นฐานในการบำเพ็ญ
       วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๐,  องฺ.นวก.อ.  ๓/๔๕/๓๑๖)
    (๓) ปัญญาวิมุต  หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ  จนบรรลุอรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
    (๔)กายสักขี  หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า  ได้สัมผัสวิโมกข์  ๘  ด้วยนามกายและอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป  เพราะ
       เห็นด้วยปัญญา  และหมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป  จนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
       (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
    (๕)ทิฏฐิปัตตะ  หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ  เข้าใจอริยสัจถูกต้อง  กิเลสบางส่วนสิ้นไป  เพราะเห็นด้วยปัญญา
       มีปัญญาแก่กล้า  และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
    (๖) สัทธาวิมุต  หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา  เข้าใจอริยสัจถูกต้อง  กิเลสบางส่วนก็สิ้นไป  เพราะเห็นด้วยปัญญา
       มีศรัทธาแก่กล้า  และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,
       องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)
    (๗) ธัมมานุสารี  หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม  คือ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล  มีปัญญาแก่กล้า  บรรลุผล
       แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๒)
    (๘) สัทธานุสารี  หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา  คือ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล  มีศรัทธาแก่กล้า  บรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๒)


    พระวักกลิเถระ
    เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ

    พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษาศิลปะวิทยา จบไตรเพท
    ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์
    บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม
    สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์วักกลิมาณพ
    นั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริตรักสวยรักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉมอันสง่างาม ผิว
    พรรณผ่องใส พระอิริยาบถก็เหมาะสมไปทุกท่วงท่า จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อ
    หน่าย ในการดูพระวรกาย พยายามวนเวียนมาเฝ้าดูอยู่เป็นนิตย์ ผลที่สุดก็เกิดความคิดว่า “ถ้าเรา
    บวชก็จะได้ตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้
    แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และพระบรมศาสดาก็ประทาน
    ให้สมประสงค์
    เมื่อท่านบวชแล้วก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ไม่มีการสาธยายท่องบ่น
    ไม่บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐาน ทุกวันเวลามีแต่มัวเมาเฝ้าดูพระรูปโฉมของพระพุทธองค์มิได้
    ละเว้น พระพุทธองค์เองก็มิได้รับสั่งว่ากล่าวแต่ประการใด ในเบื้องต้น ครั้นกาลเวลาผ่านไป
    พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดูร่างกายอันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรง
    ชี้ทางให้ท่านกลับมาใส่ใจบำเพ็ญสมณธรรมด้วยพระดำรัสว่า:-
    “ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม”
    พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้
    มีพระภาคจึงมีพระดำริว่า:-
    “ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย”

    ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย
    ครั้นมีพระดำริอย่างนี้แล้ว เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่
    พระนครราชคฤห์โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัสเรียกให้
    พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ด้วย
    พระดำรัสว่า:-
    “อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”
    พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ
    น้อยใจและเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีก
    แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉมของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไป
    ทำไม จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
    พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิตและการกระทำของเธอ
    ก็จะตายแน่นอน จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว
    ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า
    พระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุ
    พระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา
    ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุ
    เป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ
    ทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา


    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    ว่าด้วย เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
                แสดงสมถะและวิปัสสนา  เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็จะเห็นจุดประสงค์ของการปฏิบัติทั้ง ๒ กล่าวคือ เจริญสมถะเพื่อเจโตวิมุตติ เพื่อการอบรมจิตให้ระงับในกิเลสราคะ  เพื่อยังประโยชน์ กล่าวคือ นำจิตที่ตั้งมั่น เนื่องจากสภาวะไร้นิวรณ์ และราคะ(กามฉันท์ ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)มารบกวนจากการสอดส่ายฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง หรือสภาพที่ถูกยึดมั่นไว้ด้วยอุปาทาน  จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนปัญญาในการคิดพิจารณาธรรมให้เห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง กล่าวคือ พึงยังให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้ละอวิชชาเป็นที่สุด.

                 [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑  วิปัสสนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร  ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร  ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
                 [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ

    อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
    ว่าด้วย เจโตวิมุตติ และ ปัญญาวิมุตติ
                แสดงสมถะและวิปัสสนา  เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคายก็จะเห็นจุดประสงค์ของการปฏิบัติทั้ง ๒ กล่าวคือ เจริญสมถะเพื่อเจโตวิมุตติ เพื่อการอบรมจิตให้ระงับในกิเลสราคะ  เพื่อยังประโยชน์ กล่าวคือ นำจิตที่ตั้งมั่น เนื่องจากสภาวะไร้นิวรณ์ และราคะ(กามฉันท์ ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕)มารบกวนจากการสอดส่ายฟุ้งซ่านไปปรุงแต่ง หรือสภาพที่ถูกยึดมั่นไว้ด้วยอุปาทาน  จึงเป็นปัจจัยเครื่องสนับสนุนปัญญาในการคิดพิจารณาธรรมให้เห็นเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง กล่าวคือ พึงยังให้เกิดปัญญาวิมุตติขึ้นนั่นเอง จึงเป็นปัจจัยให้ละอวิชชาเป็นที่สุด.

                 [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา
    ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑  วิปัสสนา ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย  สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร  ย่อมอบรมจิต
    จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้
    วิปัสสนา ที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร  ย่อมอบรมปัญญา
    ปัญญา ที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ
                 [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น
    หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุตติ
    เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุตติ ฯ


    เรื่องราวของเจโตวิมุตตินั้น ไม่ได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่คล่องหรือชำนาญใน สมาบัติ 8 เท่านั้นที่จะทำให้เกิดมีขึ้นได้

    ผู้ที่เจริญเมตตาอัปปมัญญา ก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน หรือที่เรียกว่า เมตตาเจโตวิมุตติ

    เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
    จิตของเราจักตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีในภายใน และธรรม อันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว จักไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อใด จิตของเธอเป็นจิตตั้งมั่น ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในภายใน และธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ครอบงำจิตได้ เมื่อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเจริญ กระทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ, กรุณาเจโตวิมุตติ,มุทิตาเจโตวิมุตติ,อุเบกขาเจโตวิมุตติ ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้มั่นคง สั่งสม ปรารภดีแล้ว

    เมื่อเธอพิจารณาเห็นตนบริสุทธิ์ พ้นแล้วจากบาปอกุศลที่เกิดขึ้น ปราโมทย์ก็เกิด เมื่อเธอเกิดปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด เมื่อเธอมีใจประกอบด้วยปีติแล้ว กายก็สงบรำงับ ผู้มีกายสงบรำงับย่อมเสวยสุข จิตของผู้มีสุขย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยเมตตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    มีจิตสหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยกรุณา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    มีจิตสหรคตด้วยมุทิตา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอมีจิตสหรคตด้วยมุทิตา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศที่ ๑ อยู่ แผ่ไปสู่ทิศที่ ๒ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ ทิศที่ ๓ ก็อย่างนั้น แผ่ไปสู่ทิศที่ ๔ ก็อย่างนั้น และเธอก็มีจิตสหรคตด้วยอุเบกขา อันกว้างขวาง เป็นส่วนใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทั่วทุกทาง เสมอหน้ากันตลอดโลกทั้งปวงที่มีอยู่

    สระโบกขรณี มีน้ำใสจืด เย็น สะอาด มีท่าอันดี น่ารื่นรมย์ ถ้าบุรุษมาแต่ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และจากที่ไหนๆ อันความร้อนแผดเผาเร่าร้อน ลำบาก ระหาย อยากดื่มน้ำ เขามาถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็บรรเทาความอยากดื่มน้ำ และความกระวนกระวายเพราะความร้อนเสียได้ แม้ฉันใด เธอมาถึงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาอย่างนั้น ย่อมได้ความสงบจิต ณ ภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เรากล่าวว่าเป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันดียิ่ง

