เรื่องเด่น อาการของสมาธิที่มีลักษณะจิตรวมเป็นหนึ่ง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สาสนี, 22 เมษายน 2017.

  1. นายธนาคาร

    นายธนาคาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2017
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +111
    ผมฝึกสมาธิได้ไม่นาน ยังเป็นมือใหม่อยู่ครับ
    ปัญหาใหญ่ตอนนี้เลย คือ ความปวดครับ :(
     
  2. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    เป็นเรื่องปกติค่ะ...(ยิ้ม)...เจอกันทุกคนค่ะ
    นำข้อคิดของหลวงปู่มาฝาก เป็นกำลังให้กับผู้ปฏิบัติใหม่ค่ะ

    FB_IMG_1491230870297.jpg
     
  3. นายธนาคาร

    นายธนาคาร Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มกราคม 2017
    โพสต์:
    129
    ค่าพลัง:
    +111
    ปกติผมจะนั่งสมาธิกับพระอาจารย์ที่เคารพนับถือครับ (ไปกับคุณแม่)
    ซึ่งในการนั่งแต่ล่ะครั้ง เวลาในการนั่งจะไม่รู้เรื่องเวลาครับ
    แต่ทุกครั้งที่นั่ง ก็นั่งได้นะครับ นั่งอยู่ได้จนออกจากสมาธิครับ :)
    ซึ่งเวลานั่งก็ 2 ชั่วโมงขึ้นไปครับ (แต่ผมก็ปวดนะครับ ฮ่าๆ มีบางช่วงของการนั่งจะไม่รู้สึกอะไร แต่ก็แค่ชั่วครู่ครับ)
     
  4. ครึ่งชีวิต

    ครึ่งชีวิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,178
    ค่าพลัง:
    +15,103
    สาธุๆๆ ขอรับ
     
  5. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    สตินั่นอบรมจิต ครั้นอบรมจนขั้นจิตรู้เท่าทัน
    ตามความเป็นจริงแล้ว มันจึงหายหลง
    พบความสว่าง ความหลงนั้นก็คือไม่มีสติ
    ครั้นมีสติคุ้มครองหัดไปจนแน่วแน่แล้ว
    ให้มันแม่นยำ. ให้มันสำเหนียกแล้ว
    มันจะรู้แจ้งทุกสิ่ง

    สติแก่กล้าจิตย่อมทนไม่ได้ เมื่อทนไม่ได้ก็สงบลง
    ครั้นสงบลงแล้วมันก็รู้ เดี๋ยวนี้มันไม่มีปัญญา
    มันก็ส่ายไปส่ายมา เพราะมันไปหลายทาง
    จิตไปหลายทาง เพราะเป็นอาการของมัน

    ผู้วางภาระ คือ ว่าง ไม่ยึดถือว่าขันธ์ห้านี้
    เป็นตัวเป็นตนแล้ว ไม่ยึดถือแล้วปลงเป็น
    ผู้วางภาระก็มีความสุข จะยืน เดิน นั่ง ก็มีความสุข
    ไม่ยึดถือเพราะรู้ตามความเป็นจริง ของมันอยู่แล้ว
    ไม่ถือเอา ไม่ยึดเอา ได้ชื่อว่าเป็นผู้ขุดตัณหา
    ขึ้นได้ทั้งราก เป็ผู้เที่ยงแล้ว เที่ยงว่าจะเข้าสู่
    ความสุขตามรอยสมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้า

    เมื่อจิตมันรวม มันก็รู้ตามความเป็นจริง
    มันจะวางขันธ์นี้ เมื่อมันรวมแล้วนั่นแหละ
    ถ้าจิตรวมแล้วมันก็วาง วางแล้วก็มีแต่ว่างๆ...
    แล้วค้นหาตัวก็ไม่มี ค้นหาตัวไม่มีแล้วก็อันนั้นแหละ
    พอจิตสงบแล้วปัญญามันก็เกิดขึ้นเองแหละ
    ถึงตอนนั้น .....แม้จิตมันฟุ้งมามันก็ไป
    มันไม่มีอันใด แม้แสงสว่างหมดทั้งโลกก็ตาม
    มันไม่ยึด

    หลวงปู่ขาว อนาลโย FB_IMG_1493385696421.jpg

    ที่มา ธรรมชาติตามรอยพระอริยะ กลุ่มเด็กวัดป่าฯมดงาน
     
  6. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    FB_IMG_1493384831412.jpg
     
  7. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    เป็นพระสูตรที่น่าสนใจค่ะ เห็นว่าเกี่ยวเนื่องกันกับกระทู้นี้ เกี่ยวกับการทำจิตให้ว่างเฉยต่ออารมณ์ ..


    http://www.buddha-quote.com/?p=1581

    พุทธวจน อริยสัจจากพระโอษฐ์

    ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ถ้าบุคคลย่อมคิดถึงสิ่งใดอยู่
    ย่อมดำริถึงสิ่งใดอยู่