    เปรียบเหมือนคนเป่าสังข์ ผู้มีกำลัง ย่อมเป่าสังข์ให้ได้ยินได้ทั้งสี่ทิศโดยไม่ยากฉันใด ในเมตตาเจโตวิมุตติ (กรุณาเจโตวิมุตติ..,มุทิตาเจโตวิมุตติ...,อุเบกขาเจโตวิมุตติ...)ที่เจริญแล้วอย่างนี้ กรรมชนิดที่ทำอย่างมีขีดจำกัด ย่อมไม่มีเหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในนั้น ก็ฉันนั้น

    เมื่อใดเธอเจริญสมาธินี้อย่างนี้ เจริญดีแล้ว เมื่อนั้น เธอจักเดินไปทางใดๆก็จักเดินเป็นสุขในทางนั้นๆ ยืนอยู่ในที่ใดๆ ก็จักยืนเป็นสุขในที่นั้นๆ นั่งอยู่ในที่ใดๆก็จักนั่งอยู่เป็นสุขในที่นั้นๆ นอนอยู่ที่ใดๆ ก็จักนอนเป็นสุขในที่นั้นๆ

    เมื่อเมตตาเจโตวิมุ ตติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดุจยานที่เทียมดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว 
    พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ อย่าง คือ
    หลับเป็นสุข ๑ 
    ตื่นเป็นสุข ๑ 
    ไม่ฝันร้าย ๑
    เป็นที่รักของพวกมนุษย์ ๑ 
    เป็นที่รักของพวกอมนุษย์ ๑ 
    เทพยดารักษา ๑ 
    ไฟก็ดี ยาพิษก็ดี ศาตราก็ดี ไม่ต้องบุคคลนั้น ๑ 
    จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว ๑ 
    สีหน้าผุดผ่อง ๑ 
    ไม่หลงทำกาละ ๑
    เมื่อยังไม่บรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก ๑ 

    เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติอันบุคคลเสพมาแต่แรก ให้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยานที่เทียม ดีแล้ว ทำให้เป็นที่ตั้ง ประพฤติสั่งสมเนืองๆ ปรารภสม่ำเสมอดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ นี้แล."

    ความเต็มดูได้ในพระสูตรดังกล่าวนี้

    พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฎฐก-นวกนิบาต หน้า ๒๓๘ ข้อ ๑๖๐

    พระสุตตันตปิฏก เล่ม ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หน้า ๓๖๒ ข้อ ๔๘๒

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคปลาย หน้า ๑๒๙๘

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๖ อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต หน้าที่ 316 ข้อ ๒๒๒


    วิมุตติ หมายถึง ความหลุดพ้น  ไม่ว่าจะปรากฏในที่ใดก็ตาม  ย่อมมีความหมายอย่างนี้  ขึ้นอยู่กับว่า จะหลุดพ้นด้วยอะไร  ถ้าหลุดพ้นพร้อมด้วยฌาน  เป็นเจโตวิมุตติ  หลุดพ้นด้วยปัญญา เป็นปัญญาวิมุติ    เมื่อศึกษาพระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จะพบ ๒ คำนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาซึ่งมีความหมายหลายนัย ในบางแห่ง  แสดงว่า  ฌานจิตทุกระดับเป็นเจโตวิมุตติ   เป็นความหลุดพ้นด้วยกำลังแห่งฌานขั้นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นข่มกิเลสไว้ได้  ในบางแห่งหมายถึง สมาธิ(เอกัคคตาเจตสิก)ในอรหัตตผล  ชื่อว่า เจโตวิมุตติ  คำว่า  ปัญญาวิมุตติ ในอรรถกถาบางแห่ง แสดงไว้ว่า  หมายถึง  ปัญญาในอรหัตตผล   และในบางแห่งกล่าวถึง  การบรรลุเป็นพระอรหันต์ โดยที่ไม่ประกอบด้วยฌานขั้นใดขั้นหนึ่งเลย   เรียกว่า   ปัญญาวิมุตติ

    เมื่อคึกฤทธิ์กล่าวว่า อิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์และอาเทสนาปาฎิหาริย์ ไม่ใช่โลกกุตระ คือไม่สามารถทำให้พุทธบริษัทสามารถบรรลุธรรมขั้นสูงจนได้มรรคผลนิพพานได้

    วิมุตติ ๓

    สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก

     ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต

     นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน



    วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
              ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
              ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
              ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
              ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
              ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
              ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ


    อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ความปรากฏเกิดขึ้นแห่งอนุตตริยะ ๖ เหล่านี้จึงมี.

                   จริงอยู่ ท่านพระอานนทเถระย่อมได้เห็นพระตถาคตด้วยจักขุวิญญาณทั้งเช้าทั้งเย็น นี้ชื่อว่าทัสสนานุตตริยะ. แม้คนอื่นไม่ว่าจะเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีก็ย่อมได้เห็นพระตถาคตเหมือนพระอานันทเถระ แม้นี้ก็ชื่อว่าทัสสนานุตตริยะ.

                   อนึ่ง บุคคลอื่นอีกผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ก็ได้เห็นพระทศพลเหมือนพระอานนทเถระ ทำการเห็นนั้นให้เจริญ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ก็ชื่อว่าทัสสนะเหมือนกัน. ส่วนการเห็นเดิม ชื่อว่าทัสสนานุตตริยะ.

                   จริงอยู่ บุคคลย่อมได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลเนืองๆ ด้วยโสตวิญญาณ เหมือนพระอานนทเถระ นี้ชื่อสวนานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่นมีพระโสดาบันเป็นต้นย่อมได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ก็ชื่อว่าสวนานุตตริยะ. ส่วนบุคคลอื่นอีกผู้เป็นกัลยาณปุถุชนได้ฟังพระดำรัสของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนทเถระ เจริญสวนะนั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ก็ชื่อว่าสวนะเหมือนกัน. ส่วนการฟังเดิม ชื่อว่าสวนานุตตริยะ.

                   บุคคลย่อมได้เฉพาะศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระนี้ ก็ชื่อว่าลาภานุตตริยะ. แม้บุคคลเหล่าอื่นมีพระโสดาบันเป็นต้นได้ลาภเฉพาะคือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ ย่อมได้ลาภเฉพาะ แม้นี้ก็ชื่อว่าลาภานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีกเป็นกัลยาณปุถุชนได้ลาภเฉพาะคือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญลาภนั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่าการได้เหมือนกัน. ส่วนการได้อันเดิม ชื่อว่าลาภานุตตริยะ.

                   อนึ่ง บุคคลศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ นี้ชื่อว่าสิกขานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่นมีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ก็ชื่อว่าสิกขานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีกผู้เป็นกัลยาณปุถุชนศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทสพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญสิกขา ๓ นั้นย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่าการศึกษาเหมือนกัน. ส่วนการศึกษาอันเดิม ชื่อว่าสิกขานุตตริยะ.

                   อนึ่ง บุคคลปรนนิบัติพระทศพลเนืองๆ เหมือนพระอานนทเถระ นี้ชื่อว่าปาริจริยานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่นมีพระโสดาบันเป็นต้นย่อมปรนนิบัติพระทศพลเนืองๆ แม้นี้ก็ชื่อว่าปาริจริยานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นๆ ผู้เป็นกัลยาณปุถุชนปรนนิบัติพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญการปรนนิบัตินั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่าการปรนนิบัติเหมือนกัน. ส่วนการปรนนิบัติอันเดิม ชื่อว่าปาริจริยานุตตริยะ.

                   บุคคลระลึกถึงเนืองๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ นี้ชื่อว่าอนุสสตานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่นมีพระโสดาบันเป็นต้นระลึกเนืองๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ก็ชื่อว่าอนุสสตานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีกเป็นกัลยาณปุถุชนระลึกเนืองๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะและโลกุตตระของพระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญการระลึกเนืองๆ นั้นย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่าอนุสสติ เหมือนกัน. ส่วนอนุสสติเดิม ชื่อว่าอนุสสตานุตตริยะ
                   ดังพรรณนามานี้ คืออนุตตริยะ ๖. อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ย่อมปรากฏ
                   อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวเจือปนกันทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.

    อนุตตริยะ ภาวะที่ยอดเยี่ยม,
           สิ่งที่ยอดเยี่ยม มี ๓ คือ
               ๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม คือ เห็นธรรม
               ๒. ปฏิปทานุตตริยะ การปฏิบัติอันเยี่ยม คือ มรรคมีองค์ ๘
               ๓. วิมุตตานุตตริยะ การพ้นอันเยี่ยม คือ พ้นกิเลสและกองทุกข์;
           อนุตตริยะ อีกหมวดหนึ่งมี ๖ คือ
               ๑. ทัสสนานุตตริยะ การเห็นอันเยี่ยม
               ๒. สวนานุตตริยะ การฟังอันเยี่ยม
               ๓. ลาภานุตตริยะ ลาภหรือการได้อันเยี่ยม
               ๔. สิกขานุตตริยะ การศึกษาอันเยี่ยม
               ๕. ปาริจริยานุตตริยะ การบำรุงอันเยี่ยม
               ๖. อนุสสตานุตตริยะ การระลึกอันเยี่ยม

    สัจญาณมี ๒ อย่าง คือ โลกิยะ ๑ โลกุตระ ๑.
                   โลกิยะมี ๒ คือ อนุโพธญาณ ๑ ปัจจเวกขณญาณ ๑.

     อนุโพธญาณย่อมเป็นไปในนิโรธและมรรค ด้วยสามารถการได้ฟังมาเป็นต้นของอาทิกรรมิกภิกษุ. ย่อมเป็นไปในทุกข์และสมุทัย ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์.
                   ปัจจเวกขณญาณย่อมเป็นไปในสัจจะแม้ ๔ ของภิกษุผู้แทงตลอดสัจจะแล้ว ด้วยสามารถทำให้เป็นอารมณ์. ปฏิเวธญาณอันเป็น โลกุตระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ย่อมแทงตลอดสัจจะ ๔ โดยกิจ.
                   เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า๑-
                                       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเห็นทุกข์. ผู้นั้น
                             ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย. ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธ.
                             ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.

    จักร คือพระธรรมทั้งหลาย.
                   ก็จักร คือพระธรรมนั้นมี ๒ อย่าง คือ
                   ๑. ปฏิเวธญาณ (ญาณในการแทงตลอด)
                   ๒. เทสนาญาณ (ญาณในเทศนา)
                   ใน ๒ อย่างนั้น ปฏิเวธญาณอันนำมาซึ่งอริยผลของตนอันปัญญาอบรมแล้ว. เทสนาญาณอันนำมาซึ่งอริยผลของพระสาวกทั้งหลายซึ่งเพิ่มพูนแล้วด้วยกรุณา.
                   บรรดาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณ มี ๒ คือ
                   ๑. อุปปัชชมานะ (ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น)
                   ๒. อุปปันนะ (ปฏิเวธญาณอันเกิดขึ้นแล้ว)
                   จริงอยู่ ปฏิเวธญาณอันกำลังเกิดขึ้น นับจำเดิมตั้งแต่การออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระพุทธเจ้า จนถึงอรหัตตมรรค. ในขณะแห่งผล ชื่อว่าปฏิเวธญาณอันเกิดขึ้นแล้ว.
                   อีกอย่างหนึ่ง ปฏิเวธญาณชื่อว่าอันกำลังเกิดนับจำเดิมแต่เสด็จอยู่ภพดุสิต จนถึงพระอรหัตตมรรค ที่มหาโพธิบัลลังก์. ในขณะแห่งผล ปฏิเวธญาณชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว.
                   อีกอย่างหนึ่ง นับจำเดิมแต่การทรงพยากรณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงพระอรหัตตมรรค ปฏิเวธญาณชื่อว่าอันกำลังเกิดขึ้น. ในขณะแห่งผล ปฏิเวธญาณชื่อว่าอันเกิดขึ้นแล้ว.
                   แม้เทสนาญาณก็มี ๒ คือ
                   ๑. ปวัตตมานะ (เทสนาญาณอันกำลังเป็นไป)
                   ๒. ปวัตตะ (เทสนาญาณอันเป็นไปแล้ว)
                   จริงอยู่ เทสนาญาณนั้นชื่อว่ากำลังเป็นไป นับจำเดิมแต่โสดาปัตติมรรคของพระอัญญาโกณฑัญญะ ในขณะแห่งผล เทสนาญาณชื่อว่าเป็นไปแล้ว.
                   ในเทสนาญาณเหล่านั้น ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ เทสนาญาณเป็นโลกิยะ.
                   ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น เป็นโอรสญาณ (ญาณที่เกิดขึ้นในพระอุระ) ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ไม่ทั่วไปกับชนเหล่าอื่น.

    สัมมาทิฏฐิในธรรมฝ่ายโลก (โลกียสัมมาทิฏฐิ) กับ สัมมาทิฏฐิในธรรมฝ่ายเหนือโลก (โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ)


    โลกียธรรม คือธรรมที่เสื่อมได้ ยังยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 อยู่ คือชาวบ้านทั่วไป ฤาษี โยคี คนนั่งสมาธิ กำหนดจิต โดยไม่ได้ใช้มรรค 8 ทั้งหมด
    โลกุตระธรรมคือธรรมที่ไม่มีวันเสื่อม  พ้นไปจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 คือคู่แห่งบุรุษ 4 คู่ ได้แก่ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี อรหันต์

    ถ้าแยกตามลักษณะฌาน
    รูปฌานที่ 1-4 ของโลกียฌาน และโลกุตระฌาน ลักษณะหลักๆเหมือนกันแต่ต่างกันแค่รูปฌานของโลกียฌานยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
    อรูปฌาน 1-4 ของโลกียฌาน และโลกุตระฌาน ลักษณะหลักๆก็เหมือนกันแต่ต่างกันแค่รูปฌานของโลกียฌานยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่
    นิโรธของโลกียฌาน ก็เหมือนกันกับนิโรธของโลกุตระฌาน แต่ต่างกันตรงนิโรธของโลกียฌานยังมีความยึดมั่นถือมั่นอยู่

    โดยที่ฝ่ายโลกียฌานก็เรียกการบรรลุธรรมของเขาว่าเจโตวิมุติเหมือนกัน ความต่างก็เหมือนเดิมครับ เจโตวิมุติของโลกียะธรรมเสื่อมได้ แต่เจโตวิมุติของโลกุตตระธรรมไม่มีวันเสื่อม บรรลุแล้วก็บรรลุเลย