    และย่อมมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่


    สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์
    เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ




    เมื่ออารมณ์มีอยู่
    ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี


    เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
    ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี


    เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่
    ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
    โทมนัส อุปายาสทั้งหลายจึงเกิดขึ้นครบถ้วน


    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

    **************


    ภิกษุทั้งหลาย !
    ถ้าบุคคลย่อมไม่คิดถึงสิ่งใด
    ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใด

    แต่เขายังมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่


    สิ่งนั้นย่อมเป็นอารมณ์
    เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณ



    เมื่ออารมณ์มีอยู่
    ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมมี


    เมื่อวิญญาณนั้นตั้งขึ้นเฉพาะ เจริญงอกงามแล้ว
    ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมมี


    เมี่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปมีอยู่
    ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
    โทมนัส อุปายาสทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นครบถ้วน


    ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้

    **********



    ภิกษุทั้งหลาย !
    ก็ถ้าว่าบุคคล ย่อมไม่คิดถึงสิ่งใดด้วย
    ย่อมไม่ดำริถึงสิ่งใดด้วย

    และย่อมไม่มีจิตฝังลงไปในสิ่งใดด้วย ในกาลใด


    ในกาลนั้น สิ่งนั้นย่อมไม่เป็นอารมณ์
    เพื่อการตั้งอยู่แห่งวิญญาณได้เลย



    เมื่ออารมณ์ไม่มี
    ความตั้งขึ้นเฉพาะแห่งวิญญาณ ย่อมไม่มี


    เมื่อวิญญาณนั้นไม่ตั้งขึ้นเฉพาะ
    ไม่เจริญงอกงามแล้ว
    ความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไป ย่อมไม่มี


    เมื่อความเกิดขึ้นแห่งภพใหม่ต่อไปไม่มี
    ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
    โทมนัส อุปายาส ทั้งหลายจึงดับสิ้น


    ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้
    ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้แล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2017
  8. jityim

    jityim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2014
    โพสต์:
    3,426
    ค่าพลัง:
    +3,207
    ถึงแม้จะไม่คิด แต่ยังมีจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ คำว่าจิตฝังลงไปในสิ่งใดอยู่ คือมีลักษณะอย่างไร? ให้สงสัย!! เพราะว่าเมื่อไม่คิด ย่อมมีสติแล้ว ก็คือย่อมมีการรู้ตัวแล้ว แต่พุทธองค์ยังตรัสว่า..ถึงแม้ไม่คิด แต่ก็ยังมีจิตที่จะฝังลงไปในสิ่งใดก็ได้ และจะตัองปฏิบัติอย่างไรล่ะ? จึงจะไม่ให้มีการฝังของจิตลงไปในสิ่งใด เพื่อไม่ให้มีอารมณ์...การเกิดมีภพใหม่....

    จากโพสต์เจ้าของกระทู้ ครูบาอาจารย์ทุกท่านจะกล่าวถึง. การฝึกพุทโธ เพื่อให้เกิดสติ ไม่ให้จิตส่งออกนอก จนเข้าถึงความว่าง...ของจิตจนจิตเกิดความนิ่ง...สงบ...ว่าง...เป็นมหาสติ เข้าไปถึงสภาวะรู้

    และสิ่งที่เป็นคำตอบ!!! ว่า...ลักษณะอย่างไร? ที่จะทำให้จิตไม่ฝังลงไปในสิ่งใด?...ก็คือ. อยู่กับรู้ของหลวงปู่ดุลย์ อตุโล นั่นเอง....


    อาการที่ว่าอยู่กับรู้ มีลักษณะเป็นอย่างไรฯ

    230402-2-2-jpg.4144255.jpg




    230402-3-1-jpg.4144256.jpg

    หลวงปู่ตอบอธิบายว่า
    “รู้ (อัญญา) เป็นปกติจิตที่ ว่าง สว่าง บริสุทธิ์ หยุดการปรุงแต่ง หยุดการแสวงหา หยุดกิริยาของจิต ไม่มีอะไรเลย ไม่ยึดถืออะไรสักอย่าง”
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2017
  9. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    http://palungjit.org/threads/เกร็ดธรรม-คำสอน-รู้-ของหลวงปู่ดูลย์-อตุโล.611667/

    ได้ไปโพสต์ในกระทู้ข้างบนค่ะ แล้วเข้ามาดูกระนี้ที่คุณ jityim นำมาลงไว้ เห็นว่าเกี่ยวเนื่องกันกับพระสูตรด้วย เพื่อรวบรวมไว้ด้วยกัน เพื่อมีคนมาชีัแนะเพิ่มเติมค่ะ....