    ธรรมะนั้นมีทั้ง โลกียธรรม และ โลกุตรธรรม
    โลกียธรรม คือธรรมที่พูดถึงการดำรงอยู่ภายใต้สังสารวัฏ เป็นธรรมที่อยู่ในวิสัยของโลก เช่นความเมตตา การทำทาน ความขยันหมั่นเพียร การดูแลรับผิดชอบหน้าที่ครอบครัว และแง่มุมที่เป็นไปเพื่อความผาสุกของชีวิตนี้และชีวิตหน้า
    โลกุตรธรรม หมายถึงธรรมที่พ้นไปจากการมีตัวตน เป็นธรรมเหนือโลก ซึ่งผู้ปฏบัติต้องทวนกระแส คือเดินสวนทางกับความรู้สึกของตน และผู้คนโดยส่วนมาก แต่อยู่ภายใต้กรอบของธรรมชาติความจริงแท้
    ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่า เมื่อมีการพูดคุยธรรมะ บางครั้งเราก็จับโลกียธรรมและโลกุตรธรรมมาปนกัน ทำให้องค์ธรรมนั้นเกิดความขัดแย้งในตัวเอง เช่น ถ้าพูดว่าเราควรพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป นี่คือการพูดแบบโลกียธรรม
    ส่วนถ้าเราพูดว่า มนุษย์ทุกคนต้องทำลายความเป็นอัตตาตัวตนให้ราบคาบ เป็นการพูดในวิสัยของโลกุตรธรรม หรือบางครั้งคนหนึ่งพูดว่า เราต้องรู้จักรักดูแลครอบครัวของเราให้ดี นี่คือการพูดแบบโลกียธรรม
    ส่วนในแบบโลกุตรธรรมต้องพูดว่า จิตดวงเดียวท่องเที่ยวไป ไม่มีตัวเรา ไม่มีของเรา ไม่มีครอบครัวเรา แล้วเราจะต้องไปรัก ไปดูแลใคร
    เห็นได้ว่าธรรมะทั้งสองแบบมีสิ่งที่ต่างกันชัดๆ ก็คือ อันหนึ่งตามกระแสโลก คือฟังแล้วเข้าใจได้ทันที เนื่องจากเป็นสามัญสำนึกขั้นพื้นฐานของคนส่วนใหญ่ เป็นความดีในอุดมคติ เป็นธรรมที่สอนให้คนเป็นคนดี มีเรื่องทำดีได้ดี มีเรื่องนรกสวรรค์
    เป็นธรรมที่ทำให้มีความสุข ในขณะที่ยังเวียนว่ายตายเกิด นี่คือสิ่งที่เป็นแก่นสารของโลกียธรรม ซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพราะใครๆ ก็คิดเช่นนี้
    ส่วนอีกอันจะเป็นธรรมที่ทวนกระแสเพื่อข้ามโลก ใครฟังก็ต้องค้านกับความรู้สึก เช่นไปพูดว่า ความรักไม่ดี แต่มุมมองของคนทั่วไป ความรักคือสิ่งที่ดี ไปพูดว่าชีวิตคือทุกข์ มันก็ค้านความรู้สึกว่า ชีวิตจะเป็นทุกข์ได้อย่างไร
    ตรงนี้เห็นได้ว่า ธรรมะแบบโลกุตรธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ฟังแล้วขัดกับสัญชาตญาณของมนุษย์ ที่ต้องการสืบเผ่าพันธุ์ มีครอบครัว มีความสุข นี่คือความแตกต่างของธรรมทั้งสองมิตินี้ หากผู้สนทนาหรือผู้ฟังนำไปปนกัน ก็จะเกิดการทุ่มเถียงกันในแง่ของตน เหมือนคุยกันคนละเรื่อง
    มีผู้คนจำนวนมาก ที่ชอบถกเถียงกันเพราะไม่เข้าใจว่า ขณะนี้กำลังคุยในแง่โลกียธรรมหรือโลกุตรธรรม เป็นเหตุให้เข้าใจธรรมะผิดพลาดไปด้วยกันทั้งสองฝ่าย ที่จริงตัวธรรมะไม่ได้ขัดแย้งกันเองเลย หากว่าเราพูดในมิติเดียวกัน
    ซึ่งถ้ามีความเข้าใจทั้งสององค์ธรรมนี้อย่างลึกซึ้ง ก็จะพบว่ามีความเกี่ยวโยงถึงกัน ปฏิบัติโลกียธรรมถึงจุดหนึ่ง โลกุตรธรรมก็จะเกิดขึ้นมาเอง เมื่อเกิดโลกุตรธรรมขึ้นในใจแล้ว โลกียธรรมก็จะแตกฉาน ทั้งสองส่วนนี้จะตีสลับกันไปมา ชีวิตก็ดีขึ้นเป็นลำดับ
    เห็นได้ว่าสุดท้ายแล้ว ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรม ก็จะรวมเข้ามาเป็นหนึ่งเดียว แต่ก่อนที่จะเดินทางไปถึงจุดนั้น ผู้ศึกษาธรรมต้องเข้าใจในแง่นิยามก่อนว่า อันหนึ่งเป็นวิธีป้องกันทุกข์ ตราบใดที่ยังเล่นเกมอยู่ในสังสารวัฏ ส่วนอีกอันเป็นวิธีหยุดเล่นเกม ซึ่งพระพุทธเจ้าเองท่านก็สอนทั้งสองส่วน และให้ความสำคัญไม่มากไม่น้อยไปกว่ากันเลย
    ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสร้างสรรค์และปัญญาอย่างถึงที่สุด เวลาที่เราพูดคุยธรรมะ ฟังธรรมะ อ่านธรรมะ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธรรมะ เราต้องมองให้รู้ซึ้งก่อนว่า ผู้ส่งสารกำลังหยิบยื่นธรรมะแบบใดให้เรา และเรากำลังจะสื่อสารธรรมะแบบใดกลับไป
    การปรับมุมมองให้ตรงกัน จะทำให้ผู้ส่งสารและรับสารไม่หลงประเด็น เป็นการคุยในเรื่องเดียวกัน เป็นการป้อนกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น ทำให้ไม่ต้องมาถกเถียงในเรื่องที่ไม่จำเป็น การแลกเปลี่ยนพูดคุยธรรมะก็จะเป็นไปด้วยความสนุก เบิกบาน ได้พัฒนาตนไปสู่ความเจริญ ทั้งแง่ของโลกียธรรม และโลกุตรธรรมไปพร้อมๆ กัน

    โลกียธรรมกับโลกุตตรธรรมแบ่งแยกอย่างไร
    แบ่งโดยข้อธรรม โดยการปฏิบัติ
    หรือแบ่งตามจุดมุ่งหมายที่เป็นผลลัพธ์

    แบ่งแยกตามสภาวะ หรือสภาพของธรรมนั้นๆ
    ธรรมเหล่าใดเกี่ยวข้องวนเวียนอยู่กับโลก
    ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า “โลกียธรรม”
    ธรรมเหล่าใดข้ามพ้นจากโลก
    ธรรมเหล่านั้นชื่อว่า “โลกุตตรธรรม”

    ในทางวิชาการโลกุตตรธรรมนั้น
    เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “อปริยาปันนะ”
    ซึ่งแปลว่า “ไม่เกาะเกี่ยว” (กับโลก)

    ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายเรื่องโลกียยะ กับโลกุตตระไว้
    (ในปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎกเล่ม ๓๑/๑๗๑/๑๒๒) ว่าภูมิ ๔ คือ

    o กามวจรภูมิ (ภูมิที่ข้องเกี่ยวอยู่กับกาม หรืออารมณ์ที่น่าใคร่)
    o รูปวจรภูมิ (ภูมิที่ยังข้องเกี่ยวอยู่กับรูปธรรม)
    o อรูปาวจรภูมิ (ภูมิที่ยังข้องเกี่ยวอยู่กับอรูปธรรม)
    o อปริยาปันนภูมิ (ภูมิที่ไม่เกาะเกี่ยว หรือเป็นโลกุตตระ ข้ามพ้นโลก)

    ๓ ภูมิแรกยังเป็นโลกียยะ ๑ ภูมิหลังเป็นโลกุตตระ
    โดยเฉพาะโลกุตตระ หรืออปริยาปันนะนั้น
    ท่านอธิบายว่า ได้แก่ อริยมรรค อริยผล และอสังขตธาตุ (นิพพาน)
    ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑
    รวมเป็นโลกุตตรธรรม ๙ ประการนั่นเอง

    มีที่น่าสังเกตว่า ท่านพระสารีบุตรได้อธิบายโลกุตตรธรรมไว้
    (ในปฏิสัมภิทามรรค พระไตรปิฎก ๓๑/๖๒๐/๕๐๕)
    เพิ่ม โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ สติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น
    จนถึง มรรคมี องค์ ๘ ไว้ในโลกุตตรธรรม
    นอกเหนือจากโลกุตตรธรรม ๙ ด้วย
    ทั้งยังวิเคราะห์โลกุตตรธรรมให้ดูถึง ๖๓ รูปแบบ

    จิตที่เข้าถึงโลกุตตรธรรมแล้ว
    จะต้องติดต่อกับทางโลก ก็ใช้จิตระดับโลกียยะ
    เหมือนผู้เรียนผ่านชั้นประถมแล้ว
    อาจดูข้อความในหนังสือของชั้นประถม
    หรือมาพูดจาติดต่อกับนักเรียนชั้นประถมอีกก็ได้
    แต่ไม่กลับเป็นนักเรียนชั้นประถมอีก

    โดยเฉพาะพระอรหันต์ซึ่งบรรลุโลกุตตรธรรมชั้นสูงสุดแล้ว
    มีจิตสำหรับใช้กับโลกียธรรมโดยเฉพาะ
    ที่เรียกว่า “หสนจิต” หรือ “หสิตุปปาทจิต”
    “มหากิริยาจิต” อันใช้ในกามภูมิ
    และ “มหัคคตกิริยาจิต” อันใช้ในรูปภูมิ และอรูปภูมิ

    ในอัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์   อธิบายจูฟันตรทุกะ มีข้อความว่า ...

                     ชื่อว่า “โลกียธรรม” เพราะประกอบในโลก   โดยเหตุที่นับเนื่องอยู่ในโลกนั้น  ชื่อว่า“อุตตรธรรม”   คือ  ธรรมอันยิ่งเพราะข้ามพ้นขึ้นจากโลกนั้นชื่อว่า  “โลกุตตรธรรม”   เพราะข้ามขึ้นจากโลกนั้นโดยเหตุที่ไม่นับเนื่องอยู่ในโลก

     
      โลกุตรมรรคจะเกิดขึ้นได้เพราะการอบรม โลกียมรรคจนบริบูรณ์    สัมมาทิฏฐิที่เป็นมรรคองค์ที่ ๑  ขณะที่เป็นโลกียมรรค   มีความหมายกว้างขวางมาก    หมายถึง ปัญญาที่เห็นถูกเห็นตรงเห็นถูกในสภาพธรรมตั้งแต่กรรมสกตาปัญญาเป็นต้นมา  จนถึงวิปัสสนาญาณ ขั้นต่างๆ    สำหรับโลกุตรมรรคเกิดขึ้นพร้อมกันทั้ง ๘

    องค์   มีพระนิพพานเป็นอารมณ์



    กระจุยกันไปไม่รู้กี่สำนัก แต่ผู้ฉลาดในธรรมนี้ก็มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี แต่อย่าไปโง่ตามคึกฤทธิ์ที่โง่ไปหลอกไปสอนธรรมกล่าวหา ว่าอิทธิ์ปาฎิหาริย์และอาเทสนาปาฎิหาริย์ไม่ใช่โลกุตระธรรม ไม่สามารถทำให้ถึงโลกุตระธรรมได้ สำนักนักลัทธิไหนสอนแบบนี้ก็เป็นสัสสตทิฐิอันเป็นมิจฉาทิฐิอย่างแน่นอน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ขอแสดงความคิดเห็นค่ะ

    อิทธิปาฏิหาริย์ และ อาเทศนาปาฏิหาริย์ ที่จริงนั้น ถ้าเป็นธรรมโลกุตระ คือ ธรรมวิโมกข์ 8 เท่าที่ตนเองได้อ่านพระไตรปิฏกมาบ้างนะค่ะ

    ถ้าอิทธิปาฏิหาริย์ หรือ อาเทศนาปาฏิหาริย์ ที่พระพุทธองค์ทรงไม่สรรเสริญ ที่ได้ตรัสไว้

    “พึงตอบได้ พระเจ้าข้า !”
    เกวัฏฏะ!
    เราเห็นโทษในการแสดงอิทธิปาฏิหาริย์
    ดังนี้แล จึงอึดอัด ขยะแขยง เกลียดชัง ต่อ
    อิทธิปาฏิหาริย์.

    ก็เป็นไปในลักษณะไม่เป็นไปเพื่อเบื่อหน่ายคลายละ เป็นไปเพื่อลาภ ยศ สรรเสริญ ไม่ใช่ความพ้นทุกข์

    สำหรับอิทธิปาฏิหาริย์สำหรับพระเครื่อง ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นไปเพื่อเครื่องรางของขลัง น้อยมากที่จะเป็นไปเพื่อ ระลึกถึงพระพุทธคุณ (อาจเข้าใจผิดก็ได้ค่ะ) เพราะไม่ค่อยได้เล่นพระเครื่อง

    ถ้าอิทธิปาฏิหาริย์สำหรับเป็นไปเพื่อโชคลางของขลัง ก็เป็นเดรัจฉานวิชชาค่ะ

    มีเหตุค่ะ....ว่าทำไมจึงต้องดู ยูทูปเรื่องนั้นก่อน....เพราะ...

    รหัสลับพุทธทำนายได้กล่าวไว้ว่า...

    นักบวชและพระมีโอกาสเยียวยาจิตใจมนุษย์ในสังคมน้อยลงกว่าเดิม เนื่องจากมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่เข้าวัดเพราะเสื่อมศรัทธา ไม่ใส่ใจ และใฝ่ทำมาหากินเพื่อชีวิต ไม่ได้ทำอะไรเพื่อจิตวิญญาณตนเองเลย

    บทบาทในการเผยแพร่พระธรรมจึงถูกปิดกั้น มนุษย์มีพระไว้เพื่อการประกอบพิธีกรรมในการสวดที่ีศักดิ์สิทธิ์และใฝ่หาแต่พระที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ไว้เป็นที่พึ่งกันเท่านั้น

    ความอดอยากยากเข็ญของพระ จึงหมายถึง การที่พระไม่มีโอกาสได้กระทำหน้าที่ของตนในการเผยแพร่ะธรรมะนั่นเอง ความมัวเมาในวัตถุ ปิดบังสติปัญญาของมนุษย์แทบหมดสิ้น

    ขอแสดงความคิดเห็นนะคะ ถูกผิดอย่างไรน้อมรับฟังค่ะ เฉพาะแค่กรณีอิทธิปาฏิหาริย์ที่เป็นไปเพื่อลาภสักการะ สรรเสริญเท่านั้นค่ะ
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ศัพท์ไวยากรณ์เฉพาะทางที่ยากๆ สติปัญญาถึงขั้นแจกแจงแจ้งอรรถเมื่อไหร่ก็จะทราบเอง เป็นไปตามภูมิปัญญา และความเพียรของแต่ละบุคคล ตามลำดับขั้นของจิตที่น้อมไปเพื่อมรรคผลโดยธรรมอันเป็นกลาง อันแน่ชัดตามหลักสัมมาทิฐิ ถึงเวลาอยากรู้อยากเข้าใจก็จะปรากฎขึ้นเอง ให้พิจารณาตามลำดับอัชฌาสัยของตน ตามกาลเถิด เรื่องบางเรื่องเป็นปัตจัตตัง อ่านหนังสือหน้าเดียวกัน ไม่ใช่ว่าจะรู้บริสุทธิ์และจดจำได้เท่าเทียมกันไปหมด แม้แต่เราก็ยังต้อง ศึกษาและพิจารณาอยู่เนืองๆ เรียนทั้งชาติก็ไม่หมดไม่จบ สงสัยจะไปเยาะเย้ยสหธรรมิกในชาติก่อนมาก ปัญญาเลยทึบในชาตินี้ จดจำที่อ่านผ่านตาได้ยากจริงๆ

    รอพระอริยะเจ้ามาโปรด

    เอวังฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    อนุโมทนาค่ะ เรื่องนี้มีเหตุจริง ๆ ค่ะ จึงต้องเสนอความเห็น....เพื่อโปรดพิจารณา
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    พุทธวจนปิฏกจะมาแทนพระไตรปิฏกทั้งหมดในประเทศไทยและในโลก

    https://youtu.be/fJ69eQETA6A


    คนมืดบอดที่มองไม่เห็นไม่ศรัทธา ไม่สนใจใส่ใจในพระธรรมคำสั่งสอน นี่ไม่ใช่ความผิดของ {O}พระไตรปิฏก{O}ฉบับใดๆ ที่สำนักวัดนาป่าพงกล่าวหาว่าบกพร่องบิดเบือนมีแต่คำสาวกแต่งใหม่ ไม่ใช้พุทธวจน ในพระไตรปิฏกพระใบลานหลวงและพระไตรปิฏกฉบัับสยามรัฐ หรืออื่นๆนอกเหนือจากนั้นด้วย

    ไม่ศึกษาเล่าเรียนให้ดีด้วยปัญญาของตนเอง. แต่ไปกล่าวหาว่าพระไตรปิฏกเป็นฝ่ายผิด. ร้องรำทำชั่วเองโทษปี่โทษกลอง



    แล้วทำไมคึกฤทธิ์เจ้าสำนักนี้จึงวิสัชนาได้อย่างล่มจมผิดเพี้ยน พ่ายแพ้อย่างหลุดรุ่ย แก่ ผู้ที่เรียนและศึกษาพระไตรปิฎกที่สำนักวัดนาป่าพงบอกว่ามีคำปลอมแต่งใหม่ไม่ใช่พุทธวจนะที่แท้จริง

    ไม่รู้โดนไปกี่สิบร้อยพันพระสูตรก็แพ้ก็เพี้ยนเขาหมด ชนะได้แต่ใจสาวกในสำนัก แต่ที่เขารู้ว่ามั่วและหนีกับไปตั้งหลักใหม่ก็มีมาก ได้แต่ปั้นหน้าม้าหลอกเหยื่อรายใหม่ๆให้ไปโง่ตาม เวรกรรมจริงๆ

    คึกฤทธิ์นี่มันตั้งสำนักดักคนโง่ เหมือนเพจดัก กระทู้ดัก กลุ่มดัก ที่เขาฮิตในโลกโซเชี่ยล ติดลมบนสร้างอำกัน ขำๆแก้เซ็งหรือเปล่า?