    รู้ กับ ผู้รู้ สองสิ่งนี้มีความแตกต่างกันค่ะ

    รู้(อัญญา). เป็นสภาวะรู้ที่ว่าง นิ่ง สงบ บริสุทธิ์ เป็นธรรมชาติของจิตเดิม

    ผู้รู้ เป็น(วิญญาณ) ที่รู้แจ้งในอารมณ์ เมื่อมีอารมณ์เกิดขึ้น. วิญญาณก็ย่อมตั้งขึ้นมา

    จิตนั้นว่าง สงบ. อยู่ หากเมื่อใดที่จิตหลงไปร่วมกับวิญญาณที่รูัอารมณ์ จิตที่หลงจะเกิดเป็นตัวกระทำขึ้น

    หากจิตระวังวิญญาณ เฉยอยู่ รูัอยู่ สงบอยู่ กายจะนิ่งเฉย ไม่มีอารมณ์ ไม่มีตัวกระทำ เมื่อจิตระวังวิญญาณผู้รู้ไม่หลงไปตามผู้รู้ เมื่อจิตรู้อยู่ธรรมะก็ไหลเข้าสู่กระแสจิต จึงไม่เกิดอารมณ์ ไม่มีตัวกระทำ

    รู้ และ ผู้รู้จึงแตกต่างกันอย่างนี้ค่ะ

    พบผู้รู้ ให้ทำลายผู้รู้ ก็คือ การดับวิญญาณ ในวงจรปฏิจจสมุปบาท ที่ทรงตรัสไว้เป็นขั้นสุดท้ายในการดับนามรูป

    ส่วนสภาวะรู้ (อัญญา) นิ่ง ว่างสงบ เห็นอยู่ รูัอยู่เท่านั้นเองค่ะ
     
  10. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    อารมณ์นั้นมันยังมีอยู่อีกมากมาย
    การที่จะขจัดอารมณ์มากมายนั้นก็ต้องอาศัยการทำจิตให้เป็นหนึ่ง
    การทำจิตให้เป็นหนึ่งนั้นต้องอาศัยคำบริกรรม
    จะเป็นคำบริกรรม พุทโธก็ได้ หรือว่าอะไรก็ได้
    เมื่อบริกรรมแล้ว จิตของเราจะมาอยู่กับ
    คำบริกรรม
    เมื่อจิตมาอยู่กับคำบริกรรมได้แล้ว จิตจะเริ่มเป็นหนึ่ง
    เมื่อจิตเริ่มเป็นหนึ่งไดัแล้ว จิตก็เป็นสมาธิ
    เมื่อจิตเป็นสมาธิก็ผลิตพลังจิต

    เมื่อกลายเป็นพลังจิตมากเข้าจิตก็มีกำลัง
    เมื่อมีกำลังแล้วสามารถฆ่าความโกรธได้
    ทุกอย่างมันจะเป็นสุขร่วมกัน

    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร FB_IMG_1495355523825.jpg

    ที่มา ธรรมพระอริยะ>ธรรมะสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
     
  11. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    น้อมใจไปที่กาย ดูกาย ดูจิต ที่เดียวกัน.
    เพราะผู้ดู คือ ผู้รู้ ผู้เดียวกัน
    ผู้ฉลาด เรียนรู้จากกาย-จิต
    ผู้อยาก ผู้รู้ผิด เรียนรู้จากภายนอก
    ธรรมคือประโยชน์ อะไรไม่เป็นประโยชน์ไม่ใช่ธรรม

    คุณแม่จันดี โลหิตดี FB_IMG_1495689244449.jpg

    ที่มา พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
     
  12. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    หลวงปู่ดุล์สอนว่า"ความรู้ที่แท้จริงต้องออกมาจากจิตภายใน"

    เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก
    ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึด
    ความรู้ที่เรียนมากับตำหรับตำรา
    หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย
    ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็ภาวนาไปให้มันรู้
    รู้จากจิตของเรานั่นแหละ
    จิตของเราสงบมันจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆเข้า
    เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง
    ความรู้อะไรๆให้มันออกมาจากจิตของเรา

    ความรู้ที่ออกมาจากจิตที่สงบนั่นแหละ
    เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งที่สุด!!!!

    ให้มันรู้ออกมาจากจิตนั่นแหละมันดี
    คือ จิตมันสงบทำให้จิตมันเกิดอารมณ์อันเดียว
    อย่าส่งจิตออกนอก แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง
    ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ
    แล้วพุทโธ นั่นแหละ จะผุดขึ้นในจิตของเรา
    เราก็จะได้รู้จักว่า พุทโธ. นั้นเป็นอย่างไร?
    แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละไม่มีอะไรมากมายเลย

    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล

    FB_IMG_1495689864209.jpg

    ที่มา "ข่าวสารพระกรรมฐาน"
     

แชร์หน้านี้

Loading...