    คิดแล้วสยองแทนจริงๆ สุดแสนจะเวทนา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    น้องหญิงเธอคิดว่าผู้ที่มาเกิดจุติในภพชาตินี้ มีบุญมากเท่ากับได้กำเนิดเกิดใหม่ในอริยชาติของพระพุทธศาสนาครั้งสมัยพุทธกาลหรือ แม้สมัยนั้นพุทธกาลก็มีเรื่องดังนี้ ให้ทรงรู้ทรงทราบ ธรรมทายาท และ อามิสทายาท นั้นมีมานาน แต่บทลงโทษขั้นเด็ดขาดนี่สิ ขาดหายไป ต้องรอพระอริยะเจ้ามาโปรด ทรงลงทัณฑ์สงฆ์สักที

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะขอบอกเธอทั้งหลาย จะขอเตือนเธอ
    ทั้งหลาย การที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขาถวาย
    ด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล จะดี
    อย่างไร การที่บุรุษมีกำลัง จับเอาเท้าขึ้น เอาหัวลง โยนลงในหม้อเหล็กแดง
    ไฟกำลังลุกรุ่งโรจน์โชติช่วง ถูกไฟเผาเดือดดุจฟองน้ำ ในหม้อเหล็กแดงนั้น
    บางครั้งลอยขึ้นข้างบน บางครั้งจมลงข้างล่าง บางครั้งลอยไปขวางๆ นี้ดีกว่า
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้นั้นพึงเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตาย มีข้อนั้นเป็น
    เหตุ แต่ผู้นั้นเมื่อตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะข้อนั้น
    เป็นปัจจัย ส่วนการที่บุคคลผู้ทุศีล ฯลฯ เป็นดังหยากเยื่อ บริโภควิหารที่เขา
    ถวายด้วยศรัทธา ของกษัตริย์มหาศาล พราหมณ์มหาศาล หรือคฤหบดีมหาศาล
    นั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน แก่
    บุคคลผู้ทุศีลนั้น และบุคคลผู้ทุศีลนั้น เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ
    วินิบาต นรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษา
    อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัช
    บริขาร ของชนเหล่าใด ปัจจัยของชนเหล่านั้น จักมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
    และการบรรพชาของเราทั้งหลายจักไม่เป็นหมัน มีผล มีกำไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล อนึ่ง เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อพิจารณา
    เห็นประโยชน์ตน ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท
    เมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ผู้อื่น ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จด้วย
    ความไม่ประมาท หรือเมื่อพิจารณาเห็นประโยชน์ทั้งสอง ก็ควรแท้ทีเดียวที่จะให้
    ประโยชน์ทั้งสองนั้นสำเร็จด้วยความไม่ประมาท ฯ

                 พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว และเมื่อกำลังตรัส
    ไวยากรณภาษิตนี้อยู่ โลหิตร้อนพุ่งออกจากปากของภิกษุ ๖๐ รูป (พวกต้น)


    ภิกษุ ๖๐ รูป (พวกกลาง) ลาสิกขา สึกมาเป็นคฤหัสถ์ ด้วยกราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้ยาก ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ทำได้แสนยาก

    อีก ๖๐ รูป จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ฯ


    น้องหญิง อุปมาทุกๆอย่างแม้แต่เศษดินก้อนหินผ้าขี้ริ้วตลอดจนไปถึงก้อนเงินก้อนเพชรก้อนทอง ก็ล้วนสามารถ พิจารณาให้ถึงเหตุถึงผลรู้จบพ้นวิเศษอันเป็นวิสัยตนได้ ตลอดพระวัสสาในพุทธสมัยนี้ เมื่อข้ามพุทธสมัยไปสู่ ห้วงเว้นว่างจากพุทธันดร สิ่งต่างๆที่สร้างมายังศาสนาวัตถุก็จะอันตรธานหายไป จนไปถึงฉนั้นปล่อยให้เป็นไปตามมรรคตามผลของผู้ที่ได้นิสสัยมาเถิด

    บอกแล้วว่าบางคนเขามีศรัทธา บางท่านก็ให้สิ่งนั้นเป็นนิมิตศรัทธาอันน้อมนำไปสู่เขา และเป็นไปไม่ได้เลยที่พระเถระบูรพาจารย์ทั้งหลายฯ ท่านจะไม่ระลึกถึงว่าท่านสร้างพระไว้นี้ ท่านก็เพื่อเป็นเจดีย์อันประดิษฐาน ตามกาลวิสัยแก่บุคคลชั่วลูกชั่วหลาน ศาสนาพุทธเรานี้ประกอบด้วยการใช้สติปัญญาและเหตุผล และสามารถครอบงำทุกอย่างได้ ด้วยฤทธิ์และด้วยปัญญา

    เธอดูอย่างลัทธิและศาสนาอื่นเถิดเขามีแต่ศาสนาวัตถุและวัตถุหลงเหลือตั้งไว้ให้แลดู และบางเรื่องก็เหลือแต่เรื่องเล่าเพียงเท่านั้น ไม่มีใครทราบตำนานที่ไปที่มา นั่นก็เพราะไม่ประกอบด้วยฤทธิ์และปัญญา ทำไมจึงไม่ถูกทุบถูกทำลายไปตามกาลทั้งหมดฯ ก็เพราะด้วยฤทธิ์ ด้วยเดชด้วยปัญญา ทั้งนั้น ไม่อย่างนั้นก็อย่าคิดว่าจะมีอะไรหลงเหลืออยู่เลย ไปดูซากปรักหักพังที่ นาลันทาเถิด หลงเหลืออะไรอยู่บ้าง


    ศัตรูที่มองไม่เห็นและยังไม่ปรากฎตัวให้รู้ นั้นมีอยู่ ภัยทั้งภายในและภายนอกมีอยู่ เรามีเวลาหลงเหลือกันเพียงน้อยนิด จงสละภาชนะดินเพื่อให้ได้ภาชนะทองเถิด เราไม่ชื่นชอบไม่ยินดีในวิสัยเช่นนั้น แต่บุคคลที่เขาชื่นชอบมี ก็ไม่ต้องไปทำลายของรักของเขา ถ้าเขามีบุญที่สั่งสมเป็นพลวปัจจัย เขาจะเดินทางออกตามหาเอง ไม่ต้องไปบีบบังคับหรือยัดเยียดให้เขาจนถ้าเขาไม่ได้เป็นคนพาลแล้ว ยกไว้ซึ่งได้ต้องบุพกรรมด้วยกันมาว่า เป็นบุคคลที่สมควรโปรดด้วยกำลังพระทศพลญาน ๑๐ อันหยั่งรู้เป็นเอนกเป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  17. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    เรามีเวลาหลงเหลือเพียงกันน้อยนิด จงสละภาชนะดินเพื่อให้ได้ภาชนะทองเถิด

    อนุโมทนาสาธุค่ะ รอเวลาวาสนาส่ง ใช้ระยะเวลารอมาหกปีแล้วค่ะ ขอให้ถึงเวลานั้นโดยเร็ววันค่ะ
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201


    น้องหญิงเธอมีเจโตปริญญานหรือญานใดญานหนึ่งในพระทศพลญาน ๑๐ หรือ จึงล่วงรู้อุปนิสัยของสัตว์จำนวนเท่านั้นเท่านี้ว่า สัตว์เหล่านั้นไม่สามารถที่จะละ และ คลายความกำหนัด คลายกิเลส เบื่อหน่าย จากลาภ จากยศ จากสรรเสริญ และจากทุกข์ ด้วยจริตธรรมและอัชฌาสัยอันต้องหวังพึ่ง อิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ และ อาเทสนาปาฎิหาริย์

    น้องหญิงเมื่อรู้ดังนี้แล้ว เธอจะสำคัญไฉนในการถือประมาณในบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น โดยที่ขาดกำลังแห่งพระทศพลญาน๑๐ เราก็ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น

    ในทางเดียวกันผู้จะอ้างคำกล่าวที่เราแสดงไว้นี้ ไปว่าด้วยกรณีอื่นๆ ไปประกอบการวิสัชนาธรรมที่ผิดๆของตน ก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่ฐานะ ที่จะนำไปกระทำได้






    ในวันนั้น พระศาสดาเสด็จจงกรมทรงทำ (ยมก) ปาฏิหาริย์แสดงธรรมกถาแก่มหาชนในระหว่างๆ และเมื่อทรงแสดงไม่ทรงทำให้มหาชนให้หนักใจ ประทานให้เบาใจยิ่ง. ในขณะนั้น มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว.


                   ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่งๆ ด้วยอำนาจอาการ ๑๖ อย่าง. จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้, บุคคลใดๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด พระศาสดาทรงแสดงธรรม และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้นๆ.

                   เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว.

                   ก็พระศาสดาทรงกำหนดจิตของพระองค์ ไม่ทรงเห็นคนอื่นผู้สามารถจะถามปัญหาในสมาคมนั้น จึงทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต. พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาที่พระพุทธนิรมิตนั้นถามแล้ว. พระพุทธนิรมิตนั้นก็เฉลยปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว. ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตสำเร็จอิริยาบถมีการยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในเวลาที่พระพุทธนิรมิตจงกรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จพระอิริยาบถ มีการประทับยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

                   เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรมบ้าง" เป็นต้น.
                   ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐ โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็นปาฏิหาริย์ของพระศาสดาผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.


    ประโยชน์อันมากมายนี้ ผู้มีศรัทธาเพียงพิจารณาก็สามารถได้เข้าสู่กระแสธรรมอันเป็นทางนำจากพื้นฐานสู่เบื้องปลาย ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับสติปัญญาในการแยกแยะอรรถและธรรมอันเป็นนิสสัยอันเป็นปัตจัตตังในแต่ละบุคคล ตามแต่จะสามารถไตร่ตรองและปุจฉาวิสัชนาตามจริตกรรมฐานและบุญบารมีอันได้สั่งสมมาไม่มีตกต่ำเลย ปฎิบัติตนตามธรรมอันสมควรแก่ตนเป็นต้นไปให้เห็นชัด ตามฐานะสติปัญญาของตน ยังปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ จนสุดปัญญาก่อน ถ้าไม่รู้ก็ไตร่ตรองถามผู้รู้ ผู้ให้ความกระจ่างชัด ถ้าไม่มีผู้ใดสามารถก็ให้พิจารณาข้อธรรมที่สามารถเข้าใจได้ถึงก่อน

    บางคนพึ่งสั่งสมบุญมา เกิดมาพึ่งได้เข้าสู่พระพุทธศาสนา และพึ่งได้พระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งในชาติ อันนิสสัยที่สั่งสมมา บางคนชอบสายฤทธิ์เดช ชอบอานุภาพ ชอบใจในมนต์ ชอบใจในวัตถุเครื่องราง ชอบใจในวัตรปฎิบัติ ชอบใจในความสงบ ชอบใจในการให้ทาน ชอบใจในพระธรรมเทศนาที่แสดงตั้งแต่ได้ฟังจากสมเด็จพระบรมมหาศาสดาไล่ไปจนถึงโคตรภูสงฆ์ ชอบใจในสิ่งๆต่างๆแม้จะเป็นเพียงชอบใจในผ้ากาษาอันเป็นธงชัย จึงได้อาศัยเกิดในชาติ นั่นก็เป็นพลวปัจจัยของเขาที่ได้ส่งเสริมเขามา การที่จะให้เขาละเขาทิ้งสิ่งที่เขาบำเพ็ญเพียงสั่งสมมา ก็เท่ากับว่า ไปบีบให้เขาทิ้งในสิ่งที่เขาชอบ จึงควรจะส่งเสริมเขาด้วยธรรมอื่นๆที่สอดคล้องกันกับจริต เพื่อเอื้อเฟื้อแก่เขาเหล่านั้นตามพลวปัจจัย เมื่อครั้งสามารถยิ่งขึ้นไปอีกในปฎิเวธก็แสดงให้เขาเห็นและอนุเคราะห์เขาในสิ่งที่ดียิ่งกว่า จวบจนสิ้นสามารถ โดยดำรงในการใช้กุศโลบายให้เหมาะแก่บุคคลนั้นแลฯจึงจะประเสริฐ นี่แลจึงเหมาะเป็นครูเป็นอาจารย์เขา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    น้องหญิงเราจะวิสัชนาให้เธอได้เห็นอย่างอย่างลุ่มลึก ขึ้นไปอีกว่า

    ระหว่าง

    ชฎิล 3 พี่น้องได้แก่ อุรุเวลกัสสปะ นทีกัสสปะ และคยากัสสปะ และบริวาร 1,000 คน
    บุคคลเหล่านี้ เป็นผู้มีศรัทธาและรักในลัทธิศาสนาของตน หวงแหนบริขารของตน


    กับ

    ผู้ที่ได้อยู่ได้เกิดได้มานับถือพระพุทธศาสนา และมีความศรัทธาในพระุพุทธรูปและพระเครื่อง โดยนัยคือ วัตถุที่แสดงถึงพระรัตนตรัย ตั้งแต่ต้น เราไม่นับวัตถุอื่นที่เห็นแล้วไม่ถึงพระรัตนตรัย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งสำนักวัดนาป่าพง เพราะได้กระทำให้พระรัตนตรัยนั้นเศร้าหมอง

    ระหว่างบุคคลสองจำพวกนี้ ใครรักใครหวงแหนในสิ่งที่ตนรักและศรัทธามากกว่า

    ชฎิลผู้ทนงตัวด้วยอนุสัยที่ต้องบุพกรรมมาแม้พระพุทธเจ้าจะแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ข่มก็ยังไม่ลดมานะทิฐิ จึงต้องทรงแสดงธรรมโปรด จึงน้อมตนเข้า ปลดเปลื้องทิ้งบริขารของตนเข้าสู่พระพุทธศาสนา

    และบุคคลผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธเจ้าอยู่แล้ว มีศรัทธาในเจดีย์อันประดิษฐานพระรัตนตรัย ถ้าได้พบพระพุทธเจ้า เขาจะดื้อดึงอีกหรือ นี่เพราะความอาภัพในชาติ เพราะบุญน้อย ลาภที่จะได้พบพระพุทธเจ้ามีน้อย แต่ก็มีพลวปัจจัยอันส่งเสริมเขาในชาติต่อๆไป

    และกับ

    บุคคลที่ห่างไกลพระพุทธศาสนาเลย ไม่ได้มีโอกาสที่จะรู้ว่ามีพระพุทธศาสนาอยู่

    และกับ

    บุคคลที่เป็นเดียร์ถีย์นอกรีดลัทธิอื่นที่เป็นศัตรูจ้องจะทำลายพระพุทธศาสนา

    ระหว่างบุคคลเหล่านี้ ใครประเสริฐกว่า

    อุปมาให้คิดและวิสัชนาดังนี้แล



    แล้วเราจะไปตำหนิเขาด้วยกรรมอันใดเล่า เมื่อเขามีบุญมากที่ได้พบกับพระพุทธศาสนา ได้มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง หรือ คิดว่า เขาไม่ได้เคยสวดหรือเคยถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

    ถ้ามีปัญญาสามารถก็ส่งเสริมเขาให้เจริญขึ้น ถ้าไม่มีก็อยู่เงียบๆ ไม่ต้องไปตำหนิไปนินทาเขา




    https://youtu.be/Qu5c6yBV_w8

    พระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ที่ทรงแสดงแก่ชฏิล

    ทรงสอนให้ตรงกับความถนัด และความสนใจของชฏิล พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะทรงแสดงที่ใด และแก่ใครย่อมมีจุดหมายเป็นแนวเดียวกัน คือ มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วให้มีทัศนคติ และ ปฎิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และบุคคลอื่น...
    ทรงสอนให้ตรงกับระดับสติปัญญา และระดับชีวิตของชฏิล ข้อสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงคำนึงถึงในการทรงสอน คือ ความยิ่ง และหย่อนแห่งอินทรีย์ของผู้ฟัง ทรงพิจารณาว่าผู้ฟังมีสติปัญญาอยู่ในระดับใด ได้รับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากน้อยเพียงไหน ดำรงชีวิตอยู่อย่างไร จะต้องแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรู้เข้าใจ สามารถนำไปใช้เป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิตของเขาได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2016
  20. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201

    สุดท้ายโดนมารหลอกให้หมุนทวนกระแสพระธรรมจักร


    https://youtu.be/t56THlU1Hj0

    คึกฤทธิ์สอน
    " แม้จะสำคัญผิดว่าตนเองเป็นโสดาบันก็ยังเกิดประโยชน์
    สำคัญผิดไปเลย ยิ่งมากยิ่งดี โลกยิ่งสงบ "


    เลยพากันรีบบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน รัตน ๕ กันสนั่นสำนัก ทั้งสำนักวัดนาป่าพง ฟัง MP 3 ก่อนตายแล้วไปเป็นพระอนาคามี

    ที่นี้ก็ไปดูหมิ่นทั้งสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นี่เหรอ พระอริยะบุคคลในสำนักวัดนาป่าพง ผู้สร้างความน่าอยู่ ความปลอดภัยให้โลกทั้งหลายมีความสุขสงบ

    แต่สร้างสัทธรรมปฎิรูป วิสัชนาธรรมผิดๆเพี้ยนๆหลอกสัตว์ตาบอด


    พยสนสูตร
                ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายกล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความฉิบหาย ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือ ภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ฯ

    ส่วนใครจะรอดจากมือมารได้ จะเจริญในพระศรัทธาไปให้มากกว่านี้ ต้องอาศัยสติปัญญา

    ขนาดองค์สมเด็จพระบรมมหาศาสดายังทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วย
    การค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง แล้วเราผู้เดินตามมาในภายหลังจะไม่ ฝึกไม่ศึกษา ทั้งปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธหรือ

    เรามีปัญญาเพียงเท่าใด เราก็อย่าไปติดทายกติดสาวกสิ รู้ว่าตนเองสอนเขาได้ให้เขาได้เพียงเท่านี้ ก็ส่งเขาไปเรียนเพิ่มพูนความรู้ที่สำนักอื่นๆบ้าง เห็นแต่ผูกขาดตลอดชีวิต ทั้งๆที่ตนเองก็ไม่มีปัญญาที่จะสั่งจะสอนเขาให้เจริญไปกว่าที่เป็นอยู่นั้นได้ กระกระทำแบบนี้ไม่รักลูกศิษย์แท้ๆ อวดเป็นพระพุทธเจ้าผู้แจกแจง บัญญัติธรรมเองหรืออย่างไร? เจ้าประคูณเอ้ย



    ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ ประการนี้แล. ดู
    สารีบุตร ผู้ใดพึงว่าซึ่งเราผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้ว่า ธรรมอันยิ่งของ
    มนุษย์ที่เป็นญาณทัสสนะอันวิเศษ พอแก่ความเป็นอริยะของพระสมณโคดม
    ไม่มี พระสมณโคดมทรงแสดงธรรมที่ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วย
    การค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง ดูก่อนสารีบุตร ผู้นั้นไม่ละวาจานั้นเสียไม่ละ
    ความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฐินั้นเสีย ก็เที่ยงที่จะตกนรก.


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้วย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น
    ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบแล้วด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้วย่อมรุ่งเรืองดุจพระอาทิตย์ฉะนั้นฯ"


    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปดประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือการปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้าพระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แลเป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลง ติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติ เพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายามเธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร”



    สัมมาทิฐิก็ไม่มี อันจะช่วยทำให้มารหลง จะเอามรรคเอาผลไหนมาคอยเกื้อหนุนปกป้องปกปักรักษาตนเอง




    มาร 5 ฝูง

    ฝูงที่ ๑ ชื่อกิเลสมาร
    ได้แก่ ความขุ่นมัวที่ฝังติดใจคนเราแล้วทำให้เราคิดแต่เรื่องร้ายๆ ซึ่งถ้าจะถามว่า เกิดจากอะไร? ก็เกิดจากการที่ใจของเราเคลื่อนออกจากศูนย์กลางกายไปแล้วเลยทำให้กิเลสได้โอกาสฝังติดใจแนบแน่น จึงทำให้ใจเกิดความคิดร้ายๆ ขึ้นมาเมื่อความคิดร้ายๆ นั้นเกิดขึ้นมาแล้ว ก็เลยทำให้เราคิด พูด ทำแต่สิ่งที่ไม่ดีเป็นการตัดรอนความดีของเราลง แล้วเราเองก็กลายเป็นเสนาหรือผู้รับใช้ของเทวบุตรมารไปอีกทอดหนึ่งด้วย

    ฝูงที่ ๒ ชื่อขันธมาร
    ได้แก่ร่างกายและจิตใจของเราที่ไม่สมประกอบ พิการไปด้วยเหตุอันใดอันหนึ่งเช่นสุขภาพไม่ดี ร่างกายเสื่อมโทรม เจ็บไข้ได้ป่วย ก็เลยทำให้ขันธ์ของเราเป็นมารแก่ตัวเองแม้ที่สุดการที่กินข้าวผิดเวลา นอนดึกๆ ดื่นๆหรืออยู่ในอิริยาบถเดียวต่อเนื่องกันไปนานๆ เช่น นั่งนานๆเลยทำให้ปวดเมื่อยเกินเหตุ รวมทั้งการที่ตัวเรามีประสาทสัมผัสเสื่อม ความจำเสื่อมความคิดไม่แล่น การตัดสินใจยืดยาด ไม่เด็ดขาด เหล่านี้เป็นต้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นขันธมารบั่นทอนความดีของเราลงทั้งสิ้น

    ฝูงที่ ๓ ชื่ออภิสังขารมาร
    ได้แก่ผลกรรมชั่วในอดีตที่ตามมาล้างมาผลาญเรา แม้เราเลิกการกระทำเหล่านั้นแล้วบาปกรรมก็ยังตามล้างผลาญไม่ลดละ แม้แต่ชาวบ้าน เขาก็ไม่เชื่อถือเรา ตามสาปแช่งเราตายแล้วยังแถมตกนรกหมกไหม้อีกด้วย พอเกิดมาใหม่ก็พิการ ใบ้ บ้า ปัญญาอ่อน

    ฝูงที่ ๔ ชื่อมัจจุมารคือความตายที่คอยจ้องตัดรอนชีวิตอยู่ทุกขณะจิต หากประมาทเมื่อใดเพียงหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย ออกแล้วไม่เข้าก็ตายยิ่งไม่ออกไม่เข้ายิ่งตายเร็วหนักเข้าไปอีก รวมทั้งความกลัวตายที่พลอยผสมโรงริดรอนกำลังใจด้วย

    มารทั้ง ๔ ฝูงนี้ล้วนอาศัยอยู่ในตัวของเราแต่ละคน มีแต่

    มารฝูงที่ ๕ ชื่อเทวบุตรมาร
    ซึ่งอยู่นอกตัวเราแต่ก็พร้อมจะเข้ามาสิงในตัวเราเมื่อไหร่ก็ได้ มันมีตัวตนจริงๆพร้อมที่จะแสดงตัวออกมาด้วยกายหยาบก็ได้ กายละเอียดก็ได้แม้แต่ท้องพระอรหันต์อย่างพระมหาโมคคัลลานะซึ่งทีฤทธิ์มาก มันก็ยังเข้าไปได้ง่ายๆหากมันได้โอกาสก็พร้อมจะพิฆาตเข่นฆ่าเราทันที
    อุปมาให้คิดและวิสัชนาดังนี้แล



    อย่าคิดว่าจะรอดจากมาร ๕ และความ ความฉิบหาย ๑๐ ไม่ใช่ฐานะ ของคึกฤทธิ์แห่งสำนักวัดนาป่าพงและสาวก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2016

แชร์หน้านี้

Loading...